แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ

ชุมชน บ้านหนองสีขวัญ หมู่ที่ 1 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-01476 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1030

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2557 ถึง 10 กรกฎาคม 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2557 ถึงเดือน ตุลาคม 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการใหม่ ที่ สจรส.มอ.

วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศร่วมกับพี่เลี่้ยงตาม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำโปรแกรมข้อมูลต่างๆ
  2. เรียนรู้เกี่ยวกับโครงการและการเชื่อมโยงโครงการไปสู่คลังอาหารอยู่ดีกินดี
  3. เรียนรู้การลงโปรแกรมออนไลน์
  4. เรียนรู้การเขียนปฏิทินโครงการ
  5. เรียนรู้การวางแผนโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมอบรมปฐมนิเทศโครงการใหม่ ที่ สจรส.มอ.

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน เข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการ สจรส.มอ

วาระที่ 1   นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ไปรับฟังเกี่ยวกับการทำโปรแกรมข้อมูลต่างๆ วาระที่ 1.1 เมื่อรับฟังข้อมูลการทำโปรแกรมมาแล้วจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการโดยการเชื่อมโครงการในครั้งนี้ต้องย้อนไปสู่ชุมชนบ้านหนองสีขวัญเกี่ยวกับคลังอาหารอยู่ดีกินดี วาระที่ 1.2 ในเมื่อเรารู้เกี่ยวกับการลงโปรแกรมแล้วเราสามารถทำข้อมูลให้ถูกต้องได้ ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
เข้าใจและเรียนรู้วิธีเขียนปฏิทินวางแผนการทำงานของโครงการ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง เขียนปฏิทินของโครงการเป็น สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
เข้าใจวิธีการเขียนปฏิทินของโครงการ รู้วิธีการวางแผนขั้นตอนในการทำงานของโครงการ

สิ่งที่ได้เรียนรุ้คือ 1.พี่เลี้ยงได้ชี้แนะทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ 2.ผลที่เกิดจากการปฏิบัติ คือคณะกรรมการเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ 3.สิ่งที่เกิดขึ้นเกินความคาดหมาย เกิดความเข้าใจที่จะดำเนินโครงการตามแผนงาน 4.สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ วิธีการดำเนินกิจกรรมของโครงการ

 

3 3

2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับโครงการ
  2. คณะทำงานวางแผนการทำงานร่วมกัน
  3. มอบหมายงานรับผิดชอบตามกิจกรรมโครงการ
  4. จัดทำเนื้อหาการดำเนินกิจกรรมโครงการ
  5. ทีมงานสามารถทำงานรวมกันเป็นกลุ่มได้
  6. เกิดการยอมรับในความคิดเห็นส่วนใหญ่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมวางแผนการทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานประชุมเพื่อจัดระบบการทำงาน

วาระการประชุม วาระที่ 1   นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับโครงการคลังอาหารอยู่ดี เงินดีที่บ้านหนองศรีขวัญ วาระที่ 1.1   นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์ ได้ชี้แจงให้คณะทำงานรู้ถึงรายละเอียดโครงการโดยมีการสำรวจข้อมูลชุมชนและจัดทำบัญชีครัวเรือนและมีการเลี้ยงไก่บ้านพื้นเมือง  การปลูกมานาวในท่อซีเมนต์  และมีการเรียนรู้ในเรื่องการปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ วาระที่ 1.2 เรียนรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยหมักจากปราชญ์ชาวบ้าน วาระที่ 1.3 ให้คณะทำงานแบ่งกลุ่มออกทำแบบสอบถาม ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
สามารถรวมกลุ่มกันทำงานในชุมชน ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง มีหัวหน้ากลุ่มเลี้ยงได้ มีหัวหน้ากลุ่มเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ มีหัวหน้ากลุ่มปลูกมะนาว  ผัก สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
สามารถทำงานรวมกันเป็นกลุ่มได้ การยอมรับในความคิดเห็นส่วนใหญ่ มีกิจกรรมให้คนในชุมชนรวมกันทำ

 

20 20

3. จัดทำแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน

วันที่ 12 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานได้ระคมคิดหาข้อมูลในการสำรวจแบบสอบถามในชุมชน
  2. แบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ส่วน 86 ข้อ ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและประชากรในครัวเรือน ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมประเพณี ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 5 ข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานร่วมกันคิดแบบสอบถาม

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกันคิดแบบสอบถาม ได้ระคมคิดหาข้อมูลในการสำรวจแบบสอบถามในชุมชน

 

5 5

4. สำรวจข้อมูลครัวเรือนทุกหลังคาเรือน

วันที่ 13 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำฐานข้อมุูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีแบบสำรวจชุมชน ทั้งหมด 5 ส่วน  86 ข้อ
  2. มีการมอบหมายหน้าที่ในการสำรวจข้อมูล
  3. มีแนวทางการบันทึกข้อมูล
  4. ทีมงานสามารถพูดคุยกับคนในชุมชนและได้ทราบปัญหา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานสำรวจข้อมูลตามแบบสอบถาม

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกันสำรวจข้อมุูลตามแบบสอบถามที่กำหนดให้

วาระการประชุม วาระที่ 1   เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2557 เวลา 09.00 น. คณะกรรมการได้ร่วมกันทำประชุมถึงการจัดทำแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน  โดยการใช้แบบสอบถาม  โดยมีนายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  ประธานโครงการได้ร่วมกันพูดคุยและมอบหมายงานให้กับสมาชิกของโครงการ ไปจัดทำ แบบสำรวจ  มีผู้เข้าร่วมประชุม เช่น  นายสุนทร  ชื่นกลิ่น และสมาชิก อสม.  และเยาวชนในชุมชน  สมาชิกในชุมชน     โดยประธานโครงการได้มอบหมายงานให้กับ นางสาวจุฑาทิพย์  บริเพชรและนางประไพ  จันทร์ททอง เป็นผู้จัดทำแบบสำรวจข้อมูลของสมาชิกในชุมชนร่วมกับเยาวชนในชุมชน  เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของสมาชิกในชุมชน เช่น  อาชีพหลักของครัวเรือน  การปลูกพืชสมุนไพรในครัวเรือน  รายได้ของครัวเรือน  ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน     โดยได้เริ่มทำการสำรวจข้อมูลในวันที่ 15+16 กรกฎาคม 2557 โดยได้สำรวจตั้งแต่ 09.00 น. – 15.00 น.  สิ่งที่ได้จากการสำรวจแบบสอบถามของสมาชิกในชุมชน พบว่ายังมีอีกหลายครัวเรือนที่ยังประสบปัญหาหลายด้าน เช่นปัญหาหลักๆๆ คือ ปัญหาการประกอบอาชีพ ทำการเกษตร  เป็นส่วนมาก ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
รู้ข้อมูลครัวเรือนในชุมชน ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง รู้ข้อมูลครัวเรือนในชุมชน สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
สามารถพูดคุยกับคนในชุมชน รู้ข้อมูลในครัวเรือนในชุมชน

 

95 30

5. พี่เลี้ยงชี้แจงการทำโครงการและการใช้โปรแกรมออนไลน์

วันที่ 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการร่วมประชุม ได้ผลสรุปดังนี้

  1. การบันทึกเอกสารการทำกิจกรรมให้ใช้แบบฟอร์มที่ร่วมกันกำหนด
  2. หลักฐานการดำเนินงานให้แนบตามแบบฟอร์ม
  3. การทำกิจกรรมให้ยึดตามปฏิทินที่ได้ร่วมกันกำหนด
  4. เมื่อดำเนินกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้บันทึกรายงานกิจกรรมลงในเว็บไซต์
  5. รายงานบนเว็บไซต์ต้องตรงกับเอกสารการเงิน เอกสารรายงานกิจกรรรม
  6. กำหนดวันทำรายงานปิดโครงการงวดแรก ภายในเดือนตุลาคม 57
  7. กำหนดให้ตัวแทนคณะทำงานนำสมุดบัญชีเงินฝากไปปรับตรวจเช็คเงินสนับสนุนโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้ารับการเรียนรู้การบันทึกเอกสารและการบันทึกออนไลน์

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเรียนรุ้วิธีการบันทึกข้อมูล พี่เลี้ยงประชุมคณะทำงานทุกโครงการ เพื่อชี้แจงแนวทางการทำงานตามโครงการ มีกิจกรรมคือ 1.การบันทึกเอกสารการทำกิจกรรมตามโครงการ โดยใช้แบบฟอร์มที่ร่วมกันกำหนด 2.หลักฐานการดำเนินงานให้แนบแบบฟอร์ม
3.การจัดทำกิจกรรมตามแผนปฏิทิน 4.ให้บันทึกกิจกรรมลงโปรแกรม
5.หลักฐานในโปรแกรมและเอกสารการเงิน เอกสารกิจกรรมต้องตรงกัน
6.ปิดโครงการงวดแรก ตุลาคม 57 7.ให้ตรวจสอบการโอนเงินเข้าบัญชีให้เรียบร้อย

 

3 3

6. วิเคราะห์ผลการสำรวจข้อมูลครัวเรือน

วันที่ 18 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำฐานข้อมุูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้รับรู้ถึงปัญหาของสมาชิกในชุมชนแต่ละครัวเรือนว่ามีปัญหาอะไรบ้าง
  2. ได้ทราบข้อมูลการจัดตั้งกลุ่ม
  3. ได้ทราบความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
  4. ทีมงานได้พูดคุยและสำรวจข้อมูลกับทุกครัวเรือน
  5. ได้รับรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
  6. ทำให้สมาชิกรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชนของเรา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานประชุมและร่วมกันวิเคราะห์ผลการสำรวจ

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกันวิเคราะห์แบบสำรวจชุมชน จำนวน 82 ชุด ผลการสำรวจพบว่า

(1) เพศของผู้ให้สัมภาษณ์  หญิง64.2% ชาย 35.8% (2) สถานภาพในครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถาม หัวหน้าครัวเรือน 50.6% คู่ครองของหัวหน้าครัวเรือน 34.6% (3) ทุกครัวเรือนยินดีตอบแบบคำถาม 100% (4) ไม่มีการเลี้ยงสัตว์ 70% เลี้ยง 29.6% (5) ไม่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ 59.3% ประสบ 40.7% (6) รายได้หลักมาจาก อื่นๆ 23% มาจากทำนา 42.0% (7) ครอบครัวมีที่ดินทำกิน 81.5% ไม่มี 18.5% (8) ในระยะ5ปี มกราคม-กรกฏา คนในครอบครัวเสียชีวิต ไม่มี 90.1% มี9.9% (9) คนในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีของหมู่บ้านบางครั้ง 42.1%ร่วมบ่อยครั้ง 25.6% (10) เหตุผลที่เข้าร่วมมีความศรัทธา 47.1% เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน 14.9% (11) สิ่งที่นับถือยึดเหนี่ยวพระสงฆ์ 51.2% ผู้อาวุโส 32.2% (12) ในห้าปีที่ผ่านมาไม่มีคนในครอบครัวเสียชีวิต 90.1% มี9.9% (13) หกเดือนไม่มีคนในครอบครัวป่วย 63.0% มี 35.8% (14) ท่านไม่รู้จักยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบ 81.5% รู้จัก18.3% (15) ในรอบเดือนไม่มีคนในบ้านใช้ยาปฏิชีวนะ ยาอักเสบ 91.4 %มี8.6% (16) ได้รับยาปฏิชีวนะที่อื่นๆ76.5% สถานีอนามัย 11.1% (17) ได้รับคำแนะนำจากอื่นๆ 50.6%  สถานีอนามัย48.1% (18) ในรอบสามเดือนใช้ยาชุดหรือยาบรรจุซองไม่มี98.8%มี  1.2% (19) ไม่มีใครใช้ยาชุด 97.5% มี2.5% (20) 1เดือนที่ผ่านมาไม่ดื่มเหล้าหรือแอลกฮอล์76.5% มี23.5% (21) 1เดือนที่ผ่านมาคนในครอบครัวไม่ดื่มเหล้าหรือแอลกฮอล์59.3 %ดื่ม40.7% (22) ปกติเครื่องดื่มอื่นๆ55.6% สุรา 23.5% (23) 1เดือนที่ผ่านมาคนในครอบครัวไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกาแฟอีน66.7%มี33.3% (24) ท่านมีความวิตกว่าไม่มีเงินใช้ ไม่เคย 77.8%มี 13.6% (25) ท่านมีความวิตกว่าอาหารที่ซื้อมาไม่พอกับคนที่บ้าน ไม่มี 90.1% มี  3.7% (26) ท่านเคยซื้อของลดลงเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั่วไปมาก ไม่เคย 85.2% เคย 6.2% (27) ในครอบครัวได้รับสารอาหารครบถ้วน ไม่เคย97.5% ทุกเดือน 2.5% (28) ซื้ออาหารน้อยลงกว่าเดิมมีอาหารไม่เพียงพอสำหรับบริโภค ไม่เคย 92.6% ปีล่ะ2-3 เดือนครั้ง 4.9% (29) เคยอดอาหารบางมื้อเพราะเงินไม่พอ ไม่เคย  95.1%  2-3เดือนครั้ง2.5% (30) ผู้ใหญ่ในครอบครัวลดปริมาณอาหารเพราะไม่เพียงพอในบ้าน ไม่เคย 93.8% ปีล่ะครั้ง 2.5% (31) เด็กอายุต่ำกว่า12รับประทานอาหารครบทุกมื้อ ไม่มี 90.1%ทุกเดือน 8.6% (32) เดือนกันยา-กรกฏา ท่านมีความลำบาก ต้องกู้ยืมเงิน ไม่มี 100% (33) เดือนกันยา-กรกฏามีการซื้อของไว้ก่อนแล้วผ่อนทีหลัง ไม่มี98.8 %มี1.2%

 

5 5

7. ร่วมรณรงค์ลดไข้เลือดออกในพื้นที่ ร่วมกับตำบลเขาพระบาท

วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานของประชาชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ภาคีและทีม ร่วมกันทำงานป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน
  2. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนางาน
  3. ลดอัตราการป่วยไข้เลือดออก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงาน ร่วมกับประชาชน และตัวแทนทุกหมู่บ้าน ร่วมรณรงค์ไข้เลือดออก

กิจกรรมที่ทำจริง

ทุกหลังคาเรือนร่วมรณงค์ไข้เลือดออก โดยการกำจัดลูกน้ำยงุลายร่วมกับ อบต.เขาพระบาท รพ.สต.เขาพระบาท และชมรม อสม.ตำบลเขาพระบาท เป็นการจัดกิจกรรมทั้งตำบล

วันนี้เป็นการรณงค์ไข้เลือดออกพร้อมกันทั้งตำบล โดยการออกปฏิบัติงานรว่มกันทุกหลังคาเรือนเพื่อร่วมรณงค์ไข้เลือดออก โดยการกำจัดลูกน้ำยงุลายร่วมกับ อบต.เขาพระบาท รพ.สต.เขาพระบาท และชมรม อสม.ตำบลเขาพระบาท เป็นการจัดกิจกรรมทั้งตำบล  มีกิจกรรมคือ
1.แจกแผ่นพับให้ความรู้ในการรณรงค์ไข้เลือดออก 2.แจกทรายอะเบทและปูนแดง เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย 3.รณรงค์ให้ความรู้ทุกหลังคาเรือน
ประชาชนทุกหลังคาเรือนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

 

20 20

8. เข้าร่วมประชุมตำบลในเวทีสานเสวนาเล่าเรื่องดีดีตำบลเขาพระบาท

วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้เผยแพร่ให้ภาคีสุขภาพ ได้ทราบเกี่ยวกับโครงการ และอาสามาร่วมทำงาน
  2. ได้วางแผนการพัฒนาหมู่บ้านและตำบลร่วมกัน
  3. เน้นให้เกิดกระบวนการทำงานเป็นระบบ โปร่งใส ตรวจสอบได้
  4. ผู้นำชุมชุมชน หน่วยงานราชการ ให้ความสำคัญ
  5. เป็นการทำงานแบบผสมผสานทุกมิติ เพื่อให้เกิดคลังอาหารชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้ารว่มประชุมนำเสนอผลการพัฒนาร่วมกับ อบต.เขาพระบาท

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกันนำเสนอสิ่งดีดีที่เกิดจากโครงการในเวทีระดับตำบล

วันนี้ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมสานเสวนาในการพัฒนาหมู่บ้านและเล่าเรื่องราวดีดีในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท ให้กับผู้นำชุมชน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมกิจกรรม 56 คน โดยมีเนื้อหาดังนี้
กิจกรรมสานเสวนาบอกเล่าเรื่องราวสิ่งที่ดีในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2557 ดังนี้ 08.00 น. ลงทะเบียน 08.00 – 08.15 น. นางฉวีวรรณ แก้วเขียว  นายก อบต.เขาพระบาท กล่าวต้อนรับทุกท่าน แจ้งวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมครั้งนี้ 08.15 – 08.40 น. แนะนำตัวสมาชิก ผู้นำชุมชน และข้าราชการในพื้นที่ เริ่มจาก ทีมงานจาก อบต.เขาพระบาท  ทีมงานจาก รพ.สต.เขาพระบาท  ทีมงานจากทุกโรงเรียน  สมาชิก อบต.ทุกหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน  ประธาน อสม.ทุกหมู่บ้าน
09.00 น. นางฉวีวรรณ แก้วเขียว  นายก อบต.เขาพระบาท มอบนโยบายการพัฒนาพื้นที่ตำบลเขาพระบาท
09.15 น. จสอ.สมเกียรติ หนำคอก  ปลัด อบต.เขาพระบาท เล่าเรื่องการบูรณาการร่วมของหน่วยงานและพื้นที่ของตำบลเขาพระบาท และการขับเคลื่อนงานตำบลสุขภาพดี  โดยนายมนูญ พลายชุม ผอ.รพ.สต.เขาพระบาท 09.30 เปิดเวทีเสวนา บ้านหนองสีขวัญ เป็นหมู่บ้านที่สร้างคลังอาหารในชุมชน เล่าให้ฟังว่าในปีนี้กิจกรรมที่จะดำเนินการมีอะไรบ้าง
1)การจัดทำข้อมูลครัวเรือน 2)การจัดทำข้อมูลชุมชน
3)เรียนรู้บัญชีครัวเรือน
4)การสร้างคลังอาหารในชุมชน ได้แก่ เลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา ปลูกผัก ปลูกมะนาว เมนูอาหารสุขภาพ 5)มีการทำงานเป็นกลุ่ม และสมัครเป็นสมาชิก
ผลการดำเนินงานตอนนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว
ผลจากที่ประชุมทุกคนตอบรับและเห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน

 

5 5

9. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 10 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานประชุมตามแผนที่กำหนด
  2. มีการติดตามงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
  3. มีการวางแผนการทำงานล่วงหน้า
  4. มอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงานตามกิจกรรม
  5. เรียนรู้การสร้างคลังอาหารชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมวางแผนพัฒนางาน

วาระการประชุม วาระที่ 1   นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงการทำบัญชีครัวเรือนในหมู่บ้าน วาระที่ 1.1   นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์ ได้แบ่งคณะทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คนโดยให้แต่ละกลุ่มสรุปผลการสำรวจข้อมูลตามครัวเรือน
วาระที่ 1.2 คณะทำงานพร้อมชี้แจงให้ชาวบ้านรู้เกี่ยวกับโครงการและชี้แจงแบบสำรวจ เช่น ภูมิปัญญา  ด้านสุขภาพ รายรับ รายจ่ายของครัวเรือน  การดำรงชีวิตปัจจุบัน การอนุรักษ์ทรัพยากร วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ประชุม                เอกฉันท์ ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
ได้กลุ่มเป้าตามกลุ่มกิจกรรมที่จะทำ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง ได้กลุ่มเป้าหมายตามโครงการที่วางไว้ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
ได้ทำงานตามโครงการ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะทำงาน คนในชุมชนเริ่มให้ความสำคัญในการทำงานเป็นกลุ่ม

 

20 20

10. ประชุมชาวบ้านเปิดโครงการ

วันที่ 13 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของประชาชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เป็นการเปิดตัวโครงการเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ
  2. เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมตามความสมัครใจ
  3. เป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนเพื่อให้เกิดกระบวนการพึ่งตนเอง
  4. ส่งเสริมให้ใช้ทุนชุมชนและภูมิัปัญญาพัฒนาท้องถิ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชาวบ้านเพื่อเปิดตัวโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานได้เชิญกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมประชุมตามโครงการ

วาระที่ 1 นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับโครงการคลังอาหารอยู่ดีกินดีที่บ้านหนองศรีขวัญ วาระที่ 1.1
นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  ได้ชี้แจงให้คณะทำงานรู้ถึงรายละเอียดโครงการโดยมีการสำรวจข้อมูลชุมชนและจัดทำบันชีครัวเรือนและมีการเลี้ยงไก่พื้นบ้านพื้นเมือง  การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์และมีการเรียนรู้ในเรื่องการปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ วาระที่ 1.2 เรียนรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพการชาวบ้าน วาระที่ 1.3 ให้คณะทำงานแบ่งกลุ่มออกทำแบบสอบถาม

ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ
มีสมาธิตามกลุ่มต่างๆ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
รับรู้ความเข้าใจของคนในชุมชน

 

100 100

11. เรียนรู้เรื่องบัญชีครัวเรือน

วันที่ 17 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนและเรียนรู้บัญชีครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เรียนรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน
  2. ได้รับทราบภาระหนี้สินของครัวเรือน
  3. เรียนรู้การวางแผนชีวิต
  4. มีการเรียนรุู้แนวทางการวางแผนเรื่องการเงินและการออม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานร่วมกับชาวบ้านเรียนรู้เรื่องบัญชีครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชาชนเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนและวิธีการบันทึกข้อมูล วาระที่ 1 นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้พูดคุยถึงโครงการให้ที่ประชุมทราบ
วาระที่ 1.1
นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  ได้แต่งตั้ง  นางจุฑาทิพย์  บริเพ็ชร และนางสาคร  ปานหนู เป็นครูผู้สอนการทำบัญชีครัวเรือนแบบง่ายๆ โดยมีการลงรายรับ-รายจ่าย ในครัวเรือน วาระที่ 1.2 นางจุฑาทิพย์  บริเพ็ชร และนางสาคร  ปานหนู  ถามว่าใครมีอะไรที่จะทำลงบัญชีครัวเรือนไม่ถูกต้องบ้าง  ชาวบ้านบางคนตอบว่ายังไม่ค่อยเข้าใจเท่าที่ควร วาระที่ 1.3 สมมติว่า เก็บถั่วฝักยาวมา 1 กำ ก็จะลงเป็นรายรับ เพื่อนบ้านให้ผักบุ้งมา 1 มัด ให้ถือว่าเป็นรายรับในครัวเรือน สรุป วันนี้เรียนรู้บัญชีครัวเรือน ข้อกำหนดทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม ต้องเรียนรู้บัญชีครัวเรือน โดยร่วมกันคิดวิธีการทำบัญชีง่าย
-แต่ละวันมีรายรับ รายจ่ายอะไรบ้าง -รายจ่ายที่จำเป็นรายวัน รายเดือนมีอะไรบ้าง -รายจ่ายที่ไม่จำเป็นมีอะไรบ้าง -รายได้หลัก -รายได้เสริม -การวางแผนเรื่องการเงิน /การออม โดยให้ทุกคนบันทึกทุกวัน และสรุปผลทุกเดือน
วาระที่ 2 เรืองรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ประชุม    เอกฉันท์ ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
รู้จักการเขียนบัญชีรายรับ รายจ่ายในครัวเรือน ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง สามารถรับรู้เรื่องรายรับ - รายจ่ายในครัวเรือน สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
เรียนรู้เรื่องการเป็นอยู่แต่ละครัวเรือน นวัตกรรมที่เกิดขึ้น การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย

 

100 100

12. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3

วันที่ 10 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานประชุมตามแผนที่กำหนด
  2. มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
  3. มีการวางแผนการเรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์
  4. มีการวางแผนเรียนรู้การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ เลี้ยงไก่
  5. มีการวางแผนการเรียนรู้การทำน้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพ
  6. สร้างความรัก ความสามัคคีในกลุ่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานประชุมวางแผนการทำงาน และรายงานผลการทำงาน

วาระการประชุม วาระที่ 1   นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการให้ที่ประชุมทราบ วาระที่ 1.1   นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์ ได้พูดถึงการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์  เรียนรู้การเลี้ยงปลา  เรียนรู้การเลี้ยงกบ การเรียนรู้การเพาะปลูกมะนาว  เรียนรู้การเลี้ยงไก่  เรียนรู้ปุ๋ยหมัก  เรียนรู้เรื่องน้ำหมัก วาระที่ 1.2 ชักชวนคณะทำงานเข้ามาเป็นปราชญ์ในด้านต่างๆเพื่อที่จะนำองค์ความรู้ไปเผยแพร่ให้กับชาวบ้านต่อไป วาระที่ 1.3 รณรงค์ให้คณะทำงาน ลด ละ เลิกบุหรี่ เหล้า หันมาออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2-3 วัน วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ประชุม    เอกฉันท์ ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
ได้กลุ่มเป้าตามกลุ่มกิจกรรมที่จะทำ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการที่วางไว้ได้ปฏิบัติเห็นผลตามโครงการ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มเป้าหมายสู่ชุมชน สมาชิกในชุมชนให้ความสำคัญในการทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น

 

20 20

13. เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ 1

วันที่ 12 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การสร้างคลังอาหารและการทำเกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. การเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์
  2. ประชาชนมีความรู้ในการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้ขยะครัวเรือน
  3. ส่งเสริมให้ประชาชน ปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักสวนครัว โดยใช้ชีวภาพ
  4. รณรงค์ให้ชาวบ้านลดการใช้สารเคมีและหันมาใช้น้ำหมักที่ทำขึ้นเองในชุมชน
  5. ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเกษตรอินทรีย์เรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ และปลูกผักปลอดสารพิษ

วาระการประชุม วาระที่ 1 นางปรีดา  จันทร์ทองได้เปิดประชุมชี้แจงชาวบ้านเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพโดยการให้ทุกบ้านมีถังหมัก เพื่อเก็บเศษอาหารและผักจากการทำครัวต้องจัดเก็บลงถังหมักและให้ทุกบ้านทำปุ๋ยหมักใช้เอง วาระที่1.1 นางปรีดา  จันทร์ทองได้สอนให้ปลูกผักปลอดสารพิษด้วยและรณรงค์ให้ชาวบ้านปลูกผักสวนครัวเอาไว้กินเองโดยให้ทุกบ้านหันมาปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด เช่น มะกรูด ตะใคร้ โหระพา พริก วาระที่1.2 รณรงค์ให้ชาวบ้านลดการใช้สารเคมีและหันมาใช้น้ำหมักที่ทำขึ้นเองในชุมชน วาระที่ 2
เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ประชุม                    เป็นเอกฉันท์ ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
มีผักปลอดสารพิษใช้บริโภคเอง ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน มีการเรียนรู้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
รู้จักการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ประธานปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน

 

50 50

14. เรียนรุ้การเลี้ยงกบ ครั้งที่ 1

วันที่ 14 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การสร้างคลังอาหารและการเลี้ยงกบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เรียนรู้การเลี้ยงกบในชุมชน
  2. เปิดโอกาสให้ปราชญ์ นำความรุ้ภูมิปัญญา มาสอนคนในในชุมชน เป็นการสร้างคุณค่า
  3. เป็นการให้เกียรติกันและกันในชุมชน
  4. ส่งเสริมการผลิตอาหารไว้บริโภคเอง
  5. มีแนวทางการลดรายจ่ายครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลี้ยงกบเรียนรุ้ประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงกบ

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย 50 คน เรียนรู้วิธีการเลี้ยงกบ วาระการประชุม วาระที่ 1   นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  ได้ชี้แจงให้โครงการบ้านหนองศรีขวัญให้ที่ประชุมทราบ วาระที่ 1.1 ได้แต่งตั้งให้นายสมบูรณ์  จันทร์ทอง เป็นปราชญ์ ในการเรียนเรื่องการเลี้ยงกบ ไว้บริโภคในชุมชนโดยปราชญ์ในชุมชนได้สอนในการเลือกปล้องซีเมนต์ เลือกอาหารให้เหมาะกับพันธุ์กบและแนะนำการดูแลรักษาเรื่องสีของน้ำ วาระที่ 1.2 ระยะเวลาในการเลี้ยงต้องใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 4-6 เดือน
ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
มีอาหารไว้บริโภคเอง ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง รู้วิธีการเลี้ยง สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
เรียนรู้วิธีการเลี้ยงกบ มีอาหารไว้กินเองโดยไม่ต้องซื้อ

 

50 50

15. เรียนรู้การเลี้ยงปลา ครั้งที่ 1

วันที่ 15 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การสร้างคลังอาหารและการเลี้ยงปลาไว้บริโภค

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีการเรียนรู้้การเลี้ยงปลาในชุมชน
  2. ส่งเสริมให้มีคลังอาหารชุมชน ที่ปลอดสารพิษ
  3. ส่งเสริมอาชีพในชุมชน โดยการเลี้ยงปลา
  4. มีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือน
  5. สอนให้ชาวบ้านรู้จักหาวัสดุ  วัชพืชมาปลูกในบ่อปลา เช่น ผักบุ้ง ผักตบ
  6. เกิดแหล่งผลิตอาหารในครัวเรือน
  7. รู้จักวิธีการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลีี้ยงปลาเรียนรู้การเลี้ยงปลาวิถีพื้นบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่่มเป้าหมาย เรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลา วาระการประชุม วาระที่ 1 นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  ผู้รับผิดชอบโครงการพูดให้ที่ประชุมทราบ วาระที่1.1 นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  ได้พูดถึงเรื่องการเลี้ยงปลานิลในบ่อธรรมชาติ  โดยเลือกพันธุ์ปลาให้เหมาะสมกับพื้นที่บ้านหนองศรีขวัญ  จากการสำรวจของคณะทำงานพบว่าสภาพน้ำในบ้านหนองศรีขวัญเหมาะในการเลี้ยงปลานิล วาระที่1.2 สอนให้ชาวบ้านรู้จักเลี้ยงปลาไว้บริโภคกินเองที่เหลือเก็บไว้ขาย วาระที่1.3 สอนให้ชาวบ้านรู้จักหาวัสดุ  วัชพืชมาปลูกในบ่อปลา เช่น ผักบุ้ง ผักตบ ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
แหล่งผลิตอาหารในครัวเรือน ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง รู้จักวิธีการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
รู้จักวิธีการเตรียมบ่อ เรียนรู้วิธีทำอาหารสำหรับเลี้ยงปลา

 

30 30

16. เรียนรู้การปลูกมะนาว ครั้งที่ 1

วันที่ 18 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การสร้างคลังอาหารและการปลูกมะนาว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เรียนรู้การปลูกมะนาวแบบภูมิปัญญาชุมชน
  2. เรียนรู้การนำภูมิปัญญาในใช้ในการปลูกพืช
  3. เรียนรู้วิธีการเตรียมดินและการกำจัดวัชพืชด้วย
  4. ส่งเสริมและให้คุณค่าปราชญ์ชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มปลูกมะนาว เรียนรู้วิธีการปลูกมะนาว

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มปลูกมะนาวพูดคุยรับสมัครสมาชิก และวางแผนการเรียนรู้เรื่องมะนาว

วาระการประชุม วาระที่ 1 นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  ได้พูดให้ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองศรีขวัญได้ทราบ วาระที่ 1.1
มีการสอนให้ปลุกมะนาวโดยการเลือกกิ่งพันธ์มะนาวก่อน  เพื่อที่จะให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ๆจะปลูกในบ่อปล้องและจะมีการสอนการตอนกิ่งมะนาว วันนี้มีการสอนเกี่ยวกับการตอนกิ่งมะนาว เพื่อให้ได้ต้นตอที่ดี ปลูกง่าย ไม่ต้องเสียเวลา สอนการเลือกกิ่ง วิธีการรดน้ำกิ่งตอน เพื่อป้องกันไม่ให้รากเน่า วาระที่ 1.2 สอนในเรื่องของการเตรียมดินและการดูแลรักษาและสอนการกำจัดวัชพืชด้วย วาระที่ 1.3 การดูแลรักษาในระยะเวลา 1 ปี่ จะมีผลผลิตออกมา

ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
เข้าใจวิธีการ เตรียมดิน การตอนกิ่งมะนาว ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง ปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์เป็น สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
รู้จักพันธุ์มะนาว รู้จักโรคที่เกิดขึ้นกับมะนาว มะนาวที่บ้านใช้บริโภคต่อไป

 

50 50

17. เรียนรู้การเลี้ยงไก่บ้าน ครั้งที่ 1

วันที่ 20 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การสร้างคลังอาหารและการเลี้ยงไก่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เรียนรู้การเลี้ยงไก่ตามธรรมชาติ
  2. เปิดโอกาสให้ปราชญ์ได้สอนคนในชุมชน
  3. เรียนรู้การทำอาหารแบบประหยัดโดยหาวัตถุดิบจากธรรมชาติ
  4. มีแหล่งอาหารให้กับตัวเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลี้ยงไก่เรียนรู้ประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงไก่บ้าน วาระการประชุม วาระที่ 1 นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  ได้ชี้แจงให้โครงการบ้านหนองศรีขวัญให้ที่ประชุมทราบ วาระที่1.1 ต้องแต่งตั้งให้นายสมศักดิ์  พลายชุมเป็นปราชญ์ในการเลี้ยงไก่พื้นบ้านไว้บริโภคในชุมชน  โดยปราชญ์ในชจะมีการสอนในการทำโรงเรือนชนิดที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน  การให้อาหารสำหรับไก่  และการดูแลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนของไก่  โรคของไก่ การป้องกันไม่ไห้ไก่เป็นโรค วาระที่1.2 ระยะเวลาในการเลี้ยงไก่พื้นบ้านต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จึงจะบริโภคได้ ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
สร้างโรงเรือนแบบง่ายๆ ทำอาหารแบบประหยัดโดยหาวัตถุดิบจากธรรมชาติ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง มีไก่ไว้บริโภค มีแหล่งอาหารให้กับตัวเอง สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
รู้จักวิธีเลี้ยงไก่ตามธรรมชาติ มีไก่ และไข่ไก่ไว้กินเอง

 

50 50

18. เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก ครั้งที่ 1

วันที่ 22 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยำหมักจากขยะในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักโดยใชัขยะครัวเรือน
  2. ปราชญ์ชุมชน แนะนำชาวบ้าน ทำปุ๋ยหมักหมักชีวภาพ
  3. เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียน
  4. ลดการใช้สารเคมี
  5. มีปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง
  6. ได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยหมักใช้เองครัวเรือน
  7. มีน้ำหมักไว้ใช้เองในครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มปุ๋ยหมักเรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยหมัก

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายได้พูดคุยวางแผนกันเรียนรู้วิธีทำปุ๋ยหมักในครัวเรือน

วาระการประชุม วาระที่ 1 ได้เชิญให้ นายนายสวิด  ชูแสง ผู้เชี่ยวชาญในการทำปุ๋ยหมักมาถ่ายทอดวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพให้กับสมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้และกลับไปทำกันเองที่บ้าน และได้นัดมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลที่ได้รับจากการไปทดลองทำกันเอง ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
มีการทำปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักไว้ใช้เองโดยไม่ต้องใช้สารเคมี ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง มีปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง พืชผักที่ปลูกโดยการใช้ปุ๋ยหมักปลอดสารเคมี สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
ได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยหมักใช้เองครัวเรือน นวัตกรรมที่เกิดขึ้น มีน้ำหมักไว้ใช้เองในครัวเรือน

 

50 50

19. เรียนรู้การทำน้ำหมัก ครั้งที่ 1

วันที่ 27 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้วิธีการทน้ำหมักจากขยะในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.สมาชิกกลุ่มได้เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากการทดลองทำจริง และได้ปุ๋ยหมักไว้ใช้ผักปลอดภัยสารพิษที่ปลูกไว้กินเอง
2.นำำวัสดุเหลือใช้มาทำปุ๋ยหมัก
3.ลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มน้ำหมักเรียนรู้วิธีการแปรสภาพขยะเป็นน้ำหมัก

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้คุณค่าของขยะ และวิธีการแปรสภาพขยะจากครัวเรือน มีการจัดหาและเชิญปราชญ์ผู้รู้เกี่ยวกับกับวิธีการทำปุ๋ยหมักมาแนะนำวิธีการทำปุ๋ยหมักให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง  และทดลองการทำปุ๋ยหมักให้สมาชิกดูและนำไปทำเองที่บ้าน

 

50 50

20. ประชุมกิจกรรมสานเสวนาเรื่องดีดีในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท

วันที่ 6 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้รู้จักภาคีและเรียนรู้ในการทำงานร่วมกัน
  2. นำเสนอผลการดำเนินงานให้กับภาคีทราบ
  3. มีการบูรณาการงานร่วมของหมู่บ้าน หน่วยงานราชการและพื้นที่ของตำบลเขาพระบาท
  4. ได้เรียนรู้การให้กำลังใจและสร้างขวัญการทำงานร่วมกัน
  5. ได้เรียนรู้แนวทางการฟื้นฟูธรรมชาติในชุมชน
  6. เรียนรู้การนำสมุนไพรมาใช้ในการพัฒนา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานร่วมประชุมสรุปผลงานร่วมกับพี่เลีั้ยง และ อบต.เขาพระบาท

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานสรุปผลการทำงานให้กับกลุ่มเป้าหมายฟัง

กิจกรรมสานเสวนาบอกเล่าเรื่องราวสิ่งที่ดีในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม 2557 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 กิจกรรมดังนี้
08.00 น. ลงทะเบียน 08.00 – 08.15 น. นางฉวีวรรณ แก้วเขียว  นายก อบต.เขาพระบาท เล่าเรื่องราวดีดีในการพัฒนาพื้นทีปี 58
08.15 – 08.40 น. แนะนำตัวสมาชิก ผู้นำชุมชน และข้าราชการในพื้นที่ เริ่มจาก ทีมงานจาก อบต.เขาพระบาท  ทีมงานจาก รพ.สต.เขาพระบาท  ทีมงานจากทุกโรงเรียน  สมาชิก อบต.ทุกหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน  ประธาน อสม.ทุกหมู่บ้าน
09.00 น. จสอ.สมเกียรติ หนำคอก  ปลัด อบต.เขาพระบาท เล่าผลงานที่เกิดจากการเรื่องการบูรณาการร่วมของหน่วยงานและพื้นที่ของตำบลเขาพระบาท นายมนูญ พลายชุม ผอ.รพ.สต.เขาพระบาท ได้เล่าถึงความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ตำบลเขาพระบาท และปีนี้ทางหน่วยงานได้รับคัดเลือกข้าราชการรางวัลคนดีศรีสาธารณสุข 09.30 เปิดเวทีเสวนา โดยทุกหมู่บ้านเล่าเรื่องดีดีในหมู่บ้านของตน
บ้านหนองสีขวัญได้สรุปกิจกรรมการทำงานให้ฟัง

