แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 3

ชื่อโครงการ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย

ชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านบากันเคย ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

รหัสโครงการ 57-01457 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0860

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 3 จากเดือน พฤษภาคม 2558 ถึงเดือน มิถุนายน 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 11

วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการวางปการังเที่ยม และวางผนการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 4

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการทำกิจกรรมวางปะการังเทียม ชุมชนให้ความร่วมือเป็นอย่่างดี และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพนากรทางทะเลและชายฝั่งมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งจะมีจำนวนประชาชนเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นทุกครั้ง และเกิดการรวมกลุ่มในการอนุรักษ์พันธ์ปูม้า โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่หน้าบ้านผู้ใหญ่ มีอุปกรณ์การเพาะพันธ์ปู ดังนี้  ถังสำหรับเพาะพันธ์ปูม้า ขนาด 10 ลิตร  จำนวน  10 ถัง เครื่องออกซิเจน จำนวน 10 ชุด ถังเก็บน้ำขนาด 2,000  ลิตร จำนวน 2 ถัง อุปกรณ์ทั้งหมด ได้รับบริจาค จาก หน่วยงาน อบต. ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และการสร้างโรงเรือน ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านทุกคนในชุุมชนบ้านบากันเคย และมีการเฝ้าระวังการลักลอบการทำประมงบริเวณเเนวเขตะการังเทียมอีกด้วย 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. สรุปผลการวางปะกังเทียม
  2. วางแผนการจัดเวที่การวางมาตรการ กฎ กติกา การใช้ทรัพยากรของชุมชน
  3. วางแผนการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้งที่ 4

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สรุปผลการวางปะการังเที่ยม

- ผลที่ได้จากการวางปะการังเที่ยม 1) เพื่อฟื้นฟูผลผลิตทางการประมงเป็นการจัดการและพัฒนาทรัพยากรในท้องถิ่น 2) ฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของชาวประมงทะเลพื้นบ้านให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 3) ฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผลที่ได้จากการวางปะการังเทียม (ท่อซีเม็น) ได้วางปะการังเทียม จำนวน 2 จุด จุดละ 50 ลูก ระยะห่างจากฝั่งประมาณ 1,000 เมตร และมีการวางทุ่นเป็นแล้วแนวเขตปะการังเทียม เพื่อป้องกันไม่ให้เรือประมงวางอวนและ วางไซเนื่องจากแนวปะการังเทียมเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยรวม มีสัตว์น้ำนานาชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ทั้งกุ้ง, หอย, ปู และปลาหลายชนิดที่เป็นปลาประจำถิ่น เช่น กลุ่มปลากะพงหลายชนิด, ปลาเก๋า และปลาในแนวปะการังทั่วไป สามารถทำการตกปลาได้ ทำให้ประมงพื้นบ้านและนักท่องเที่ยวมาตกปลาเพิ่มมากขึ้น เป็นการสร้างอาชีพให้กับประชาชนในชุมชนอีกทางหนึ่ง - การมีส่วนร่วมของชุมชนประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือในการวางปะการังเทียมเป็นอย่างดี และเห็นความสำคัญของการวงปะการังเทียม เพราะชุมชนได้ประโยชน์โดยตรงจากกิจกรรมนี้ ชุมชนจึงเกิดแนวคิดการจัดเวรยามเพื่อเฝ้าระวังการทำประมงบริเวณเนวเขตปะการังเทียม ซึ่งเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชุมชนเอง และเกิดจากความต้องการของชุมชนเอง โดยได้แรงกระตุ้นจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และประชาชนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างรู้คุณค่าของทรัพยากรมากขึ้น - ผลตอบรับของชุมชนชุมชนให้การตอบรับกับกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ เนื่องประชาชนทุกคนในชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการทำโครงการทั้งสิ่้น และชุมชนเริ่มให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทัพยากรเพิ่มมากขึ้น และมีการเฝ้าระวังการลักลอบทำประมงบริเวณแนวเขตปะการังเทียม ของหมู่บ้าน
2. วางแผนการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำครั้งที่ 4
- การมอบหมายหน้าที่ หาพันธ์สัตว์น้ำ พันธ์ป่าไม้โกงกาง มอบให้ นางสาวลัดดาวัลย์สุวรรณะ เป็นผู้ติดต่อประสานงานในการขอพันธ์พืชและพันธ์สัตว์ กับหน่วยงานสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 สตูล และสถานีเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง อำเภอละงูโดยให้ นายกูสารดีสตอหลง และนายวีรศักดิ์ มะสมัน เป็นผู้ไปรับพันธ์ต้นกล้าและพันธ์สัตว์ - การเตรียมสถานที่ปลูกป่า และปล่อยพันธ์สัตว์มอบหายให้ นายรอซาดสุวาหลำ และนายจำปันปันดีกาเป็นผู้ดำเนินการ
- การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม มอบหมายให้นางสาวฝารีด๊ะยุเหล่ และนางมารีย๊ะ นวลจันทร์ เป็นผู้ประชาสัมพันธ์ และให้ทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์ด้วย

 

27 21

2. ประชุมเครือข่ายและสภาองค์กรชุมชน

วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกำหนดกฏกติกาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการตั้งกฎกติการ ระเบียบการทำประมงพื้นบ้านและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอ่าวตันหยงโป
ที่ได้จากการประชุมของคณะทำงานและผู้เข้าร่วมประชุมมีมติเห็นชอบให้มีกฏกติกา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ดังนี้
  1. ห้ามทำการประมงทุกชนิดบริเวณห่างจากฝั่งลงในทะเลเป็นระยะ  300 เมตร จนถึงหน้ากระชัง (ยกเว้น ย้ำกั้ง ตกปลา ไซปูดำ)

  2. ห้ามทำประมงทุกชนิดบริเวณ แนวเขตปะการังเทียม (ยกเว้น ตกปลา)   3. ต้องมีการปลูกพันธ์ไม่ป่าชายเลน อย่างน้อย ปีละ 2,000  ต้น
  4. ต้องมีการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อย ปีละ  2 ครั้ง ให้ปิดประกาศทั้งชุมชนและมีการประกาศที่มัสยิดเพื่อให้ทุกคนได้รับทราบอย่างทั่วถึงและถือปฏิบัติอย่างเคร่วงครัด
หากมีการฝ่าฝืนคนที่ได้ผลกระทบไม่ใช้ใครที่ไหนแต่เป็นคนในชุมชนนั้นเอง ดังนั้นทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏกติกาที่ตั้งไว้เพื่อให้มีทรัพยากรใช้ตลอดไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเครือข่ายและสภาองค์กรชุมชน เพื่อวางกฎกติกา ระเบียบ การทำประมงพื้นบ้านและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอ่าวตันหยงโป

กิจกรรมที่ทำจริง

การวางกฎ กติกา ระเบียบการทำประมงพื้นบ้านและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอ่าวตันหยงโป เชิญคณะทำงานและกลุ่มองค์กรต่างๆมาประชุมเพื่อหารือในการตั้งกฎ กติกาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมน
บากันเคย มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวงน 45 คน ตังแทนกลุ่มต่างๆในชุมชนจำนวน 45 คน
และตัวแทนจากหน่วยงานราชการภายในและภายนอก จำนวน 6 คน ข้อสรุปจากการประชุม ดังนี้

  1. ห้ามทำการประมงทุกชนิดบริเวณห่างจากฝั่งลงในทะเลเป็นระยะ  300 เมตร จนถึงหน้ากระชัง (ยกเว้น ย้ำกั้ง ตกปลา ไซปูดำ)   2. ห้ามทำประมงทุกชนิดบริเวณ แนวเขตปะการังเทียม (ยกเว้น ตกปลา)   3. ต้องมีการปลูกพันธ์ไม่ป่าชายเลน อย่างน้อย ปีละ 2,000  ต้น
  4. ต้องมีการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อย ปีละ  2 ครั้ง

