แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 ชุมชนมีเครือข่ายสุขภาพที่เข้าถึงและสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวหอยราก
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1.1 เกิดเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาสุขภาพ 1.2 เกิดเครือข่ายผู้สูงวัยร่วมใจในหอยราก 1.3 เกิดสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนศรีสมบูรณ์ให้น่าอยู่ 1.4 เกิดเครือข่ายผู้ประกอบอาชีพขนมลา ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. คนในชุมชนร่วมกันจัดระบบเครือข่ายดูแลสุขภาพชุมชน อย่างน้อย 4 กลุ่ม

 

 

1.1 เกิดเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาสุขภาพ 15 คน ร่วมทำกิจกรรมสำรวจข้อมูลชุมชน ปลูกป่าชายเลนในคลองหอยราก

1.2 เกิดเครือข่ายผู้สูงวัยร่วมใจในชุมชนหอยราก โดยกลุ่มเครือข่ายร่วมกันระหว่างชุมชนศรีสมบูรณ์ และชุมชนหอยราก มีสมาชิกกว่า 15 คน ได้มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้การดูแลสุขภาพ และออกกำลังกาย

1.3 เกิดสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนศรีสมบูรณ์ให้น่าอยู่ มีสมาชิก 20 คน มีกลุ่มเยาวชนร่วมในสภาด้วย โดยได้ขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมการออกกำลังกาย เล่นกีฬาในชุมชน การปลูกป่าชายเลนริมคลองหอยราก

1.4 เกิดเครือข่ายผู้ประกอบอาชีพขนมลา จำนวน 10 คน โดยสมาชิกในเครือข่ายได้ร่วมชักชวนกันมาออกกำลังกายร่วมกัน

1.5 เกิดเครือข่ายในชุมชนร่วมกันจัดระบบเครือข่ายดูแลสุขภาพชุมชน 4 กลุ่ม รวมเป็นจตุภาคีเป็นเครือข่ายในชุมชน ทั้งสิ้น 60 คน

2 ประชาชนตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองและสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันโรคภายใต้กระบวนการสร้างสุขภาวะตามวิถีชุมชน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 2.1ชาวศรีสมบูรณ์มีพฤติกรรมถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเอง 2.2 ชาวศรีสมบูรณ์ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อหรือโรคจากการประกอบอาชีพ 2.3 ชาวศรีสมบูรณ์ร่วมแรงร่วมใจสร่้างสิ่งแวดล้อมสะอาด น่าอยู่ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 2. คนในชุมชนร้อยละ 50 เข้าร่วมกิจกรรมดูแลสุขภาพตนเอง และร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

 

2.1 ชาวศรีสมบูรณ์มีพฤติกรรมถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น ร้อยละ 58 โดยผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวน 60 ราย ได้ร่วมกิจกรรมการจัดการสุขภาพตนเองและมีผลทำให้สุขภาพดีขึ้นจำนวน 35 คน

2.2 ชาวศรีสมบูรณ์ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อหรือโรคจากการประกอบอาชีพได้ร้อยละ 30

2.3 ชาวศรีสมบูรณ์ร่วมแรงร่วมใจสร้างสิ่งแวดล้อมสะอาด น่าอยู่ โดยการรับผิดชอบดูแลความสะอาดบริเวณบ้านของตนเอง และร่วมกันดูแลพื้นที่สาธารณะบริเวณคลองหอยราก

2.4 คนในชุมชนร้อยละ 80 เข้าร่วมกิจกรรมดูแลสุขภาพตนเอง และการร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน แต่ยังขาดความต่อเนื่องสม่ำเสมอ

3 ชุมชนมีการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาชุมชน วัฒนธรรม ประเพณีและอัตลักษณ์ท้องถิ่น
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 3.1 บันทึกภูมิปัญญาการทำขนมลา และอาชีพท้องถิ่น 3.2 มีประเพณีงานบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีวันขนมลางานเปิดปิดเตาลา ต่อเนื่องทุกปี ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 3. ชุมชนมีการรวบรวมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาชุมชน ได้แก่ ภูมิปัญญาอาชีพทำขนมลา ภูมิปัญญาการนวดแผนโบราณ ภูมิปัญญาประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีวันขนมลา

 

 

3.1 มีการทำบันทึกภูมิปัญญาการทำขนมลา และอาชีพท้องถิ่น เช่น อาชีพการทำน้ำตาลจากต้นจาก การต่อเรือ และการรำกลองยาว

3.2 มีประเพณีงานบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีวันขนมลางานเปิดปิดเตาลา และจะทำต่อเนื่องทุกปี โดยเงินทุนบางส่วนจะร่วมกันลงขันจากสมาชิกในชุมชน

3.3 ชุมชนมีการรวบรวมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาชุมชน ได้แก่ ภูมิปัญญาอาชีพทำขนมลา ภูมิปัญญาประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีวันขนมลาโดยเครือข่ายเยาวชน 30 คนได้ร่วมกิจกรรมสืบสานการทำขนมลาจากรุ่นปู่ย่า ดำรงประเพณีบุญสารทเดือนสิบ งานเปิดปิดเตาลาตามที่เคยมีมา และโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน แต่ในส่วนของภูมิปัญญาการนวดแผนโบราณยังไม่ได้มีการรวบรวมอย่างเป็นทางการ มีเพียงการเชิญมาเป็นวิทยากรเผยแพร่ให้ความรู้กับคนในชุมชน

4 เพื่อการบริหารจัดการและติดตามผลการประเมินงาน
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. และ สจรส.

 

 

เข้าร่วมกิจกรรมที่สสส. และสจรส.ม.อ.จัดกิจกรรมทุกครั้ง รวมจำนวน 4 ครั้ง