แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

ชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านบากันเคย ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

รหัสโครงการ 57-01457 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0860

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2557 ถึงเดือน ตุลาคม 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้คู่มือการใช้งานเว็บไซต์
  2. วิธีการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อบรมปฐมนิเทศผู้จัดทำโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ 2557

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ขออนุญาตผู้บังคับบัญชา
  2. เดินทางมาเข้าร่วมประชุมที่ มอ.หาดใหญ่
  3. เข้าร่วมอบรมปฐมนิเทศ
  4. คีย์ข้อมูล

 

2 2

2. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผนการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์และปลูกป่าชายเลน

วันที่ 2 สิงหาคม 2557 เวลา 13:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมชี้แจงหน้าที่การทำงานของคณะทำงานของโครงการและวางแผนการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ชี้แจงทำความเข้าใจที่มาของโครงการ
  2. คณะทำงานเข้าใจโครงการ
  3. คณะทำงานได้วางแผนจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลนกัน ซึ่งกำหนดจัดในวันที่  7  สิงหาคม 2557
  4. คณะทำงานแบ่งหน้าที่การทำงานร่วมกัน ทั้งหมด  4  หน้าที่ อะไรบ้าง  1) การประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม  2) เตรียมอาหาร ขนม น้ำ สำหรับผู้เขิร่วมกิจกรรม 3) เตรียมสถานที่ และต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม  4) ติดต่อขอรับพันธ์ปลา พันธ์ไม้ และ นำมาไว้ ณ สถานที่ดำเนินการ
  5. พี่เลี้ยงให้คำแนะนำการจัดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงวัถตุประสงค์โครงการเพื่อดำเนินโครงการต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

1) ทำหนังสือแต่งตั้งคณะทำงาน 2) ทำหนังสือเชิญประชุม 3) เจ้าของโครงการชี้แจงทีมาของโครงการ ว่าโครงการนี้ทำเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชน เช่นไม้โกงกาง ไม้ชายเลน เพื่อชุมชนที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง และความสำคัญของโครงการเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ 4) หารือและวางแผนการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์ุสัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน โดยนางมารียะ นวลจันทร์ ปราช์ญชาวประมงพื้นบ้านของชุมชน ว่าควรจะจัดวันที่ 7 สิงหาคม 2557 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 9 น้ำเริ่มเดิน ต้องปล่อยพันธ์ปลา ช่วงเช้า เพราะขึ้นขึ้นเต็มที และปลูกพันธ์ไม้ช่วงบ่าย เพราะน้ำลงเต็มที่สามารถเดินลงไปปลูกต้นไม้ได้สะดวก ช่วงเช้า เวลา 10.00 – 11.30  น. บ่าย เวลา 13.30 – 15.30 ส่วน นายกิตติ  หมัดตานี  ผู้นำ ท้องถิ่น แจ้งว่า พันธ์ปลา กุ้ง และพันธ์ไม้ ทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการของพันธ์จากหน่วยงานประมงจังหวัดสตูลและสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 สตูลเป็นที่เรียบร้อย พันธ์ุสัตว์น้ำจำนวน  1  ล้านตัว  พันธ์ุโกงกาง จำนวน  1,000  ต้น ส่วนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 7 สิงหาคม 2557  นั้น ขอให้ทางคณะทำงานเป็นผู้ติดต่อประชาสัมพันธ์ให้คนในพื้นที่มาช่วยกันปลูกและปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ

5) มีน้ำดื่มและอาหารว่างประกอบการประชุม 6) พี่เลี้ยงแนะนำตัวและชีแจงวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

27 24

3. ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายแลน ครั้งที่ 1

วันที่ 7 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 - 12.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  2. มีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพิ่มขึ้น
  3. มีการปล่อยพันธ์ุปลา กุ้ง และปลูกพันธ์ุไม้ชายเลน สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติ
  4. แกนนำชุมชนและกลุ่ม องค์กรต่างๆ ในชุมชนเห็นความของการอนุรักษ์ทางทะเลและชายฝั่ง
  5. ประชาชนได้ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อีกทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเสริมสร้างประสบการณ์ในสถานที่จริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ติดต่อหน่วยงานราชการและเอกชน ขอรับ พันธ์ุสัตว์น้ำ และพันธ์ุไม้ป่าชายเลน
  2. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมของกิจกรรม
  3. กิจกรรมปล่อยพันธ์ุ ปลา กุ้ง  บริเวณสะพานท่าเทียบเรือบ้านกลาง หมู่ที่ 3 บ้านบากันเคย ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
  4. กิจกรรมปลูกพันธ์ุป่าชายเลน บริเวณบ้านกลาง หมู่ที่ 3 บ้านบากันเคย ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมคณะทำงานวางแผนและกำหนดหน้าที่การทำงาน
  2. ติดต่อหน่วยงานราชการและเอกชน ได้แก่  สำนักงานประมงจังหวัดสตูล ขอรับพันธ์ปลา กุ้ง จำนวน  1  และ สถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 สตูล ขอรับพันธ์ุไม้ จำนวน  1,000 ต้น
  3. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมของกิจกรรม โดยวิธีการ เสียงตามสายของมัสยิดบ้านบากันเคย  การเสวนาสภากาแฟ  การบอกปากต่อปาก
  4. กิจกรรมปล่อยพันธ์ุ ปลา กุ้ง  บริเวณสะพานท่าเทียบเรือบ้านกลาง  หมู่ที่ 3 บ้านบากันเคย ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
  5. กิจกรรมปลูกพันธ์ุป่าชายเลน บริเวณบ้านกลาง หมู่ที่ 3 บ้านบากันเคย ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

