task_alt

บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)

ชุมชน บ้านไกรไทย หมู่ที่ 4 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-01475 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1077

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2557 ถึง 10 กรกฎาคม 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2557 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการใหม่

วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีมงานและประชุมอย่างสม่ำเสมอ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะกรรมการได้เรียนรู้และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
  2. คณะทำงานเรียนรู้วิธีคิดในการดำเนินโครงการตามแผนงาน รวมถึงวิธีการดำเนินกิจกรรมของโครงการ
  3. เรียนรู้วิธีการใช้งานระบบการทำงานบนเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการใหม่

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงาน เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการใหม่ คณะทำงานเข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการใหม่  สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
1.การจัดทำกิจกรรมตามโครกงาร
2.เอกสารสัญญา 3.การบันทึกกิจกรรมตามโปรแกรมออนไลน์ 4.การจัดทำเอกสารหลักฐานทางการเงิน 5.การทำแผนปฏิบัติงาน

 

3 3

2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่1

วันที่ 21 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีมงานและประชุมอย่างสม่ำเสมอ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีการมอบหมายหน้าที่ในการทำงาน
  2. มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
  3. มีการทบทวบกิจกรรมตามโครงการ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

ประธานโครงการทำหน้าที่ประชุม วาระที่ 1 แจั้งให้ทราบเรื่องโครกงาร มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ
ข้อที่ 1.เพื่อให้บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร ข้อที่ 2.เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน ข้อที่ 3.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน สำหรับตัวชี้วัดที่สำคัญ และตัองทำให้เกิดขึ้นจากกิจกรรม ประกอบด้วย
1.คณะทำงานมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ 2.ประชาชนครัวเรือนเป้าหมาย มีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลชุมชนร้อยละ 100 3.ส่งเสริมการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน ร้อยละ 85 4.มีแผนปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพื้นบ้าน ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย 5.มีธนาคารสมุนไพร เพิ่มขึ้น 1 แห่ง 6. มีสวนสมุนไพรเพิ่มขึ้น 1 แห่ง 7. มีการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาประเพณีชุมชนด้านสมุนไพร 1 เรื่อง 8. ประชาชนเป้าหมายร่วมประเพณีสืบสานด้านสมุนไพรชุมชน ร้อยละ 85 9. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 3 ชนิด คือ ชากระเจี๊ยบ ชาตะไคร้ น้ำยาเอนกประสงค์มะกรูด 10. มีกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรชุมชน เพิ่มขึ้น 1 กลุ่ม 11. มีการจัดมหกรรมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพร 1 ครั้ง

วาระที่ 2 แบ่งมอบหมายหน้าในหน้าที่ ดังนี้
- ทีมงานสำหรับการจัดวาระประชุม -ทีมงานสำหรับการให้ความรู้และเชิญประชุม -ทีมงานสำหรับการประสานงาน
-ทีมงานสำหรับการดูแล สถานที่
ทุกคนได้มอบหมายหน้าที่ของตนเอง และตกลงกัน

 

25 25

3. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 7 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีมงานและประชุมอย่างสม่ำเสมอ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานรับทราบวิธีการดำเนินงานร่วมกัน
2.ทีมคณะทำงานมีความพร้อมเกิดความร่วมมือของคณะทำงาน
3.ได้แลกเปลี่ยนวิธีการทำงานระหว่างกัน ได้ร่วมกันระดมความคิดแนวทางปฏิบัติ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานประชุมตามแผนที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมประุชมพูดคุยตามแผนงานที่กำหนด วาระที่1  คณะทำงาน ทบทวนวาระเดิมและการแบ่งหน้าที่มอบหมายงาน
วาระที่ 2 ประธาน พูดให้ฟังว่า ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นหรือผลลัพธ์ ดังนี้
1.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลชุมชน
2.มีฐานข้อมูลครัวเรือนและข้อมูลชุมชน
3.มีแนวทางการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน 4.มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น
5.มีการส่งเสริมสุขภาพด้วยกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ 6.มีธนาคารสมุนไพรเพิ่มขึ้น 7.มีสวนสมุนไพรชุมชนเพิ่มขึ้น 8.มีรูปแบบและการสืบสาน ฟื้นฟูต่อเทียนครูภูมิปัญญา 9.เยาวชนเรียนรู้เรื่องสมุนไพรโดยการถ่ายทอดจากครูภูมิปัญญา 10.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการการสืบสานภูมิปัญญา 11.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีและอนุรักษ์ภุมิปัญญาเพิ่มขึ้น 12.มีกระบวนการแปรรูปสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง 13.เกิดการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาไปสู่นักเรียน 14.มีกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรชุมชน 15.เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน 16.ลดรายจ่ายในการรักษาพยาบาล

วาระที่ 3 กิจกรรที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย 1.การสำรวจครัวเรือน ต้องดำเนินการสำรวจครัวเรือน ให้ได้ 180 ครัวเรือน โดยการแบ่งหน้าที่มอบหมายความรับผิดชอบ และแบ่งทีมร่วมกันสำรวจ
2.การทำแบบสอบถามให้ไปคิดร่วมกัน กับหมู่บ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อใช้เป็นฐานของตำบลเขาพระบาท ด้วย

 

25 25

4. ร่วมกันคิดแบบสอบถามเก็บข้อมูล

วันที่ 13 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างแบบสำรวจข้อมูลชุมชน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานได้ระคมคิดหาข้อมูลในการสำรวจแบบสอบถามในชุมชน
  2. แบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ส่วน 86 ข้อ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานร่วมกันคิดแบบสอบถาม

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกันคิดแบบสอบถาม เพื่อใช้สำรวจข้อมูลชุมชน คณะทำงานร่วมกับพี่เลี้ยง แกนนำชุมชนและชุมชนอื่นๆ ในตำลเขาพระบาท ร่วมกันคิดแบบสอบถาม  ดังนี้
1.คณะทำงานได้ระคมคิดหาข้อมูลในการสำรวจแบบสอบถามในชุมชน 2.แบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ส่วน 86 ข้อ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและประชากรในครัวเรือน ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมประเพณี ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 5 ข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร

 

5 5

5. พี่เลี้ยงชี้แจงการทำโครงการและการใช้โปรแกรมออนไลน์

วันที่ 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีมงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการร่วมประชุม ได้ผลสรุปดังนี้

  1. การบันทึกเอกสารการทำกิจกรรมให้ใช้แบบฟอร์มที่ร่วมกันกำหนด
  2. หลักฐานการดำเนินงานให้แนบตามแบบฟอร์ม
  3. การทำกิจกรรมให้ยึดตามปฏิทินที่ได้ร่วมกันกำหนด
  4. เมื่อดำเนินกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้บันทึกรายงานกิจกรรมลงในเว็บไซต์
  5. รายงานบนเว็บไซต์ต้องตรงกับเอกสารการเงิน เอกสารรายงานกิจกรรรม
  6. กำหนดวันทำรายงานปิดโครงการงวดแรก ภายในเดือนตุลาคม 57
  7. กำหนดให้ตัวแทนคณะทำงานนำสมุดบัญชีเงินฝากไปปรับตรวจเช็คเงินสนับสนุนโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมกับพี่เลี้ยงเพื่อประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลโปรแกรม

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมในการจัดทำโปรแกรมและเรียนรู้การบันทึกโปรแกรมออนไลน์ พี่เลี้ยงประชุมคณะทำงานทุกโครงการ เพื่อชี้แจงแนวทางการทำงานตามโครงการ มีกิจกรรมคือ 1.การบันทึกเอกสารการทำกิจกรรมตามโครงการ โดยใช้แบบฟอร์มที่ร่วมกันกำหนด 2.หลักฐานการดำเนินงานให้แนบแบบฟอร์ม 3.การจัดทำกิจกรรมตามแผนปฏิทิน 4.ให้บันทึกกิจกรรมลงโปรแกรม 5.หลักฐานในโปรแกรมและเอกสารการเงิน เอกสารกิจกรรมต้องตรงกัน 6.ปิดโครงการงวดแรก ตุลาคม 57 7.ให้ตรวจสอบการโอนเงินเข้าบัญชีให้เรียบร้อย

 

5 5

6. สำรวจข้อมูลชุมชน (3วัน)

วันที่ 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจข้อมุลชุมชนและนำไปใช้ในการพัฒนา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สร้างการมีส่วนร่วมในโครงการ โดยใช้กระบวนสำรวจข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้น
  2. เกิดสัมพันธภาพที่ดีและเรียนรู้ร่วมกัน ในการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาชุมชน
  3. มีฐานข้อมูลระดับครัวเรือน และระดับชุมชน
  4. มีการสอนงานระหว่างทีมงาน ประชาชน นักเรียน ในการสำรวจข้อมูล ทำให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าและสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานและทีมสำรวจ ช่วยกันสำรวจตามแบบสอบถาม

