แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ

ชุมชน บ้านหนองสีขวัญ หมู่ที่ 1 ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-01476 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1030

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2557 ถึง 10 กรกฎาคม 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน ตุลาคม 2557 ถึงเดือน กรกฎาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เพื่อจัดทำป้ายโครงการและปลอดบุหรี่

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำป้ายโครงการและปลอดบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีป้ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ติดไว้ที่อาคารประชุม 2.มีป้ายโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานจัดทำป้ายไวนิลโครงการและป้ายห้ามสูบบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

ตัวแทนกลุ่มจัดทำป้ายไวนิลโครงการและป้ายห้ามสูบบุหรี่ 

 

2 2

2. ประชุมคณะกรรมการ ครัั้งที่ 5

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ได้เรียนรู้วิธีการผลิตมะนาวและปุ่ยที่ปลอดสารเคมี 2.เรียนรุ้วิธีการลดต้นทุนการผลิต 3.เรียนรู้วิธีการสร้างคลังอาหารในบ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้คณะทำงาน ได้สรุปผลการปลูกมะเนาว ได้ความรู้ดังนี้
1.เรียนรู้การปลูกมะนาว และการดูแล รวมทั้งวิธีการขยายพันธุ์ ให้กับประชาชน 2.ทีมงานได้เรียนรู้วิธีป้องกันโรคตามธรรมชาติ
3.ได้เรียนรู้วิธีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และการกินอาหารตามธรรมชาติ

สำหรับการทำปุ่ญหมักและน้ำหมักชีวภาพ ทำให้เกิดผลดี ดังนี้

1..เกิดกระบวนการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
2.มีการช่วยเหลือและแบ่งหน้าที่การทำปุ๋ยกันทุกคน
3.มีการพูดกันตลอดเวลา ก่อนทำปุ๋ยหมัก ระหว่างทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้ได้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมัก
4.ได้พูดคุยสอบถามความคืบหน้าจากการทำปุ๋ยเมื่อครั้งก่อน 5.ได้มีปุ๋ยไว้ใช้เอง ลดต้นทุนในการผลิต

 

20 20

3. เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก ครั้งที่ 2

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพ่ื่อเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

๑.เกิดกระบวนการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
๒มีการมอบหมายหน้าที่ในการจัดเตรียมอุปกรณ์ อย่างชัดเจน
๓.มีการพูดกันตลอดเวลา ก่อนทำปุ๋ยหมัก ระหว่างทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้ได้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมัก
๔.เกิดการยอมรับระหว่างบุคคลมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มปุ๋ยหมักเรียนรู้ประสบการณ์ทำปุ๋ยหมัก

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้มีการทำปุ๋ยหมักที่บ้านป้ากลาย โดยเชิญชวนสมาชิก เข้ามาเรียนรู้วีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยแต่ละคนก็ได้นำสูตรที่ตนเองเรียนรู้มานั่งพูดคุย ก่อนที่จะทำปุ๋ยได้มีการมอบหมายล่วงหน้าให้มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ โดยใช้นางจุฑาทิพย์ เป็นแกนนำหลักในการเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ทำปุ๋ยหมักประกอบด้วย
๑.ขี้วัว จำนวน ๒๐ กระสอบ ๒.ฟางข้าว จำนวน  ๒๐ กระสอบ ๓.แกลบ จำนวน ๒๐ กระสอบ
๔.พด.๑ จำนวน ๑ ซอง
๕.น้ำหมักชีวภาพ จำนวน ๑ ขวด
วิธีการดังกล่าว เป็นการหมักปุ๋ยชีวภาพแบบ พลิก กลับ
วิธีการทำ
1.จัดเตรียมถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆในการทำปุ๋ยหมัก โดยใช้ไม่กั้นเพื่อทำเป็นรั้ว สูงประมาณ 10 ซม. ก็โดยเอาไม้ต้นโหนด ที่มีคนมาตัดยังเหลืออยู่มาทำเป็นคอก และนำกระสอบที่ได้เย็บไว้มาปูไว้ที่พื้น 2.เตรียมวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก โดยการนำฟางข้าว ขี้วัว แกลบ โดยใช้สัดส่วน 1 : 1 มาผสมคลุกเล้าให้เข้ากัน
3.นำ พด.1  ผสมกับน้ำ 20 ลิตร และใส่ น้ำหมักชีวภาพ 1 ขวด ผสมให้เข้ากัน
4.เมื่อส่วนผสมคลุกเคล้าเข้ากันแล้ว ก็นำน้ำที่ผสมกันไว้  มารดในกองปุ๋ยให้ทั่ว  คลุกเค้าให้เข้ากัน โดยกะให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่ายๆ คือถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน อย่างนี้ถือว่าใช้ได้
4.เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอทั่วๆกัน ไม่สูงจนเกินไป จากนั้นก็นำกระสอบที่ได้เย็บไว้มาปิดไว้ข้างบน
5.ทิ้งไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง ให้ทดสอบโดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก เมื่อครบ 24 ชั่วโมง จะเริ่มมีเส้นขาวๆ ปรากฏขึ้นบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน อีก 3-4 วัน ต่อมาให้ทดสอบอีกครั้ง ถ้าปุ๋ยเย็นลงถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อจนกว่าจะเย็น จึงสามารถนำไปใช้ได้

        บรรยากาศในการทำงาน ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเอง  การทำงานวันนี้ได้มีน้องนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ มาร่วมสังเกตการณ์ พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้
          สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ และเห็นได้ชัด คือ ทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักในครัวเรือนไว้ใช้เอง  มีการช่วยเหลือระหว่างกัน เกิดการยอมรับกันมากขั้น

 

50 50

4. เรียนรู้การทำนั้ำหมัก ครัั้งที่ 2

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การทำน้ำหมักจากขยะครัวเรือน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตลอด ก่อนที่จะทำ ระหว่างทำ  และหลังทำเสร็จ  เพื่อให้ได้ความรู้แลกเปลี่ยนกัน 2.มีการมอบหมายให้นำวัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการทำนำหมัก 3.มีกระบวนการทำงานเป็นทีมเป็นขั้นตอน 4.มีการยอมรับกันระหว่างบุคคลกันมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มน้ำหมักเรียนรู้ประสบการณ์นำขยะครัวเรือน มาทำน้ำหมัก

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้ได้มีการทำน้ำหมักกัน  โดยเชิญชวนสมาชิก เข้ามาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำน้ำหมัก ณ ศาลาเอนกประสงค์ บ้านหนองสีขวัญ  โดยแต่ละคนก็จะมีสูตรที่เคยได้ทำมาแลกเปลี่ยนรู้กัน  ก็จะมีการมอบหมายล่วงหน้าให้มีการนำวัสดุอุปกรณ์ในการมาทำน้ำหมัก ซึ่งมีอุปกรณ์ประกอบด้วย 1.เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ 2.กากน้ำตาล  1 กิโลกรัม 3.ถังหมักที่มีฝาปิด 4.น้ำ 20  ลิตร วิธีการทำ 1.นำเศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้  มาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ  โดยสมาชิกก็นำเศษผัก  เศษผลไม้ มาช่วยกันสับ และก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำด้วย 2.นำกากน้ำตาลผสมกับน้ำ 20  ลิตร  ใช้ไม้กวนผสมให้เข้ากัน
3.นำเศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้  ที่สับไว้เป็นชิ้นเล็กๆ ไปเทใส่ในถังหมัก 4.นำกากน้ำตาลที่ผสมน้ำไว้มาเทใส่ในถังหมัก  คนคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาที่ทิ้งไว้ หมักไว้ 21  วัน 5.เมื่อน้ำหมักมีกลิ่นฉุนของแอลกอฮอล์ สีน้ำหมักมีลักษณะน้ำตาลใส ไม่ขุ่นดำ และมีกลิ่นหอม ก็สามารถนำไปใช้ได้       บรรยากาศในการทำงาน ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเอง  การทำงานวันนี้ได้มีน้องนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ มาร่วมสังเกตการณ์ พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  สมาชิกพร้อมที่จะเรียนรู้ในการทำน้ำหมักในครัวเรือนโดยการนำเศษอาหาร เศษผัก  เศษผลไม้ที่เหลือจากครัวเรือน  นำไปใช้เองในครัวเรือน  มีการช่วยเหลือระหว่างกัน เกิดการยอมรับกันมากขั้น มีน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือนโดยการนำขยะในครัวเรือนมาทำน้ำหมักชีวภาพ ได้นำน้ำหมักที่ได้ไปรถผักที่ปลูกไว้

 

50 50

5. เรียนรู้การเลี้ยงปลา ครั้งที่ 2

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การเลี้ยงปลาไว้บริโภค

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการเรียนรู้การเลี้ยงปลาในชุมชน 2.มีการส่งเสริมให้มีคลังอาหารชุมชน
3.ส่งเสริมอาชีพในชุมชน โดยการเลี้ยงปลาและมีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ 4.สอนให้ชาวบ้านรู้จักหาวัสดุที่มีในชุมชนมาเป็นอาหารปลา 5.รู้จักวิธีการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลี้ยงปลาเรียนรู้การปรับสภาพน้ำ ดิน และประสบการณ์เลี้ยงปลา

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้ได้มีการมาเรียนรู้ และศึกษาวิธีการเลี้ยงปลาที่โดยมีสมาชิก นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ มาร่วมสังเกตการณ์ มาที่บ้านนางจุฑาทิพย์  ซึ่งที่บ้านได้เลี้ยงปลาไว้ 1 บ่อ และยังมีการเลี้ยงกบไว้ในกระชังข้างๆริมบ่ออีกด้วย โดยนางจุฑาทิพย์  ได้พูดคุยถึงการเลี้ยงปลานิลในบ่อธรรมชาติ  โดยเลือกพันธุ์ปลาที่เหมาะสมกับพื้นที่  โดยนำปลามาปล่อยไว้เลี้ยงตามธรรมชาติ และนำฟักทองที่เหลือจาการเก็บเกี่ยวมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อใส่ให้เป็นอาหาร แทนอาหารอัดเม็ด เพื่อลดต้นทุนการซื้ออาหาร โดยเลี้ยงไว้รับประทาน และถ้าเหลือก็นำไปขาย             บรรยากาศในการทำงาน ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเอง  และก็วันนี้มีน้องนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ มาร่วมสังเกตการณ์ พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ร่วมในการนำอาหารไปให้ปลาที่เลี้ยงไว้           สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  สมาชิกได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเลี้ยงปลาในบ่อธรรมชาติ ได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลา การนำผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือการหารเก็บเกี่ยวนำมาเป็นอาหารในการเลี้ยงปลา  รู้จักวิธีการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ  รู้จักวิธีการเตรียมบ่อ

 

30 30

6. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 6

วันที่ 10 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ได้เรียนรู้การสร้างคลังอาหารแบบธรรมชาติ 2.ได้สร้างกระบวนการพัฒนาคนและวิถีชีวิต 3.มีการทำงานเป็นทีม 4.เรียนรู้การดูแลสุขภาพ การลดสารเคมี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้คณะทำงาน ได้มานั่งพูดคุยและสรุปผลการดำเนินงานในรอบทั้งหมดที่ผ่านมา ทั้งการเลี้ยงไก่ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ การจัดทำข้อมูล สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
1.เกิดกระบวนการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
2มีการมอบหมายหน้าที่ในการจัดเตรียมอุปกรณ์ อย่างชัดเจน
3.มีการพูดกันตลอดเวลา ก่อนทำปุ๋ยหมัก ระหว่างทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้ได้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมัก
4.เกิดการยอมรับระหว่างบุคคลมากขึ้น

เรื่องการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ เลี้ยงไก่ พบว่า 1.ประชาชนมีการเรียนรู้การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ เลี้ยงไก่ มากขึ้นกว่าเดิม 2.มีการส่งเสริมให้มีคลังอาหารชุมชน
3.ส่งเสริมอาชีพในชุมชน โดยการเลี้ยงปลาและมีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ 4.สอนให้ชาวบ้านรู้จักหาวัสดุที่มีในชุมชนมาเป็นอาหารปลา เลี้ยงกบ เล้ี้ยงไก่ 5.รู้จักวิธีการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ หรือการสร้างอาหารธรรมชาติ

 

20 20

7. เรียนรู้การเลี้ยงกบ ครั้งที่ 3

วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การเลี้ยงกบไว้บริโภค

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เรียนรู้การเลี้ยงกบในกระชัง 2.ส่งเสริมการผลิตอาหารไว้บริโภคเองและเหลือก็นำไปขายสร้างรายได้ให้ครอบครัว 3.มีแนวทางการลดรายจ่ายครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลี้ยงกบ แลกเปลี่ยนความรูู้ในการเลี้ยงกบ

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้สมาชิกได้ไปเรียนรู้วิธีการเลี้ยงกบ  ที่บ้านนางจุฑาทิพย์  ซึ่งที่บ้านนางจุฑาทิพย์ จะมีการเลี้ยงกบในบ่อปลาซึ้งจะทำเป็นกระชังลงไปในน้ำและมีพื้นที่ขอบบ่อเพื่อกบจะได้อาศัย  โดยจะเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคและเหลือก็นำไปขาย
วิธีการเลี้ยง
1.เลือกอาหารให้เหมาะกับพันธุ์กบ 2. ด้านบนของกระชังปิดด้วยตาข่าย กันศัตรูกบมากิน และมีสแลนพรางแสงและกันฝน กันกบตกใจ
3.การดูแลรักษาเรื่องสีของน้ำ โดยสังเกตจากกลิ่นของน้ำเป็นสำคัญ จะต้องไม่เหม็นมากนัก ระยะเวลาในการเลี้ยงต้องใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 4-6 เดือน     บรรยากาศ  ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเอง  การทำงานวันนี้ได้มีน้องนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ มาร่วมสังเกตการณ์ พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการเลี้ยงกบ
          สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  สมาชิกได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเลี้ยงกบในกระชัง ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้  มีอาหารไว้กินเองหรือก็ได้นำไปขาย  ได้เห็นวิธีการเลี้ยงกบในบ่อปลา

 

50 50

8. เรียนรู้การเลี้ยงไก่ ครั้งที่ 2

วันที่ 27 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การเลี้ยงไก่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เรียนรู้การเลี้ยงไก่ตามธรรมชาติ มีการแลกเลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มๆ 2.เรียนรู้การทำอาหารแบบประหยัดโดยหาวัตถุดิบจากธรรมชาติ 3.มีแหล่งอาหารให้กับตัวเองและชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลี้ยงไก่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเลี้ยงไก่

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้ได้มีกิจกรรม ไปเรียนรู้การเลี้ยงไก่ที่บ้านนายสวิด ชูแสง ก็ได้ไปดูเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่กันเพิ่มเติม  ได้มาเรียนรู้การให้อาหาร  มาดูความเจริญเติบโตของไก่  หาอาหารจากธรรมชิมาเลี้ยงไก่  การดูแลรักษาโรงเรือน สมาชิกมีความสนใจ ในการเรียนรู้  มีการแลกเปลี่ยน พูดคุยซึ่งกันและกัน         สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  เรียนรู้เพิ่มเติมในการเลี้ยงไก่  ได้กลับไปเลี้ยงไก่ที่บ้าน  มีแหล่งอาหารในชุมชน  เรียนรู้การเลี้ยงไก่ตามธรรมชาติ

 

50 0

9. เรียนรู้การเลี้ยงปลา ครั้งที่ 3

วันที่ 4 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การเลี้ยงปลา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการเรียนรู้การเลี้ยงปลาในชุมชน โดยเลี้ยงแบบธรรมชาติ 2.ส่งเสริมให้มีคลังอาหารชุมชน ที่ปลอดสารพิษ 3.ส่งเสริมอาชีพในชุมชน โดยการเลี้ยงปลา  มีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือน 4.เกิดแหล่งผลิตอาหารในครัวเรือน รู้จักวิธีการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ 5.ได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลา พื่อนำเอาไปเลี้ยงปลาที่บ้านของตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลี้ยงปลาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เลี้ยงปลา

กิจกรรมที่ทำจริง

    วันนี้มีกิจกรรมไปศึกษาการเลี้ยงปลาที่บ้านนายธรรมธร  โดยสมาชิกก็ได้มีการแลกเลี่ยนเรียนรู้ในการเลี้ยงปลา  โดยใช้อาหารที่มาจากธรรมชาติ  เศษอาหาร  การดูแลสภาพน้ำ  การให้อาหารปลา  ซึ่งนายธรรมธรก็บอกว่า  เวลาจะทำอาหารก็มาเอาไปทำอาหารได้  เหลือก็แบ่งปัน  และนำไปขาย  เพิ่มรายได้อีกทางp     สิ่งที่ได้ในวันนี้  ได้มาพูดคุยแลกเลี่ยนเรียนรู้ในการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ  มีแหล่งอาหารที่บ้าน  ลดค่าใช้จ่าย  เพิ่มรายได้

 

30 32

10. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7

วันที่ 10 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีมงาน สรุปกิจกรรมี่ผ่านมา และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มเป้าหมายสู่ชุมชน สมาชิกในชุมชนให้ความสำคัญในการทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น 2.ได้มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานประชุมวางแผนการทำงาน
  วาระที่ 1 เรื่องการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป    เรียนรู้การปลูกมะนาว  เรียนรุ้การทำปุ๋ยหมัก เรียนรู้การทำน้ำหมัก  เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ 3         วาระที่ 1.1 ให้คณะทำงานไปแจ้งให้สมาชิก และคนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม  เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปได้ทำต่อที่บ้าน
        วาระที่  2  รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ประชุมเอกฉันท์ บรรลุตามผลที่เกิดขึ้นตามแผน       สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการที่วางไว้ได้ปฏิบัติเห็นผลตามโครงการ  คณะทำงานได้ระดมความคิดในการจัดกิจกรรม

 

20 0

11. เรียนรู้การปลูกมะนาว ครั้งที่ 3

วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การปลูกมะนาว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกมะนาว การดูแลเมื่อจะออกผล
2.เรียนรู้การป้องกันรากเน่า แมลงศัตรูพืช
3.กลุ่มเป้าหมายได้ความรู้ในการเตรียมตัวที่ถูกต้องตามความต้องการของพืช 4.กลุ่มเป้าหมายได้มาติดตาม ศึกษา วิธีการดูแล รักษาให้มะนาวเจริญเติบโต สมบูรณ์ 4.มีพื้นที่พร้อมจะปลูกมะนาวโดยทำเอง ไม่ต้องซื้อ เหลือก็นำแบ่งปัน หรือขายเพื่อเพิ่มรายได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มปลูกมะนาว เรียนรู็การปลูกมะนาวและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้สมาชิกได้ไปเรียนรู้และศึกษาการปลูกมะนาวกันอีกครั้งที่บ้านนายสวิด  ชูแสง เพื่อติดตามการเลี่ยนแปลงจากการมาเรียนรู้ครั้งก่อน  มาดูดินที่ได้เตรียมไว้ครั้งก่อนและนำไปปลูกแล้วเป็นอย่างไร  พันธุ์กิ่งมะนาวที่ได้เรียนรู้จากครั้งก่อน และได้ช่วยกันลองให้สมาชิกได้ตอนไว้ วันนี้มีราก และสามารถนำไปปลูกได้แล้ว และนายสวิดได้บอกถึงการนำกิ่งตอนไปปลูก การปลูกอย่างไร  ดูแลรักษารดน้ำ การป้องกันไม่ให้รากเน่า การดูแลเมื่อมะนาวเริ่มจะออกดอกและมีลูก สมาชิกได้ดูจากสวนมะนางของลุงสวิดจริง  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันภายในกลุ่ม  การกำจัดวัชพืช และก็ให้สมาชิกนำไปปฎิบัติที่บ้านของตนเอง  เพื่อให้มีมะนาวไว้รับประทานเอง  ไม่ต้องซื้อ     บรรยากาศการทำงาน สมาชิกมาพบกันก่อนเวลานัดหมาย ได้มานั่งคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อนไปลงพื้นที่จริง  สอบถามและและให้ความสนใจในการปลูกมะนาว     สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  ได้เรียนรู้เข้าใจในการดูแลรักษาในการปลูกมะนาว  การรดน้ำ การกำจัดวัชพืช การดูแลเมื่อใกล้จะออกผล การบำรุงรักษาดิน จะได้มีมะนาวไว้กินเอง และเหลือก็ได้นำไปแลกเปลี่ย แบ่งปัน  หรือนำไปขายเพื่อเพิ่มรายได้

 

50 50

12. เรียนรุ้การทำปุ๋ยหมัก ครั้งที่ 3

วันที่ 24 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

๑.เกิดกระบวนการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
๒มีการช่วยเหลือและแบ่งหน้าที่การทำปุ๋ยกันทุกคน
๓.มีการพูดกันตลอดเวลา ก่อนทำปุ๋ยหมัก ระหว่างทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้ได้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมัก
๔.เกิดการยอมรับระหว่างบุคคลมากขึ้น
๕.ได้พูดคุยสอบถามความคืบหน้าจากการทำปุ๋ยเมื่อครั้งก่อน 5.ได้มีปุ๋ยไว้ใช้เอง ลดต้นทุนในการผลิต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มปุ่ยหมักเรียนรู้ประสบการณ์ทำปุ๋ยหมัก

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้มีการทำปุ๋ยหมักที่บ้านลุงสวิด โดยเชิญชวนสมาชิก เข้ามาเรียนรู้วีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ แบบใส่กระสอบ ซึ่งเป็นการทำที่ง่าย ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการหมักทิ้งไว้ โดยแต่ละคนก็ได้นำสูตรที่ตนเองเรียนรู้มานั่งพูดคุย ซึ่งอุปกรณ์และวัสดุ ลุงสวิดได้เตรียมไว้แล้ว และให้ป้านิกรได้นำแกลบมาให้ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ทำปุ๋ยหมักประกอบด้วย
๑.ขี้วัว จำนวน ๒๐ กระสอบ ๒.ฟางข้าว จำนวน  ๒๐ กระสอบ ๓.แกลบ จำนวน ๒๐ กระสอบ
๔.พด.๑ จำนวน ๑ ซอง
๕.น้ำหมักชีวภาพ จำนวน ๑ ขวด
๖.กระสอบสำหรับใส่ปุ๋ยหมัก ๗.จอบ มีด ถังน้ำ วิธีการทำ
1.จัดเตรียมถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆในการทำปุ๋ยหมัก โดยใช้พื้นที่ข้างที่เก็บซังข้าวและอุปกรณ์ต่างๆ 2.เตรียมวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก โดยการนำฟางข้าวมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก เพื่อจะได้ย่อยสลายเร็วขึ้น
3.นำฟางข้าว ขี้วัว แกลบ มาผสมรวมกัน โดยใช้สัดส่วน 1 : 1 มาผสมคลุกเล้าให้เข้ากัน  อาจจะใช้ชี้วัวมากกว่าสักหน่อยก็ได้เพราะที่บ้านลุงสวิดมีขี้วัวเอง 3.นำ พด.1  ผสมกับน้ำ 20 ลิตร และใส่ น้ำหมักชีวภาพ 1 ขวด ผสมให้เข้ากัน
4.เมื่อส่วนผสมคลุกเคล้าเข้ากันแล้ว ก็นำน้ำที่ผสมกันไว้  มารดในกองปุ๋ยให้ทั่ว  คลุกเค้าให้เข้ากัน โดยกะให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่ายๆ คือถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน อย่างนี้ถือว่าใช้ได้
4.เมื่อผสมปุ๋ยเสร็จ ก็นำกระสอบมาใส่ปุ๋ยโดยใส่ประมาณ  2 ส่วน 4 ของกระสอบ เพื่อเหลือพื้นที่ไว้ในการที่จะพลิกกระสอบ  และนำเชือกมารัดปากกระสอบปุ๋ยไว้ 5.นำกระสอบปุ๋ยที่ใส่ปุ๋ยไว้เสร็จแล้วมาตั้งซ้อนกัน สลับหัว นำกระสอบที่เย็บไว้มาปิดไว้ เพื่อป้องกันแสงแดด  และคอยพลิกปุ๋ย ทุกๆ 2-3 วัน ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็สมารถนำปุ๋ยมาใช้ได้         บรรยากาศในการทำงาน ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเอง มีความสนใจการการทำปุ๋ยแบบใส่กระสอบ  การทำงานวันนี้ได้มีน้องนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ มาร่วมสังเกตการณ์ พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สมาชิก ได้ช่วยกันลงแรงในการทำปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมวัสดุอุปกรณ์  การผสมปุ๋ย และการบรรจุกระสอบ           สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ และเห็นได้ชัด คือ ทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักในครัวเรือนไว้ใช้เอง มีความสนใจในการทำปุ๋ยแบบใส่กระสอบปุ๋ยมาก  มีการช่วยเหลือในการทำปุ๋ยกันจนเสร็จ  เกิดการยอมรับกันมากขั้น

 

50 50

13. เรียนรู้การทำน้ำหมักครั้งที่ 3

วันที่ 27 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การทำน้ำหมักจากขยะครัวเรือน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตลอด ก่อนที่จะทำ ระหว่างทำ  และหลังทำเสร็จ  เพื่อให้ได้ความรู้แลกเปลี่ยนกัน 2.มีการมอบหมายให้นำวัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการทำนำหมัก 3.มีกระบวนการทำงานเป็นทีมเป็นขั้นตอน 4.มีการยอมรับกันระหว่างบุคคลกันมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มทน้ำหมักเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำน้ำหมัก

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้ได้มีการทำน้ำหมักกัน  โดยเชิญชวนสมาชิก เข้ามาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำน้ำหมักจากหอยเชอรี่ ที่บ้านคุณอำไพภร  ก็จะมีการมอบหมายล่วงหน้าให้หาหอยเชอรี่มาเพเพื่อทำน้ำหมัก ซึ่งมีอุปกรณ์ประกอบด้วย 1.หอยเชอรี่ 2.กากน้ำตาล  1 กิโลกรัม 3.ถังหมักที่มีฝาปิด 4.น้ำ 20  ลิตร วิธีการทำ 1.นำหอยเชอรี่ มาทุบให้ละเอียด จะได้ทั้งน้ำและและเปลือกหอยของเชอรี่
2.นำกากน้ำตาลผสมกับน้ำ 20  ลิตร  ใช้ไม้กวนผสมให้เข้ากัน
3.น้ำและและเปลือกหอยของเชอรี่ ที่สับไว้เป็นชิ้นเล็กๆ ไปเทใส่ในถังหมัก 4.นำกากน้ำตาลที่ผสมน้ำไว้มาเทใส่ในถังหมัก  คนคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาที่ทิ้งไว้ หมักไว้ 21  วัน 5.เมื่อน้ำหมักมีกลิ่นฉุนของแอลกอฮอล์ สีน้ำหมักมีลักษณะน้ำตาลใส ไม่ขุ่นดำ และมีกลิ่นหอม ก็สามารถนำไปใช้ได้       บรรยากาศในการทำงาน ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเอง  การทำงานวันนี้ได้มีน้องนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ มาร่วมสังเกตการณ์ พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  สมาชิกพร้อมที่จะเรียนรู้ในการทำน้ำหมักในครัวเรือนโดยการนำเศษอาหาร เศษผัก  เศษผลไม้ที่เหลือจากครัวเรือน  นำไปใช้เองในครัวเรือน  มีการช่วยเหลือระหว่างกัน เกิดการยอมรับกันมากขั้น มีน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือนโดยการนำขยะในครัวเรือนมาทำน้ำหมักชีวภาพ ได้นำน้ำหมักที่ได้ไปรถผักที่ปลูกไว้

