แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

ชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านบากันเคย ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

รหัสโครงการ 57-01457 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0860

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน พฤศจิกายน 2557 ถึงเดือน กรกฎาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดซื้อวัสดุเพื่อจัดทำแบบสำรวจข้อมูล

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำแบบสำรวจข้อมูลความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรชายฝั่ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการประชุมออกแบบสอบถามความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรชายฝั่ง ประเด็นการทำแบบสำรวจ มีหัวข้อ ดังนี้ ควรแบ่งแบบสำรวจออกเป็น 3 ส่วน  ส่วนที่ 1  ข้อมูลทั่วไปของบุคคล ส่วนที่ 2 ข้อมูลความมั่งคงทางอาหาร  ประกอบด้วย  (1) ประเภทอาชีพประมงพื้นบ้าน  (2) ชนิดและขนาดเครื่องมือที่ทำประมง  (3) พาหนะ  (4) ผลผลิตที่ได้ (5) ระยะเวลาที่ใช้ (6) แหลงที่ทำประมง  (7) รายได้ ต่อครั้ง (8) รายจ่ายเพื่อการลงทุน ส่วนที่ 3 ปฎิทินอาชีพ  ส่วนข้อมูลด้านทรัพยากรชายฝั่งการนเก็บข้อมูลให้คณะทำงานทุกคนและแกนนำชุมชน ประมาณ 15 -20 คน มาร่วมการให้ข้อมูลเป็นการประชุมกลุ่มย่อย  แยกเป็นหัวข้อ ดังนี้ 1. ชนิดของป่าชายเลน 2. การใช้ประโยชน์จากป่าชายแลน 3. พื้นที่เสื่อมโทรม 4. แนวทางแก้ไขปัญหา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดซื้อวัสดุเพื่อจัดทำแบบสำรวจข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

จ่ายค่าจัดซื้อวัสดุ เพื่อจัดทำกิจกรรมออกแบบสำรวจข้อมูลความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรชายฝั่ง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2557
 

 

1 1

2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนการจัดเก็บข้อมูลครั้งที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้แบบสำรวจ จำนวน 100  ชุด โดยมีหัวข้อการ สำรวจ  14 หัวหข้อ  ดังนี้
  1. ชื่อ - สกุล
  2. เพศ
  3. ระดับการศึกษา
  4. อาชีพหลัก
  5. ระยะเวลาการทำอาชีพประมง
  6. ประเภทอาชีประมงพื้นบ้าน
  7. ชนิดและขนาดของเครื่องมือ
  8. ขนาดยานพาหนะและเครื่องยนต์
  9. ระยะเวลาในการทำงาน
  10. รายจ่ายเพื่อการลงทุน ต่อครั้ง
  11. ผลผลิตที่ได้
  12. รายได้รวมต่อครั้ง
  13. แหล่งที่ทำการประมง
  14. ภาวะเสี่ยงจากการทำงาน ปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วย
  • การลงพื้นที่เก็บข้อมูล ให้ลงพื้นที่ จำนวน 15 วัน ให้แยกเป็นรอบๆละ 5 วัน แบ่งพื้นที่ลงสำรวจ จำนวน 2 จุด คือ 1) บริเวณบ้านกลาง มีหัวหน้าทีม คือ นายกูสารดี  สตอหลง 2) บริเวณบ้านบากัน หัวหน้าทีม คือ นายวีระศักดิ์  มะสมัน เป็นหัวหน้าทีมม เพื่อควบคุมการสำรวจข้อมูล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ตรวจทานแบบสำรวจจัดเก็บข้อมูลและแก้ไขแบบสำรวจให้มีความบูรณ์ยิ่งขึ้น
  2. วางแผนการลงเก็บข้อมูล
  3. กำหนดวันออกสำรวจ 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ตรวจทานแบบสำรวจจัดเก็บข้อมูลและแก้ไขแบบสำรวจให้มีความบูรณ์ยิ่งขึ้น
  2. วางแผนการลงเก็บข้อมูล
  3. กำหนดวันออกสำรวจ
  4. ชี้แจงเจ้าหน้าที่ออกสำรวจ ตามแบบสอบถาม

 

27 16

3. สำรวจข้อมูล รอบที่ 1

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 - 14.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณหน้อ่าวตันหยงโป เปลียบเทียบกับสถิติจำนวนทรัพยากรเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ว่ามีจำนวนมากขึ้น หรือลดลง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เจ้าหนาที่ที่ได้รับมอบหมายออกสำรวจประชาชนที่ทำอาชีพประมงพื้นบ้าน เขตชุมชนบ้านบากันเคย จำนวน 50 คน ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างครอบถ้วน ตามแบบสำรวจ การแบ่งโซนการสำรวจตามที่ได้มอบหมาย คือ - กลุ่มที่ 1 หัวหน้าทีม คือ นางมะหรอ สุวาหลำ มีลูกทีม จำนวน 29 คน ออกสำรวจบริเวณชุมชนบากันเคย
- กลุ่มที่ 2 หัวหน้าทีม คือ นายกูสารดั  สตอหลง มีลูกทีม จำนวน 20 คน ออกสำรวจ บริเวณบ้านกลาง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรชายฝั่ง  ตั้งแต่วันที่ 8 - 12 พฤศจิกายน 2557 รายลเอียดการสำรวจตามแบบสอบที่ได้จัดทำขึ้น โดยออกเก็บข้อมูลจำนวน 5 วัน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และตรวจทานแบบสำรวจว่ามีข้อมูลใดบ้างควรเพิ่มเติมหรือตัดข้อมูลใดที่ไม่จำเป็นออก

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. การสำรวจป่าชายเลนและประมงพื้นบ้าน
  2. การเตรียมทีมจัดเก็บข้อมูล กำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกแต่ละกลุ่ม
    2.1 แบ่งกลุ่มการสำรวจเป็น 2 กลุ่ม1) กลุ่มสำรวจทรัพยากรป่าชายเลน 2) กลุ่มสำรวจความมั่นคงทางอาหาร (ประมงพื้นบ้าน)
  3. การเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการสำรวจ 3.1 หนังสือคู่มือพันธ์ไม้ป่าชายเลน 3.2 สมุด ปากกา กล้องถ่ายรูป ปากกาเมจิก เชื่อก
  4. การบันทึกข้อมูล 4.1 ข้อมูลทั่วไป 4.2 ข้อมูลพันธ์ไม้ 4.3 ข้อมูลสัตว์น้ำที่หามาได้
  5. แบ่งกลุ่มออกสำรวจ จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน20 คน ออกสำรวจบริเวณบ้านกลาง จำนวน 62 ครัวเรือน กลุ่มที่ 2 จำนวน30 คนออกสำรวจบริเวณบากันเคยจำนวน87ครัวเรือน
  6. กลุ่มเป้าหมายที่ต้องสำรวจ

- ครอบครัวที่ทำอาชีพประมงไม่น้อยกว่า 5 ปี - ครอบครัวที่นำทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มาใช้ประโยชน์

 

50 50

4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทบทวนแบบสอบถามและสรุปผลการสำรวจข้อมูลครั้งที่ 1 และวางแผนการลงสำรวจข้อมูลครั้งที่ 2 ต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการสำรวจข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 5 วันดังนี้ 1. มีประชาชนทำอาชีพประมงพื้นบ้าน จำนวน 85 ครัวเรือนดังนี้ 1) อวนกั้ง-กุ้ง-ปู38 ลำ 2) อวนปลาเหยื่อ4 ลำ3) อวนปลากุเรา 7 ลำ4)ไซกั้ง 20 ลำ 5)ไซปลาเก๋า 6 ลำ 6)ไดหมึก 3 ลำ 7)เบ็ดราว(ราไว)3 ลำ 8)ตกเบ็ด 5 ลำ 9)รุนกุ้งเคย 1 ลำ
2.ชนิดและขนาดของเรือ และเครื่องยนต์ ชาวประมงพื้นบ้านในที่นี้ หมายถึง ชาวประมงที่ไม่มีเรือประมงและชาวประมงที่เรือประมง ใช้เรือก็จะเป็นเรือหางยาว หรือเรือกอและ เรือท้ายตัด ตั้งแต่ไม่มีเครื่องยนต์จนถึงมีเครื่องยนต์ขนาด ๑ - ๗ แรงม้า และใช้เครื่องมือประมงแบบพื้นบ้านที่มีลักษณะเรียบง่าย สามารถเลือกจับสัตว์น้ำได้เฉพาะชนิด เช่น อวนลอยปลา อวนลอยกุ้ง อวนจมปู แห เบ็ด ลอบ ไซ เป็นต้น ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลักและเป็นการประมงเพื่อยังชีพ 3. เวลาการออกทำประมงและการเข้ากลับมาไม่พร้อมกันบางครั้งต้องรอถึง 14.00 น. ซี่งเป็นเวลาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ไปหาและเวลาน้ำขึ้น-น้ำลง ของแต่ละวัน 4. ทรัพยากรที่สำรวจ มีดังนี้ - กั้ง 250 กิโลกรัม กุ้ง25กิโลกรัมปูม้า 530กิโลกรัม ปูดำ 190กิโลกรัมปลากุเรา 150 กิโลกรัมปลาเก๋า10 กิโลกรัม ปลากะพง 125 กิโลกรัมปลาจราเม็ด 30 กก. ปลาเหยื่อ 180กก.
- ปลาแบน 450 กิโลกรัม ปลาจ๋องม๋อง 40 กิโลกรัม 5. สถานทีที่ออกทำการประมง คือ เกาะสาม,เกาะโกย,เกาะหัวมัน ,เกาะหัวมัน, เกาะกวาง ,เกาะผี,เกาะมดแดง,คลองตะเหมี๊ยง, คลองการัง ลังกาวี เขตแดนมาเลเซีย 6. ชาวประมงพื้นบ้านมีปัญหาที่เกิดจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง คือ กุ้งปลาในทะเล ลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบถึงรายได้และการดำรงชีพทางด้านต่างๆ 7. สาเหตุที่ชาวบ้านต้องทำอาชีพประมงพื้นบ้าน คือ • มีรายได้เลี้ยงชีวิตอย่างพอเพียงถ้าทรัพยากรสมบูรณ์ • มีเวลาอยู่กับครอบครัว • มีเวลาทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม เช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร • มีเวลาร่วมกิจกรรมทางสังคมของชุมชน เช่น งานแต่งงาน งานมัสยิด • มีอาชีพรองที่สัมพันธ์กับอาชีพประมง เช่น การเลี้ยงปลา ถักอวน ซ่อมเรือ • ไปจับสัตว์น้านอกพื้นที่ในบางฤดูกาล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ทบทวนการลงสำรวจข้อมูล
  2. หาแนวทางแกไขปัญหาการงสำรวจข้อมูล รอบที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมสรุปผลการจัดเก็บข้อมูล ดังนี้
        1.1 จำแนกประเภท อาชีพ
        1.2 จำแนกขนาด     - จำนวนครัวเรือนที่สำรวจ
  2. ปรับปรุงแบบสอบถามให้มีความรัดกุมมากขึ้น
  3. วางแผนออกสำรวจรอบที่ 2