กิจกรรมที่ทำจริง

ทีมสำรวจข้อมูลร่วมกันสำรวจ ทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน ในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว มีนางชะอ้อน สารักษ์ ทำหน้าที่ประชุมและดูแลทีมงาน ดังนี้
วันที่ 1 นางชะอ้อน สารักษ์ ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ครังนี้ ได้แจ้งให้ทีมสำรวจข้อมูลและชี้แจงทำความเข้าใจกับคณะทำงานในการลงจัดทำข้อมูลชุมชน  เป้าหมายต้องใช้เวลาในการสำรวจ 3 วัน  จำนวน 180 ครัุวเรือน โดยสำรวจครัวเรือนที่อยู่จริง ข้อมูลชุมชนประกอบด้วย 1. รายรับ – รายจ่าย 2. ด้านสุขภาพ 3. การดำรงชีวิต 4. การอนุรักษ์ทรัพยากร 5. ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ต้องสำรวจข้อมูลจำนวน 180 ครัวเรือน โดยมอบหมายให้สำรวจเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมี อสม.1 คน นักเรียนและแกนนำ 1 คน แบ่งเป็น 18 กลุ่ม  กลุ่ม กลุ่มละ  10 ชุด ให้เสร็จสิ้นแล้วมาทำข้อสรุปร่วมกัน เพื่อสรุปกิจกรรมต่อไป -สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการตอบแบบสอบถาม

วันที่ 2  นางชะอ้อน ได้สอบถามความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคจากทีมงาน ก่อนที่จะสำรวจต่อไป ส่วนใหญ่ได้ประมาณ 4-5 ชุด ไม่มีปํญหาในการสำรวจ ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ตอนนี้ผลการสำรวจสำเร็จไป 1ใน 3 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกคนมีสำนึก มีความสามัคคี และสำนึกรักชุมชน

วันที่ 3  นางชะอ้อน เก็บรวบรวมข้อมูล พบว่า เก็บข้อมูลได้มากกว่าร้อยละ 60 ทุกคนมีความตั้งใจ ชาวบ้านให้ความร่วมมือดี

 

40 40

7. วิเคราะห์ผลการสำรวจข้อมูล

วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการสำรวจข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานและทีมสำรวจ มาพูดคุยเกี่ยวกับผลการสำรวจข้อมูล พบว่า

  1. ข้อมุูลที่ทำการสำรวจได้มีเพียง 142 ชุด คิดเป็นร้อยละ 78.88 ส่วนอีกที่เหลือร้อยละ 21.11 พบว่า มีบ้านเรือนทับซ้อนกัน บางครัวเรือนอยู่ 1 หลัง แต่หลายบ้านเลขที่  บางครัวเรือนไม่ได้อยู่ในพื้นที่ มีเฉพาะทะเบียนบ้าน เจ้าของบ้านย้ายไปนานแล้ว
  2. ทุกครัวเรือน ให้ข้อมูลด้วยความเต้มใจ ทุกครัวเรือน
  3. คำถามทีพบปัญหามากที่สุดคือ เรื่องหนี้สิน รายรับ รายจ่าย ครัวเรือน
  4. ปรึกษาพี่เลี้ยงแล้ว ข้อคำถามไหนที่มีปัญหาให้ข้ามไปได้ เพราะต้องการเฉพาะบางส่วนที่สอบถามได้
  5. ข้อมูลที่เก็บได้ เสนอแนะให้ไปบันทึกในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ง่ายต่อการประมวลผล
    ทุกคนเห็นด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงาน ร่วมกันตรวจแบบสอบถาม

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมวิเคราะห์ผลการสำรวข้อมูล จำนวน 142 ชุด

  • เพศของผู้ให้สัมภาษณ์ ชาย ร้อยละ 25.9 หญิง ร้อยละ 72.7
  • สถานภาพในครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถาม   หัวหน้าครัวเรือนร้อยละ 52.5 คู่ครองของหัวหน้าครัวเรือน ร้อยละ 26.6
  • ผู้ตอบแบบสอบถามยินดีตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 99.3
  • การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย ไม่มี ร้อยละ 80.6 มี ร้อยละ 18.7
  • ขณะนี้ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพหรือไม่ ไม่มี ร้อยละ  72.7   มี ร้อยละ 26.6
  • รายได้หลักของครอบครัวท่านมาจากอาชีพอะไร   ทำสวน ร้อยละ 36 รับจ้าง  ร้อยละ 30.2
  • ครอบครัวท่านมีที่ดินทำกินหรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 25.9   มี ร้อยละ 71.9
  • คนในครอบครัวของท่านมีบทบาทเป็นสมาชิหรือเข้าร่วมในกลุ่มหรือโครงการต่างๆในชุมชนหรือไม่ ไม่เข้าร่วม ร้อยละ 69.1 เข้าร่วม ร้อยละ 28.8
  • คนส่วนใหญ่ในครัวเรือนของท่านเข้าร่วมงานกิจกรรมประเพณีของหมู่บ้านบ่อยเพียงใด เข้าร่วมบ่อยครั้ง ร้อยละ 33.8 เข้าร่วมบางครั้ง ร้อยละ 41
  • เหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีของหมู่บ้าน มากที่สุด มีความศรัทธา ร้อยละ 57.6 เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน ร้อยละ 13.7
  • ท่านคิดว่าสิ่งใดที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของครัวเรือนของท่าน มากที่สุด ในชุมชน คือสิ่งใด พระสงฆ์ ร้อยละ  44.6 ผู้อาวุโส/ผู้เฒ่าผู้แก่ ร้อยละ 30.9
  • ในระยะ 5 ปี (ตั้งแต่มกราคม 2551 ถึง 2557) ที่ผ่านมามีคนในครัวเรือนของท่านเสียชีวิตหรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 87.1 มี ร้อยละ 12.2
  • ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีคนในครอบครัวท่านเจ็บป่วยหรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 66.2 มี ร้อยละ 33.1
  • ท่านรู้จัก “ยาปฏิชีวนะ” หรือ “ยาแก้อักเสบ” หรือไม่ ไม่รู้จัก ร้อยละ 64.7 รู้จัก ร้อยละ 34.5
  • ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ท่านหรือคนในครัวเรือนมีความเจ็บป่วยที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาแก้อักเสบ) หรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 87.8 มี ร้อยละ 11.5
  • ท่านได้รับยาปฏิชีวนะดังกล่าว (ยาแก้อักเสบ) จากแหล่งใด สถานีอนามัย ร้อยละ 8.6 อื่นๆ ร้อยละ 87.8
  • ท่านหรือคนในครัวเรือนได้รับคำแนะนำในการใช้ยาจากแหล่งที่ท่านซื้อยาหรือไม่ ไม่ได้รับ ร้อยละ 2.9 ได้รับ ร้อยละ 7.9
  • ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ท่านและคนในครัวเรือนมีอาการเจ็บป่วยที่ได้ใช้ยาชุด หรือ “ยาหลายเม็ดที่บรรจุในซองเดียวกัน” หรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 95.0 มี ร้อยละ 4.3
  • ท่านสนหรือคนในครัวเรือนซื้อยาชุดเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยจากที่ใด ไม่มีใครใช้ยาชุด ร้อยละ 92.1 มีผู้ใช้ยาชุด ร้อยละ 7.2
  • ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตัวท่านดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่ ไม่ดื่ม ร้อยละ 87.8 ดื่ม ร้อยละ 11.5
  • ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ครัวเรือนของท่านมีผู้ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 69.1 มี ร้อยละ 30.2
  • โดยทั่วไปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใดที่ท่านหรือคนในครัวเรือนมีการดื่มบ่อยครั้ง สุรา ร้อยละ 23.7 อื่นๆ ร้อยละ 66.9
  • ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาท่านและคนในครัวเรือนดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนหรือไม่ ไม่มี ร้อยละ 46.8 มี ร้อยละ 52.5
  • ท่านมีความวิตกกังวลว่าจะมีเงินไม่พอสำหรับเป็นค่าอาหารในครัวเรือน ไม่เคย ร้อยละ 61.9 2-3 เดือนครั้ง ร้อยละ 14.4
  • ท่านมีความวิตกกังวลว่าอาหารที่ท่านซื้อมาบริโภคในครัวเรือนในแต่ละครั้งอาจไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครัวเรือนทุกคน ไม่เคย ร้อยละ  73.1 ปีละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ  10.1
  • ท่านเคยต้องการซื้ออาหารในปริมาณที่ลดลงเนื่องจากต้องจ่ายเงินค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่ายารักษาโรค หรือค่าใช่จ่ายอื่นแทน ไม่เคย ร้อยละ 53.2 2-3 เดือน/ครั้ง ร้อยละ 17.3
  • ในภาพรวมสมาชิกในครัวเรือนของท่านได้รับประทานอาหารครบถ้วนเท่าที่แต่ละคนควรจะได้รับ ไม่เคย ร้อยละ 25.2 ทุกเดือน ร้อยละ 56.8
  • ท่านต้องรับประทานอาหารในปริมาณที่น้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากมีอาหารไม่เพียงพอสำหรับบริโภคในครัวเรือน ไม่เคย ร้อยละ 77.2 2-3 เดือน/ครั้ง ร้อยละ 11.5
  • ท่านเคยอดอาหารในบางมื้อเนื่องจากมีเงินซื้ออาหารไม่เพียงพอในครัวเรือน ไม่เคย ร้อยละ 89.2 ปีละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ 4.3
  • สมาชิกในครัวเรือนที่เป็นผู้ใหญ่เคยต้องลดปริมาณที่รับประทานให้น้อยลงกว่าเดิมในบางมื้อเนื่องจากมีอาหารไม้เพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือน ไม่เคย ร้อยละ 80.6 2-3 เดือน/ครั้ง ร้อยละ 11.5 เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีในครัวเรือนของท่านได้รับประทานอาหารที่ครบถ้วนทุกมื้อ ไม่เคย ร้อยละ 56.8 ทุกเดือน ร้อยละ 35.3
  • ช่วงเดือนใดในรอบปีที่ผ่านมา ( ก.ย. 56-ก.ค 57) ที่ท่านและครัวเรือนของท่านมีความยากลำบาก จนต้องกู้ยืมเงินมาเป็นค่าใช่จ่ายและซื้ออาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือน ไม่มี ร้อยละ 92.1 มี ร้อยละ 7.2
  • ช่วงเดือนใดในรอบปีที่ผ่านมา ( ก.ย. 56-ก.ค 57) ที่ท่านต้องซื้ออาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารโดยเชื่อไว้ก่อนแล้วจึงผ่อนหรือชำระในภายหลัง ไม่มี ร้อยละ 95.7 มี ร้อยละ 3.6