ส่วนเรือประมงพานิช ที่มาทำการประมงบริเวณหน้าอ่าวตันหยงโป มีทั้งอวนลาก อวนลุน
การไดหมึกที่ใช้แรงวัตว์ไฟฟ้าสูงมากๆๆ ทำให้ปลาหมึกหน้าอ่าวตันหยงโปหมดไป และสัตว์เล็กๆก็ตายหมดรวมทั้งหญ้าทะเลด้วย จึงต้องให้ทางประมงจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ
เนื่องจากชาวบ้านไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ ในส่วนนี้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโป
ได้เรียกผู้นำ อปท.ที่มีพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเลทั้งจังหวัดสตูล พร้อมด้วยตัวแทนจากประมงจังหวัด
กรมเจ้าท่า มาปรึกษาหารือ ถึงมาตรการการทำประมงพื้นบ้าน ชนิด ขนาด ของอุปกรณ์ เครื่องมือการทำประมงพื้นบ้าน ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และวิธีการจัดการกับเรือประมงพานิชที่เข้ามาทำการประมงบริเวณหน้าอ่าวของแต่ละพื้นที่

 

50 45

3. ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายแลน ครั้งที่ 4

วันที่ 13 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกพันธ์ไม้ชายเลน ครั้งที่ 4

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการทำกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 4 ได้ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ จำนนวน 5 แสนตัว ปลูกพันธ์ไม้ชายเลน จำนว  500  ต้น ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี เป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการอนุรักษ์มากขึ้นจนกลายเป็นเรื่องที่ชุมชนให้ความสำคัญ  และการบูรณาการร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดและสถานีพัฒนาป่าชายเลน จังหวัดสตูล ในการจัดกิจกรรม ซึ่งนำไปสู่การก่อตัวของชุมชนในการเข้ามามีบทบาทบทจัดการทรัพยากรในรูปแบบต่างๆ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน ทำให้สามารถนำไปสู่การจัดการทรัพยากรของชุมชนที่เป็นระบบ เป็นรูปธรรม และคืนความสมบูรณ์แก่ระบบนิเวศชายฝั่ง ซึ่งแนวทางในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของของชุมชน จะมีการประสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเอง และสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนส่งเสริมการเรียนรู้ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมสืบสานภูมิปัญญา พัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรและการดำรงชีวิต รวมทั้งการสนับสนุนจากภาคี องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายแลน ครั้งที่ 4  เพื่อจร้างจิตสำนึกให้ประชานในชุมชนเกิดความตระหนึกในการอนุรักษ์ทรัพยารของชุมชนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ และปลูกป่ายชายเลน มีการแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ ดังนี้
1. นายกูสารดี สตอหลง และนายวีรศักดิ์ มะสมัน ได้เดินทางไปรับพันธ์ไม้ชายเลนที่สถานพัฒนาป่าชายเลนที่ 35 เจ๊ะบิลัง จำนวน  500  ต้น และพันธ์น้ำสถานีเพาะพันธ์สัตว์น้ำ อำเภอละงู จำนวน 5 แสนตัว
2. การเตรียมสถานที่ปลูกพันธ์ไม้ โดยปักไม้ไฝ่นำร่อง พร้อมด้วยเชื่อกฝางไว้สำหรับผู้ต้นกล้า
3. การเตรียมซั้งสำหรับปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ที่สะพานท่เทียบเรือบากันเคย

 

50 60

4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 12

วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการวางมาตรการกฏกติกาการใช้ทรพยากรของชุมชนและถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการถอดบทเรียนโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย ดังนี้
ข้อสรุปที่ได้จากากรทำโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านบากันเคย คนบากันเคย ส่วนใหญ่ มีอาชีพประมงชายฝั่ง การประมงที่อาศัยเครื่องมือประมงอย่างง่าย ซึ่งได้รับการสืบสานมาจากภูมิปัญญาดั้งเดิม บ้างหรือได้จากการคิดค้นประดิษฐ์ใหม่บ้าง แต่มีลักษณะที่เหมือนกันคือ เป็นเครื่องมือที่ไม่ทำลายล้างและไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติมีความพอเพียง ประกอบกับเรือขนาดเล็กสำหรับออกหาสัตว์น้ำในทะเล ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่ไม่มีในตำราเรียน มีความหลากหลายของทรัพยากรและมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง หากแต่การใช้ประโยชน์ก็มีความหลากหลายเช่นกัน ด้วยจำนวนชาวประมงพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปรอบอ่าวตันหยงโป ซึ่งไม่เพียงแต่ชาวประมงพื้นบ้านในตำบลนี้ตำบลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวประมงพื้นบ้านตำบลใกล้เคียง คือ ตำบลเกาะสาหร่าย ตำบลปูยู ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง ประมาณการว่าจะมีชาวประมงขนาดเล็กเข้ามาทำการประมงในบริเวณแห่งนี้ไม่ต่ำกว่า 1,500 ลำ และยังไม่รวมเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ (จังหวัดใกล้เคียง เช่น ตรัง กระบี่ ภูเก็ต) ก็ยังมีการเข้ามาทำกินในอ่าวแห่งนี้ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งกำลังการผลิตตามธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดบวกกับกำลังการใช้ประโยชน์ที่นับวันจะทวีมากขึ้นอย่างไร้ขอบเขต ไร้การควบคุม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังรอการแก้ไขเช่นกัน