 

5 5

21. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4

วันที่ 10 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีการประชุมตามแผนงานที่กำหนด
  2. มีการติดตามผลการดำเนินงานและควาามก้าวหน้าของกิจกรรม
  3. คณะทำงานมีการแลกเปล่ี่ยนเรียนรู้การทำงาน
  4. เกิดภาพการทำงานแบบมีส่วนร่วม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานประชุมเพื่อสรุปผลการทำงานและวางแผนการทำงาน

วาระการประชุม วาระที่ 1   นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการให้ที่ประชุมทราบ วาระที่ 1.1   นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์ ได้พูดถึงการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ครั้ง ที่ 2 มีการสอนในเรื่องการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพโดยมีปราชญ์ชาวบ้านโดยนางปรีดา  จันทร์ทอง เป็นครูผู้สอน วาระที่ 1.2 คณะทำงานชี้แจงในเรื่องการเลี้ยงกบในบ่อปล้อง คณะทำงานคุยรายละเอียดให้ทราบถึงอาหารที่กบกิน  ระยะเวลาในการเลี้ยงสักกี่วัน  ลักษณะของบ่อที่เลี้ยงกบนั้นมีขนาดเท่าไหร่ วาระที่1.3 คณะทำงานพูดคุยเกี่ยวกับการปลูกมะนาวในบ่อปล้อง วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ประชุม                เอกฉันท์ ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
กลุ่มเป้าหมายทำตามโครงการหรือกิจกรรมที่ทำไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง ได้เกิดผลจริงตามโครงการที่ปฏิบัติ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน สมาชิกทุกคนในชุมชนให้ความสำคัยเกี่ยวกับการทำกิจกรรมเป็นกลุ่มมากขึ้น

 

20 20

22. เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ 2

วันที่ 12 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การสร้างคลังอาหารและการทำเกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษไว้ที่ครัวเรือน
  2. เกิดกระบวนการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์
  3. มีการปลูกผักปลอดสารพิษใช้บริโภคเองในครัวเรือนและชุมชน
  4. ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
  5. สร้างการเรียนรู้ให้ชุมชนในการปลูกผักปลอดสารพิษ
  6. ได้เรียนรู้การทำเกษตรแบบอินทรีย์ตามวิถีชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำเกษตรอินทรีย์

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมาย ได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ วาระการประชุม วาระที่ 1 สมาชิกในกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล  การเปลี่ยนแปลง  การเจริญเติบโตของผักที่ได้รับเมล็ดพันธุ์  ไปปลูกไว้สำหรับกินเอง  ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี  ผักเจริญเติบโตได้ดี  ซึ่งแต่ละคนได้บอกว่าไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีเลย  ได้นำมูลสัตว์  ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก  ที่มีมาใช้และได้สอบถามถึงโรค  ศัตรูพืชต่างๆพบว่า  เจอปัญหาน้อยมาก สมาชิกยังได้แบ่งผักไห้สมาชิกคนอื่นๆด้วย ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
มีผักปลอดสารพิษใช้บริโภคเองในครัวเรือนและชุมชน ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน สร้างการเรียนรู้ให้ชุมชนในการปลูกผักปลอดสารพิษ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
ได้เรียนรู้การทำเกษตรแบบอินทรีย์เอง สมาชิกรู้จักการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน

 

50 50

23. เรียนรู้การปลูกมะนาว ครั้งที่ 2

วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การสร้างคลังอาหารและการปลูกมะนาว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกมะนาว
  2. เรียนรู้การป้องกันรากเน่า แมลงศัตรูพืช
  3. กลุ่มเป้าหมายได้ความรู้ในการเตรียมตัวที่ถูกต้องตามความต้องการของพืช
  4. กลุ่มเป้าหมายเข้าใจการเตรียมดิน,เข้าใจวิธีการดูแล รักษาให้มะนาวเจริญเติบโต สมบูรณ์
  5. มีพื้นที่พร้อมจะปลูกมะนาวโดยทำเอง ไม่ต้องซื้อ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มปลูกมะนาว เรียนรู้ประสบการณ์ปลูกมะนาว

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มปลูกมะนาว เรียนรู้วิธีการขยายพันธ์กิ่งมะนาว วาระการประชุม วาระที่ 1 ในกลุ่มปลูกมะนาวได้  พูดคุย เกี่ยวกับความคืบหน้าของการเตรียมดิน  และพันธุ์กิ่งมะนาวที่ตอนใช้สำหรับปลูก  ซึ่งต้องรอประมาณ  20 วัน คาดว่าเท่าจะ ปลูกได้  สมาชิกนำโดย นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  และนายสุนทร ได้นำสมาชิก ไปดูตัวอย่างมะนาว ที่บ้าน นายสวิด  ชูแสง ซึ่งได้ปลูกใช้จนได้ผลิต  เพื่อจะได้สอบถามวิธีการดูแล และรักษา มะนาว และยังการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องการตอนกิ่งมะนาว ได้ผลสำเร็จหรือไม่ มีเชื้อรา ตอนแล้วไม่ได้ผล วิธีการแก้ปัญหา วิธีแก้เชื้อรา จากนั้นปราชญ์สอนแนะเกี่ยวกับการเตรียมปุ๋ย การเตรียมดิน และการตัดกิ่งตอนลงไปปลูกในแปลง การรดน้ำและการให้ปุ๋ยกิ่งตอนมะนาว และวิธีการป้องกันไม่ให้รากเน่า ให้ทุกคนไปปลูกมะนาวต่อที่บ้าน ผลที่เกิดขึ้นตามแผน
ได้ความรู้ในการเตรียมตัวที่ถูกต้องตามความต้องการของพืช ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติจริง เข้าใจการเตรียมดิน,เข้าใจวิธีการดูแล รักษาให้มะนาวเจริญเติบโต สมบูรณ์ สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
ได้เรียนรู้การผสมดิน  โยไร้เศษวัชพืชต่างๆ นวัตกรรมที่เกิดขึ้น มีพื้นที่พร้อมจะปลูกมะนาวโดยทำเอง ไม่ต้องซื้อ

 

50 50

24. เรียนรุ้การเลี้ยงกบ ครั้งที่ 2

วันที่ 16 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การสร้างคลังอาหารและการเลี้ยงกบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สมาชิกได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงกบแบบพื้นบ้านจากผู้มีประสบการณ์
  2. มีแหล่งอาหารในชุมชน
  3. มีแนวทางการลดรายจ่ายครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลี้ยงกบ เรียนรู้วิธีการให้อาหารกบ การอนุบาลลูกกบ และประสบการณ์เลี้ยงกบ

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้ประสบการณ์ในการเลี้ยงกบ ได้แก่ การเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ และวิธีการเลี้ยง โดยเรียนรู้จากสถานที่จริง

สมาชิกได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงกบแบบพื้นบ้านจากผู้มีประสบการณ์ และคาดว่าจะสามารถนำไปทำเองได้ ซึ่งจะทำให้มีอาหารไว้กินเองโดยไม่ต้องซื้อและยังจำหน่ายในชุมชนได้ด้วย โดยสมาชิกกลุ่มส่วนหนึ่งได้จัดเตรียมสถานที่ของตนไว้เรียบร้อย แต่ยังมีบางรายไม่ได้เตรียมให้เรียบร้อย  ทางกลุ่มจึงตกลงกันไปช่วยเตรียมอุปกรณ์บ่อเลี้ยงให้สมาชิกที่ยังไม่ได้เตรียม

 

50 50

25. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงาน และปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้และสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยงพื้นที่ และพี่เลี้ยงจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีข้อมูลครัวเรือน และข้อมูลชุมชน
  2. เรียนรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน
  3. มีกลุ่มเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ กลุ่มเลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ ปลูกมะนาว ปลูกผัก ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก
  4. ประชาชนให้ความร่วมมือด้วยความสมัครใจ
  5. ได้เรียนรู้ปัญหาครัวเรือนและปัญหาชุมชน
  6. สร้างตระหนักให้เกิดกับประชาชนและครอบครัวมากขึ้น
  7. มีโครงสร้างและผู้รับผิดชอบงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงาน และปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงาน และปิดงวดรายงาน งวดที่ 1

จากการสรุปผลการเรียนรู้ในวันนี้ คือ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ประกอบด้วย

1.การจัดทำข้อมูลครัวเรือน มีการสำรวจขัอมูลพื้นฐานทุกครัวเรือน และจัดทำเป็นฐานข้อมูลชุมชน
2.มีการรับสมัครประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมแบบสมัครใจ
3.มีการเรียนรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน
4.มีการรับสมัครสมาชิกกลุ่มเลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ ปลูกมะนาว ปลูกผัก ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก
ผลที่เกิดขึ้นคือมีแผนการทำงาน  ประชาชนให้ความร่วมมือดีมาก สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ การสำรวจปัญหาครัวเรือน จะทำให้คนได้มองเห็นปัญหาของตนเอง  เกิดการเปลี่ยนแปลงในคนที่เข้าร่วมกิจกรรมคือ ได้เรียนรู้และตระหนักในครอบครัวมากขึ้น
5.การประชุมคณะกรรมการ  จำนวน 4 ครั้ง ผลที่เกิดขึ้นคือ ทุกคนมีความเข้าใจมากขึ้น มีความเสียสละ และมีจิตอาสา

สิิ่งที่เกิดในวันนี้คือ
1. ประชุมสรุปบทเรียนที่ผ่านมา
2. คณะทำงานเข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงาน และปิดงวดรายงาน งวดที่ 1 3. มีการตรวจสอบเอกสาร  การดำเนินงาน พร้อมรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม และการบันทึกข้อมูลในเอกสาร โดยพี่เลี้ยง 4. พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารหลักฐานทางการเงิน และการเขียนใบเสร็จ 5. ตรวจสอบการบันทึกข้อมุลในโปรแกรมออนไลน์ 6.ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

ประเด็นที่ต้องปรับปรุง คือการบันทึกข้อมูลต้องครอบคลุมมากกว่านี้

 

3 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 58 25                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,700.00 85,500.00                  
คุณภาพกิจกรรม 100 88                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. เพื่อจัดทำป้ายโครงการและปลอดบุหรี่ ( 1 พ.ย. 2557 )
  2. ประชุมคณะกรรมการ ครัั้งที่ 5 ( 10 พ.ย. 2557 )
  3. เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก ครั้งที่ 2 ( 15 พ.ย. 2557 )
  4. เรียนรู้การทำนั้ำหมัก ครัั้งที่ 2 ( 22 พ.ย. 2557 )
  5. เรียนรู้การเลี้ยงปลา ครั้งที่ 2 ( 29 พ.ย. 2557 )
  6. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 6 ( 10 ธ.ค. 2557 )
  7. เรียนรู้การเลี้ยงกบ ครั้งที่ 3 ( 20 ธ.ค. 2557 )
  8. เรียนรู้การเลี้ยงไก่ ครั้งที่ 2 ( 27 ธ.ค. 2557 )
  9. เรียนรู้การเลี้ยงปลา ครั้งที่ 3 ( 4 ม.ค. 2558 )
  10. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7 ( 10 ม.ค. 2558 )
  11. เรียนรู้การปลูกมะนาว ครั้งที่ 3 ( 17 ม.ค. 2558 )
  12. เรียนรุ้การทำปุ๋ยหมัก ครั้งที่ 3 ( 24 ม.ค. 2558 )
  13. เรียนรู้การทำน้ำหมักครั้งที่ 3 ( 27 ม.ค. 2558 )
  14. เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ 3 ( 7 ก.พ. 2558 )
  15. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8 ( 10 ก.พ. 2558 )
  16. เรียนรู้การเลี้ยงไก่ ครั้งที่ 3 ( 16 ก.พ. 2558 )
  17. เรียนรู้การเลี้ยงกบ ครั้งที่ 4 ( 21 ก.พ. 2558 )
  18. เมนูอาหารตามกลุ่มวัย ครั้งที่ 1 ( 24 ก.พ. 2558 )
  19. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 ( 10 มี.ค. 2558 )
  20. เรียนรู้การเลี้ยงปลา ครั้งที่ 4 ( 14 มี.ค. 2558 )
  21. เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก ครั้งที่ 4 ( 21 มี.ค. 2558 )
  22. เรียนรู้การปลูกมะนาว ครั้งที่ 4 ( 28 มี.ค. 2558 )
  23. เรียนรู้การทำน้ำหมัก ( 30 มี.ค. 2558 )
  24. เรียนรู้การเลี้ยงไก่ ครั้งที่ 4 ( 4 เม.ย. 2558 )
  25. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 ( 10 เม.ย. 2558 )
  26. เมนูอาหารตามกลุ่มวัย ครั้งที่ 2 ( 25 เม.ย. 2558 )
  27. พบพี่เลี้ยงเพื่อขอคำแนะการสรุปโครงการ ( 26 เม.ย. 2558 )
  28. มหกรรมตลาดสีเขียว "ชีวิตปลอดภัยที่เขาพระบาท" ( 7 พ.ค. 2558 )
  29. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 11 ( 10 พ.ค. 2558 )

(................................)
นายจีระชาติ กลิ่นจันทร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