 

20 20

8. เข้าร่วมประชุมตำบลในเวทีสานเสวนาเล่าเรื่องดีดีตำบลเขาพระบาท

วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโครงการ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้เผยแพร่ให้ภาคีสุขภาพ ได้ทราบเกี่ยวกับโครงการ และอาสามาร่วมทำงาน
  2. ได้วางแผนการพัฒนาหมู่บ้านและตำบลร่วมกัน
  3. เน้นให้เกิดกระบวนการทำงานเป็นระบบ โปร่งใส ตรวจสอบได้
  4. ผู้นำชุมชุมชน หน่วยงานราชการ ให้ความสำคัญ
  5. เป็นการทำงานแบบผสมผสานทุกมิติ
  6. มีการวางเป้าหมายทำงานร่วมกันคือ สุขภาวะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงาน 5 คนเข้าร่วมประชุมถ่ายทอดสิ่งดีดีในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงาน นำเสนอผลการพัฒนาให้กับผู้นำระดับตำบลทราบ

วันนี้ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมสานเสวนาในการพัฒนาหมู่บ้านและเล่าเรื่องราวดีดีในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท ให้กับผู้นำชุมชน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมกิจกรรม 56 คน โดยมีเนื้อหาดังนี้ กิจกรรมสานเสวนาบอกเล่าเรื่องราวสิ่งที่ดีในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2557 ดังนี้ 08.00 น. ลงทะเบียน 08.00 – 08.15 น. นางฉวีวรรณ แก้วเขียว  นายก อบต.เขาพระบาท กล่าวต้อนรับทุกท่าน แจ้งวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมครั้งนี้ 08.15 – 08.40 น. แนะนำตัวสมาชิก ผู้นำชุมชน และข้าราชการในพื้นที่ เริ่มจาก ทีมงานจาก อบต.เขาพระบาท  ทีมงานจาก รพ.สต.เขาพระบาท  ทีมงานจากทุกโรงเรียน  สมาชิก อบต.ทุกหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน  ประธาน อสม.ทุกหมู่บ้าน 09.00 น. นางฉวีวรรณ แก้วเขียว  นายก อบต.เขาพระบาท มอบนโยบายการพัฒนาพื้นที่ตำบลเขาพระบาท 09.15 น. จสอ.สมเกียรติ หนำคอก  ปลัด อบต.เขาพระบาท เล่าเรื่องการบูรณาการร่วมของหน่วยงานและพื้นที่ของตำบลเขาพระบาท และการขับเคลื่อนงานตำบลสุขภาพดี  โดยนายมนูญ พลายชุม ผอ.รพ.สต.เขาพระบาท 09.30

ประเด็นที่ 2 เปิดเวทีเสวนา ให้บ้านไกรไทย เล่าให้ฟัง ปีนี้กิจกรรมที่จะดำเนินการประกอบด้วย ชื่อโครงการ บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสุขภาพดีด้วยตำรับสุมนไพร มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ (1)เพื่อให้บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร  (2)เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน (3)เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน กิจกรรมที่ต้องดำเนินและมีผลงานในเชิงคุณภาพคือ
1.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลชุมชน
2.มีฐานข้อมูลครัวเรือนและข้อมูลชุมชน
3.มีแนวทางการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน 4.มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น
5.มีการส่งเสริมสุขภาพด้วยกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ 6.มีธนาคารสมุนไพรเพิ่มขึ้น 7.มีสวนสมุนไพรชุมชนเพิ่มขึ้น 8.มีรูปแบบและการสืบสาน ฟื้นฟูต่อเทียนครูภูมิปัญญา 9.เยาวชนเรียนรู้เรื่องสมุนไพรโดยการถ่ายทอดจากครูภูมิปัญญา 10.มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการการสืบสานภูมิปัญญา 11.ประชาชนมีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีและอนุรักษ์ภุมิปัญญาเพิ่มขึ้น 12.มีกระบวนการแปรรูปสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง 13.เกิดการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาไปสู่นักเรียน 14.มีกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรชุมชน 15.เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน 16.ลดรายจ่ายในการรักษาพยาบาล

กิจกรรมการดำเนินงานประกอบด้วย 1)การจัดทำข้อมูลครัวเรือน 2)การทำธนาคารสมุนไพร 3)การทำสวนสมุนไพร 4)การอนุรักษ์ประเพณีครูภูมิปัญญา 5)การสืบทอดประเพณีภูมิปัญญา 6)การจัดทำกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพร 7)การติดตามประเมินผลงาน

 

5 5

9. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3

วันที่ 7 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีมงานและประชุมอย่างสม่ำเสมอ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานได้เรียนรู้และวางแผนการทำงาน
  2. ร่วมกันออกแบบสำรวจข้อมูลชุมชน
  3. ทำให้ได้ทราบปัญหาความต้องการของชุมชน
  4. สร้างความไว้วางใจระหว่างทีมงานกับประชาชนในด้านข้อมูลครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานประชุมตามแผนงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผน วันนี้ประธานได้สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา  กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว คือ การสำรวจข้อมูล ดังนี้
1.ได้ข้อความร่วมมือจากชุมชน ร่วมกันสำรวจข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมุลพื้นฐานครัวเรือน ข้อมูลค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ด้านการรักษาพยาบาล ความต้องการใช้สมุนไพร และข้อมูลพื้นฐานของชุมชน โดยใช้แบบสำรวจที่ร่วมกันคิด สำรวจไปแล้ว 142 หลัง 2.การออกแบบสอบถาม มีพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ รพสต.และอบต.เขาพระบาท เข้าร่วมด้วย
3. การเก็บข้อมูลออกแบบโดย แกนนำ 1 คนและนักเรียน 1 คน สำรวจคู่ละ 10 – 12 ครัวเรือน
4.ทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
5.ปัญหาที่พบคือ ข้อมุลด้านใช้จ่าย ไม่ค่อยได้ขัอความตรงกับความจริง เพราะกลัวในการให้ข้อมูล

กิจกรรมที่ต้องทำในเดือนนี้คือ การปรับพฤติกรรมสุขภาพ ต้องรับสมัครประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม กำหนดเป้าหมาย 50 คน เป็นการเรียนรู้การดูแลตนเอง โดยใช้สมุนไพร
ให้ทุกคนทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และเข้าร่วมกิจกรรมด้วย

 

25 25

10. ปรับพฤติกรรมสุขภาพ ครั้งที่ 1

วันที่ 16 สิงหาคม 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมสุขภาพตามวัยด้วยวิถีพื้นบ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการดูแลตนเอง และปรับพฤติกรรมตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  2. ลดรายจ่ายในด้านสุขภาพ
  3. ส่งเสริมการดูแลสุขภาพตามวิถีภูมิปัญญา
  4. ส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

กิจกรรมวันนี้ ประกอบด้วย
1.ประธานโครงการเชิญกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นบุคคลที่สนใจเรื่องสุขภาพ เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร  มาเรียนรุู้การปรับพฤติกรรมสุขภาพด้วยการแพทย์พื้นบ้าน โดยให้ทุกคนจัดทำแผนปรับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนในหมู่บ้าน 2.ทุกคนสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง โดยใช้แบบสำรวจพฤติกรรม โดยให้สำรวจดังนีั้ 2.1พฤติกรรมที่ดีเช่น การออกกำลังกาย การลดเครียด การกินแต่พอเพียง และพฤติกรรมอื่นๆที่ดีมีอะไรบ้าง พฤติกรรมใดเป็นตัวอย่างได้ 2.2พฤติกรรมที่ไม่ดีต้องปรับมีอะไรบ้างเช่นกินจุบจิบ ไม่ออกกำลังกาย เครียด สูบบุหรี่ ดื่มสุรา 2.3 กลุ่มเป้าหมายช่วยเล่าให้กับทีมงานฟังว่าพฤติกรรมใดที่ดีแล้ว พฤติกรรมใดต้องเปลี่ยน 3.ทีมงานสมุนไพร เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาใช้ดูแลสุขภาพตนเอง และระดมช่วยกันคิดการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรและภูมิปัญญามาใช้ในการปรับพฤติกรรมชีวิตของตนเอง

4.เรียนรู้เรื่องนาฬิกาชีวิต
วันนี้ทีมงานในโครงการได้รับเอกสารจากพี่เลี้ยงเรื่องนาฬิกาชีวิต เพื่อนำมาศึกษาและเรียนรุู้เพิ่มเติม และได้มาเล่าให้ทีมงานฟังว่า ใน 1 วัน มีเวลา 24 ชั่วโมง เราควรปฏิบัติตัวดังนี้
เวลา 3.00 – 5.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด เพื่อให้ระบบหายใจได้ทำงานได้เต็มที่ และเซลล์ต่างๆ ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะที่สมอง สมองที่ได้รับออกซิเจนน้อยหรือไม่เพียงพอจะมีผลความจำของคนเราเสื่อมลงได้ ช่วง 4.00 – 5.00 น เป็นช่วงที่อุณหภูมิของร่างกายลดลงต่ำสุด ร่างกายควรได้รับความอบอุ่น หลีกเลี่ยงสภาวะอากาศเย็น ช่วงนี้จึงเหมาะต่อการตื่นนอนเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์และออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น สำหรับคนที่ระบบหายใจหรือปอดมีปัญหา หายใจติดขัด ไอ จาม มีน้ำมูก โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบต้องระวังสุขภาพ เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่อาการกำเริบได้ง่าย เวลา 5.00 – 7.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ เพื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ช่วงนี้จึงควรดื่มน้ำเพื่อกระตุ้นระบบขับถ่าย และตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไปจนถึงช่วงหัวค่ำ ความดันเลือดในร่างกายจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น สำหรับคนที่มีสุขภาพอ่อนแอ จะมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก หายใจติดขัด โดยเฉพาะคนที่เป็นโรค หืดควรระวังอาการกำเริบ เวลา 7.00 – 9.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงาน ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารมื้อเช้า สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไมเกรน ภูมิแพ้ ไขข้ออักเสบรูมาทอยด์ ช่วงเวลานี้ควรระวังอาการกำเริบได้ เวลา 9.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้ามและตับอ่อน โดยม้ามทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย กำจัดเม็ดเลือดแดงที่เสื่อมสภาพ ส่วนตับอ่อนจะผลิตเอนไซม์มาช่วยย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก ร่างกายช่วงนี้จะมีความตื่นตัวมาก จึงเป็นช่วงที่เหมาะต่อการ ทำงาน/ทำกิจกรรม เวลา 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ช่วงนี้ระดับความดันเลือดในร่างกายยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดัง นั้นคนที่หัวใจผิดปกติ ช่วงนี้จะมีเหงื่อออกมากและรู้สึกร้อน อบอ้าว เวลา 13.00 – 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหาร หากมื้อกลางวันไม่รับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ช่วงนี้จะรู้สึกหิวและทรมาน เวลา 15.00 – 17.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะ ปัสสาวะ ซึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำกรองจากไต โดยช่วง 17.00 น. เป็นช่วงที่หลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อในร่างกายมีความแข็งแรง จึงเหมาะต่อการออกกำลังกาย เวลา 17.00 – 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต เพื่อกรองของเสียออกจากเลือดและรักษาสมดุลในร่างกาย ช่วง 18.30 น. ระดับความดันเลือดจะเพิ่มขึ้นสูงสุด และ ช่วงนี้จึงควรดื่มน้ำสะอาด (ไม่ควรดื่มน้ำเย็น) และไม่ควรนอนหลับในช่วงนี้ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน เวลา 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของหัวใจ และเป็นช่วงของระบบหมุนเวียนโลหิต โดยช่วง 19.00 น. อุณหภูมิในร่างกายจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ผู้ป่วยเป็นโรคผิวหนัง ช่วงนี้ควรระวังอาการกำเริบ เวลา 21.00 – 23.00 น. เป็นช่วง เวลาของระบบทั้ง 3  ได้แก่ ระบบหายใจ ส่งผลต่อร่างกายช่วงบน(หัวใจ-ปอด) ระบบย่อยอาหารมีผลต่อช่วงกลางลำตัว(กระเพาะ อาหาร ม้าม ตับ) และระบบขับถ่ายมีผลต่อร่างกายช่วงล่าง(ไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก) เป็นช่วงที่ร่างกายปรับสมดุลความร้อนและเป็นช่วงที่อุณหภูมิในร่างกายจะค่อยๆ ลดลง การขับถ่ายอุจจาระจะหยุดพักชั่วคราว ร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนิน ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ควรนอนหลับพักผ่อน เวลา 23.00 – 1.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี เพื่อเก็บน้ำดีที่ได้จากตับและส่งน้ำดีมาช่วยย่อยไขมันที่ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดีและตับ จึงเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันอย่างมาก เวลา 1.00 – 3.00 น. ช่วงเวลาของตับ เพื่อกำจัดสารพิษในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยนำมาสังเคราะห์และเก็บสะสมในรูปไกลโคเจน และสร้างน้ำดีมาเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ช่วงนี้ควรเป็น ช่วงที่หลับสนิทเพื่อให้เลือดไหลเวียนมาที่ตับได้ดี เนื่องจากเวลา 2.00 น ร่างกายจะหลั่งเมลาโทนินได้สูงสุด การนอนไม่หลับ เครียด ได้รับสารพิษ หรือรับประทานอาหารหวานจัด จะส่งปัญหาถึงตับ สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ ช่วงนี้อาจทำให้อาการกำเริบและหัวใจล้มเหลวได้

กลุ่มเป้าหมายทุกคนสนใจ และขอรับหนังสือเพื่อไปอ่านเพิ่มเติม

 

100 100

11. ธนาคารสมุนไพร ครั้งที่ 1

วันที่ 30 สิงหาคม 2557 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสมุนไพรไทย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ประชาชนได้มีโอกาสเข้าร่วมพัฒนา ตามความสมัครใจ
  2. มีการแบ่งกลุ่มกันทำงาน ตั้งแต่เยาวชน นักเรียน ครู ประชาชน และทีมงาน
  3. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนา
  4. มีการเรียนรู้โซนปลูกสมุนไพร
  5. มีการวางเป้าหมายพัฒนาร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สมาชิกกลุ่มสมุนไพร ร่วมจัดทำสวนสมุนไพร

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มสมุนไพร เข้าร่วมกิจกรรมปรับปรุงและฟื้นฟูสวนสมุนไพร