 

50 50

14. เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ 3

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้เกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษไว้ที่ครัวเรือน 2.เรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษไว้ที่ครัวเรือน 3.เกิดกระบวนการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ 4’มีการปลูกผักปลอดสารพิษใช้บริโภคเองในครัวเรือนและชุมชน ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน สร้างการเรียนรู้ให้ชุมชนในการปลูกผักปลอดสารพิษ 5.ได้เรียนรู้การทำเกษตรแบบอินทรีย์ตามวิถีชุมชน 6.มีการแบ่งปัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเกษตรอินทรีย์เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้สมาชิกได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ในการปลูกผักปลอดสารพิษ  ซึ่งตอนนี้ได้เก็บผักไว้กินเอง  หลายรอบแล้ว  ก็ใช้น้ำหมัก  กับ ปุ๋ยหมักที่ทำไว้ รดผัก  ก็ทำให้ผักเจริญเติบโตได้ดี  ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าซื้อปุ๋ยเคมี  ผักก็ยังกรอบอร่อยๆ  เหลือก็นำไปแบ่งปัน  แลกกับผักอื่น  และก็นำไปขาย ด้วย  สมาชิกก็บอกว่ายัง ว่า ก็ยังจะปลูกผักไปอีก  ไว้กินเองที่บ้าน  ไม่ต้องซื้อผัก  ลดรายจ่าย  และยังได้กินผักที่ปลูกเองและปลอดสารพิษด้วย       สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน สร้างการเรียนรู้ให้ชุมชนในการปลูกผักปลอดสารพิษ  ได้เรียนรู้การทำเกษตรแบบอินทรีย์เอง สมาชิกรู้จักการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน  ได้ใช้น้ำหมัก  และปุ๋ยหมักที่ทำไว้ มาใช้มนการรดผักที่ปลูกไว้  มีการแบ่งปันในชุม  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งกันและกัน

 

50 0

15. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีมงาน  ติดตามความคืบหน้าในการทำโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ติดตามการทำงานของกลุ่มต่างๆ รับทราบความก้าวหน้ากิจกรรม 2.ได้ปรึกษาแนวทางการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป 3.ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานประชุมวางแผนการทำงาน
  วาระที่ 1 เรื่องการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป  ได้แก่การเรียนรู้การเลี้ยงไก่  การเรียนรู้การเลี้ยงกบ  การเรียนรู้เมนูอาหารตามวัย                   วาระที่ 1.1 ให้คณะทำงานไปแจ้งให้สมาชิก และคนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม  เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปได้ทำต่อที่บ้าน  นำไปปฏิบัติเพื่อสุขภาพของตัวเราเอง   วาระที่  2  คณะทำงานได้พูดคุยในดารจัดกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา และรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ประชุมเอกฉันท์ บรรลุตามผลที่เกิดขึ้นตามแผน       สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการที่วางไว้ได้ปฏิบัติเห็นผลตามโครงการ  คณะทำงานได้ระดมความคิดในการจัดกิจกรรม

 

20 0

16. เรียนรู้การเลี้ยงไก่ ครั้งที่ 3

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้การเลี้ยงไก่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เรียนรู้การเลี้ยงไก่ตามธรรมชาติ มีการแลกเลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม 2.เรียนรู้การทำอาหารแบบประหยัดโดยหาวัตถุดิบจากธรรมชาติ 3.มีแหล่งอาหารให้กับตัวเองและชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลี้ยงไก่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่ และอาหารไก่

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้ได้มีกิจกรรม ไปเรียนรู้การเลี้ยงไก่ที่บ้านนางแดง  ช่วยวัง ก็ได้ไปดูเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่กันเพิ่มเติม    ได้มาเรียนรู้การให้อาหาร  การเลี่ยงลูกไก่  โดยการเปิดไฟให้ลูกไก่  เพื่อจะให้ลูกไก่เติบโตรวดเร็วขึ้น  หาอาหารจากธรรมชาติ  การทำโรงเรือนในการเลี้ยงลูกไก่ การดูแลรักษาโรงเรือน สมาชิกมีความสนใจ ในการเรียนรู้  มีการแลกเปลี่ยน พูดคุยซึ่งกันและกัน         สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  เรียนรู้เพิ่มเติมใน การเลี้ยงลูกไก่เพื่อให้เจริญเติบโตเร็ว  ได้กลับไปเลี้ยงไก่ที่บ้าน  มีแหล่งอาหารในชุมชน  เรียนรู้การเลี้ยงไก่ตามธรรมชาติ

 

50 0

17. เรียนรู้การเลี้ยงกบ ครั้งที่ 4

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้การเลี้ยงกบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ได้เรียนรู้การเลี้ยงกบและมีการแลกเปลี่ยนปะสบการณ์ในการเลี้ยงกบ 2.ส่งเสริมการผลิตอาหารไว้บริโภคเองและเหลือก็นำไปขายสร้างรายได้ให้ครอบครัว 3.มีแนวทางการลดรายจ่ายครัวเรือน 4.มีการยอมรับกันมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลี้ยงกบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เลี้ยงกบ

กิจกรรมที่ทำจริง

            วันนี้สมาชิกได้ไปเรียนรู้วิธีการเลี้ยงกบ  ที่บ้านนายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  โดยจะนัดมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหาในการเลี้ยงกบ โดย           นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์  ประธานจัดโครงการ  ได้สอบถามสมาชิก และผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ว่าเมื่อได้กลับไปเลี้ยงที่           นางจุฑาทิพย์  แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมว่า  การเลี้ยงกบนี้ดี  เราจะได้มีอาหารไว้รับประทาน  เราจะได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  และก็ได้แนะนำสมาชิกในการดูแลรักษาเรื่องสีของน้ำ โดยสังเกตจากกลิ่นของน้ำเป็นสำคัญ จะต้องไม่เหม็นมากนัก ระยะเวลาในการเลี้ยงต้องใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 4-6 เดือน     บรรยากาศ  ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเอง  การทำงานวันนี้ได้มีน้องนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ มาร่วมสังเกตการณ์ พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการเลี้ยงกบ
          สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  สมาชิกได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเลี้ยงกบ  ได้มีการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้  มีอาหารไว้กินเองหรือก็ได้นำไปขาย

 

50 50

18. เมนูอาหารตามกลุ่มวัย ครั้งที่ 1

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อได้เรียนรู้เมนูอาหารตามกลุ่มวัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดเมนูอาหารตามวัย 2.กลุ่มคนต่างวัยได้มีความสัมพันธ์กันมากขึ้น 3.มีการพูดกันตลอดเวลา ก่อนทำ ระหว่างทำ อาหาร เพื่อให้ได้ความรู้ในการทำเมนูอาหารตามกลุ่มวัย 4.เกิดการยอมรับระหว่างบุคคลมากขึ้น 5.ได้นำผักปลอดสารพิษ และวัตถุดิบที่มีในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มแม่บ้านเรียนรู้เมนูอาหารตามกลุ่มวัย

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เมนูอาหารตามกลุ่มวัย  โดยสมาขิกจะมาร่วมกันคิดเมนูอาหารตามกลุ่มวัย โดยใช้ผัก  ใช้ปลาและวัสดุที่ผลิต และเกิดขึ้นในชมชน  เป็นเมนูอาหารที่ปลอดสารพิษ  และก็ได้ให้สมาชิกได้ปฏิบัติในการจัดทำเมนูอาหารตามกลุ่มวัย  จัดเป็น  5  กลุ่ม  โดยแต่ละกลุ่มๆจะมีผู้สูงอายุ  2  คน    เยาวชน  2  คน  แม่บ้าน  2  คน  อสม.  2  คน   โดยมีการจัดเมนูอาหารดังนี้           -กลุ่มเด็ก จัดเป็นจำพวกผลไม้หลากสี  หลากคุณค่า
          -กลุ่มวัยทำงาน  ได้แก่  แกงส้มผัก  แกงเคย  ปลาผักรวม  แกงเลียงสมรม  น้ำพริกปลาสด       และก็ได้จัดทำคู่มือเมนูอาหารตามกลุ่มวัย         สิ่งที่เกิดขึ้น  สมาชิกได้มีการมารวมตัวทุกกลุ่มวัย  ทำให้ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดี  ได้จัดอาหารเมนูเพื่อสุขภาพ  ทำให้ร่างกายมีสูขภาพที่ดี

