ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น

ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของพีชสมุนไพรแต่ละชนิด วิธีการปลูกบำรุงรักษาแปลง การใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม15 พฤศจิกายน 2014
15
พฤศจิกายน 2014รายงานจากพื้นที่ โดย นางเกศินี สุวรรณรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทราบถึงสรรพคุณของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด วิธีการปลูกบำรุงรักษาแปลงและการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด
2) วิธีการปลูกการบำรุงรักษาแปลง
3) การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด
    1.1) ฟ้าทะลายโจร
          จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะเป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาล และแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลอ่อน         - สรรพคุณ
            ฟ้าทะลายโจรช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวในร่างกายให้จับกินเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้น มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งใบใช้เป็นยาขมช่วยทำเจริญอาหาร ช่วยป้องกันและแก้อาการหวัด คัดจมูก แก้อาการปวดหัวตัวร้อน อาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ ระงับอาการอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบแก้อาการติดเชื้อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นเสาหตุทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นบิด รักษากระเพาะลำไส้อักเสบ ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี
    1.2) มะรุม
          จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย มีประโยชน์อเนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 - 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 - 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20 - 50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.         - สรรพคุณ             (ใบ) ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต             (ยอดอ่อน) ใช้ถอนพิษไข้             (ดอก) ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง             (ฝัก) แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต             (เมล็ด) เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง             (ราก) รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)             (เปลือกลำต้น) รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร             (ยาง gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน (earache, asthma)     1.3) ชุมเห็ดเทศ
          เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 2-3 เมตร ก้านใบนั้นยาว ในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง มีลักษณะคล้ายใบมะยม แต่จะโตและยาวกว่าประมาณ 10-12 ซม. และกว้างประมาณ 3-6 ซม.         - สรรพคุณ             (ใบสด) รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ฝีและแผลพุพอง             (ดอก) ใบสดหรือแห้ง - เป็นยาระบาย ยาถ่าย ถ่ายพยาธิลำไส้             (เมล็ด) ขับพยาธิ เป็นยาระบายอ่อน     1.4) ว่านหางจระเข้           เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น         - สรรพคุณ             (ใบ) - รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี             (ทั้งต้น) - รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา             (ราก) - รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด             (ยางในใบ) - เป็นยาระบาย             (น้ำวุ้นจากใบ) - ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น             (เนื้อวุ้น) - เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร             (เหง้า) - ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด     1.5) บัวบก           เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในแถบเอเชีย ใบบัวบกสามารถช่วยรักษาแผลให้หายได้เร็วขึ้นและยังช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้ดี เพราะมีกรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และสารอะเซียติโคไซด์ ยาแผนปัจจุบันทำเป็นรูปครีมผงโรยแผล ยาเม็ดรับประทาน เพื่อใช้รักษาแผลสดและแผลผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นแผลไฟไหม้ หรือแผลฝีหนองหรือแผลสด โดยใช้ใบและต้นสดตำละเอียดคั้นน้ำทานวันละ 3 - 4 ครั้ง หรืออาจใช้กากพอกบริเวณแผลด้วยก็ดี ในศรีลังกาใส่ในข้าวต้ม โดยต้มข้าวกับน้ำซุปผักจนสุกนุ่ม ใส่กะทิ ปรุงรสด้วยเกลือ ยกลงแล้วจึงใส่ใบบัวบก ในไทยใช้เป็นผักแนม กินกับผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ทำยำใบบัวบก หรือคั้นทำน้ำใบบัวบก ทางภาคใต้ใส่ในแกงพริกหมู         - สรรพคุณ               (ใบ) - มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน               (ทั้งต้นสด)