วันนี้หัวหน้าโครงการ ได้เชิญกลุ่มสมุนไพรและผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาธนาคารสมุนไพรเพิ่มเติม ดังนี้ 1.หัวหน้าโครงการ เชิญโซนปลูกสมุนไพรและเชิญแกนนำมานั่งพูดคุย เพื่อวางแผนการเพาะกล้าต้นไม้สมุนไพร แปลงสมุนไพร สวนสมุนไพรในชุมชน โดยการจัดตั้งเป็นธนาคารสมุนไพรของชุมชน โดยมีหลักการคือ ธนาคารสมุนไพรจะรวบรวมสมุนไพรทุกชนิดที่พบในบ้านไกรไทย ร่วมกันเพาะปลูกสมุนไพร เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยจำหน่ายในราคาต้นทุน และรายได้ทั้งหมดนำไปพัฒนาธนาคารสมุนไพร 2.แบ่งกลุ่มการเพาะและปลูกสมุนไพรเป็น 3 โซนเหมือนเดิม คือบ่อหลา ทางพล บ้านค่าย แต่ละกลุ่มประกอบด้วย ปราชญ์ 1 คน แกนนำเดิม 6 คน นักเรียน 8 คน และครูกลุ่มละ 1 คน 3.แต่ละกลุ่ม กำหนดบทบาทของสมาชิกให้ชัดเจน โดยให้ครูและปราชญ์เป็นที่ปรึกษา จัดทำผังการทำงานของแต่ละโซน แบ่งหน้าที่ มอบหมายกันอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการเกี่ยงงาน หรือไม่รับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง 4.ทุกโซนร่วมกันวางแผนในการเพาาะสมุนไพร โดยมีข้อกำหนดว่า สมุนไพรเดิมที่มีอยู่แล้วจะต้องขยายเพิ่มเติม และสมุนไพรที่ทำการเพาะและต้องปลูกเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ ดังนี้ (1)สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบ คือ ไพล มะกรูด มะขาม ตระไคร้ ขมิ้น ส้มป่อย (2)สมุนไพรสำหรับชุดอบ คือ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ ผิวมะกรูด ผักบุ้ง ใบหนาด ใบมะขาม ส้มป่อย (3)สมุนไพรตำรับยาต้ม ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ไหลเผือก 5. ทุกโซน ต้องไปชักชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มเติม และร่วมกันกำหนดพื้นที่ในการปลูกสมุนไพรให้เป็นสวนสมุนไพรชุมชน 2 จุด คือ บริเวณศูนย์เรียนรู้บริเวณวัดพระบาท และปลูกทุกบ้าน ให้เป็นกองกลางของชุมชน โดยมีกติกาว่าทุกคนต้องปลูกเผื่อไว้ให้กับธนาคาร อย่างละ 5 ต้นต่อบ้าน เพื่อใช้ปลูกและแจกจ่ายกับชุมชน และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน 6.มอบหมายให้แกนนำ อสม.และนักเรียน ช่วยกันสำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชน ทุกคนเห็นด้วย และพร้อมที่จะมอบสมุนไพรให้กับชุมชน

 

50 50

12. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

วันที่ 7 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีมงานและประชุมอย่างสม่ำเสมอ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีการประชุมตามแผนงานที่กำหนด
  2. มีการติดตามความก้าวหน้าของงาน
  3. ทีมงานรุ้สึกเป็นเจ้าของในกิจกรรม
  4. มีการนำภาคีเข้ามาร่วมทำงาน
  5. เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ร่วมพัฒนา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด คณะทำงาน เข้าร่วมประชุม และรายงานความก้าวหน้า ดังนี้
กิจกรรมที่ทำไปแล้ว ประกอบด้วย
วันนี้หัวหน้าโครงการ ได้เชิญกลุ่มสมุนไพรและผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาธนาคารสมุนไพรเพิ่มเติม ดังนี้ 1.กิจกรรมการทำธนาคารสมุนไพร  โดยหัวหน้าโครงการได้เชิญกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ มานั่งพูดคุย เพื่อวางแผนการเพาะกล้าต้นไม้สมุนไพร จัดตั้งเป็นธนาคารสมุนไพรของชุมชน ซึ่งแบ่งกลุ่มการเพาะและปลูกสมุนไพรเป็น 3 โซนเหมือนเดิม กำหนดบทบาทของสมาชิกให้ชัดเจน โดยให้ครูและปราชญ์เป็นที่ปรึกษา  มีการจัดทำผังการทำงานของแต่ละโซน แบ่งหน้าที่ มอบหมายงานชัดเจน เพื่อป้องกันการเกี่ยงงาน  นอกจากนี้ร่วมกันวางแผนในการเพาาะสมุนไพร โดยมีข้อกำหนดว่า สมุนไพรเดิมที่มีอยู่แล้วจะต้องขยายเพิ่มเติม และสมุนไพรที่ทำการเพาะและต้องปลูกเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ ดังนี้
(1)สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบ คือ ไพล มะกรูด มะขาม ตระไคร้ ขมิ้น ส้มป่อย (2)สมุนไพรสำหรับชุดอบ คือ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ ผิวมะกรูด ผักบุ้ง ใบหนาด ใบมะขาม ส้มป่อย (3)สมุนไพรตำรับยาต้ม ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ไหลเผือก
นอกจากนั้น ยังได้มอบหมายให้แกนนำ อสม.และนักเรียน ช่วยกันสำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชน

2.กิจกรรมการปรับพฤติกรรมสุขภาพ มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยทุกคนสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ใช้แบบสำรวจพฤติกรรม ซึ่งอยู่ในระหว่างประมวลผล นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยถึงการนำสมุนไพรมาใช้ดูแลสุขภาพตนเอง และระดมช่วยกันคิดการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรและภูมิปัญญามาใช้ในการปรับพฤติกรรมชีวิตของตนเอง และก่อนปิดประเด็นมีการพูดคุยเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องนาฬิกาชีวิต

กิจกรรมที่ต้องดำเนินในเดือนนี้คือ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการสร้างสวนสมุนไพร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการดำเนินนงานขอความร่วมมือจากทุกคนให้ความร่วมมือด้วย
มอบหมายหน้าที่ ดังนี้
การประสานงาน นางชะอ้อน สารักษ์ การจัดเตรียมสมุนไพร  นางสาคร ยิ้มแย้ม การจัดเตรียมอาหารว่าง นางสายชล เพ็งตุก การจัดเตรียมอาหาร นางสมสวย ภูแข็ง การบันทึกข้อมูล นางอนุสรา บางพา ประชาสัมพันธ์ นางปราณี รักษ์ทิพย์

 

25 25

13. ทำสวนสมุนไพร ครั้งที่ 1

วันที่ 7 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างสวนสมุนไพรชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ประชาชนเข้าร่วมพัฒนาสวนสมุนไพร
  2. สร้างภาคีร่วมทำงานคือโรงเรียนวัดพระบาท
  3. ร่วมกันทำเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน
  4. ประชาชนให้ความเชื่อมั่น และสร้างคุณค่าให้เกิดกับสมุนไพร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มสมุนไพร ร่วมกันจัดทำสวนสมุนไพรเพิ่มเติม

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มสมุนไพร และกลุ่มผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม ทำสวนสมุนไพรชุมชน

วันนี้หัวหน้าโครงการได้เชิญแต่ละกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
1.หัวหน้าทีมได้พูดุคยกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อรื้อฟื้นสมุนไพรในชุมชน โดยวันนี้ขอความร่วมมือในการพัฒนาสวนสมุนไพร และจัดระบบใหม่ โดยให้นำวัสดุการพัฒนามาจากบ้าน เช่น จอบ มีด พร้า
2.วัตถุประสงค์วันนี้ เราต้องการทำสวนสมุนไพรเพื่อให้เป็นมุมพักผ่อนของชุมชน และนำสมุนไพรไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 3.การปลูกสมุนไพร จะทำเป็นแปลง  วันนี้ขอให้มีการสำรวจแต่ละแปลงว่าจะปลูกอะไร
4.แต่ละแปลง มีข้อกำหนดดังนี้     1)เขียนป้ายชื่อสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพรกำกับไว้ด้วย     2)แต่ละแปลงให้เขียนชื่อ ปราชญ์ ครู อสม. และนักเรียนที่รับผิดชอบด้วย     3.)กำหนดหน้าที่และเวรรับผิดชอบในการดูแล รดน้ำ โดยให้นักเรียนเป็นหลัก โดยมีครูและปราชญ์ช่วยติดตาม 5.ให้ทุกคน รับผิดชอบไปหาสมุนไพร มาปลูกที่แปลง โดยนำมาจากบ้านของตนเอง
6.พัฒนาแปลงสมุนไพรเพิ่มอีก 1 แห่งคือ โรงเรียนวัดพระบาท

 

50 50

14. ธนาคารสมุนไพร ครั้งที่ 2

วันที่ 27 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสมุนไพรไทย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีธนาคารสมุนไพรในชุมชน

2.มีการเก็บรวบรวมข้อมูลสมุนไพร พบว่าสำรวจ 146 ครัวเรือน มีสมุนไพร  79 ชนิด  1707 ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 326 ต้น

3.เป็นศุนย์เรียนรู้ด้านสมุนไพร

4.เกิดแนวทางอนุรักษ์สมุนไพรที่หายากและสมุนไพรชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มสมุนไพร ร่วมกันจัดทำธนาคารสมุนไพร