 

50 55

4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 เพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน และวางแผนการจัดอบรมเตรียมทีมการจัดเก็บข้อมูลจำนวนทรัพยากรในชุมน และวางแผนการตั้งจุดรับบริจากวัสดุการทำปะการังเที่ยม

วันที่ 5 กันยายน 2557 เวลา 14.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรมปล่อยพันธฺ์สัตว์และปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 1 และวางแผนการจัดกิจกรรมตั้งจุดรับบริจาควัสดุทำปะการังเทียม และวางแผนการจัดกิจกรรมอบรมเตรียมทีมจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สรุปกิจกรรมปล่อยพันธ์ุสัตว์่น้ำและปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 1 สรุป มีการตอบรับที่ดีจากชุมชน แต่การจัดต้องเน้นช่วงน้ำตาย เพราะช่วงนั้นประชาชนส่วนว่างงานเพราะไม่ต้องออกทะเล

  2. วางแผนการตั้งจุดรับบริจากวัสดุทำปะการังเทียม สรุปว่า 1) จุดรับบริจากปะการังเทียมให้ตั้ง ณ สำนักงาน อบต. ตันหยงโป 2) ให้ทำหนังสือถึงหน่วยงานราชการ ร้านค้า เพื่อขอรับบริจากวัสดุต่างที่สามารถทำปะการังเทียมได้ 3)ประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายในหมู่บ้าน

  3. วางแผนการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สรุป  1) ให้จัดอบรม ณ มัสยิดบ้านบากันเคย เพื่อความสะดวกแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ  2) ให้เชิญวิทยากรจากประมงจังหวัดสตูล และสถานีป่าชายเลนสตูล เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาของชุมชนได้ เนื่องจากมีความคุ้นเคยกับการแก้ไขปัญหาของชุมชนบ้างแล้ว 3) กลุ่มเป้าหมายต้องหลากหลาย 4) วันที่อบรมให้เลื่อนไปจัด วันที่ 19 กันยายน 2557 เพราะเป็นช่วงน้ำตาย ประชาชนส่วนใหญ่ว่างจากการทำงาน (ประมงพื้นบ้าน)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สรุปผลการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์และปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 1
  2. เตรียมทีมการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรในชุมชน
  3. วางแผนการตั้งจุดรับบริจากวัสดุการทำปะการังเทียม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สรุปกิจกรรมปล่อยพันธ์ุสัตว์่น้ำและปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 1 โดยการนั่งพูดคุยแสดงความคิดเห็น ผลที่ได้รับจากกิจกรรม ปัญหา และแนวทางแก้ไข

  2. วางแผนการตั้งจุดรับบริจากวัสดุทำปะการังเทียม พูดคุยถึงสถานที่รับบริจาคปะการังเทียม ขั้นตอนการทำหนังสือราชการ และการประชาสัมพันธ์

  3. วางแผนการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พูดคุยวางแผนถึงสถานที่จัดประชุม วิทยากรควรเป็นใคร ผู้เข้าร่วมประชุมมีใครบ้าง และร่วมกันกำหนดวันประชุม

 

27 23

5. ตั้งจุดรับบริจากวัสดุการวางปะการังเทียม จำนวน 6 เดือน เพื่อเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำ เพิ่มจำนวนสัตว์น้ำ

วันที่ 10 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับบริจากวัสดุการทำปะการังเทียมจากหน่วยงานและร้านต่างๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ประสานงานหน่วยงานตั้งจุดรับบริจากวัสดุการวางปะการังเทียม เป็นการเผยแพร่และประชาสมัพันธ์โครงการนำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ทำหนังสือรับบริจากวัสดุต่างๆที่สามารถใช้ทำเป็นปะการังเทียมได้ ถึงหน่วยงานต่างๆทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนและร้านค้าต่างๆในจังหวัดสตูล
  2. ประชาสัมพันธ์การรับบริจากวัสดุการทำปะการังเทียม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ทำหนังสือรับบริจากวัสดุต่างๆที่สามารถใช้ทำเป็นปะการังเทียมได้ ถึงหน่วยงานต่างๆทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนและร้านค้าต่างๆในจังหวัดสตูล
  2. ประชาสัมพันธ์การรับบริจากวัสดุการทำปะการังเทียม
  3. รณรงค์ประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

 

15 15

6. ทำป้ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ สนับสนุนโดย สสส.