 

27 16

5. จัดทำป้ายรณรงค์การอนุรักทรัพยากรธรรมชาติ

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชนในชุมชนเกิดการสำนึกต่อการอนุรักษ์ทรัพยาการทางทะเลและชายฝั่งมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายรณรงค์การอนุรักทรัพยากรธรรมชาติและการวางปะการังเทียม  เพื่อรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากร และเพิ่มจำนวนปะการังเที่ยมเป็นอยู่อาศัยสัตว์น้ำ จำนวน 4 ป้าย ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร 

กิจกรรมที่ทำจริง

สั่งทำป้าย ประชาสัมพันธ์รณรงค์อนรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จำนวน 4 ป้าย

 

1 1

6. สำรวจข้อมูล รอบที่ 2

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อออกสำรวจข้อมูลทางทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รอบที่ 2

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายออกสำรวจประชาชนที่ทำอาชีพประมงพื้นบ้าน เขตชุมชนบ้านบากันเคย จำนวน 50 คน ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างครอบถ้วน ตามแบบสำรวจ การแบ่งโซนการสำรวจตามที่ได้มอบหมาย คือ - กลุ่มที่ 1 หัวหน้าทีม คือ นางมะหรอ สุวาหลำ มีลูกทีม จำนวน 29 คน ออกสำรวจบริเวณชุมชนบากันเคย
- กลุ่มที่ 2 หัวหน้าทีม คือ นายกูสารดี สตอหลง มีลูกทีม จำนวน 19 คน ออกสำรวจ บริเวณบ้านกลาง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ออกสำรวจข้อมูลรอบที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 19 - 23  พฤศจิกายน 2557 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. การสำรวจป่าชายเลนและประมงพื้นบ้าน
  2. การเตรียมทีมจัดเก็บข้อมูล กำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกแต่ละกลุ่ม
    2.1 แบ่งกลุ่มการสำรวจเป็น 2 กลุ่ม1) กลุ่มสำรวจทรัพยากรป่าชายเลน 2) กลุ่มสำรวจความมั่นคงทางอาหาร (ประมงพื้นบ้าน)
  3. การเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการสำรวจ 3.1 หนังสือคู่มือพันธ์ไม้ป่าชายเลน 3.2 สมุด ปากกา กล้องถ่ายรูป ปากกาเมจิก เชื่อก
  4. การบันทึกข้อมูล 4.1 ข้อมูลทั่วไป 4.2 ข้อมูลพันธ์ไม้ 4.3 ข้อมูลสัตว์น้ำที่หามาได้
  5. แบ่งกลุ่มออกสำรวจ จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน20 คน ออกสำรวจบริเวณบ้านกลาง จำนวน 62 ครัวเรือน กลุ่มที่ 2 จำนวน30 คนออกสำรวจบริเวณบากันเคยจำนวน87ครัวเรือน
  6. กลุ่มเป้าหมายที่ต้องสำรวจ

- ครอบครัวที่ทำอาชีพประมงไม่น้อยกว่า 5 ปี - ครอบครัวที่นำทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มาใช้ประโยชน์

 

50 50

7. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สรุปผลการออกสำรวจข้อมูลครั้งที่ 2 และวางแผนการออกสำรวจรอบที่ 3

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการสำรวจข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 5 วันดังนี้ 1. มีประชาชนทำอาชีพประมงพื้นบ้าน จำนวน 85 ครัวเรือนดังนี้ 1) อวนกั้ง-กุ้ง-ปู38 ลำ 2) อวนปลาเหยื่อ4 ลำ3) อวนปลากุเรา 7 ลำ4)ไซกั้ง 20 ลำ 5)ไซปลาเก๋า 6 ลำ 6) ไดหมึก 3 ลำ 7)เบ็ดราว(ราไว)3 ลำ 8)ตกเบ็ด 5 ลำ 9)รุนกุ้งเคย 1 ลำ
2.ชนิดและขนาดของเรือ และเครื่องยนต์ ชาวประมงพื้นบ้านในที่นี้ หมายถึง ชาวประมงที่ไม่มีเรือประมงและชาวประมงที่เรือประมง ใช้เรือก็จะเป็นเรือหางยาว หรือเรือกอและ เรือท้ายตัด ตั้งแต่ไม่มีเครื่องยนต์จนถึงมีเครื่องยนต์ขนาด ๑ - ๗ แรงม้า และใช้เครื่องมือประมงแบบพื้นบ้านที่มีลักษณะเรียบง่าย สามารถเลือกจับสัตว์น้ำได้เฉพาะชนิด เช่น อวนลอยปลา อวนลอยกุ้ง อวนจมปู แห เบ็ด ลอบ ไซ เป็นต้น ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลักและเป็นการประมงเพื่อยังชีพ 3. เวลาการออกทำประมงและการเข้ากลับมาไม่พร้อมกันบางครั้งต้องรอถึง 14.00 น. ซี่งเป็นเวลาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ไปหาและเวลาน้ำขึ้น-น้ำลง ของแต่ละวัน 4. ทรัพยากรที่สำรวจ มีดังนี้ - กั้ง 280 กิโลกรัม
- กุ้ง18กิโลกรัม - ปูม้า620กิโลกรัม
- ปูดำ 210กิโลกรัม - ปลากุเรา 35 กิโลกรัม - ปลาเก๋า11 กิโลกรัม
- ปลากะพง85 กิโลกรัม - ปลาจราเม็ด 20 กก.
- ปลาเหยื่อ130กก.
- ปลาแบน 360 กิโลกรัม
- ปลาจ๋องม๋อง 35 กิโลกรัม - ปลาทราย 100 กิโลกรัม - ปลาแดง 25 กิโลกรัม

  1. สถานทีที่ออกทำการประมง คือ เกาะสาม,เกาะโกย,เกาะหัวมัน ,เกาะหัวมัน, เกาะกวาง ,เกาะผี,เกาะมดแดง,คลองตะเหมี๊ยง, คลองการัง ลังกาวี เขตแดนมาเลเซีย
  2. ชาวประมงพื้นบ้านมีปัญหาที่เกิดจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง คือ กุ้งปลาในทะเล ลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบถึงรายได้และการดำรงชีพทางด้านต่างๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ทบทวนการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล
  2. แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล
  3. วางแผนการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 3

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ผลการสำรวจข้อมูล รอบที่ 2
  2. แผนการลงพื้นที่เก็บข้อมูล รอบที่ 3   - การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งต่อไปให้แบ่งกลุ่มแบบเดิม

 

27 16

8. สำรวจข้อมูล รอบที่ 3

วันที่ 4 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ทราบสภาพความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล และจำนวนประมงพื้นบ้านที่มีอยู่ในพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายออกสำรวจประชาชนที่ทำอาชีพประมงพื้นบ้าน เขตชุมชนบ้านบากันเคย จำนวน 50 คน ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างครอบถ้วน ตามแบบสำรวจ การแบ่งโซนการสำรวจตามที่ได้มอบหมาย คือ - กลุ่มที่ 1 หัวหน้าทีม คือ นางมะหรอ สุวาหลำ มีลูกทีม จำนวน 29 คน ออกสำรวจบริเวณชุมชนบากันเคย
- กลุ่มที่ 2 หัวหน้าทีม คือ นายกูสารดี สตอหลง มีลูกทีม จำนวน 20 คน ออกสำรวจ บริเวณบ้านกลาง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความมั่งคงทางอาหารและทรัพยากรชายฝั่งในชุมชน รอบที่ 3  จำนวน 5 วัน วนที่ 4 - 8 ธันวาคม 2557
  2. รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ
  3. ประมวนผลการสำรวจข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. การสำรวจป่าชายเลนและประมงพื้นบ้าน
  2. การเตรียมทีมจัดเก็บข้อมูล กำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกแต่ละกลุ่ม
        2.1 แบ่งกลุ่มการสำรวจเป็น 2 กลุ่ม  1) กลุ่มสำรวจทรัพยากรป่าชายเลน  2) กลุ่มสำรวจความมั่นคงทางอาหาร (ประมงพื้นบ้าน)
  3. การเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการสำรวจ     3.1 หนังสือคู่มือพันธ์ไม้ป่าชายเลน     3.2 สมุด ปากกา กล้องถ่ายรูป ปากกาเมจิก เชื่อก
  4. การบันทึกข้อมูล     4.1 ข้อมูลทั่วไป     4.2 ข้อมูลพันธ์ไม้     4.3 ข้อมูลสัตว์น้ำที่หามาได้
  5. แบ่งกลุ่มออกสำรวจ จำนวน 2 กลุ่ม
        กลุ่มที่ 1 จำนวน  20 คน ออกสำรวจบริเวณบ้านกลาง จำนวน 62 ครัวเรือน     กลุ่มที่ 2 จำนวน  30 คน  ออกสำรวจบริเวณบากันเคย  จำนวน  87  ครัวเรือน
  6. กลุ่มเป้าหมายที่ต้องสำรวจ     - ครอบครัวที่ทำอาชีพประมงไม่น้อยกว่า 5 ปี     - ครอบครัวที่นำทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มาใช้ประโยชน์

 

50 50

9. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7

วันที่ 5 มกราคม 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สรุปผลการลงสำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชมนและวางแผนการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้วที่ 2