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย ร่วมกันสำรวจและจัดทำทะเบียนสมุนไพร และผลการสำรวจดังนี้
ว่านหางจระเข้ ทั้งหมด 109 ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 10 ต้น  ขมิ้นอ้อย 126 ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 14  ต้น ธิดาวานร 9 ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1ต้น  ฟ้าทะลายโจร 33ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 7ต้น เจ็ดหมูนเพลิง 2ต้น  มะกรูด 82ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 11ต้น หนุมานนั่งแท่น 72ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 11ต้น มะแว้ง 5ต้น  ตะใคร้ 248ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 71ต้น  ทองพันชั่ง  1ต้น
เสลดพังพอน 7ต้น  ขมิ้นชัน 83ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 6ต้น ข่า 27ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 7ต้น กะเพรา  46ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 2ต้น ผักเสี้ยนผี 3ต้น  หัวไพล 245ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 37ต้น มะเขือพวง 1ต้น กระชาย 1ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1ต้น  ฟักข้าว 4ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 3ต้น มะนาว 71ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร  6ต้น ตำลึง 8ต้น  พริก 73ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 12ต้น ผักหวาน 1ต้นหัวทือ 12ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร  3ต้นกระชาย 4ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 2ต้นมะขาม 29ต้น กระเจี๊ยบ 39ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 16ต้นมะรุม 21ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 15ต้นชมพู่ 3ต้นอัญชัน 1ต้น ยอ 9ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 3ต้นมะยม 1ต้นใบยี่ร่า 3ต้นบอระเพ็ชร 1ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1ต้น ว่านงูเขียว 12ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 3ต้นรางจืด 17ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1 ต้นว่านตะขาบ 1ต้น ทุเรียนน้ำ 15ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 4ต้นว่านดับพิษ 10ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 5ต้น ขี้เหล็ก 4ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 2ต้นชุมเห็ด 2ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1ต้นแคบ้าน 9ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 4ต้นย่านหัวเขียว 4ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 2ต้นหญ้าหนวดแมว 14ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 10ต้น เตยหอม 32ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 3ต้นขิง 20ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 10ต้นผักเสี้ยน 37ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 18ต้นปลาบธรณี 10ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร 5ต้นต้นขี้ไก่ 11ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพร  5ต้น รากสามสิบ 3ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร 1ต้นหัวเปรอะ 4ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร  2ต้นพรุ้งพริ้ง 8ต้น มอบให้ธนาคารสมุนไพร  1ต้นมะระ 2ต้นกล้วยน้ำว้า 5ต้นมะละกอ 48ต้น  มอบให้ธนาคารสมุนไพรว่านหางงูเขียว 6ต้น ว่านใจดำ 3ต้นโหระพา 12ต้น

 

50 50

15. เข้าร่วมประชุมตำบลในเวทีสานเสวนาเล่าเรื่องดีดีตำบลเขาพระบาท

วันที่ 6 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโครงการ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้รู้จักภาคีและเรียนรู้ในการทำงานร่วมกัน
  2. นำเสนอผลการดำเนินงานให้กับภาคีทราบ
  3. มีการบูรณาการงานร่วมของหมู่บ้าน หน่วยงานราชการและพื้นที่ของตำบลเขาพระบาท
  4. ได้เรียนรู้การให้กำลังใจและสร้างขวัญการทำงานร่วมกัน
  5. ได้เรียนรู้แนวทางการฟื้นฟูธรรมชาติในชุมชน
  6. เรียนรู้การนำสมุนไพรมาใช้ในการพัฒนา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมร่วมประชุมตำบลในเวทีสานเสวนาเล่าเรื่องดีดีตำบลเขาพระบาท

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมร่วมประชุมตำบลในเวทีสานเสวนาเล่าเรื่องดีดีตำบลเขาพระบาท

กิจกรรมสานเสวนาบอกเล่าเรื่องราวสิ่งที่ดีในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม 2557 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 กิจกรรมดังนี้ 08.00 น. ลงทะเบียน 08.00 – 08.15 น. นางฉวีวรรณ แก้วเขียว  นายก อบต.เขาพระบาท เล่าเรื่องราวดีดีในการพัฒนาพื้นทีปี 58 08.15 – 08.40 น. แนะนำตัวสมาชิก ผู้นำชุมชน และข้าราชการในพื้นที่ เริ่มจาก ทีมงานจาก อบต.เขาพระบาท  ทีมงานจาก รพ.สต.เขาพระบาท  ทีมงานจากทุกโรงเรียน  สมาชิก อบต.ทุกหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน  ประธาน อสม.ทุกหมู่บ้าน 09.00 น. จสอ.สมเกียรติ หนำคอก  ปลัด อบต.เขาพระบาท เล่าผลงานที่เกิดจากการเรื่องการบูรณาการร่วมของหน่วยงานและพื้นที่ของตำบลเขาพระบาท นายมนูญ พลายชุม ผอ.รพ.สต.เขาพระบาท ได้เล่าถึงความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ตำบลเขาพระบาท และปีนี้ทางหน่วยงานได้รับคัดเลือกข้าราชการรางวัลคนดีศรีสาธารณสุข

ประเด้นที่ 2 เวลา 09.30 เปิดเวทีเสวนา โดยทุกหมู่บ้านเล่าเรื่องดีดีในหมู่บ้านของตน และบ้านไกรไทย เล่าให้ฟังว่า เมื่อถึงเวลานี้ กิจกรรมที่ทำไปแล้ว ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1.กิจกรรมการทำธนาคารสมุนไพร  โดยหัวหน้าโครงการได้เชิญกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ มานั่งพูดคุย เพื่อวางแผนการเพาะกล้าต้นไม้สมุนไพร จัดตั้งเป็นธนาคารสมุนไพรของชุมชน ซึ่งแบ่งกลุ่มการเพาะและปลูกสมุนไพรเป็น 3 โซนเหมือนเดิม กำหนดบทบาทของสมาชิกให้ชัดเจน โดยให้ครูและปราชญ์เป็นที่ปรึกษา  มีการจัดทำผังการทำงานของแต่ละโซน แบ่งหน้าที่ มอบหมายงานชัดเจน เพื่อป้องกันการเกี่ยงงาน  นอกจากนี้ร่วมกันวางแผนในการเพาาะสมุนไพร โดยมีข้อกำหนดว่า สมุนไพรเดิมที่มีอยู่แล้วจะต้องขยายเพิ่มเติม และสมุนไพรที่ทำการเพาะและต้องปลูกเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ ดังนี้
(1)สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบ คือ ไพล มะกรูด มะขาม ตระไคร้ ขมิ้น ส้มป่อย (2)สมุนไพรสำหรับชุดอบ คือ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ ผิวมะกรูด ผักบุ้ง ใบหนาด ใบมะขาม ส้มป่อย (3)สมุนไพรตำรับยาต้ม ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ไหลเผือก
นอกจากนั้น ยังได้มอบหมายให้แกนนำ อสม.และนักเรียน ช่วยกันสำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชน

2.กิจกรรมการปรับพฤติกรรมสุขภาพ มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยทุกคนสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ใช้แบบสำรวจพฤติกรรม ซึ่งอยู่ในระหว่างประมวลผล นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยถึงการนำสมุนไพรมาใช้ดูแลสุขภาพตนเอง และระดมช่วยกันคิดการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรและภูมิปัญญามาใช้ในการปรับพฤติกรรมชีวิตของตนเอง และก่อนปิดประเด็นมีการพูดคุยเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องนาฬิกาชีวิต

 

5 5

16. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5

วันที่ 7 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีมงานและประชุมอย่างสม่ำเสมอ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีการรายงานผลและติดตามผลการดำเนินงาน
  2. มีการประชุมตามแผนที่กำหนด
  3. มีการจัดกิจกรรมตามแนวทางที่กำหนด
  4. มอบหมายหน้าที่ในการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานประชุมตามแผนที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

หัวหน้าโครงการ ได้สรุปกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว ประกอบด้วย
1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายได้ทำการสำรวจสุขภาพตนเอง และใช้สมุนไพรมาร่วมปรับสุขภาพ 2.การทำธนาคารสมุนไพร ตอนนี้มีการทำสมุดธนาคารสมุนไพร เรียบร้อยแล้ว
3.การทำสวนสมุนไพร ได้ทำการปรับปรุงสวนสมุนไพรเดิม และเปิดพื้นที่ใหม่คือ สวนสมุนไพรที่โรงเรียนวัดพระบาท

กิจกรรมที่จะดำเนินการในรอบถัดไป คือ
1.การอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จไปด้วยดี ขอมอบหมายหน้าที่ดังนี้
การประสานงาน นางชะอ้อน สารักษ์ และนางกุศล ช่วยสกุล การจัดเตรียมสมุนไพร  นางสาคร ยิ้มแย้ม และนางอุษา พลายชุม การจัดเตรียมอาหารว่าง นางสายชล เพ็งตุก และนางอารีย์ ดำพัลวัน การจัดเตรียมอาหาร นางสมสวย ภูแข็ง และนางประทุม จันทร์สุวรรณ การบันทึกข้อมูล นางอนุสรา บางพา
ประชาสัมพันธ์ นางปราณี รักษ์ทิพย์ และนายสุธรรม ศรีศรัทธา และนายสุพล จันทร์สุวรรณ 2.กิจกรรมที่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือ คือการทอดกฐินวัดพระบาท ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 โดยกำหนดให้กลุ่มสมุนไพรมีการจำหน่ายและแจกน้ำสมุนไพรดังนี้
1)กำหนดให้การเผยแพร่โดยการจำหน่ายลูกประคบ และชาสมุนไพร 2)นำ้สมุนไพรที่แจกประชาชนในงานคือ น้ำอัญชันมะนาว นำ้ใบเตย

 

25 25

17. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงาน และปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้และสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยงพื้นที่ และพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีการตรวจสอบติดตามความก้าวหน้าของโครงการ พบว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
  2. คณะทำงานได้รับการเสริมพลัง และมีกำลังใจทำงานต่อไป
  3. มีการปรับรูปแบบและระบบการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการ
  4. มีการสำรวจข้อมูลครัวเรือน
  5. มีการประชุมคณะทำงาน  5 ครั้ง ทำให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้น
  6. มีกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2 ครั้ง
  7. มีธนาคารสมุนไพร
  8. มีกิจกรรมต่อเทียนภูมิปัญญา เป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน และเรียนรู้ของดีในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงาน และปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงาน ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน

จากการสรุปผลการเรียนรู้ในวันนี้ คือ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ประกอบด้วย 1.การสำรวจครัวเรือน และข้อมูลชุมชน ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลชุมชน พบว่าประชาชนให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี สำหรับข้อมูลที่เป็นปัญหาคือ ประชาชนไม่ยอมให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ รายจ่าย เพราะกลัวว่าจะนำไปทำอะไรเกี่ยวกับภาษีหรือข้อมูลรายได้
2.ประชุมคณะทำงาน จำนวน 5 ครั้ง ผลที่เกิดขึ้นคือ ทืีมงานทุกคนมีความเข้าใจและมีการตกลง มอบหมายกันชัดเจน
3.กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้จัดกิจกรรม ไป 2 ครั้ง เป็นการนำเอาสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน มาใช้ดูแลสุขภาพ เพื่อนำสมุนไพรที่ปลูกอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชขน์ 4.กิจกรรมธนาคารสมุนไพร เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรที่อยู่ในชุมชน เพื่อนำมาขึันทะเบียน และเพาะพันธุ์เพิ่ม เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ 5.กิจกรรมต่อเทียนภูมิปัญญา เป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน และเรียนรู้ของดีในชุมชน

สิิ่งที่เกิดในวันนี้คือ 1.ประชุมสรุปบทเรียนที่ผ่านมา 2.คณะทำงานเข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงาน และปิดงวดรายงาน งวดที่ 1 3.มีการตรวจสอบเอกสาร  การดำเนินงาน พร้อมรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม และการบันทึกข้อมูลในเอกสาร โดยพี่เลี้ยง 4.พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารหลักฐานทางการเงิน และการเขียนใบเสร็จ 5.ตรวจสอบการบันทึกข้อมุลในโปรแกรมออนไลน์ 6.ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเด็นที่ต้องปรับปรุง คือ ควรบันทึกเอกสารให้ละเอียด และเอกสารการเงินต้องเขียนให้ถุกต้อง

 

5 5

18. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ครั้งที่ 2

วันที่ 22 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมสุขภาพตามวัยด้วยวิถีพื้นบ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ประชาชนได้เรียนรู้แนวทางดูแลสุขภาพโดยใช้วิถีภูมิปัญญาและสมุนไพร
  2. มีทางเลือกในการดูแลสุขภาพ
  3. ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ
  4. ส่งเสริมการใช้สมุนไพรชุมชน และสร้างคุณค่าให้เกิดกับสมุนไพร
  5. ส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ครั้งที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย สนใจเข้ารับการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยการใช้สมุนไพร

วันนี้ พี่เลี้ยงได้เข้าร่วมกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนำสมุนไพรมาใช้ในการปรับสมดุลร่างกาย ดังนี้
จากการพูดคุยในรอบที่ผ่านมา มีหลายคนที่นำสมุนไพรไปใช้พบว่า
1.รู้สึกร่างกาย กระฉับกระเฉงมากขึั้น
2.ไม่ค่อยเป็นหวัด 3.ระบบขับถ่ายดีขึ้น ถ่ายคล่อง ท้องไม่ผูก

และวันนี้ได้แนะนำเกี่ยวกับการนำสมุนไพรไปใช้เพิ่มเติม
1.เมื่อท้องผูก : เราควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธีกดจุดตำแหน่งสองข้างของจมูกถ้ายัง ไม่ถ่ายให้ดื่มนํ้าอุ่น 2 แก้ว ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่ม น้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำมะนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่ายหรือบริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าแล้วก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือท้าวเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าหน้าท้องไปติดสันหลัง 2.การดูแลแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากมีกรดมาก ใช้ขมิ้นชันเท่านิ้วก้อย 3 แง่ง ต้องขูด เปลือกออกก่อนเพาะในเปลือกมีสารสเตียรอยดสติกนิน (สารนี้สะสมมากอาจเป็นอันตรายได้) นำมาหั่นเป็นแว่น ๆ ใส่ถ้วย เติมน้ำร้อยลงไป 3 ช้อนชา แต่ตักดื่มเพียง 2 ช้อน ที่เหลือทิ้งไป เป็นการรักษาแผลตามหลอดอาหารได้ดีมาก 3.วิธี detox ลำไส้เล็กตามธรรมชาติ เอาสูตรมาจากพระไตรปิฎก คือ สูตร โยเกิร์ต+นมสด+ น้ำผึ้ง+น้ำมะนาว กินเข้าไปจะไปล้างลำไส้  ได้แลคโตบาซิลัสในโยเกิรต์  จะไปช่วยไขมันที่อยู่ในลำไส้ไปย่อยขยะในลำไส้ด้วย เปลี่ยนเป็นวิตามินบี 12 ให้เรา สูตรนี้กินตอนเช้าเช้าลดความอ้วน กิน ตอนเย็นเพิ่มความอ้วน ฝึกดื่มน้ำตามมาก ๆ เป็นวิธีแก้ 4. การดูแลไต ตัวที่บำรุงไต ที่ดีที่สุดคือ คือ กระชาย เอากระชายเหลืองธรรมดา 1 กก. ใส่นํ้าเยอะๆ ปั่นผสมกับโหระพา เอาแต่นํ้าใส ผสมน้ำมะนาว น้ำผึ้ง ดื่มบำรุงสมอง กระดูก เลือดเลี้ยงสมองไม่ดี ความจำเสื่อม นอนไม่ค่อยหลับ จะช่วยได้ แล้วผมจะกลับมาดกดำอีก

5.สูตรสมุนไพร 5.1 น้ำสับปะรดปั่นกับโหระพา หรือใบตำลึง    (กินใบโหระพาวันละ 7 ยอด เป็นยาอายุวัฒนะ) เครื่องปรุง สับปะรด 1 หัว  ใบโหระพา 1 ขีด วิธีทำ ปอกเปลือกสับปะรด ปั่นผสมโหระพา แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่ม สรรพคุณ - ลดลมในตัว - แก้อาหารเลือดข้น - ทำให้เลือดเลี้ยงสมองส่วนหน้าดีขึ้น - ลดความดันโลหิตสูง - บำรุงหัวใจ - เพิ่มเม็ดเลือดแดง ถ้าใช้ทั้งแกนสับปะรด จะเพิ่มเม็ดเลือดขาวด้วย - ลดอนุมูลอิสระ

5.2 น้ำกระชายปั่นกับน้ำผึ้งกับน้ำมะนาว
เครื่องปรุง กระชาย 1 ขีด  น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ  มะนาว 2 ลูก วิธีทำ กระชายล้างน้ำให้สะอาด ปั่นให้ละเอียด เติมน้ำสะอาดลงไป 2 แก้ว กรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำผึ้งและน้ำมะนาวลงไปผสมปรุงรสตามใจชอบดื่มได้เลย สรรพคุณ - บำรุงกระดูก (เพราะมีแคลเซียมสูง) - บำรุงสมอง เพราะทำให้เลือดเลี้ยงสมองส่วนกลางดีขึ้น - ปรับสมดุลของฮอร์โมน - ปรับสมดุลของความดันโลหิต (ความดันโลหิตที่สูงจะลดลง ความดันโลหิตที่ต่ำ จะสูงขึ้น) - แก้โรคไต  ทำให้ไตทำงานดีขึ้น
- ป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ - บำรุงมดลูก - แก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วง - อาการกระเพาะปัสสาวะเกร็ง (กรณีนี้อาจใช้เม็ดบัวต้มกิน) - ควบคุมไม่ให้ต่อมลูกหมากโต - แก้ปัญหาไส้เลื่อน