วันที่ 16 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำป้ายรณรงค์การไม่สูบบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ป้าย สำหรับใช้ในโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้าย สสส.

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายที่ร้าน และนำไปติดในกิจกรรมโครงการ

 

2 2

7. จัดอบรมและเตรียมทีมจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้ทีมมีความรู้ความเข้าใจเกิดความตระหนึกและเห็นความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูล และเป็นการเตรียมพร้อมบุคคลในการจัดเก็บข้อมูล

วันที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 09:00 - 15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยารทางทะเลและชายฝั่ง 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจการอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชน
  2. การใช้ประโยชน์ของทรัพยากร เรื่อง การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  3. วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากร และฟื้นฟู การปลูกเพิ่มเติม ไม่จับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ การปล่อยพันธ์ การเพราะพันธ์สัตว์น้ำ
  4. การประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุในท้องถิ่น เช่น ที่รองหม้อทำจากก้านจาก ที่ครอบอาหารทำจากก้านใบจาก
  5. การหาปลาในทะเลต้องใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้อง คือ อวนตาห่าง ตามที่กฎหมายกำหนด
  6. เรือประมงต้องต่ออาญาบัตรเรือปีต่อปี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดอบรมและเตรียมทีมจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้ทีมมีความรู้ความเข้าใจเกิดความตระหนึกและเห็นความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูล และเป็นการเตรียมพร้อมบุคคลในการจัดเก็บข้อมู

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การอนุรักษ์ทรัพยากร
  2. เชิญวิทยากรจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 1) คุณอุเทน  บุญดำ  จากสำนักงานประมงจังหวัดสตูล ให้ความรู้เรื่อง การทำประมงพื้นบ้าน วิธีการอนุรักษ์ทรัพยาการทางทะเล เช่น ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำประมง การไม่จับสัตว์น้ำในฤดูว่างไข่ เป็นต้น  2) นางสาวจิติพร  ขาเดร์  และนางซาฤีนา  โซ่โดม  เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาป่าชายเสนที่ 5 สตูล เรื่องการใช้ประโยชน์จากทรัยพากรชายฝั่ง เช่น การใช้ประโยชน์จากไม้ชายเลน ประโยชน์จากใบจาก ก้านจาก และการปลูกทดแทน
  3. วิทยากรบรรยายให้ความรู้ เรื่อง การอนุรักษ์ทรัยากรทางทะเล และการทำประมงชายฝั่ง จาก ประมงจังหวัดสตูล  และเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง การใช้ประโยชน์จากทรัยยากร โดยการประยุกใช้ทรัพยา

 

50 33

8. ถอนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 17 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อถอนเงินคืน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-

กิจกรรมที่ทำจริง

-

 

2 0

9. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 เพื่อสรุปผลการอบรมเตรียมทีมจัดเก็บข้อมูล และวางแผนการออกแบบสำรวจการจัดเก้บข้อมูลความมั่งคงทางอาหารและของมูลทรัพยากร

วันที่ 17 ตุลาคม 2557 เวลา 14.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมครั้งต่อไป และรายงานผลการจัดกิจกรรมการอบรมให้ความรู้การอนุรักษ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สรุปงานที่ ที่โครงการต้องการมี 3 กลุ่ม  คือ กลุ่มที่ 1 ข้อมูล        กลุ่มที่ 2 ฟื้นฟู      กลุ่มที่ 3 อนุรักษ์
  2. กำหนดวันอบรมทำแบบสอบถาม วันที่ 30 ตุลาคม 2557  เวลา 09.00 - 16.00  น. ณ ตาดีกา หมู่ที่ 3 บ้านบากันเคย
  3. การกำหนดแบบสอบถามจะออกแบบกันเองและมีวิทยากรช่วยออบแบบ 1 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สรุปผลการอบรมเตรียมทีมจัดเก็บข้อมูล
  2. หาแนวทางการออกแบบสำรวจการจัดเก็บข้อมูลความมั่นคงทางอาหารและข้อมูลทรัพยากรของชุมชน
  3. วางแผนการจัดอบรม การจัดทำแบบสอบถาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เรียกประชุมคณะทำงาน
  2. สรุปผลการจัดกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
  3. วางแผนการจัดกิจกรรมอบรมจัดทำแบบสอบถาม

 

27 16

10. ตรวจติดตามจาก สสส.