ปัญหาการทำประมงที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและละเมิดกฎหมายการทำประมง จะเกิดขึ้นกับชุมชนประมงในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และชาวบ้านตันหยงโปก็ไม่เคยรู้เช่นกันว่ามีกฎหมายมาตราใดที่ระบุถึงข้อห้ามในการทำประมงทำลายล้างอย่างอวนรุน อวนลาก และเรือปั่นไฟ แต่เขารู้ว่าถ้าหากเรืออวนรุนเข้ามาทำการในอ่าวตันหยงโป นั่นหมายความว่า หายนะ กำลังคืบคลานเข้ามายังพื้นที่แห่งนี้

ด้วยวิถีชาวประมงพื้นบ้านที่ฝากปากท้องไว้กับความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล ส่งผลให้ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาชุมชนในบ้านบากันเคย ได้ให้ความสำคัญในการดูแลรักษา และวางแผนการจัดการทรัพยากรมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะสร้างการความร่วมมือในชุมชนด้วยกันเองและอาศัยภายใต้การมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ นำไปสู่การจัดการทรัพยากรของชุมชนที่เป็นระบบและเป็นรูปธรรม ดังนี้

  1. การจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน มีความสอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานที่มาจากการประสมประสาน การอนุรักษ์และการพัฒนา ดังนี้
    1.1 การสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชน และบุคคลภายนอกในการอนุรักษ์หวงแหนทรัพยากร และเห็นความสำคัญของทรัพยากรที่มีต่อมวลมนุษย์
    1.2 การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและบุคคลภายนอกในการเฝ้าระวังสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อความเสียหายของทรัพยากรชายฝั่ง
    1.3 การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งในรูปแบบต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดในส่วนของกิจกรรมเกี่ยวกับป่าชายเลนตามแนวทางของชุมชนเป็นไปในลักษณะการปลูกทดแทนในส่วนที่โดนทำลายไปโดยฝีมือของมนุษย์แล้วหรือเสื่อมโทรมตามธรรมชาติ การใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับป่า เช่น การใช้ประโยชน์ไม้โกงกาง เพื่อการสร้างบ้านเรือน คอกสัตว์ มีการใช้ตามความเหมาะสม ไม่ทำลายล้าง การอนุรักษ์สัตว์น้ำ เป็นกิจกรรมสำคัญที่คนในชุมชนทุกคน มีจิตสานึกด้วยตัวเอง โดยการจับสัตว์น้ำขนาดใหญ่ ไม่จับสัตว์น้ำขนาดเล็ก หรือเมื่อติดเครื่องมือมาแล้วก็จะมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
    1.4 การกำหนดเขตอนุรักษ์ และเขตควบคุมการทำประมงผิดกฎหมายทำลายล้าง
    1.5 การวางกฎกติกา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของชุมชน

  2. แนวทางในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งของชุมชน เพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน มีการประสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ นำไปสู่แนวทางในการจัดการ 4 แนวทาง คือ
    2.1 ร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์การเกษตร (กลุ่มบากันเคย) ให้สามารถพึ่งตนเองได้
    2.2 ร่วมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน
    2.3 ร่วมเรียนรู้ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
    2.4 ร่วมสืบสานภูมิปัญญาพัฒนาองค์ความรู้

โดยอาศัยวิธีการหรือกระบวนการทำงานตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1. เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นเป้าหมายในการทำงานด้านการอนุรักษ์ให้มีความตระหนักและมีจิตสานึกในการอนุรักษ์
2. เสริมสร้างกระบวนการกลุ่มในการทำกิจกรรมต่าง ๆ กล่าวคือ ในการทำกิจกรรมหรืองานต่าง ๆ ของกลุ่ม จะให้สมาชิกกลุ่มรวมตัวกัน โดยนำกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
3. เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงานและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม
4. การกระตุ้นสร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้กับคนในชุมชนผ่านการดำเนินการ ในกิจกรรมต่าง ๆ
5. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยงานรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคีความร่วมมือต่าง ๆ ในการดำเนินงานกิจกรรม

จะเห็นได้ว่าชุมชนเกิดการเรียนรู้ การวิเคราะห์สภาพปัญหาอย่างถ่องแท้ ของชุมชน มีการกำหนดทิศทางและเป้าหมาย การวางแผนและการปฏิบัติที่สามารถดำเนินการได้จริง จึงเกิดการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในรูปแบบต่างๆ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ ทำให้สามารถนำไปสู่การจัดการทรัพยากรของชุมชนที่เป็นระบบ เป็นรูปธรรม และคืนความสมบูรณ์แก่ระบบนิเวศชายฝั่ง และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเอง และสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนส่งเสริมการเรียนรู้ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมสืบสานภูมิปัญญา พัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรและการดำรงชีวิต รวมทั้งการสนับสนุนจากภาคี องค์กรที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. วิเคราะห์ มาตรการ กฎกติกา ระเบียบ การทำประมงพื้นบ้าน การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชน
  2. ถอดบทเรียนจาการทำงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปผลการตั้งมาตรการ กฎกติกาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชน ตามที่ได้ประชุมกำหนดกฏกติกา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล
และมีการปิดประกาศที่มัสยิด ดังนี้

  1. ห้ามทำการประมงทุกชนิดบริเวณห่างจากฝั่งลงในทะเลเป็นระยะ300 เมตร จนถึงหน้ากระชัง (ยกเว้น ย้ำกั้ง ตกปลา ไซปูดำ)

  2. ห้ามทำประมงทุกชนิดบริเวณ แนวเขตปะการังเทียม (ยกเว้น ตกปลา)

  3. ต้องมีการปลูกพันธ์ไม่ป่าชายเลน อย่างน้อย ปีละ 2,000ต้น หรือ 2 ไร่/ปี

  4. ต้องมีการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อย ปีละ2 ครั้ง

    ให้ปิดประกาศทั้งชุมชนและมีการประกาศที่มัสยิดเพื่อให้ทุกคนได้รับทราบอย่างทั่วถึงและถือปฏิบัติอย่างเคร่วงครัด หากมีการฝ่าฝืนคนที่ได้ผลกระทบไม่ใช้ใครที่ไหนแต่เป็นคนในชุมชนนั้นเอง ดังนั้นทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏกติกาที่ตั้งไว้เพื่อให้มีทรัพยากรใช้ตลอดไป

    1. การถอดบทเรียนจากการทำโครงการ ให้คณะทำงานสรุปผลโครงการที่ได้ดำเนินการมาแล้วทั้งหมด โดยสรุปตามวัตถุประสงค์ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข องค์ความรู้ที่ชุมชนได้รับการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดการกับทรัพยากรต่อไป

 

27 20

5. เดินทางไปหาพี่เลี้้ยงขอคำแนะนำ

วันที่ 17 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเตรียมเอกสารในการปิดโครงการและตรวจสอบความถููกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เอกสารรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

หารือการจัดกิจกรรมและการสรุปโครงการและตรวจสอบเอกสารโครงการแต่ละกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปโครงการ รายละเอียดกิจกรรม และตรวจเอกสารแต่ละกิจกรรม

 

1 1

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 37 0                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 174,600.00 0.00                    
คุณภาพกิจกรรม 0                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายรอซาด สุวาหลำ
ผู้รับผิดชอบโครงการ