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการสำรวจข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 5 วันดังนี้ 1. มีประชาชนทำอาชีพประมงพื้นบ้าน จำนวน 85 ครัวเรือนดังนี้ 1) อวนกั้ง-กุ้ง-ปู38 ลำ 2) อวนปลาเหยื่อ4 ลำ3) อวนปลากุเรา 7 ลำ4)ไซกั้ง 20 ลำ 5)ไซปลาเก๋า 6 ลำ 6) ไดหมึก 3 ลำ 7)เบ็ดราว(ราไว)3 ลำ 8)ตกเบ็ด 5 ลำ 9)รุนกุ้งเคย 1 ลำ
2.ชนิดและขนาดของเรือ และเครื่องยนต์ ชาวประมงพื้นบ้านในที่นี้ หมายถึง ชาวประมงที่ไม่มีเรือประมงและชาวประมงที่เรือประมง ใช้เรือก็จะเป็นเรือหางยาว หรือเรือกอและ เรือท้ายตัด ตั้งแต่ไม่มีเครื่องยนต์จนถึงมีเครื่องยนต์ขนาด ๑ - ๗ แรงม้า และใช้เครื่องมือประมงแบบพื้นบ้านที่มีลักษณะเรียบง่าย สามารถเลือกจับสัตว์น้ำได้เฉพาะชนิด เช่น อวนลอยปลา อวนลอยกุ้ง อวนจมปู แห เบ็ด ลอบ ไซ เป็นต้น ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลักและเป็นการประมงเพื่อยังชีพ 3. เวลาการออกทำประมงและการเข้ากลับมาไม่พร้อมกันบางครั้งต้องรอถึง 14.00 น. ซี่งเป็นเวลาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ไปหาและเวลาน้ำขึ้น-น้ำลง ของแต่ละวัน 4. ทรัพยากรที่สำรวจ มีดังนี้ - กั้ง 210 กิโลกรัม
- กุ้ง25กิโลกรัม - ปูม้า590กิโลกรัม
- ปูดำ 180กิโลกรัม - ปลากุเรา 24 กิโลกรัม - ปลาเก๋า8 กิโลกรัม
- ปลากะพง95 กิโลกรัม - ปลาเหยื่อ250กก.
- ปลาแบน 490 กิโลกรัม
- ปลาจ๋องม๋อง 45 กิโลกรัม - ปลาทราย 110 กิโลกรัม

  1. สถานทีที่ออกทำการประมง คือ เกาะสาม,เกาะโกย,เกาะหัวมัน ,เกาะหัวมัน, เกาะกวาง ,เกาะผี,เกาะมดแดง,คลองตะเหมี๊ยง, คลองการัง ลังกาวี เขตแดนมาเลเซีย
  2. ชาวประมงพื้นบ้านมีปัญหาที่เกิดจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง คือ กุ้งปลาในทะเล ลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบถึงรายได้และการดำรงชีพทางด้านต่างๆ
    ผลการสำรวจทรัพยากรชายฝั่ง คือพันธ์ไม้ป่าชายเลนบริเวณชุมชุนบ้านบากันเคย ที่ได้จากการออกสำรวจของเจ้าหน้าที่ ดังนี้ ป่าชายเลนหรือ ฮูตันบาเกา ในภาษามาลายูที่ชาวบากันเคยเรียกกัน นับว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่าต่อระบบนิเวศชายฝั่ง การประมง และป่าชายเลนพื้นที่ป่าชายเลนบ้านบากันเคย มีเนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ มีทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นจะมีประกอบด้วยพันธ์ไม้ชนิดต่างๆ ดังนี้ ชั้นที่ 1พื้นที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงทุกครั้ง ได้แก่ ไม้ลำพู ไม้แสม ไม้ปีปีดำ - ปีปีขาว ชั้นที่ 2มีพื้นที่เป็นชายเลนโคลนตก ได้แก่ ไม้โกงกางใบใหญ่เหงือกปลาหมอ ไม้ถั่วขาว-ถั่วดำ ไม้ตะบูนดำ-ตะบูนขาว
    ชั้นที่ 3 พื้นที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงในขณะที่มีน้ำขึ้นสูงตามปกติ พบมากที่สุดคือโกงกางจะขึ้นหนาแน่นมากกว่าชนิดอื่น นอกนั้นยังพบไม้โปรงไม้ตะบูนดำ - ตะบูนขาว
    ชั้นที่ 4 พื้นที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเมื่อน้ำขึ้นสูงสุดเท่านั้น บริเวณนี้จะมีสภาพที่แห้งเกินไปไม่เหมาะกับไม้โกงกางจะขึ้นได้ แต่จะเหมาะสมกับพวกปรงทะเลไม้ฝาด กอจาก ไม้แป็ง
    ชั้นที่ 5 พื้นที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเมื่อน้ำขึ้นสูงสุดเป็นพิเศษเท่านั้น ได้แก่ ไม้เสม็ด มีปรงทะเล

    ชนิดไม้ป่าชายเลนบ้านบากันเคยที่พบมากที่สุด ได้แก่ไม้โกงกางไปใหญ่ไม้แสมรองลงมา ไม้ถั่วขาง-ดำ ลำดับที่ 3ไม้ปีปีขาว-ดำทีเหลือมีประปลายตามสภาพพื้นที่ ส่วนเหงือกปลาหมอทั่วทั้งป่าชายเลน

การนำทรัพยากรป่าชายเลนไปใช้ประโยชน์ 1. ต้นแสม นิยมตัดกันมากที่สุด นำมาทำเป็นที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งมีความคบทนมากใช้งานได้ประมาณ 20 – 30 ปี
2. ต้นตะบูนดำนำมาทำเป็นที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งมีความคบทนมากใช้งานได้ประมาณ 20 – 30 ปี
3. ต้นตะบูนขาวใช้งานน้อย นิยมนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากมีลายไม้สวย ทำชานบ้าน 4. ต้นโกงกางนำมาทำเผาถ่านหุงต้ม คนบากันเคยไม่นิยมตันมากนัก เพราะนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้มามาก ไม่ค่อยคงทน 5. ต้นปีปีใช้ทำเป็นไซปลาเก๋า 6. ต้นลำพูเป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้ทำที่อยู่อาศัย กงเรือ แผ่นกระดานเรือ 7. เหงือกปลาหมอ ใช้ทำเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค 8. ต้นแป็งใช้ทำเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค 9. ต้นจาก เป็นพื้นที่มีประโยชน์มาก ใบใช้ทำใบจากสูบยา ,ทำขนมจาก ก้านจากทำไม้กวาด ,ประดิษฐิ์เป็นที่วางหม้อ , ลูกจากทำขนม

สรุปผลจากการสำรวจความมั่นคงทางอาหาร ของชุมชนบ้านบากันเคย จำนวน 15 วัน ดังนี้
- กั้ง 740 กิโลกรัม
- กุ้ง68กิโลกรัม - ปูม้า1,740กิโลกรัม
- ปูดำ 580กิโลกรัม - ปลากุเรา 209 กิโลกรัม - ปลาเก๋า45 กิโลกรัม
- ปลากะพง305 กิโลกรัม - ปลาเหยื่อ560กก.
- ปลาแบน 1,300 กิโลกรัม
- ปลาจ๋องม๋อง 120 กิโลกรัม - ปลาทราย 210 กิโลกรัม - ปลาแดง 25 กิโลกรัม - ปลาจราเม็ด 20 กิโลกรัม

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ
จากการลงพื้นที่สำรวจอาชีพและปริมาณสัตว์น้ำที่หาได้ของประชาชนบ้านบากันเคย พบว่า อาชีพที่ประมงพื้นบ้านที่ทำกันมาก คือ การวางอวน วางไซ กั้ง, และ ปู ซึ่งมีปริมาณที่มากว่าชนิดอื่นและหาได้ง่ายกว่าและมีราคาสูงกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น การบริโภคของตลาดก็มีความนิยม แต่ปัจจุบันการออกทะเลแต่ละครั้งไม่มีความแน่นอน และใช้เวลานาน บางครั้งต้องออกไปไกล ถึงแดนมาเลเซีย เนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำลดลง สาเหตุของปัญหาเกิดมาจาก การเพิ่มของจำนวนชาวประมงพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไป ซึ่งไม่เพียงแต่ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนนี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวประมงพื้นบ้านชุมชนใกล้เคียง คือ ตำบลเกาะสาหร่าย ตำบลปูยู ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง และยังไม่รวมเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ก็ยังมีการเข้ามาทำกินในอ่าวตันหยงโป แห่งนี้ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งกำลังการผลิตตามธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดบวกกับกำลังการใช้ประโยชน์ที่นับวันจะทวีมากขึ้นอย่างไร้ขอบเขต ไร้การควบคุม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังรอการแก้ไข

จากสภาพปัญหาดังกล่าว ชุมชนจึงมีแนวคิดในการดูแลรักษาทรัพยากรต่าง ๆ ของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษาป่าชายเลน ทรัพยากรสัตว์น้ำต่างๆ โดยช่วยเป็นหูเป็นตาไม่ให้มีการทำลาย แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อการใช้

เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนมีการสร้างทุนทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชน การสร้างเสริมเครือข่ายและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนและองค์กรเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและชุมชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกและชุมชน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อประสานความร่วมมือในการฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน คณะทำงาน โครงการอนุรักษ์ฟืนฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บ้านบากันเคย ได้สรุปประเด็นการสำรวจความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรชายฝั่ง ว่าอาชีพประมงพื้นบ้านที่ชาวบ้านทำมากที่สุด คือการออกอวนปู อวนกั้ง เพราะเป็นสัตว์ที่มีราคาสูงและความต้องการของตลาดมีมาก แหล่งที่หาก็อยู่บริเวณหน้าอ่าวตันหยงโป คือ เกาะสาม,เกาะโกย,เกาะหัวมัน ,เกาะหัวมัน, เกาะกวาง ,เกาะผี,เกาะมดแดง,คลองตะเหมี๊ยง, คลองการัง แต่ปัจจุบันจำนวนปู และกั้ง มีน้อยลง การออกทะเลแต่ละครั้งก็ต้องไปที่ไกลๆและใช้เวลานานขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมากแต่ผลผลิตกลับได้น้อย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สรุปผลการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล (ปัญหาอุปสรรค์)
  2. วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลจากการลงสำรวจ
  3. จัดทำแผนคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ และได้รับทราบข้อมูลในชุมชน
  4. วางแผนการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สรุปผลการจัดเก็บข้อมูล จำนวน 15 วัน
  2. วางแผนกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
        - การจัดหาพันธ์สัตว์น้ำ และพันธ์ไม้ป่าชายเลน  ให้ นางสาวลัดดาวัลย์  สุวรรณะ และ นายกูสารดี  สตอหลง เป็นผู้ประสานงานของรับพันธ์สัตว์น้ำและพันธ์ไม้ และการขนย้าย     - การจัดเตรียมสถานที่ปล่อยพันธ์สัตว์ และสถานที่ปลูกป่าชายเลน ให้ นายรอซาด  สุวาหลำ เป็นหัวหน้าทีมในการจัดเตรียมสถานที่    

 

27 16

10. ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายแลน ครั้งที่ 2

วันที่ 29 มกราคม 2558 เวลา 09.30 - 14.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำและพื้นที่ป่าชายเลนให้มากขึ้นและทดแทนสัตว์ที่ถูกจับไปและเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนได้รู้จักการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและใช้อย่างรู้คุณค่า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้ปล่อยพันธ์ปลากะพงขาว จำนวน 500,000  ตัว กุ้งกุลาดำ จำนวน  500,000  ตัว บริเวณสะพานท่าเทียบเรือบ้านบากันเคย
  2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยกรเพิ่มมากขึ้น
  3. ประชาชนมีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพิ่มขึ้น
  4. ชุมชนเกิดมุมมองการทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่กว้างขวางขึ้น ทั้งประเด็นชุมชนประมงพื้นบ้านกับการจัดการป่าชายเลนการจัดทำธนาคารกั้งชุมชน และการจัดการกั้งตั๊กแตน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำทะเลและปลูป่าชายเลน ครั้งที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ทำหน้าที่หาพันธ์สัตว์น้ำเพื่อมาปล่อย และขนย้ายจากสถานที่ขอมายังสถานที่จัดกิจกรรม
    การขอพันธ์สัตว์น้ำได้ทำหนังสือขอพัธ์สัตว์น้ำจากสถานีเพาะพันธ์สัตว์น้ำสตูล อำเภอละงู ปลากะพงขาว จำนวน 500,000ตัว กุ้งกุลาดำ จำนวน500,000ตัว
    กลุ่มที่ 2 ทำหน้าที่ทำซั่งบริเวณใต้สะพานบ้านบากันเคย ซึ่งเป็นจุดปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ เพื้อเป็นที่พักชั่วคราวของกุ้ง ปลา ที่นำมาปล่อย กลุ่มที่ 3 ฝ่ายบริการอาหารและเครื่องดื่ม ให้กับผู้ที่มาร่วมกิจกรรม
  2. สรุปผลการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ

- ปลากะพงขาว จำนวน 500,000ตัว กุ้งกุลาดำ จำนวน500,000ตัว
- มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 55คน

 

50 55

11. รายงานผลโครงการครึ่งแรก ต่อ สจรส

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการครึ่งปี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • รายงานผลการจัดกิจกรรมรยะครึ่งปี ได้ทำกิจกรรมไปแล้วหลายกิจกรรม  ผลจากการทำกิจกรรม ดังนี้ 1. ได้รับการตอบรับจากประชาชนในชุมชนเป็นอย่างดี 2. เกิดสภาชุมชนที่ไม่เป็นทางการ  3. ชุมชนเกิดจิตสำนึกหวงแหนและทรัพยากรของชุมชนมากขึ้น 4. ได้ฎกกติการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบางส่วน 5. ประชาชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรมากขึ้น 6. ชุมชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรต่อการประกอบอาชีพประมงของตนเองมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานในระยะครึ่งปีของโครงการ ณ มอ.หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

รายงานผลการดำเนินงานครึ่งปีของโครงการและตอบข้อซักถามของเจ้าหน้าที่ สจรส มอ

 

2 2

12. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8

วันที่ 5 มีนาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 2 และวางแผนจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ มีประชาชนและเยาวชนให้ความสนใจเป็นเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยาการทางทะเลและชายฝั่งมากยิ่งขึ้น ร่วมทั้งกลุ่มองค์กรและหน่วยงานต่างๆก็ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชนบ้านบากันเคยและให้การสนับสนุนการทำกิจกรรมต่างๆด้วยดีเสมอมา  และการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยชุมชนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันมีองค์กรต่างๆ มากมายทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน และปัจจุบัน ระดับของการมีส่วนร่วมของประชาชนชุมชนบากันเคยมีมากขึ้น  และแนวความคิดของของชุมชนของการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งกระบวนการนับว่าเป็นแนวทางที่ดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สรุปผลการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์้ำ ครั้งที่ 2
  2. วางแผนการจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สรุปผลการจัดกิจกรรมปล่อนพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 2
    • เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอีกรูปแลลหนึ่งที่ได้รับความนิยมและสามารถกระทได้ไม่ยากทำให้ การปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้งนี้ ได้ขอรับการสนับสนุนพันธ์กุ้งขาว และพันธ์ปลากะพงขาว จากหน่วยงาน สำนักงานเพาะพันธ์สัตว์น้ำประมงชายฝั่ง อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นพันธ์กุ้ง จำนวน5 แสนตัวและ พันธ์ปลากะพงขาว จำนวน 5 แสนตัว ส่วนพันธ์ไม้ป่าชายเลน ไดรับการสนุเคราะห์จากสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 สตูล จำนวน500ต้น
    • มีการแบ่งหน้าที่ของคณะทำงาน เพื่อให้การทำงานที่รวดเร็วขึ้น ดังนี้1) นางสาวลัดดาวัลย์สุวรรณะมีหน้าที่ติดต่อหน่วยงานเพาะพันธ์สัตว์น้ำประมงชายฝั่ง อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อขอรับพันธ์สัตว์น้ำ และประสานเจ้าหน้าที่ คณะทำงาน เพื่อไปรับมอบและขนย้ายพันธ์สัตว์น้ำ2) นายกูสารดี สตอหลง นายวีระศักดิ์ มะสมัน นายจำปัน ปันดีกา การเตรียมสถานที่ในการปล่อยพันธ์กุ้งและปลา โดยการนำทางใบจาก และมะพร้าว มาปักไว้ใต้สะพานและรอบๆบันใดใต้สะพานบากันเคย เพื่อให้เป็นที่พักของลูกกุ้ง ลูกปลาที่นำมาปล่อย จะทำให้พันธ์สัตว์ที่ปล่อยมีโอกาสรอดมากขึ้น3) นางฝารีด๊ะ ยุเหล่ นางมารีย๊ะนวลจันทร์มีหน้าที่ ดูแลเรื่องอาหารและอาหารว่างสำรับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม และคณะทำงานที่เตรียมสถานที่ก่อนวันทำกิจกรรม4) นายรอซาด สุวาหลำ นายสมาน มะสมันและคณะทำงานอีก 3 คน มีหน้าที่ จัดเตรียมสถานที่ปลูกพันธ์ไม้ป่าชายเลน5) คณะทำงานที่เหลือ มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 29 มกราคม 2558 เวลา 09.00 - 14.00 น เนื่องจากการทำกิจกรรมแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงเช้าจะเป็นกิจกรรมปล่อยพันธ์กุ้งและปลา เพราะเป็นเวลาที่น้ำขึ้นสูง การปล่อยพันธ์สัตว์น้ำช่วงนั้นจะทำให้พันธ์สัตว์ที่ปล่อยมีโอกาสรอดชชีวิตมากที่สุด และช่วงบ่าย จะเป็นกิจกรรม ปลูกป่าชายเลน เนื่องจากจะเป็นเวลาที่น้ำทะเลลงลึกมากที่สุดสามารถลงไปปลูกพันธ์ไม้ป่าชายเลนได้
  2. วางแผนการจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน โดยมีกิจกรรมเพื่อคืนข้อมูล ดังนี้

- วิทยากรบรรยายให้ความรู้และคืนข้อมูลให้กับชุมชน - ปราชญ์ชาวบ้านบอกเล่าความเป็นมาของชุมชน และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรเมื่อสมัยก่อนเปรียบเทียบกับปัจจุบัน และการสะท้อนปัญหาด้านทรัพยากรร่วมกับเยาวชน - ทำเอกสารข้อมูลแจกให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม - ทำข้อมูลลงไวนิลเพื่อให้ชุมชนทราบ การแบ่งหน้าที่
- นางสาวลัดดาวัลย์ สุวรรณะ มีหน้าที่ ติดต่อวิทยากร เพื่อมาให้ความรู้ของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เก็บได้ - นายสมาน มะสมัน และนายกูสมาแอ สตอหลง เป็นปราชญ์ชาวบ้านมีหน้าที่บอกเล่าความเป็นมาของชุมชนและสะท้อนปัญหาของชุมชนร่วมกับเยาวชน - นางฝารีด๊ะยุเหล่และ นางมารีย๊ะ นวลจันทร์นางลีลา ปันดีกา มีหน้าที่ ดูแลด้านอาหาร และอาหารว่าง ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม - นายจำปัน ปันดีกา นายวีระศักดิ์ มะสมัน นายรอซาด สุวาหลำ มีหน้าที่ จัดสถานที่ในการจัดกิจกรรม ดดยขอใช้สถานที่อาคารตาดีกา บากันเคย

 

27 16

13. จัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน

วันที่ 11 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อคืนข้อมูลที่จัดเก็บได้คืนให้กับชุมชนได้รับทราบข้อมูลด้านทรัพยากรและด้านต่างๆของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลจากการจัดเวทีคืนข้อมูล
- ทำให้ทราบว่า  อาชีพประมงพื้นบ้านที่ประชาชนบ้านบากันเคยทำกันมาก คือ การวางอวน วางไซ กั้ง, และ ปู ซึ่งมีปริมาณที่มากว่าชนิดอื่นและหาได้ง่ายกว่าและมีราคาสูงกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น การบริโภคของตลาดก็มีความนิยม แต่ปัจจุบันการออกทะเลแต่ละครั้งไม่มีความแน่นอน และใช้เวลานาน บางครั้งต้องออกไปไกล ถึงแดนมาเลเซีย เนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำลดลง สาเหตุของปัญหาเกิดมาจาก การเพิ่มของจำนวนชาวประมงพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไป ซึ่งไม่เพียงแต่ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนนี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวประมงพื้นบ้านชุมชนใกล้เคียง คือ ตำบลเกาะสาหร่าย ตำบลปูยู ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง และยังไม่รวมเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ก็ยังมีการเข้ามาทำกินในอ่าวตันหยงโป แห่งนี้ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งกำลังการผลิตตามธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดบวกกับกำลังการใช้ประโยชน์ที่นับวันจะทวีมากขึ้นอย่างไร้ขอบเขต ไร้การควบคุม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังรอการแก้ไข - ทำให้ชุมชนเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรมากขึ้นและเกิดการเรียนรู้จากประสบการจากการทำกิจกรรมต่างๆ และมีการถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้กับเพื่อนในชุมชน
- ชุมชนจึงเกิดการรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ไขปัญหาด้านทรัยพากรโดยการสร้างทุนทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชน การสร้างเสริมเครือข่ายและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนและองค์กรเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและชุมชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกและชุมชน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อประสานความร่วมมือในการฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. วิทยากรบรรยายคืนข้อมูล
  2. กิจกรรมการเล่าสูกันฟังถึงการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในชุมชน โดยผู้สูงอายุในชุมชน 2 คน
  3. กิจกรรมเสวนา หาแนวทางการแก้ไขปัญหา ของทรัพยากร เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานประชุมแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบงานเวทีคืนข้อมูล ดังนี้
1. ประสานงานติดต่อกับหน่วยงานส่วนราชการในพื้นที่ เช่น อบต. รร. รพ.สต.ตำบล 2. ฝ่ายจัดสถานที่ และติดต่อขอใช้สถานที่
3. ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม 4. ฝ่ายติดต่อวิทยากร และปราชญ์ชาวบ้าน และจัดทำเอกสารรูปเล่ม 5. ฝ่ายอาหารและต้อนรับ กิจกรรม การคืนเวที
1. วิทยากรบรรยายถึงความสำคัญของข้อมูลที่จัดเก็บได้ การใช้ประโยชน์ของข้อมูล และการชี้ให้เห็นปัญหาที่ได้จากข้อมูลที่เก็บได้มี 2. การบอกเล่าของปราชญ์ชาวบ้าน (บรรยาย) 3. กิจกรรมการแสดงประกอบการเล่าสู่กันฟังของปราชญ์ กำหนดการ 08.30 น. ลงทะเบียน
09.00 น. นายก อบต.ตันหยงโป เปิดเวทีเสวนาการคืนข้อมูลให้กับชุมชน  และบรรยายพิเศษเรื่องความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยาการทางแทะเลและชายฝั่งของชมชนบ้านบากันเคย
10.00 น. วิทยากร บรรยาย ข้อมูลที่จัดเก็บได้มาจากการสำรวจของคนในชุมชนเอง และสะท้อนปัญหาของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชนโดยไม่เห็นความสำคัญของทรัพยากร 12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง และละหมาด
13.30 น. ปราชญ์ชาวบ้านนเสนอเรื่องราวในอดีตประกับการแสดงของเยาวชน
14.30 น. เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและของตำลงในการใช้ประโยชน์ของทรัพยาการของชุมชน 15.30 น. ปลัด อบต. บรรยายพิเศษ เรื่องความสำคัญของทระพยากรและการอนุรักษ์ไว้เพื่อให้มีใช้ตลอดไป 16.00 น. ปิดกิจกรรมเวทีคืนข้อมูล 

 

100 94

14. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9

วันที่ 13 มีนาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการจัดเวทีคืนข้อมูล และวางแผนการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้วที่ 3

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการจัดเวทีคืนข้อมูล
  1. จากการจัดเวทีคืนข้อมูลทำมีประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากทุกคนให้ความสนใจต่อข้อมูลที่ที่คณะกรรมการนำเสนอ   2. เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรมากขึ้น การจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้งที่ 3   1. ประชาชนมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น   2. ประชาชนเห็นความสำคัญของทรัพยากร ในการใช้ประโยชน์และการรักษาไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สรุปผลการจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน
  2. วางแผนการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 3

กิจกรรมที่ทำจริง

เรียกประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการจัดเวทีคืนข้อมูลและจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้วที่ 3
  - การจัดเวทีคืนข้อมูล ได้รับการตอบรับจากประชาชนในชุมชนเป็นอย่างมาก ทุกคนที่เข้าร่วมเวทีคืนข้อมูลให้ความสนใจต่อข้อมูลที่จัดเก็บได้และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรที่มีอยุ่ในชุมชน
  - ประชาชนให้ความสำคัญต่อการอนุักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน   - ชุมชนเห็นด้วยกับผู้ใหญ่บ้านที่ตั้งเป็นชมรมอนุรักษ์พันธ์ปูม้าชุมชนบากันเคย เพื่อเป็นการขยายพันธ์ และให้มีปู้ม้าไว้สำหรับให้ชุมชนหาได้ตลอดโดยไม่ต้องออกไปหาในสถานที่ไกลๆ   การจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 3 จะจัดในวันที่ 19 มีนาคม  2558 มีกิจกรรม ดังนี้     - ปล่อยพันธ์ปูดำ จำนวน 2,000  ตัว
    - ปลูกป่าชายเลน  จำนวน  1,000  ต้น     -  ปล่อยพันธ์ปูม้า จำนวน  60 ล้านตัว
    งานที่ต้องเตรียม มีดังนี้
    - เตรียมสถานที่ปล่อยพันธ์ปูดำ โดยใช้สถานที่ป่าชายเลนบริเวณหน้าบ้นผู้ใหญ่ รอซาด สุวาหลำ เพราะเป็นพื้นชายเลนที่กว้างประมาณ 3 ไร่  โดยล้อมรอบด้วยอวน และไม้ไผ่ กั้นไม่ให้ปูที่ปล่อยออกนอกพื้นที่ และจะปล่อยปูก็ต่อเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ  6  เดือน เพราะเป็นช่วงเวลาที่ปูวางไข่แล้ว
  - สถานที่ปลูกป่าชายเลนใช้สถานที่เดียวกับที่ปล่อยปูดำ เพื่อเพิ่มปริมาณต้นไม้ให้มากขึ้นเพื่อปรับสภาพระบบนิเวศป่าชายเลนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น   - การเตรียมพันธ์ไม้ พันธ์ปูดำ พันธ์ปูม้า ได้ขอรับจากสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 สตูล เป็นพันธ์ปูดำ และพันธ์ไม้โกงกาง
  - การเตรียมพันธ์ปูม้า  จะได้จากชมรมอนุรักษ์พันธ์ปูม้าบากันเคย ของผู้ใหญ่บ้าน โดยสมาชิดกลุ่ม ต้องเตรียมแม่พันธ์ปูม้าประมาณ 10 - 20  ตัว เพื่อฝักไข่ก่อนวันงาน วิธีการได้มาซึ่งแม่พันธ์ปูม้า คือ รับบริจาค จากสมาชิกกลุ่มและชาวบ้านที่ให้การสนับสนุน เพื่อการขยายพันธ์ปูม้า   - เตรียมถังกักเก็บน้ำเค็ม เพื่อสำรองในการเพาะพันธ์ปูม้า จำนวน 1 ถัง
  - เตรียมสถานที่ปล่อยพันธ์ คือ ต้องสร้างสะพานไม้ชั่วคราวเพื่อเป็นทางเดินไปยังสถานที่ปล่อยพันธ์ปูม้า และปูดำ เนื่องจากการปล่อยพันธ์ปูต้องรอให้น้ำทะเลขึ้นสูงสุด จะทำให้ลูกปูที่ปล่อยมีชีวิตรอดมากที่สุด
 

 

27 16

15. ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายแลน ครั้งที่ 3

วันที่ 19 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำและพื้นที่ป่าชายเลนให้มากขึ้นและทดแทนสัตว์ที่ถูกจับไปและเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนได้รู้จักการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและใช้อย่างรู้คุณค่า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการทำกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 3 ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความตื่นตัวและมีส่วนร่วมกับการอนุรักทรัพยากรมากขึ้น เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรและการมีส่วนร่วม จึงทำให้เกิดกลุ่มอนุรักษ์พันธ์ปูม้าบากันเคย โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำร่องในการทำและมีชาวบ้านจำนวน 3-5 คน เป็นแกนนำในการก่อตั้งกลุ่ม และกิจกรรมครั้งนี้ได้เพิ่มการปล่อยพันธ์ปูดำ ในพื้นป่าชายเลนที่ได้เตรียมไว้ จำนวน 2 ไร่ โดยล้อมด้วยอวนและไม้ไฝ่ เป็นการอนุบาลปูและขยายพันธ์ในพื้นที่ต่อไป

กิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการและเอกชน หลายฝ่าย คือ สำนักงานประมงจังหวัดสตูล สถานีพัฒนาป่าชายแลน ทหารหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 45 สตูล เกษตรจังหวัดสตูล เครื่อข่ายศิษย์เก่านิด้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป โรงเรียนบ้านตันหยงโป โรงเรียนบ้านหาดทรายยาว องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโป และประชาชนในพื้นที่ทุกคน  ซึ่งทุกฝ่ายให้เห็นความสำคัญในการอนุรัษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกิจกรรมต่างๆได้รับการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานภายนอกเป็นอย่างดี เป็นการรวมเครือข่ายภาคีทุกผากส่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และชุมชนมามีบทบาทในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรด้วยตนเอง  ทำให้ชุมชนมีแนวทางการอนุรักษ์ที่เชื่อมโยงระหว่างการจัดการทรัพยากรทางทะเลด้วยแนวคิดการพึ่งพากันของ น้ำ ป่า ทะเล โดยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ปลูกจิตสำนึกเพื่อลดการใช้สารเคมี หันมาพึ่งพิงวิถีธรรมชาติใช้สารสมุนไพรธรรมชาติ ตามวิถีดั้งเดิม แก่กลุ่มชาวประมง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 3
1. ติดต่อประสานงานขอรับพันธ์สัตว์น้ำและพันธืไม้โกงกาง จากสถานีพัฒนาป่าช่ยเลนที่ 35 สตูล - ปูดำ จำนวน2,000ตัว
- พันธ์ไม้โกงกาง จำนวน 1,000ต้น
- พันธ์ปูม้า จำนวน 60 ล้านตัว จากกลุ่มอนุรักษ์พันธ์ปูม้าชุมชนบากันเคย 2. จัดหาสถานที่ปล่อยพันธ์ปูดำ และปลูกป่าชายเลน - สถานที่ปล่อยพันธ์ปูดำ บริเวณหน้าบ้านผู้ใหญ่
- สถานที่ปลูกไม้โกงกาง บริเวณที่หน้าบ้านผู้ใหญ่ หมู่ 3
3. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียดขั้นตอนและกระบวนการ 1. แบ่งงานหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงาน       1.1 เตรีนมสถานที่ปล่อยพันธ์สัตว์และปลูกป่าชายเลน โดยกันอวนและไม้ไฝ่สำหรับเป็นที่เพาะพันธ์ปู       1.2 ติดต่อขอรับพันธ์ไม้และพันธ์ปู       1.3 ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ชุมชนบากันเคย เตรียมพันธฺปูม้า จำนวน 60 ล้านตัว สำหรับปล่อยลงทะเล       1.4 ฝ่ายต้อนรับและประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม กิจกรรมที่ปฏิบัติ 1. ปล่อยพันธ์ปูดำจำนวน 2,000 ตัว โดยขอรับการสนับสนุนจากสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 สตูล 2. ปลูกพพันธ์ไม้โกงกางจำนวน 1,000  ต้น
3. ปล่อยพันธ์ปูม้า จำนวน 60 ล้านตัว จากถังที่ได้เพาะพันธ์ไว้ของกลุ่มอนุรักษ์บ้านบากันเคย

 

50 60

16. ขอรับการปรึกษากับพี่เลี้ยงโครงการ

วันที่ 20 มีนาคม 2558 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้การจัดกิจกรรมครั้งต่อๆไปได้ดีขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อมูลและวิธการจัดกิจกรรมต่างๆ และการจัดทำเอกสารของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

หารือการจัดกิจกรรมจัดเวทีคืนข้อมูลและการจัดทำเอกสารการคีย์ข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เดินทางไปหาพี่เลี้ยงที่ อบต.นาทอน เพื่อของคำแนะนำการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป และการบันทึกข้อมูลต่างๆในระบบ

 

1 1

17. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10

วันที่ 25 มีนาคม 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลนครั้งที่ 3 และวางแผนการจัดกิจกรรมวางปะการังเทียม กำหนดเขตการอนุรักษ์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลจากการทำกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ และปลูกป่าชายเลนครั้งที่ 3 ดังนี้ - ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากขึ้น เพราะคนในชุมชนเท่านั้นที่อาศัยอยู่ใกล้และคลุกคลีกับป่าชายเลนแทบทุกวันจึงทราบดีว่าป่าชายเลนเหล่านั้นมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมโทรม มากกว่าเดิมหรือไม่  จึงเกิดแนวคิดของชุมชนในการฟื้นฟูป่าชายเลน ดังต่อไปนี้ 1) การประเมินความเสียหาย ชุมชนสามารถประเมินความเสียหายของทรัพยากรป่าชายเลนได้โดยการสังเกตความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง และจะมีผลกระทบต่อชุมชนในอนาคตอย่างไรการเปรียบเทียบความอุดมสมบูรณ์ในอดีตกับปัจจุบันและดูจากสภาพทั่วๆ ไปที่มองเห็นได้ 2) การวางแผนและเตรียมการ ขั้นตอนนี้ชุมชนจะต้องมีผู้นำเป็นผู้ริเริ่มในการปรึกษาหารือกับสมาชิกในชุมชน เพื่อหาแนวทางการฟื้นฟู และดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ 3) การปลูกและการจัดการ การปลูกสามารถทำได้ทั้งเมล็ดฝักและ ต้นกล้า ขึ้นอยู่การเตรียมการของชุมชน ส่วนใหญ่ชุมชนได้รับการช่วยเชือจากสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 ในการเพาะพันธ์ต้นกล้า 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สรุปกิจกรรมการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ และปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 3
  2. ประชุมหารือวางแผนการจัดกิจกรรมวางปะการังเทียม และกำหนดแนวเขตการอนุรักษ์

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลนครั้งที่ 3เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558
  2. วางแผนการจัดกิจกรรมวางปะการังเทียมและวางทุ่นกำหนดแนวเขตปะการังเทียม
  • การขนย้ายปะการังเทียมที่ได้รับจากการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆและที่ได้รับจากการบริจาค จากร้านค้าต่างๆ
  • การเตรียมเรือ เพื่อการขนย้ายปะการังเทียม ลงทะเล
  • การทำทุ่นแนวเขต
  • การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชเข้าร่วมกิจกรรมวางปะการังเทียม เนื่องจากต้องใช้กำลังคนมาก

 

27 16

18. วางปะการังเทียม

วันที่ 15 เมษายน 2558 เวลา 09.00 - 14.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งและผลผลิตทางการประมง (การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) และฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของชาวประมงทะเลพื้นบ้านให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการวางปะการังทำให้ ด้านชีววิทยา สามารถรักษาบริเวณที่เป็นแหล่งเลี้ยงตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน ทำให้ประชากรรุ่นใหม่ของ สัตว์น้ำที่จะเข้าสู่แหล่งทำการประมงมีมากขึ้นส่วนทางด้านเศรษฐกิจ เพิ่มแหล่งทำการประมงที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิต และด้านสังคม การบริหารการประมงของรัฐ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความขัดแย้ง ทั้งนี้ยังก่อให้เกิด - ชาวประมงพื้นบ้านมีแหล่งทำการประมงเพิ่มขึ้น - ชาวประมงพื้นบ้านสามารถทำการประมงได้ปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น - สามารถป้องกันการลักลอบใช้เครื่องมือทำการประมงที่ผิดกฎหมาย (โดยทางอ้อม) - ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการปกป้องดูแลเสริมสร้างความแข็งแรงให้สมดุลภายในระบบนิเวศทางทะเล - ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพิ่มขึ้นและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ - เป็นการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ชาวประมงมีรายได้จากการจับสัตว์น้ำมากขึ้น และบางรายมีรายได้จากการท่องเที่ยว เพื่อตกปลา - ประชาชนในชุมชนได้เห็นความทสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. รับบริจากวัสดุทำปะการังเทียมจากหน่วยงานและร้านค้าต่างๆ
  2. กำหนดจุดวางปะการังเทียมและแนวเขตการอนุรักษ์
  3. จัดหาทุ่นสำหรับทำเป็นแนวเขตการอรุักษ์
  4. จัดหาเรือในการขนส่งวัสดุปะการังเทียม
  5. วางผังการทิ้งปะการังจำนวน 2 จุด ที่เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำ และแนวเขตอนุรักษ์ห้วมทำการประมง ห่างจากชายฝั่งประมาณ 1,000 เมตร

กิจกรรมที่ทำจริง

แบ่งหน้าที่คณะทำงานให้รับผิดชอบ ดังนี้ - นายรอซาด สุวาหลำ นายกูสารดีสตอหลง และ นายสาบรี เส็นดากันมีหน้าที่ หาเรือจำนวน 10 ลำ ในการลำเรียงวัสดุปะกังเทียม และจัดหาน้ำมันในการขนส่ง - นายวีระศักดิ์ มะสมัน นายจำปัน ปันดีกา นายสมาน มะสมัน มีหน้าที่ สำรวจพื้นที่กำหนดแนวเขตวางปะกังเทียมและวางทุ่น และจุดการทิ่งปะการังเทียม - นายกิตติหมัดตานี นายรอซาด สุวาหลำ มีหน้าที่ จัดหาวัสดุปะการังเทียม และขนย้ายจากฝั่งไปยังท่าเทียบเรือ เป็นท่อซีเมนต์จำนวน200 ท่อน และยางรถยนต์ จำนวน 100 ชิ้น และทุ่นจำนวน 3 ลูก เพื่อวางเป็นแนวเขตอนุรักษ์ในทะเล - นายนสรีกรมเมือง นายสแลมันเส็นดากัน และ นายมะหาหมาดยุเหล่ มีหน้าที่เตรียมไม้เพื่อจัดทำสะพานชั่วคราวเพื่อขนย้ายวัสดุปะการังเทียมลงเรือ
ขั้นตอนการวางปะการังเทียม แบ่งคนออกเป็น 2 ชุด
ชุดที่ 1 อยู่บนฝั่ง มีหน้าที่ ขนย้ายวัสดุปะการังเทียมจากฝั่งบริเวณสะพานไม้ที่ทำขึ้นสำหรับขนย้ายวัสดุปะการังเทียมลงเรือ จำนวน 15 คน
ชุดที่ 2 อยุ่ประจำเรือ มีหน้าที่ นำปะกังเทียมที่อยู่ในเรือออกไปทิ้งตามจุดต่างๆที่ได้สำรวจไว้เเล้ว และวางทุ่นในการอนุรักษ์ตามแนวเขตที่สำรวจไว้ และวางทุ่นเพื่อบอกแนวเขตการวางปะการังเทียม

 

50 50

19. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 11

วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการวางปการังเที่ยม และวางผนการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 4

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการทำกิจกรรมวางปะการังเทียม ชุมชนให้ความร่วมือเป็นอย่่างดี และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพนากรทางทะเลและชายฝั่งมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งจะมีจำนวนประชาชนเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นทุกครั้ง และเกิดการรวมกลุ่มในการอนุรักษ์พันธ์ปูม้า โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่หน้าบ้านผู้ใหญ่ มีอุปกรณ์การเพาะพันธ์ปู ดังนี้  ถังสำหรับเพาะพันธ์ปูม้า ขนาด 10 ลิตร  จำนวน  10 ถัง เครื่องออกซิเจน จำนวน 10 ชุด ถังเก็บน้ำขนาด 2,000  ลิตร จำนวน 2 ถัง อุปกรณ์ทั้งหมด ได้รับบริจาค จาก หน่วยงาน อบต. ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และการสร้างโรงเรือน ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านทุกคนในชุุมชนบ้านบากันเคย และมีการเฝ้าระวังการลักลอบการทำประมงบริเวณเเนวเขตะการังเทียมอีกด้วย 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สรุปผลการวางปะกังเทียม
  2. วางแผนการจัดเวที่การวางมาตรการ กฎ กติกา การใช้ทรัพยากรของชุมชน
  3. วางแผนการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้งที่ 4

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สรุปผลการวางปะการังเที่ยม

- ผลที่ได้จากการวางปะการังเที่ยม 1) เพื่อฟื้นฟูผลผลิตทางการประมงเป็นการจัดการและพัฒนาทรัพยากรในท้องถิ่น 2) ฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของชาวประมงทะเลพื้นบ้านให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 3) ฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผลที่ได้จากการวางปะการังเทียม (ท่อซีเม็น) ได้วางปะการังเทียม จำนวน 2 จุด จุดละ 50 ลูก ระยะห่างจากฝั่งประมาณ 1,000 เมตร และมีการวางทุ่นเป็นแล้วแนวเขตปะการังเทียม เพื่อป้องกันไม่ให้เรือประมงวางอวนและ วางไซเนื่องจากแนวปะการังเทียมเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยรวม มีสัตว์น้ำนานาชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ทั้งกุ้ง, หอย, ปู และปลาหลายชนิดที่เป็นปลาประจำถิ่น เช่น กลุ่มปลากะพงหลายชนิด, ปลาเก๋า และปลาในแนวปะการังทั่วไป สามารถทำการตกปลาได้ ทำให้ประมงพื้นบ้านและนักท่องเที่ยวมาตกปลาเพิ่มมากขึ้น เป็นการสร้างอาชีพให้กับประชาชนในชุมชนอีกทางหนึ่ง - การมีส่วนร่วมของชุมชนประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือในการวางปะการังเทียมเป็นอย่างดี และเห็นความสำคัญของการวงปะการังเทียม เพราะชุมชนได้ประโยชน์โดยตรงจากกิจกรรมนี้ ชุมชนจึงเกิดแนวคิดการจัดเวรยามเพื่อเฝ้าระวังการทำประมงบริเวณเนวเขตปะการังเทียม ซึ่งเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชุมชนเอง และเกิดจากความต้องการของชุมชนเอง โดยได้แรงกระตุ้นจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และประชาชนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างรู้คุณค่าของทรัพยากรมากขึ้น - ผลตอบรับของชุมชนชุมชนให้การตอบรับกับกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ เนื่องประชาชนทุกคนในชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการทำโครงการทั้งสิ่้น และชุมชนเริ่มให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทัพยากรเพิ่มมากขึ้น และมีการเฝ้าระวังการลักลอบทำประมงบริเวณแนวเขตปะการังเทียม ของหมู่บ้าน
2. วางแผนการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้งที่ 4
- การมอบหมายหน้าที่ หาพันธ์สัตว์น้ำ พันธ์ป่าไม้โกงกาง มอบให้ นางสาวลัดดาวัลย์สุวรรณะ เป็นผู้ติดต่อประสานงานในการขอพันธ์พืชและพันธ์สัตว์ กับหน่วยงานสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 สตูล และสถานีเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง อำเภอละงูโดยให้ นายกูสารดีสตอหลง และนายวีรศักดิ์ มะสมัน เป็นผู้ไปรับพันธ์ต้นกล้าและพันธ์สัตว์ - การเตรียมสถานที่ปลูกป่า และปล่อยพันธ์สัตว์มอบหายให้ นายรอซาดสุวาหลำ และนายจำปันปันดีกาเป็นผู้ดำเนินการ
- การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม มอบหมายให้นางสาวฝารีด๊ะยุเหล่ และนางมารีย๊ะ นวลจันทร์ เป็นผู้ประชาสัมพันธ์ และให้ทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์ด้วย

 

27 21

20. ประชุมเครือข่ายและสภาองค์กรชุมชน

วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกำหนดกฏกติกาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการตั้งกฎกติการ ระเบียบการทำประมงพื้นบ้านและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอ่าวตันหยงโป
ที่ได้จากการประชุมของคณะทำงานและผู้เข้าร่วมประชุมมีมติเห็นชอบให้มีกฏกติกา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ดังนี้
  1. ห้ามทำการประมงทุกชนิดบริเวณห่างจากฝั่งลงในทะเลเป็นระยะ  300 เมตร จนถึงหน้ากระชัง (ยกเว้น ย้ำกั้ง ตกปลา ไซปูดำ)

  2. ห้ามทำประมงทุกชนิดบริเวณ แนวเขตปะการังเทียม (ยกเว้น ตกปลา)   3. ต้องมีการปลูกพันธ์ไม่ป่าชายเลน อย่างน้อย ปีละ 2,000  ต้น
  4. ต้องมีการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อย ปีละ  2 ครั้ง ให้ปิดประกาศทั้งชุมชนและมีการประกาศที่มัสยิดเพื่อให้ทุกคนได้รับทราบอย่างทั่วถึงและถือปฏิบัติอย่างเคร่วงครัด
หากมีการฝ่าฝืนคนที่ได้ผลกระทบไม่ใช้ใครที่ไหนแต่เป็นคนในชุมชนนั้นเอง ดังนั้นทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏกติกาที่ตั้งไว้เพื่อให้มีทรัพยากรใช้ตลอดไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเครือข่ายและสภาองค์กรชุมชน เพื่อวางกฎกติกา ระเบียบ การทำประมงพื้นบ้านและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอ่าวตันหยงโป

กิจกรรมที่ทำจริง

การวางกฎ กติกา ระเบียบการทำประมงพื้นบ้านและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอ่าวตันหยงโป เชิญคณะทำงานและกลุ่มองค์กรต่างๆมาประชุมเพื่อหารือในการตั้งกฎ กติกาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมน
บากันเคย มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวงน 45 คน ตังแทนกลุ่มต่างๆในชุมชนจำนวน 45 คน
และตัวแทนจากหน่วยงานราชการภายในและภายนอก จำนวน 6 คน ข้อสรุปจากการประชุม ดังนี้

  1. ห้ามทำการประมงทุกชนิดบริเวณห่างจากฝั่งลงในทะเลเป็นระยะ  300 เมตร จนถึงหน้ากระชัง (ยกเว้น ย้ำกั้ง ตกปลา ไซปูดำ)   2. ห้ามทำประมงทุกชนิดบริเวณ แนวเขตปะการังเทียม (ยกเว้น ตกปลา)   3. ต้องมีการปลูกพันธ์ไม่ป่าชายเลน อย่างน้อย ปีละ 2,000  ต้น
  4. ต้องมีการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อย ปีละ  2 ครั้ง

ส่วนเรือประมงพานิช ที่มาทำการประมงบริเวณหน้าอ่าวตันหยงโป มีทั้งอวนลาก อวนลุน
การไดหมึกที่ใช้แรงวัตว์ไฟฟ้าสูงมากๆๆ ทำให้ปลาหมึกหน้าอ่าวตันหยงโปหมดไป และสัตว์เล็กๆก็ตายหมดรวมทั้งหญ้าทะเลด้วย จึงต้องให้ทางประมงจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ
เนื่องจากชาวบ้านไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ ในส่วนนี้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโป
ได้เรียกผู้นำ อปท.ที่มีพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเลทั้งจังหวัดสตูล พร้อมด้วยตัวแทนจากประมงจังหวัด
กรมเจ้าท่า มาปรึกษาหารือ ถึงมาตรการการทำประมงพื้นบ้าน ชนิด ขนาด ของอุปกรณ์ เครื่องมือการทำประมงพื้นบ้าน ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และวิธีการจัดการกับเรือประมงพานิชที่เข้ามาทำการประมงบริเวณหน้าอ่าวของแต่ละพื้นที่

 

50 45

21. ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายแลน ครั้งที่ 4

วันที่ 13 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกพันธ์ไม้ชายเลน ครั้งที่ 4

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการทำกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 4 ได้ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ จำนนวน 5 แสนตัว ปลูกพันธ์ไม้ชายเลน จำนว  500  ต้น ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี เป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการอนุรักษ์มากขึ้นจนกลายเป็นเรื่องที่ชุมชนให้ความสำคัญ  และการบูรณาการร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดและสถานีพัฒนาป่าชายเลน จังหวัดสตูล ในการจัดกิจกรรม ซึ่งนำไปสู่การก่อตัวของชุมชนในการเข้ามามีบทบาทบทจัดการทรัพยากรในรูปแบบต่างๆ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน ทำให้สามารถนำไปสู่การจัดการทรัพยากรของชุมชนที่เป็นระบบ เป็นรูปธรรม และคืนความสมบูรณ์แก่ระบบนิเวศชายฝั่ง ซึ่งแนวทางในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของของชุมชน จะมีการประสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเอง และสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนส่งเสริมการเรียนรู้ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมสืบสานภูมิปัญญา พัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรและการดำรงชีวิต รวมทั้งการสนับสนุนจากภาคี องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายแลน ครั้งที่ 4  เพื่อจร้างจิตสำนึกให้ประชานในชุมชนเกิดความตระหนึกในการอนุรักษ์ทรัพยารของชุมชนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ และปลูกป่ายชายเลน มีการแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ ดังนี้
1. นายกูสารดี สตอหลง และนายวีรศักดิ์ มะสมัน ได้เดินทางไปรับพันธ์ไม้ชายเลนที่สถานพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 เจ๊ะบิลัง จำนวน  500  ต้น และพันธ์น้ำสถานีเพาะพันธ์สัตว์น้ำ อำเภอละงู จำนวน 5 แสนตัว
2. การเตรียมสถานที่ปลูกพันธ์ไม้ โดยปักไม้ไฝ่นำร่อง พร้อมด้วยเชื่อกฝางไว้สำหรับผู้ต้นกล้า
3. การเตรียมซั้งสำหรับปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ที่สะพานท่เทียบเรือบากันเคย

 

50 60

22. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 12

วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการวางมาตรการกฏกติกาการใช้ทรพยากรของชุมชนและถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการถอดบทเรียนโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย ดังนี้
ข้อสรุปที่ได้จากากรทำโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย คนบากันเคย ส่วนใหญ่ มีอาชีพประมงชายฝั่ง การประมงที่อาศัยเครื่องมือประมงอย่างง่าย ซึ่งได้รับการสืบสานมาจากภูมิปัญญาดั้งเดิม บ้างหรือได้จากการคิดค้นประดิษฐ์ใหม่บ้าง แต่มีลักษณะที่เหมือนกันคือ เป็นเครื่องมือที่ไม่ทำลายล้างและไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติมีความพอเพียง ประกอบกับเรือขนาดเล็กสำหรับออกหาสัตว์น้ำในทะเล ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่ไม่มีในตำราเรียน มีความหลากหลายของทรัพยากรและมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง หากแต่การใช้ประโยชน์ก็มีความหลากหลายเช่นกัน ด้วยจำนวนชาวประมงพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปรอบอ่าวตันหยงโป ซึ่งไม่เพียงแต่ชาวประมงพื้นบ้านในตำบลนี้ตำบลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวประมงพื้นบ้านตำบลใกล้เคียง คือ ตำบลเกาะสาหร่าย ตำบลปูยู ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง ประมาณการว่าจะมีชาวประมงขนาดเล็กเข้ามาทำการประมงในบริเวณแห่งนี้ไม่ต่ำกว่า 1,500 ลำ และยังไม่รวมเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ (จังหวัดใกล้เคียง เช่น ตรัง กระบี่ ภูเก็ต) ก็ยังมีการเข้ามาทำกินในอ่าวแห่งนี้ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งกำลังการผลิตตามธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดบวกกับกำลังการใช้ประโยชน์ที่นับวันจะทวีมากขึ้นอย่างไร้ขอบเขต ไร้การควบคุม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังรอการแก้ไขเช่นกัน

ปัญหาการทำประมงที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและละเมิดกฎหมายการทำประมง จะเกิดขึ้นกับชุมชนประมงในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และชาวบ้านตันหยงโปก็ไม่เคยรู้เช่นกันว่ามีกฎหมายมาตราใดที่ระบุถึงข้อห้ามในการทำประมงทำลายล้างอย่างอวนรุน อวนลาก และเรือปั่นไฟ แต่เขารู้ว่าถ้าหากเรืออวนรุนเข้ามาทำการในอ่าวตันหยงโป นั่นหมายความว่า หายนะ กำลังคืบคลานเข้ามายังพื้นที่แห่งนี้

ด้วยวิถีชาวประมงพื้นบ้านที่ฝากปากท้องไว้กับความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล ส่งผลให้ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาชุมชนในบ้านบากันเคย ได้ให้ความสำคัญในการดูแลรักษา และวางแผนการจัดการทรัพยากรมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะสร้างการความร่วมมือในชุมชนด้วยกันเองและอาศัยภายใต้การมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ นำไปสู่การจัดการทรัพยากรของชุมชนที่เป็นระบบและเป็นรูปธรรม ดังนี้

  1. การจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน มีความสอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานที่มาจากการประสมประสาน การอนุรักษ์และการพัฒนา ดังนี้
    1.1 การสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชน และบุคคลภายนอกในการอนุรักษ์หวงแหนทรัพยากร และเห็นความสำคัญของทรัพยากรที่มีต่อมวลมนุษย์
    1.2 การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและบุคคลภายนอกในการเฝ้าระวังสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อความเสียหายของทรัพยากรชายฝั่ง
    1.3 การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งในรูปแบบต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดในส่วนของกิจกรรมเกี่ยวกับป่าชายเลนตามแนวทางของชุมชนเป็นไปในลักษณะการปลูกทดแทนในส่วนที่โดนทำลายไปโดยฝีมือของมนุษย์แล้วหรือเสื่อมโทรมตามธรรมชาติ การใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับป่า เช่น การใช้ประโยชน์ไม้โกงกาง เพื่อการสร้างบ้านเรือน คอกสัตว์ มีการใช้ตามความเหมาะสม ไม่ทำลายล้าง การอนุรักษ์สัตว์น้ำ เป็นกิจกรรมสำคัญที่คนในชุมชนทุกคน มีจิตสานึกด้วยตัวเอง โดยการจับสัตว์น้ำขนาดใหญ่ ไม่จับสัตว์น้ำขนาดเล็ก หรือเมื่อติดเครื่องมือมาแล้วก็จะมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
    1.4 การกำหนดเขตอนุรักษ์ และเขตควบคุมการทำประมงผิดกฎหมายทำลายล้าง
    1.5 การวางกฎกติกา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชน

  2. แนวทางในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งของชุมชน เพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน มีการประสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ นำไปสู่แนวทางในการจัดการ 4 แนวทาง คือ
    2.1 ร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์การเกษตร (กลุ่มบากันเคย) ให้สามารถพึ่งตนเองได้
    2.2 ร่วมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน
    2.3 ร่วมเรียนรู้ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
    2.4 ร่วมสืบสานภูมิปัญญาพัฒนาองค์ความรู้

โดยอาศัยวิธีการหรือกระบวนการทำงานตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1. เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นเป้าหมายในการทำงานด้านการอนุรักษ์ให้มีความตระหนักและมีจิตสานึกในการอนุรักษ์
2. เสริมสร้างกระบวนการกลุ่มในการทำกิจกรรมต่าง ๆ กล่าวคือ ในการทำกิจกรรมหรืองานต่าง ๆ ของกลุ่ม จะให้สมาชิกกลุ่มรวมตัวกัน โดยนำกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
3. เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงานและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม
4. การกระตุ้นสร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้กับคนในชุมชนผ่านการดำเนินการ ในกิจกรรมต่าง ๆ
5. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยงานรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคีความร่วมมือต่าง ๆ ในการดำเนินงานกิจกรรม

จะเห็นได้ว่าชุมชนเกิดการเรียนรู้ การวิเคราะห์สภาพปัญหาอย่างถ่องแท้ ของชุมชน มีการกำหนดทิศทางและเป้าหมาย การวางแผนและการปฏิบัติที่สามารถดำเนินการได้จริง จึงเกิดการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในรูปแบบต่างๆ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ ทำให้สามารถนำไปสู่การจัดการทรัพยากรของชุมชนที่เป็นระบบ เป็นรูปธรรม และคืนความสมบูรณ์แก่ระบบนิเวศชายฝั่ง และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเอง และสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนส่งเสริมการเรียนรู้ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมสืบสานภูมิปัญญา พัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรและการดำรงชีวิต รวมทั้งการสนับสนุนจากภาคี องค์กรที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. วิเคราะห์ มาตรการ กฎกติกา ระเบียบ การทำประมงพื้นบ้าน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชน
  2. ถอดบทเรียนจาการทำงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปผลการตั้งมาตรการ กฎกติกาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชน ตามที่ได้ประชุมกำหนดกฏกติกา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล
และมีการปิดประกาศที่มัสยิด ดังนี้

  1. ห้ามทำการประมงทุกชนิดบริเวณห่างจากฝั่งลงในทะเลเป็นระยะ300 เมตร จนถึงหน้ากระชัง (ยกเว้น ย้ำกั้ง ตกปลา ไซปูดำ)

  2. ห้ามทำประมงทุกชนิดบริเวณ แนวเขตปะการังเทียม (ยกเว้น ตกปลา)

  3. ต้องมีการปลูกพันธ์ไม่ป่าชายเลน อย่างน้อย ปีละ 2,000ต้น หรือ 2 ไร่/ปี

  4. ต้องมีการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อย ปีละ2 ครั้ง

    ให้ปิดประกาศทั้งชุมชนและมีการประกาศที่มัสยิดเพื่อให้ทุกคนได้รับทราบอย่างทั่วถึงและถือปฏิบัติอย่างเคร่วงครัด หากมีการฝ่าฝืนคนที่ได้ผลกระทบไม่ใช้ใครที่ไหนแต่เป็นคนในชุมชนนั้นเอง ดังนั้นทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏกติกาที่ตั้งไว้เพื่อให้มีทรัพยากรใช้ตลอดไป

    1. การถอดบทเรียนจากการทำโครงการ ให้คณะทำงานสรุปผลโครงการที่ได้ดำเนินการมาแล้วทั้งหมด โดยสรุปตามวัตถุประสงค์ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข องค์ความรู้ที่ชุมชนได้รับการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดการกับทรัพยากรต่อไป

 

27 20

23. เดินทางไปหาพี่เลี้้ยงขอคำแนะนำ

วันที่ 17 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเตรียมเอกสารในการปิดโครงการและตรวจสอบความถููกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เอกสารรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

หารือการจัดกิจกรรมและการสรุปโครงการและตรวจสอบเอกสารโครงการแต่ละกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปโครงการ รายละเอียดกิจกรรม และตรวจเอกสารแต่ละกิจกรรม

 

1 1

24. ตรวจหลักฐานทางการเงินและปิดโครงการ

วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

รับตรวจการติตามจากเจ้าหน้าที่ สสส  และปิดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตรวจติดตามโครงการและตรวจหลักฐานทางการเงินเพื่อปิดโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย หมู่ที่ 3

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามการทำโครงการ ตรวจหลักฐานและปิดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ตรวจติดตามโครงการและตรวจหลักฐานทางการเงิน

 

2 2

25. จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ

วันที่ 2 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรูปเล่มผลการจัดโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้รูปเล่มรายงานโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย จำนวน  10 เล่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำรายงานโครงการเป็นรูปเล่ม เพื่อเผยแพร่ให้กับหน่วยงานต่างๆและชุมชนได้ศึกษาต่อไป

 

1 1

26. ล้างอัดภาพกิจกรรม

วันที่ 2 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อล้างอัดขยายภาพกิจกรรมของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ภาพที่ล้างอัดขยายแล้วทุกกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ล้างอัดภาพถ่ายกิจกรรมทุกกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

ล้างอัดขยายภาพ

 

1 1

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 37 37                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 174,600.00 175,062.00                  
คุณภาพกิจกรรม 148 114                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ไม่มี

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายรอซาด สุวาหลำ
ผู้รับผิดชอบโครงการ