วันที่ 19 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตรวจติดตามการทำงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ตรวจหลักฐานการใช้จ่ายเงิน
  2. ตรวจการบันทึกโครงการ
  3. แนะนำการคีย์ข้อมูล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามตรวจสอบการทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ตรวจหลักฐานการใช้จ่ายเงิน
  2. ตรวจการบันทึกโครงการ
  3. แนะนำการคีย์ข้อมูล

 

1 1

11. จัดประชุมการจัดเก็บและออกแบบสำรวจการเก็บข้อมูลความั่นคงทางอาหารและทรัพยารในชุมชนที่ครอบคลุมทุกด้าน

วันที่ 30 ตุลาคม 2557 เวลา 09.00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อออกแบบสอบถามการจัดเก็บข้อมูลความมั่งคงทางอาหารและทรัพยากรชายฝั่ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการประชุมออกแบบสอบถามความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรชายฝั่ง สรุปได้
ดังนี้ 1. แบบสอบถามแบ่งเป็น 3  ส่วน ดังนี้       1) ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของบุคคล
      2) แบบสอบถามความมั่งคงทางอาหาร
ประกอบด้วย  (1) ประเภทอาชีพประมงพื้นบ้าน  (2) ชนิดและขนาดเครื่องมือที่ทำประมง  (3) พาหนะ  (4) ผลผลิตที่ได้ (5) ระยะเวลาที่ใช้ (6) แหลงที่ทำประมง  (7) รายได้ ต่อครั้ง (8) รายจ่ายเพื่อการลงทุน
      3) ปฎิทินอาชีพ

  1. แบบสอบถามทรัพยากรชายฝั่ง จะใช้วิธีการประชุมกลุ่มย่อย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมออกแบบสำรวจการเก็บข้อมูลความั่นคงทางอาหารและทรัพยารในชุมชนที่ครอบคลุมทุกด้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมกิจกรรม โดย เสียงตามสาย สภากาแฟ บอกปากต่อปาก
  2. ติดต่อประสานวิทยากร
  3. เตรียมสถานที่จัดกิจกรรม ณ ตาดีกา หมู่ที่ 3 บ้านบากันเคย
  4. เตรีมอาหาร เครื่องดื่ม และตอนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  5. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ จัดทำแบบสอบถาม

 

50 66

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 37 11                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 174,600.00 33,850.00                  
คุณภาพกิจกรรม 44 34                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  1. คณะทำงานส่วนให้ไม่ค่อยว่าง จึงเสนอให้คณะทำงานที่ว่างและมาเป็นประจำเป็นแกนนำหลักในการทำงานประมาณ 10- 15 คน

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. จัดซื้อวัสดุเพื่อจัดทำแบบสำรวจข้อมูล ( 1 พ.ย. 2557 )
  2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 ( 7 พ.ย. 2557 )
  3. สำรวจข้อมูล รอบที่ 1 ( 8 พ.ย. 2557 - 12 พ.ย. 2557 )
  4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 ( 14 พ.ย. 2557 )
  5. จัดทำป้ายรณรงค์การอนุรักทรัพยากรธรรมชาติ ( 18 พ.ย. 2557 )
  6. สำรวจข้อมูล รอบที่ 2 ( 19 พ.ย. 2557 - 23 พ.ย. 2557 )
  7. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 ( 28 พ.ย. 2557 )
  8. สำรวจข้อมูล รอบที่ 3 ( 4 ธ.ค. 2557 - 8 ธ.ค. 2557 )
  9. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 ( 5 ม.ค. 2558 )
  10. ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายแลน ครั้งที่ 2 ( 29 ม.ค. 2558 )
  11. รายงานผลโครงการครึ่งแรก ต่อ สจรส ( 11 ก.พ. 2558 )
  12. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 ( 5 มี.ค. 2558 )
  13. จัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน ( 11 มี.ค. 2558 )
  14. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9 ( 13 มี.ค. 2558 )
  15. ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายแลน ครั้งที่ 3 ( 19 มี.ค. 2558 )
  16. ขอรับการปรึกษากับพี่เลี้ยงโครงการ ( 20 มี.ค. 2558 )
  17. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10 ( 25 มี.ค. 2558 )
  18. วางปะการังเทียม ( 15 เม.ย. 2558 )

(................................)
นายรอซาด สุวาหลำ
ผู้รับผิดชอบโครงการ