 

50 50

19. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9

วันที่ 10 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสุปการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนการทำงานในกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มเป้าหมายสู่ชุมชน สมาชิกในชุมชนให้ความสำคัญในการทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น 2.ได้มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป 3.ติดตามความคืบหน้าของการทำโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานประชุมวางแผนการทำงาน
  วาระที่ 1 เรื่องการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป  ได้แก่การเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก  การเรียนรู้การทำน้ำหมัก  เรียนรู้การเลี้ยงปลา  เรียนรู้การปลูกมะนาว  เรียนรู้การเลี้ยงไก่         วาระที่ 1.1 ให้คณะทำงานไปแจ้งให้สมาชิก และคนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม  เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปได้ทำต่อที่บ้าน         วาระที่ 1.2  แจ้งให้สมาชิกที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนำเศษ  อาหาร  เศษผัก  และวัสดุที่ใช้สำหรับการทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมัก  ในวันไปทำกิจกรรม   วาระที่  2 นายจิรชาติ  กลิ่นจันทร์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมมหกรรมตลาดสีเขียวและให้คณะทำงานได้ พูดคุย  ชี้แจง และแสดงความคิดเห็น  ในการจัดกิจกรรม  และสรุปกิจกรรมมหกรรมตลาดสีเขียว               วาระที่  2.1 ให้คณะทำงานไปชี้แจงสมาชิกเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมมหกรรมตลาดสีเขียว และสิ่งที่ต้องเตรียมไปในการทำกิจกรรม   วาระที่  3 คณะทำงานพูดถึงความคืบหน้า ปัญหาในการทำกิจกรรมและก็รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ประชุมเอกฉันท์ บรรลุตามผลที่เกิดขึ้นตามแผน

      สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการที่วางไว้ได้ปฏิบัติเห็นผลตามโครงการ  คณะทำงานได้ระดมความคิดในการจัดกิจกรรม

 

20 20

20. เรียนรู้การเลี้ยงปลา ครั้งที่ 4

วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การเลี้ยงปลา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ได้มาพุดคุแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเลี้ยงปลา 2.มีแหล่งอาหารที่บ้าน 3.ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลี้ยงปลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการเลี้ยงปลา

กิจกรรมที่ทำจริง

        วันนี้มีกิจกรรมไปศึกษาการเลี้ยงปลาที่บ้านนายจิรชาติ    โดยสมาชิกก็ได้มีการแลกเลี่ยนเรียนรู้ในการเลี้ยงปลา  เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เลี้ยงปลาของสมาชิกที่ได้กลับ  ไปเลี้ยงปลา โดยใช้อาหารที่มาจากธรรมชาติ  สมาชิกก็ได้เลี้ยงโดยการนำเศษอาหารมาเป็นอาหารปลา ได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารเลี้ยงปลา  ได้มีแหล่งอาหารที่บ้าน  เวลาจะกินก็สามารถมาจับ  เอาไปทำอาหารได้เลย  เหลือสมาชิกก็ไปแบ่งปัน  และขายเพื่อเพิ่มรายได้
      สิ่งที่ได้ในวันนี้  ได้มาพูดคุยแลกเลี่ยนเรียนรู้ในการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ  แลกเปลี่ยนการเลี้ยงปลา และปัญหาที่เกิดในการเลี้ยงปลา  ลดค่าใช้จ่าย  เพิ่มรายได้  มีแหล่งอาหารไว้ที่บ้าน

 

30 30

21. เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก ครั้งที่ 4

วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดกระบวนการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
2.เกิดการยอมรับระหว่างบุคคลมากขึ้น
3.ได้มีการเรียนรู้จากคนทีนำปุ๋ยหมักไปใช่จริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มปุ๋ยหมักเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำปุ่ยหมัก

กิจกรรมที่ทำจริง

ในวันนี้สมาชิกได้มาพูดคุย  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของการทำปุ๋ยหมัก  ที่บ้านป้ากลาย  สมาชิกได้มาพูดคุยถึงการนำปุ๋ยหมักไปใช้ของป้านิกร  ป้านิกร ได้บอกว่า ได้นำปุ๋ยไปใช้แล้ว  ทำให้ผัก  เจริญเติบโต เร็วขึ้น ใบออกสวยงาม  ดินมีความร่วนซุยขึ้น    ป้าก็ได้นำผักที่ปลูกไว้ไปทำอาหาร  ผักมีความกรอบและมีรสชาติอร่อย  และก็อยากจะทำปุ๋ยหมักต่อไปอีก  เพราะจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย  ทำให้ขยะลดลง
      สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้  ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการนำปุ๋ยหมักไปใช้ ทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้  ยอมรับซึ่งกันและกัน

 

50 50

22. เรียนรู้การปลูกมะนาว ครั้งที่ 4

วันที่ 28 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การปลูกมะนาว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกมะนาว การดูแลเมื่อจะออกผล
2.เรียนรู้การป้องกันรากเน่า แมลงศัตรูพืช
3.กลุ่มเป้าหมายได้ความรู้ในการเตรียมตัวที่ถูกต้องตามความต้องการของพืช 4.กลุ่มเป้าหมายได้มาติดตาม ศึกษา วิธีการดูแล รักษาให้มะนาวเจริญเติบโต สมบูรณ์ 4.มีพื้นที่พร้อมจะปลูกมะนาวโดยทำเอง ไม่ต้องซื้อ เหลือก็นำแบ่งปัน หรือขายเพื่อเพิ่มรายได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มปลูกมะนาว ถอดบทเรียนและความรู้ในการปลูกมะนาว

กิจกรรมที่ทำจริง

      วันนี้สมาชิกได้ไปเรียนรู้และมาพูดคุยในเรื่องของปลูกมะนาวกันอีกครั้งที่บ้านนายสวิด  ชูแสง เพื่อติดตามการเลี่ยนแปลงจากการมาเรียนรู้ครั้งก่อน  มาบอกคุยเกี่ยวการปลูกมะนาวที่บ้านของสมาชิกและปัญหาที่  ลุงสวิดก็บอกว่าการลูกมะนาวต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ  และก็ได้นำสมาชิกไปดูสวนมะนางของลุงสวิดอีกครั้ง  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันภายในกลุ่ม  การปลูกมะนาวอย่างไรให้มีน้ำ และมีผลดก และก็ให้สมาชิกนำไปปฎิบัติที่บ้านของตนเอง  เพื่อให้มีมะนาวไว้รับประทานเอง  ไม่ต้องซื้อ     บรรยากาศการทำงาน สมาชิกมาพบกันก่อนเวลานัดหมาย ได้มานั่งคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อนไปลงพื้นที่จริง  สอบถามและและให้ความสนใจในการปลูกมะนาว
    สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  ได้เรียนรู้เข้าใจในการดูแลรักษาในการปลูกมะนาว  การได้พูดคุยถึงปัญหาและอุปสรรคในการปลูกมะนาว จะได้มีมะนาวไว้กินเอง และเหลือก็ได้นำไปแลกเปลี่ยน แบ่งปัน  หรือนำไปขายเพื่อเพิ่มรายได้

 

50 50

23. เรียนรู้การทำน้ำหมัก

วันที่ 30 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดกระบวนการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
2.เกิดการยอมรับระหว่างบุคคลมากขึ้น
3.ได้มีการเรียนรู้จากคนทีนำน้ำหมักไปใช้จริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มน้ำหมักถอดบทเรียนการนำขยะครัวเรือนมาทำเป็นน้ำหมัก

กิจกรรมที่ทำจริง

        ในวันนี้สมาชิกได้มาพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ในเรื่องของการทำปุ๋ยหมัก  สมาชิกได้บอกว่าได้นำน้ำหมักไปใช้รดผัก  ทำให้ผักเจริญเติบโต  สวยงาม  รสชาติก็อร่อย  ได้ลดขยะจากครัวเรือน  เวลาเศษอาหารเหลือ ก็นำไปทำน้ำหมักไว้  ก็ยังจะทำต่อไปอีก         สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้  ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำน้ำหมักไปใช้  มีการยอมรับกันในสมาชิก

 

50 50

24. เรียนรู้การเลี้ยงไก่ ครั้งที่ 4

วันที่ 4 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเลีี้ยงไก่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีระบบการทำงานเป็นทีม 2.มีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
3.ได้ร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเลี้ยงไก่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มเลี้ยงไก่ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเลีี้ยงไก่

กิจกรรมที่ทำจริง

      วันนี้สมาชิก ได้มาแลกเลี่ยนเรียนรู้  การเลี้ยงไก่ของตนเองที่บ้านของสมาชิก พูดคุยถึงความคืบหน้าในการเลี้ยงไก่ของตนเอง ปัญหาในการเลี้ยงไก่  สมาชิกได้แลกเปลี่ยนกัน  และสรุปแนวทางและปัญหาในการเลี้ยงไก่ พร้อมทั้งร่วมกันหาวิธี  นะนำปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับสมาชิก     สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  สมาชิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่  ได้ร่วมกันหารแนวทางในการแก้ปัญหา  มีการเรียนรู้ด้วยกัน

 

50 50

25. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10

วันที่ 10 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและรายงานความคืบหน้าจากการทำโครงการ วางแผนงานในกิจกรรมครั้งต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มเป้าหมายสู่ชุมชน สมาชิกในชุมชนให้ความสำคัญในการทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น 2.ได้มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานประชุมวางแผนการทำงาน
  วาระที่ 1 เรื่องการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป  ได้แก่  กิจกรรมเมนูอาหารตามวัย  ครั้งที่  2         วาระที่ 1.1 ให้คณะทำงานไปแจ้งให้สมาชิก และคนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม  เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษา วาระที่  2  สรุปการทำกิจกรรมที่ผ่านมาและมหกรรมตลาดสีเขียว มีคนสนใจกันมาก  ผู้เข้าร่วมงานได้ซ้อสิ้นค้าที่ปลอดสารพิษ และราคาถูก   วาระที่  3  รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ประชุมเอกฉันท์ บรรลุตามผลที่เกิดขึ้นตามแผน       สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการที่วางไว้ได้ปฏิบัติเห็นผลตามโครงการ  คณะทำงานได้ระดมความคิดในการจัดกิจกรรม

 

20 20

26. เมนูอาหารตามกลุ่มวัย ครั้งที่ 2

วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้เมนูอาหารตามกลุ่มวัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดเมนูอาหารตามวัย 2.กลุ่มคนต่างวัยได้มีความสัมพันธ์กันมากขึ้น 3.มีการพูดกันตลอดเวลา ก่อนทำ ระหว่างทำ อาหาร เพื่อให้ได้ความรู้ในการทำเมนูอาหารตามกลุ่มวัย 4.เกิดการยอมรับระหว่างบุคคลมากขึ้น 5.ได้นำผักปลอดสารพิษ และวัตถุดิบที่มีในชุมชน 6.สมาชิกได้ทราบถึงการออกกำลังกายที่ถูกต้องตามกลุ่มวัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กลุ่มแม่บ้านแลกเปลี่ยนประสบการณ์เมนูอาหาร

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เมนูอาหารตามกลุ่มวัยครั้งที่  2  โดยสมาชิกก็ได้เตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบ ที่มีอยู่ในชุมชนมาร่วมกันคิดเมนูอาหารตามกลุ่มวัย เป็นเมนูอาหารที่ปลอดสารพิษ  และก็ได้ให้สมาชิกได้ปฏิบัติในการจัดทำเมนูอาหารตามกลุ่มวัย  จัดเป็น  5  กลุ่มเหมือนเดิม  และก็ได้ให้ สมาชิกได้ช่วยจัดทำเมนูอาหาร  เสร็จก็ได้มากินร่วมกันองคนในแต่ละกกลุ่มวัย       และก็ยังได้มีการพูดคุยในเรื่องการออกกำลังกาย  ส่งเสริมการออกกำลังกายให้เหมาะสมตามวัย  และก็ให้สมาชิก  ได้ไปออกกำลังกายที่บ้านตามความเหมะสมของแต่ละวัย       สิ่งที่เกิดขึ้น  สมาชิกได้มีการมารวมตัวทุกกลุ่มวัย  ทำให้ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดี  ได้จัดอาหารเมนูเพื่อสุขภาพ  ทำให้ร่างกายมีสูขภาพที่ได้ทราบถึงการออกกำลังกายที่ถูกต้องตามกลุ่มวัย และก็จะได้นำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง

 

50 50

27. พบพี่เลี้ยงเพื่อขอคำแนะการสรุปโครงการ

วันที่ 26 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เรียนรู้วิธีการสรุปรายงาน ชัดเจนมากขึ้น 2.เรียนรู้วิธีการทำรายงานต่างๆ 3.เรียนรู้การบันทึกกิจกรรม 4.เรียนรู้การปิดรายงาน โครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานปรึกษาพี่เลี้ยงเกี่ยวกับแนวทางการสรุปโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้คณะทำงาน พบพี่เลี้ยง ที่ ศช.นครศรีฯ เพื่อขอคำแนะนำในการสรุปโครงการ
1.แนวทางการถอดบทเรียน ให้สอบถามกิจกรรมที่ทำ ทำแล้วเกิดอะไร ได้อะไร และการเปลี่ยนแปลงที่พบมีอะไรบ้าง 2.ตรวจสอบเรื่องรายงานการเงินให้เบิกจ่ายให้ถูกต้อง พร้อมหลักฐาน
3.เตรียมภาพถ่ายให้สอดคล้องกับ กิจกรรม 4.ทุกกิจกรรมให้เขียนกิจกรรม พร้อมบทสรุปการทำงาน
5.เมื่อทำรายงานแล้ว แจ้งให้พี่เลี้ยงทราบ เพื่อจะได้เข้าไปแก้ไขให้สมบูรณ์ 6.พี่เลี้ยงสอนแนะ การทำรายงาน ส.1 ส.2 ส.3 ส.4  รายงานการเงิน ง.1 ง.2 7.การสรุปรายงาน ส.3 ในบทคัดย่อ ให้ต้องเขียนให้พี่เลี้ยงอ่านก่อน แล้วให้พี่เลี้ยงเพิ่มให้

 

5 5

28. มหกรรมตลาดสีเขียว "ชีวิตปลอดภัยที่เขาพระบาท"

วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 เวลา 07:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการจัดนิทรรศการร่วมกันทั้งตำบล และเผยแพร่นิทรรศการบ้านอุ่แก้วให้ประชาชนได้รับทราบ
2.ได้สร้างภาคีเครือข่ายเพิ่ม และมีภาคีมาร่วมทำงานเพิ่ม 3.ได้เรียนรู้กระบวนการพัฒนา ในหมู่บ้านใกล้เคียง 4.ได้ปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน
5.เป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน และภายในตำบล 6.ประชาชนและผู้นำระดับตำบล หน่วยงานราชการในพื้นที่ ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าในการพัฒนา
7.เป็นหมู่บ้านต้นแบบของตำบลในการพัฒนาด้าน การลดสารเคมี
8.เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมตลาดนัดสีเขียวและมหกรรมสุขภาพร่วมกันทัั้งตำบล

กิจกรรมที่ทำจริง

งานมหกรรมสุขภาพ “ชีวิตปลอดภัยที่เขาพระบาท” จัดขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกและผนึกพลังของประชาชนให้เป็นหนึ่งเดียว สร้างกฎระเบียบของชุมชน สร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชุมชน และมีความสุขที่เกิดจากวิถีชุมชน ในตำบลเขาพระบาท รวมไปถึงการแสดงผลงาน ผลิตภัณฑ์ การดำเนินชีวิตของคนเขาพระบาท ด้วยการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต จึงได้จัดงานมหกรรมสุขภาพ “ชีวิตปลอดภัยที่เขาบาท” ขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2558 ณ รพ.สต.เขาพระบาทตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1.เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ 2.เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักและสนใจดูแลสุขภาพ 3.เพื่อนำภูมิปัญญาชุมชน นำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ โดยการจัดกิจกรรมวันนี้ มีตลอดทั้งวัน ซึ่งในช่วงเช้า เป็นกิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสมทบทุนสร้างห้องน้ำและยกพื้นห้องตรวจรักษาพยาบาล ไม่ให้น้ำท่วม ภายใต้แนวคิด “พลังบุญสร้างสุข” และในช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมเสวนาตำบลจัดการสุขภาพ ในหัวข้อ “ชีวิตปลอดภัยที่เขาบาท” กิจกรรมการเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ของชุมชน กิจกรรมเดินชม เชิญชิม เดินช้อป ตามวิถีคนเขาบาท และการแสดงบนเวทีของผู้สูงอายุ

ชุมชนบ้านหนองสีขวัญใช้กิจกรรมวิถีภูมิปัญญา และการสร้างแหล่งอาหารในหมู่บ้าน เป็นกลไกในการขับเคลื่อน โดยของบประมาณสนับสนุนจาก สสส.และกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท ผลการดำเนินงานพบว่า
-ครัวเรือนลดขยะโดยการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมักชีวภาพ
- ครัวเรือนลดการการใช้ในชีวิตประจำวัน - ประชาชนตามกลุ่มวัยได้รับการตรวจสุขภาพทุกปี
- ประชาชนปลูกผักกินเอง ลดรายจ่าย ลดการใช้เคมี - มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างคลังอาหารชุมชน - ประชาชนได้ออกแรงจากการประกอบอาชีพ - หลายครัวเรือนหันหน้ามาพูดคุย และร่วมกันพัฒนาชุมชน ให้เข้มแข็ง

 

200 200

29. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 11

วันที่ 10 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทีมงาน สรุปกิจกรรมี่ผ่านมา และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีการประชุมตามแผนงานที่กำหนด มีการติดตามผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าของกิจกรรม 2.คณะทำงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน เกิดภาพการทำงานแบบมีส่วนร่วม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานประชุมวางแผนการทำงาน
  วาระที่ 1 เรื่องการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป  ได้แก่  กิจกรรมถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน         วาระที่ 1.1 ให้คณะทำงานไปแจ้งให้สมาชิก และคนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม  เพื่อจะถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน       วาระที่  2  สรุปการทำกิจกรรมที่ผ่านมาและมหกรรมตลาดสีเขียว มีคนสนใจกันมาก  ผู้เข้าร่วมงานได้ซื้อสิ้นค้าที่ปลอดสารพิษ และราคาถูก         วาระที่  3  รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว บรรลุตามผลที่เกิดขึ้นตามแผน       สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้  กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการที่วางไว้ได้ปฏิบัติเห็นผลตามโครงการ  คณะทำงานได้ระดมความคิดในการจัดกิจกรรม

 

20 20

30. ถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงาน

วันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานจากโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ได้รู้รับราย จ่าย รู้จักประหยัด รู้จักการออม
2.การปลูกผัก ลดรายจ่ายเดือนละ 27,500 บาทต่อเดือนต่อชุมชน ปีละ 324,000 บาท 3.การทำน้ำหมักลดการซื้อเคมี ครัวเรือนละ 1,000 บาท เฉลี่ยปีละ 30,000 บาท 4.ปุ๋ยหมัก ลดการซื้อปุ๋ยครัวเรือนละ 2,000 บาทต่อปี ปีละ 60,000 บาทต่อชุมชน
5.เลี้ยงปลา มีอาหารไว้บริโภคเอง
7.เลี้ยงกบมีอาหารไว้บริโภคเอง ใช้อาหารธรรมชาติ ปลอดภัย 8. เลี้ยงไก่ เลี้ยงแบบธรรมชาติ ปลอดภัย
9.การปลูกมะนาวเกิดมีรายได้ และปลอดภัย 10.สิ่งที่เกิดจากกิจกรรมเหล่านี้ -ได้ความรู้ความสามัคคีช่วยแก้ปัญหา -เกิดความรัก ความเอื้ออาทร
-เดิมไม่มีการประชุม ตอนนี้มีการประชุม
-มีรายได้เพิ่มขึ้น
-ประหยัดค่าใช้จ่าย ของครัวเรือนจำพวกผัก ปลา
-ไม่ต้องซื้ออาหารจากข้างนอก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตัวแทนชุมชนมาเล่าประสบการณ์และถอดบทเรียนการทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ในวันนี้เป็นกิจกรรมการถอดบทเรียนการพัฒนาของโครงการโดยมีสมาชิกมาร่วมถอดบทเรียนกันที่บ้านป้ากรายโดยเลือกตัวแทนแตะละกลุ่มเข้าร่วมในการถอดบทเรียน ในประเด็นในการพัฒนาที่เกี่ยวข้องสมาชิกก็ร่วมกันตอบคำถามในการถอดบทเรียนกันทุกคนต่างคนก็อย่างจะเล่าสิ่งที่ตัวเองได้ทำกิจกรรมทำกิจกรรมแบบนี้ดีอยากจะให้มีกิจกรรมแบบนี้ ต่อไปอีก ทำให้คนสามัคคีกันได้ทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้สมาชิกร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในการถอดบทเรียนกันทุกคน เกิดกระบวนการพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกคน เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น วันนี้ได้ดำเนินการถอดบทเรียนการพัฒนางาน
1.กิจกรรมที่ทำไปในโครงการได้แก่การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพบัญชีครัวเรือน เลี้ยงปลา เลี้ยงกบปลูกผัก เลี้ยงไก่และปลูกมะนาว

2.การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ได้รู้รับราย จ่าย จ่ายเท่าไรได้รู้จักประหยัด รู้จักการออมรู้สถานะของตัวเอง ทำให้เรามีเงินออมเช่นสิ่งที่ไม่สมควรซื้อไม่ซื้อเสื้อผ้า มากเกินไป ซื้อสิ่งที่กินทุกวัน เช่น อาหาร
ได้รับรู้ที่มา ที่มาสิ่งที่เกินความจำเป็นตอนนี้ รายจ่ายเยอะเพราะงานสังคมมากทุกวันนี้ไปงานสังคมเยอะกับข้าวไม่ค่อยซื้อเลี้ยงปลา ปลูกผักเองทุกวันนี้กินแต่ปลา เพราะเป็นปลาเลี้ยงเองซื้อน้อยลงถ้าไม่มีอะไรกิน ก็กินปลานิลผักก็ปลูกกินเอง

3.การปลูกผัก ตอนนี้ผักที่ปลูกคือถั่ว ผักชี มะเขือ พริก แตง มะนาว ดีปลีกะหล่ำมะเขือเทศ ฟักทอง ฟักเขียว มะละกอ กล้อมหอมกลวยน้ำว้า กล้วยหิน กล้วยเล็บมือนาง กล้วยมุกตะไตร้ใบกรูด ขมิ้นตะลิงปิงลูกฉิ่งหัวครกยาร่วงเรียนน้ำมะพร้าว ขนุนมุดหรัง น้ำดอกไม้ชมพู่กะท้อน มะม่วงกะหล่ำถั่วพูเกิดประโยชน์คือ ไม่ต้องซื้อ ประหยัด ได้กินของสดปลอดสารพิษเหลือแล้วแจกจ่ายมีการไปขอไปกิ่น แบ่งปันกันกิน ลดรายจ่าย ค่าซื้อผัก 30 บาทต่อครัวต่อวันเฉลี่ย 900 บาทต่อครัวต่อเดือน ทุกครอบครัวสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในภาวะแบบนี้ จำนวนครัวเรือนที่ปลูกเพิ่มขึ้น เดิมปลูกเพียงไม่ถึง ร้อยละ 50 ตอนนี้ปลูกทุกหลังปลูกเองสามารถลดได้ 30 ครัว ลดรายจ่ายเดือนละ 27,500 บาทต่อเดือนต่อชุมชน ปีละ 324,000 บาท

4.การทำน้ำหมักเกิดประโยชน์พาไปรดต้นไม้ แล้วสีเขียว งาม ใช้อะไรหมัก ใบเทียม น้ำเต้าเศษอาหาร
ชยะลดลง ไม่ต้องทิ้งรอบ แหล่งเพาะพันธ์โรคลดลง เศษขยะจากครัวเรือนลดน้อยลง กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมทำน้ำหมัก30 ครัวเรือน ลดการซื้อเคมี ครัวเรือนละ 1,000 บาท เฉลี่ยปีละ 30,000 บาท

5.ปุ๋ยหมัก เกิดประโยชน์ ต้นผัก สวย พาไปรองท้อง ไม่ต้องซื้อปุ๋ยหรือซื้อปุ๋ยลดน้อยลงช่วงแรกๆ ใส่ ทำให้เกิดการเรียนรู้ การทำปุ่ยหมัก ต้อง มีการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก ถ้าไม่ถึงความชี้น ไม่เปือ่อย ต้องมีความชื้นสูง และใช้น้ำหมักประหยัดต้นทุนการทำปุ๋ยไม่ทันใจ ต้องใช้เวลาลดค่าซื้อปุ๋ยประมาณ 2,000 บาททำปุ๋ยหมัก จำนวน 2 กลุ่ม เป้าหมาย 30 ครัว ลดค่าใช้จ่ายปีละ 60,000 บาทต่อชุมชน

6.เลี้ยงปลาทำการเลี้ยงปลานิลใช้อาหารปลารำผักบุ้ง น้ำเต้า แหนเปิดไฟให้แมลงลง
เกิดประโยชน์เกิดความเพลิดเพลินสนุกได้กินเป็นอาหารมีคลังอาหารในบ้านเหลือขาย
เลี้ยงปลา 15 ครัวเรือน(ขนาดปลา 3 ตัวต่อ 2 โล) เฉลี่ย 50 บาทต่อโล

7.เลี้ยงกบ เลี้ยง ใช้อาหารกบเปิดไฟให้แมงกิน เกิดประโยชน์มีอาหารไว้กิน อง ไม่ต้องซื้อเพื่อน ขายได้แล้วเลี้ยงกบ 6 ครัว ตอนนี้ขายได้บ้างแล้วกบ 4 ตัวโล (โล 100 บาท ) เลี้ยง 100 ตัว

  1. เลี้ยงไก่ เป็นการเลี้ยงไก่ ด้วยอาหาร ข้าว ธรรมชาติข้าวเปลือกเลี้ยงแบบพื้นบ้านเลี้ยง 50 ตัว ขนาด ครึ่งโลเป็นไก่ไข่ตอนนี้ฟักแล้ว วันละ 3 ใบอนาคตจะมีรายได้จากการขายไก่เลี้ยงไก่ มีประโยชน์มีอาหารขี้ไก่เป็นปุ๋ย เกิดความรักสัตว์

    9.ปลูกมะนาว มีการปลูกมะนาว 15 ครัว เกิดประโยชน์ มีรายได้ขายกิ่งได้ขายผลได้มะนาวมีประโยชน์ได้เรียนรู้วิธีการตอนกิ่งขาย

10.ทำกิจกรรมเหล่านี้ แล้วได้อะไรบ้าง -ได้ความรู้ความสามัคคีช่วยแก้ปัญหา -เกิดความรัก ความเอื้ออาทร
-เดิมไม่มีการประชุม ตอนนี้มีการประชุม
-มีรายได้เพิ่มขึ้น
-ประหยัดค่าใช้จ่าย ของครัวเรือนจำพวกผัก ปลา
-ไม่ต้องซื้ออาหารจากข้างนอก


สรุป
-โครงการนี้ ดี
-ดีกว่าเดิม ได้ความรุ้ คำแนะนำ มีการลงมือทำ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ -ถ้าทำแบบนึ้ หนองสีขวัญ น่าอยู่ เพราะ ทุกคนให้ความร่วมมือเราใช้ชีวิตแบบปลอดภัย พึ่งตนเองได้
ทุกครัวเรือนมีการออม

 

30 30

31. จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยงพื้นที่

วันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ชุมชนมีกล้าที่จะนำเสนอผลงานมากขึ้น
2.เกิดความภาคภูมิใจในผลงาน 3.เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ต่างๆ 4.เกิดคุณค่าจากการพัฒนางาน
5.ทำให้มองเห็นทุนในชุมชนมากขึ้น และเห็นคุณค่าของทีมงาน
6.ได้รับคำชม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงาน 10 คน  ร่วมกับพี่เลี้ยงจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียรใหญ่จัดนิทรรศการท้องถิ่นชุมชน น่าอยู่ และนำกระบวนการพัฒนาชุมชน นำเสนอร่วมกับพื้นที่อื่นๆ
ซึ่งสรุปได้ว่า
ผลผลิตจากโครงการ 1.การทำบัญชีครัวเรือน  ทำให้ได้รู้รับราย จ่าย รู้จักประหยัด รู้จักการออม
2.การปลูกผัก ลดรายจ่ายเดือนละ 27,500 บาทต่อเดือนต่อชุมชน ปีละ 324,000 บาท 3.การทำน้ำหมัก  ลดการซื้อเคมี ครัวเรือนละ 1,000 บาท เฉลี่ยปีละ 30,000 บาท
4.ปุ๋ยหมัก ลดการซื้อปุ๋ยครัวเรือนละ 2,000 บาทต่อปี ปีละ 60,000 บาทต่อชุมชน
5.เลี้ยงปลา มีอาหารไว้บริโภคเอง
7.เลี้ยงกบ  มีอาหารไว้บริโภคเอง ใช้อาหารธรรมชาติ ปลอดภัย 8. เลี้ยงไก่ เลี้ยงแบบธรรมชาติ ปลอดภัย
9.การปลูกมะนาว  เกิดมีรายได้ และปลอดภัย
10.สิ่งที่เกิดจากกิจกรรมเหล่านี้ -ได้ความรู้  ความสามัคคี  ช่วยแก้ปัญหา -เกิดความรัก ความเอื้ออาทร
-เดิมไม่มีการประชุม ตอนนี้มีการประชุม
-มีรายได้เพิ่มขึ้น
-ประหยัดค่าใช้จ่าย ของครัวเรือน  จำพวกผัก ปลา
-ไม่ต้องซื้ออาหารจากข้างนอก

 

10 10

32. เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ

วันที่ 30 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ได้เรียนรู้วิธีการปิดโครงการ
2.มีการนำภาพถ่ายกิจกรรม เข้าสู่โปรแกรม
3.ได้ตรวจสอบความถุกต้องของระบบการเงิน และการรายงานผล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงาน 5 คนทำรายงานปิดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้จัดทำเอกสารเพื่อสรุปปิดโครงการ พร้อมทั้งภาพถ่าย และรายงานตามที่กำหนด รายที่สรุปส่ง คือ ส.1 ส.2 ง.1 ง.2 ส.3 และ ส.

 

5 5

33. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 12

วันที่ 10 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานตามเป้าหมายที่กำหนดและความก้าวหน้าโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลจากการดำเนินโครงการ
1.เกิดแนวทางการปรับวิถีชีวิตประจำวัน มีการทำบัญชีครัวเรือน มีเงินออม เรียนรู้วิธีการลดต้นทุนการผลิต ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  น้ำหมักชีวภาพ
2.เกิดการรวมตัวเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นตัวอย่างการเรียนรู้
3.เกิดกลุ่มอาหารให้กับชุมชน  5  กลุ่ม คือ  กลุ่มผักปลอดสารพิษ กลุ่มเลี้ยงกบแบบภูมิปัญญา  กลุ่มเลี้ยงปลาธรรมชาติในบ่อข้างล้าน  กลุ่มเลี้ยงไก่บ้านพันธุ์พื้นเมือง  กลุ่มปลูกมะนาวพื้นบ้าน
4เกิดกระบวนการติดตามการทำงานในชุมชนแบบเสริมพลัง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด

กิจกรรมที่ทำจริง

จากการสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพบว่า
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อให้มีอาหารสุขภาพ  ถูกหลักโภชนาการ  พอเพียงในครอบครัวและชุมชน พบว่า 1.1 แกนนำชุมชนมีการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมของของแกนนำชุมชน มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 90 1.2 ประชาชนทุกหลังคาเรือนมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลชุมชน  ร้อยละ 100 1.3  ครัวเรือนเป้าหมายเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน ร้อยละ  100 1.4 เกิดกลุ่มอาหารให้กับชุมชน 5  กลุ่ม
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2.เพื่อปรับสภาพแวดล้อมชุมชนในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร พบว่า
2.1 มีฐานการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก 1  แห่ง 2.2 ครัวเรือนเป้าหมายทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะครัวเรือน  ร้อยละ  80 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3.เพื่อส่งเสริมกลไกการเรียนรู้ความมั่งคั่งทางอาหาร  และสร้างสวัสดิการชุมชน พบว่า 3.1 มีตลาดสีเขียว  เป็นแหล่งจำหน่ายอาหาร  ปลอดภัย  1  แห่ง 3.2 มีกติกาทางสังคม 3.3 มีการจัดเมนูอาหารตามกลุ่มวัย 3.4 มีมหกรรมตลาดสีเขียว อาหารสุขภาพ พอเพียง  1  ครั้ง

สรุปผลงานโดยรวมพบว่า ชุมชนบ้านหนองสีขวัญ คนได้ปรับวิธีคิด มีการปฏิบัติการร่วมกัน ใช้ทุนในชุมชน เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ช่วยเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายได้ ดังนี้ 1.เกิดแนวทางการปรับวิถีชีวิตประจำวัน มีการทำบัญชีครัวเรือน (ได้เรียนรู้วิธีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้  ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ) ทำให้มีเงินออมในครอบครัว  เรียนรู้วิธีการลดต้นทุนการผลิตโดยการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  น้ำหมักชีวภาพ  การทำปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักชีวภาพกลุ่มเป้าหมายนำขี้วัว  แกลบ  ฟางข้าว ขยะที่เหลือจากครัวเรือนมาเป็นส่วนผสม ทำให้ขยะครัวเรือนลดลง หนูลดลง  ลดต้นทุนในการผลิต 2.เกิดการรวมตัวเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นตัวอย่างการเรียนรู้  การทำเกษตรแบบผสมผสาน  การปลูกผักปลอดสารพิษ  การปลูกมะนาวปล้อง  การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ เลี้ยงกบ และเป็นแหล่งอาหารของชุมชน และเมื่อได้ผลผลิต ก็จะมีการแบ่งปันกันในชุมชน รวมทั้งนำไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน 3.เกิดกลุ่มอาหารให้กับชุมชน  5  กลุ่ม คือ  กลุ่มผักปลอดสารพิษผักเกษตรอินทรีย์  กลุ่มเลี้ยงกบแบบภูมิปัญญา  กลุ่มเลี้ยงปลาธรรมชาติในบ่อข้างล้าน  กลุ่มเลี้ยงไก่บ้านพันธุ์พื้นเมือง  กลุ่มปลูกมะนาวพื้นบ้าน  ซึ่งจะเป็นฐานการเรียนรู้สำหรับให้สมาชิกกลับไปทำต่อกันที่บ้าน 4เกิดกระบวนการติดตามการทำงานในชุมชน โดยคณะทำงาน ร่วมกับปราชญ์ชุมชน ติดตามผลที่บ้านผู้เข้าร่วมโรงการ เกิดการเรียนรู้ระหว่างบ้านใกล้เคียง นำข้อมูลจากการติดตามมาร่วมเรียนรู้ในที่ประชุมของหมู่บ้าน

 

20 20

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 58 58                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,700.00 212,700.00                  
คุณภาพกิจกรรม 232 196                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ไม่มี

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายจีระชาติ กลิ่นจันทร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