 

100 100

19. ต่อเทียนครูภูมิปัญญา ครั้งที่ 1

วันที่ 25 ตุลาคม 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาสมุนไพรไทย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เป็นการนำวิถีพุทธ วิถีชุมชนมาร่วมพัฒนาด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่
  2. ใช้วิถีชุชน เป็นกลไกหนุนเสริมด้านสุขภาพ
  3. เป็นการหนุนเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักด้านสุขภาพ
  4. เป็นแนวทางการสร้างระบบการดูแลสุขภาพแบบทางเลือก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเป้าหมาย เรียนรู้ภูมิปัญญา

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย ร่วมกันพัฒนาวัดพระบาทและสำรวจแหล่งสมุนไพร

  1. วันนี้หัวหน้าโครงการ ได้เชิญกลุ่มเป้าหมาย มาปะชุมร่วมกันโดยใช้วัดพระพุทธบาท มีอายุ 727 ปี เป็นวัดเก่าแก่และเป็นที่ศรัทธาของชุมชน เพื่อวางแผนในการฟื้นฟูสมุนไพรในวัดพระบาท
  2. มีกิจกรรมเจาะหาสารเคมีในเลือดให้กับกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน 56 คน
  3. พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการสืนสานภูมิปัญญาสมุนไพร เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติของครูภูมิปัญญาบ้านไกรไทย
  4. ทุกคนร่วมกันร่วมกันสำรวจสมุนไพร  และพัฒนาวัดพระบาท
  5. รวบรวมสมุนไพร เพื่อจัดทำป้ายและสรรพคุณ เป็นการเผยแพร่ให้ทุกคนได้ทราบ

 

50 50

20. เผยแพร่กิจกรรมในวันทอดกฐินวัดพระบาท

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เวลา 07:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เป็นการส่งเสริมและเผยแพร่การใช้สมุนไพรชุมชน
  2. เป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินงานตามโครงการ
  3. สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีในการดำเนินงาน
  4. ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาและสมุนไพร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานและกลุ่มสมุนไพร เผยแพร่ผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกับกลุ่มสมุนไพร และประชาชน ร่วมกันทอดกฐินประจำปี ที่วัดพระบาท วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 ทางวัดพระบาท ได้จัดงานทอดกฐินประจำปี โดยมีนายถนอม อ่อนเกตุผล คุณปอง (อัญชลี) และทีม  กปปส.นำโดยพระสุเทพ เทือกสุบรรณ นำกฐินมาทอดที่วัดพระบาท ในกิจกรรมครั้งนี้ ทางกลุ่มสมุนไพรบ้านไกรไทย ร่วมกับโครงการ จัดให้มีการเผยแพร่ผลการดำเนินงานและร่วมสนับสนุนน้ำสมุนไพร ดังนี้
1.กิจกรรมที่สนับสนุน คือ การทำน้ำสมุนไพร ให้ดื่มฟรี พร้อมทั้งคำแนะนำ ให้กับประชาชนท่ี่มาร่วมทอดกฐิน ดังนี้ 1.1 น้ำตะไคร้ ผสมใบเตย ช่วยทำให้เกิดความชุ่มชื้น แก้กระหาย ช่วยลดอาการท้องอืด จำนวน 100 ลิตร ได้รับคำชมจากผู้ที่ชิม และถ่ายทอดความรู้ให้ไปทำต่อที่บ้าน 1.2 มะนาวอัญชัน เป็นนำ้อัญชันสีม่วง ผสมมะนาว ไม่หวาน จิบแก้กระหาย ชุ่มคอ จำนวน 150 ลิตร ได้รับคำชมจากผุ้ที่ชิมว่าอร่อย สดชื่น พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ถ่ายทอดไปทำที่บ้าน
1.3 กระเจี๋ยบ ไม่หวาน ช่วยแก้กระหาย ลดไขมันในเลือด ผู้ทีชิมบอกว่ารสเปรี้ยว อร่อยดี ได้รับคำชม

2.กิจกรรมที่นำไปเผยแพร่ ได้แก่
2.1 ลูกประคบ จำนวน 100 ลูก และจำหน่ายหมด โดยจำหน่ายลูกละ 50 บาท
2.2 ชาใบขลู่ แก้ความดันฯ ปรับธาตุ จำหน่ายถุงละ 20 บาท จำนวน 100 ถุง จำหน่ายหมด 2.3 ชาตะไคร้ ช่วยลดท้องอืด จำหน่ายถุงละอ20 บาท จำนวน 100 ถุง จำหน่ายหมด 2.4 ชาใบเตย ช่วยลดระดับนำ้ตาลในเลือด บำรุงหัวใจ ถุงละ 20 บาท จำนวน 100 ถุง จำหน่ายหมด

ในการจัดกิจกรรมครั้ง จะมีกลุ่มเยาวชน เป็นผุ้ที่จำหน่าย และถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนทั้งหมด

 

500 500

21. ถอดเงินค่าเปิดบัญชี

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อถอนเงินค่าเปิดบัญชี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานถอนเงินค่าเปิดบัญชี 1,000 บาท 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะกรรมการถอนเงินค่าเปิดบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานถอนเงินค่าเปิดบัญชี

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 52 21                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,800.00 70,350.00                  
คุณภาพกิจกรรม 84 81                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ค่าจัดทำป้ายโครงการและป้ายปลอดบุหรี่ ( 10 พ.ย. 2557 )
  2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 ( 14 พ.ย. 2557 )
  3. ประเมินติดตามกลุ่ม ครั้งที่ 1 ( 18 พ.ย. 2557 )
  4. แปรรูปสมุนไพรครั้งที่ 1 ( 22 พ.ย. 2557 )
  5. สวนสมุนไพร ครั้งที่ 2 ( 29 พ.ย. 2557 )
  6. ประชุมคณะทำงานครัั้งที่ 7 ( 7 ธ.ค. 2557 )
  7. กลุ่มวิสาหกิจสมุนไพร ครั้งที่ 1 ( 13 ธ.ค. 2557 )
  8. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ครั้งที่ 3 ( 20 ธ.ค. 2557 )
  9. แปรรูปสมุนไพร ครั้งที่ 2 ( 24 ธ.ค. 2557 )
  10. ธนาคารสมุนไพร ครั้งที่ 3 ( 27 ธ.ค. 2557 )
  11. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8 ( 7 ม.ค. 2558 )
  12. ทำสวนสมุนไพรครั้งที่ 3 ( 17 ม.ค. 2558 )
  13. ต่อเทียนครูภูมิปัญญาครั้งที่ 2 ( 21 ม.ค. 2558 )
  14. ต่อเทียนครูภูมิปัญญา ครั้งที่ 3 ( 22 ม.ค. 2558 )
  15. แปรรูปสมุนไพร ครั้งที่ 3 ( 24 ม.ค. 2558 )
  16. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 ( 7 ก.พ. 2558 )
  17. สืนสานประเพณีภูมิปัญญา ( 14 ก.พ. 2558 )
  18. แปรรูปสมุนไพร ครั้งที่ 4 ( 21 ก.พ. 2558 )
  19. ติดตามประเมินผลกลุ่ม ครั้งที่ 2 ( 22 ก.พ. 2558 )
  20. กลุ่มวิสาหกิจสมุนไพร ครั้งที่ 2 ( 28 ก.พ. 2558 )
  21. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 ( 7 มี.ค. 2558 )
  22. ทำสวนสมุนไพร ครั้งที่ 4 ( 28 มี.ค. 2558 )
  23. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 11 ( 7 เม.ย. 2558 )
  24. กลุ่มวิสาหกิจสมุนไพร ครั้งที่ 3 ( 25 เม.ย. 2558 )
  25. ติดตามประเมินผลกลุ่ม ครั้งที่ 3 ( 26 เม.ย. 2558 )
  26. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 12 ( 5 พ.ค. 2558 )
  27. มหกรรมสุขภาพ ( 7 พ.ค. 2558 )
  28. ถอดบทเรียนการพัฒนา ( 9 พ.ค. 2558 )

(................................)
นางอำนวย สุขหวาน
ผู้รับผิดชอบโครงการ