                    - เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า                     - รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด                     - ปวดศีรษะข้างเดียว                     - ขับปัสสาวะ                     - แก้เจ็บคอ                     - เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง                     - ลดความดัน แก้ช้ำใน               (เมล็ด) - แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ 2) วิธีการปลูกการบำรุงรักษาแปลง     2.1) ฟ้าทะลายโจร           - ใช้กิ่งปักชำได้แต่เพาะเมล็ดง่ายกว่า เวลางอกเป็นต้นจะขึ้นพร้อมเพรียงกันสวยงาม เมล็ดเก็บจากจากฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม เปลือกหุ้มแข็ง ก่อนหว่านควรกระตุ้นการงอกโดยนำเมล็ดไปแช่น้ำธรรมดาสัก 2 คืนหรือแช่น้ำร้อน 80-100 องศาเซลเซียส ประมาณ 5-10 นาที           - โดยทั่วไปปลูกโดยไม่ต้องทำแปลง ยกเว้นพื้นที่ค่อยข้างลุ่มก็อาจทำแปลงยกร่องกว้าง 1-2 เมตร ไถพรวนดิน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักพอประมาณไม่ต้องมาก ถ้าดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์อยู่แล้วก็แทบไม่จำเป็น หากมีเมล็ดมากพอและพื้นที่กว้าง ใช้วิธีหว่านเมล็ดโดยผสมกับทรายหยาบ เพื่อช่วยให้หว่านง่ายขึ้น หว่านให้หนาสักหน่อยถ้าหว่านบางเกินไปฟ้าทะลายโจรจะขึ้นสู้หญ้าไม่ได้ แต่หนาเกินไปก็สิ้นเปลืองเมล็ด     2.2) มะรุม           - สภาพพื้นที่ปลูกเจริญเติบโตได้ดีกับดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนปนทราย ทนแล้งได้ดี และไม่ชอบพื้นที่ที่น้้าท่วมขัง การให้น้้า เนื่องจากมะรุมเป็นพืชทนแล้งได้ดี และออกดอกออกฝักตามฤดูกาล การให้น้้า ถ้าเป็นระยะแรกของการปลูก หรือปลูกในฤดูฝนจะไม่มีปัญหาเรื่องการให้น้้า แต่ในฤดูแล้งควรมีการให้น้้าเช้าและเย็น หรือใช้ระบบน้้าหยด จะท้าให้ฝักมีขนาดที่โตและยาวมากขึ้น     2.3) ชุมเห็ดเทศ           - สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนซุย ชอบน้ำและแสงแดด เจริญเติบโตเร็ว การปลูกโดยทั่วไปมักปลูก โดยใช้เมล็ด สามารถทำได้ 2 วิธี คือ หยอดลงหลุม หรือเพาะชำเมล็ดเป็นต้นกล้าก่อน จึงย้ายลงหลุม เมื่อพืชอายุได้ 3 เดือนขึ้นไป ควรพรวนดินเข้าโคน และทำให้เป็นร่องโดยรอบรัศมีทรงพุ่ม เพื่อใช้สำหรับเก็บขังน้ำ และแนวใส่ปุ๋ย     2.4) ว่านหางจระเข้           - ถ้าต้นว่านหางจระเข้มีลำต้นยาวมาก ควรตัดลำต้นให้สั้นลงให้เหลือลำตันเพียง 2 - 3 นิ้ว ลำต้นที่ ถูกตัดนี้จะงอกรากใหม่อย่างรวดเร็ว การลงดินอย่าลงลึกไปหรือตื้นไป คืออย่าลึกจนเวลาลดน้ำดินไปกลบยอดได้ หรืออย่าตื้นจนต้นโยกเยกเวลารดน้ำ     2.5) บัวบก
          - ระบบรากของต้นบัวบกลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร บัวบกชอบดินที่มีความชุ่มชื้นสูงมากและชอบร่มเงา ต้นจะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ด้วยการแตกไหล ต้นบัวบกสามารถปลูกได้ตลอดปี มีอายุเก็บเกี่ยว 1-2 เดือน นิยมปักชำด้วยต้นอ่อนๆ ที่งอกจากไหลจะแพร่ขยายได้รวดเร็ว หลังจากต้นตั้งตัวได้แล้วให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย สามารถปลูกได้ในกระถางและภาชนะอื่นๆ 3) การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม     3.1) ฟ้าทะลายโจร           - ใส่ปุ๋ยคอกจะเร่งให้ต้นยอดและกอใหญ่ขึ้น ฟ้าทะลายโจรปลูกครั้งเดียวก็พอ ในปีต่อๆ ไปก็จะเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องปลูกอีก     3.2) มะรุม           - การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยใส่รอบๆโคนต้น หลังจากนั้นพรวนดินกลบ     3.3) ชุมเห็ดเทศ           - ควรให้ปุ๋ย 2 ระยะ คือ ระยะแรก อายุ 1-2 เดือน ใส่ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง ระยะที่สอง อายุ 3 เดือนขึ้นไป ทุกๆ 3 เดือน และลดการให้ปุ๋ยในช่วงเดือน ธ.ค.-ก.พ. เพราะเข้าฤดูหนาว และจะใส่ครั้งต่อไป เมื่อทำการตัดแต่งกิ่ง เสร็จเรียบ ร้อยแล้ว     3.4) ว่านหางจรเข้           - การใส่ปุ๋ยให้กับว่านหางจรเข้ ให้ใส่ปุ๋ยปีละ 1 - 2 ครั้ง     3.5) บัวบก           - ครั้งแรกใส่ปุ๋ยหลังจากปลูก 15 - 20 วัน ทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ยเสร็จแล้วจะต้องรดน้ำให้ชุ่ม สำหรับอัตราการใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะดูการเจริญเติบโต ความอุดมสมบูรณ์ของดินและความสมบูรณ์ของต้นบัวบกด้วย จึงจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 55 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ สมาชิกกลุ่มและชาวบ้าน  53 คน วิทยากรแพทย์แผนไทยจาก รพ.สต.สลุย 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสมใจ ด้วงพิบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี