ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น

ทำปุ๋ยอินทรีย์21 มกราคม 2015
21
มกราคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย นางเกศินี สุวรรณรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้ประโยชน์ในแปลงสมุนไพร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ฟังบรรยายถึงประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์และการทำปุ๋ยอินทรียืไว้ใช้ในแปลงจากวิทยากรในหมู่บ้าน 2.จัดหาอุปกรณ์เพื่อที่จะทำปุ๋ยอินทรีย์ 3.ลงมือทำปุ๋ยอินทรีย์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ฟังบรรยายถึงประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์และการทำปุ๋ยอินทรียืไว้ใช้ในแปลงจากวิทยากรในหมู่บ้าน   - ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สารซึ่งผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ และจะเป็นประโยชน์ต่อพืชก็ต้องผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางชีวภาพเสียก่อน มีวัตถุหลายประเภทที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้   - ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์         - ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน         - อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ จึงมีโอกาสสูญเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี       - เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ มีธาตุอาหารรอง / เสริม อยู่เกือบครบถ้วนตามความต้องการของพืช         - ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดินให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   -ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์         - มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ         - ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช         - ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช         - หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการใช้เป็นปริมาณมาก         - ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อเกิดการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรท ในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้         - การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น ขี้เลื่อย เมื่อใช้วัสดุคลุมดิน ถ้าใช้ขี้เลื่อยสดใส่ทับถมกันแน่น จะทำให้เกิดการหมักในสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก จนเกิดสารสีดำหรือน้ำตาล ในสภาพนี้ขี้เลื่อยจะอิ่มตัวไปด้วยสารพิษซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ชนิดระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนมาก และเกิดไอที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เป็นอันตรายแก่พืชหลายชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ขี้เลื่อย เปลือกไม้สามารถนำมาใช้ได้โดยใช้ในดินที่ไม่เป็นกรดจัดเกินไป และมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ ควรเป็นขี้เลื่อยเก่าที่ย่อยแล้ว หรือปล่อยให้ตากแดดตากฝนระยะหนึ่ง การใช้ปูนขาวควบคู่ไปด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเป็นพิษลงได้         - มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักหรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนจะมีโรค แมลงศัตรูพืช และวัชพืชติดมาด้วย ทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดภายหลังได้         - ปุ๋ยอินทรีย์สลายตัวอยาก เช่น ขี้เลื่อย ซึ่งมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง เมื่อใส่ในดินปลูกพืชจุลินทรีย์จะแย่งไนโตรเจนในดินไปใช้ในขบวนการย่อย มีผลทำให้พืชขาดไนโตรเจนชั่วคราว ถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพืชจะขาดจนกว่าจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีกิจกรรมลดลง จึงจะได้ไนโตรเจนกลับคืนสู่ดิน       - ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ส่งกลิ่นเหม็นไม่เป็นที่จูงใจผู้ใช้และสกปรก         - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครก ตามอาคารบ้านเรือนก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท         - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อน จากการย่อยสลาย เป็นอันตรายต่อรากพืช เช่น การใช้มูลสด ๆ ใส่ใกล้โคนปลูกพืช และการใช้มูลที่มีทั้งอุจจาระและปัสสาวะสัตว์ปน โดยไม่มีการเจือจาง จะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาได้เนื่องจากความเค็มของกรดในน้ำปัสสาวะ 2.จัดหาอุปกรณ์เพื่อที่จะทำปุ๋ยอินทรีย์   - อุปกรณ์ในการทำ         1. มูลสัตว์ ได้แก่ ขี้หมู , ขี้วัว         2. กากกาแฟ , กากปาล์ม , รำข้าวละเอียด         3. กากน้ำตาล         4. ปุ๋ยยูเรีย         5. พลั่ว         6. พลาสติกหรือผ้าใบ 3.ลงมือทำปุ๋ยอินทรีย์   - วิธีการทำ           1. หมักปุ๋ยโดยการใช้มูลสัตว์ตากแห้ง (ขี้หมู , ขี้วัว)และกากกาแฟ , กากปาล์ม ,และรำข้าวละเอียดมาผสมกับปุ๋ยยุเรีย แล้วใช้พลั่วเคล้าให้เข้ากัน           2. หลักจากคลุกเคล้าเสร็จเรียบร้อยให้นำกากน้ำตาลมาผสมให้เข้ากัน ขณะผสมให้เติมน้ำเพื่อเพิ่มความชื้น           3. ปริมาณความชื้นดังกล่าววัดได้โดยการนำมูลสัตว์ที่ผสมเรียบร้อยแล้ว นำมากำด้วยมือถ้าปล่อยมือออกมูลสัตว์ยังคงรุปได้แสดงว่าปุ๋ยมีความชื้นพอเหมาะ แต่ถ้ากำแล้วปล่อยก้อนมูลสัตว์ออกเป็นก้อนๆแสดงว่าปริมาณน้ำยังไม่พอ ให้เติมน้ำอีก           4. หลังจากที่ผสมคลุกเคล้าแล้วให้พลาสติกหรือผ้าใบมาคลุมเพื่อป้องกันฝนและไม่ให้ความชื้นระเหยออก           5. หลังจากนั้น 3 วันให้ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งที่ 1 และถัดจากนั้น 3 วันนับไปอีก 7 วัน กลับกองปุ๋ยเป็นครั้งที่ 2 และครั้งต่อไปทุกๆ 7 วันจนกว่ากองปุ๋ยไม่มีความร้อน มีสีดำและร่วนซุย ได้ปุ๋ยทั้งหมด 700กิโลกรัม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 55 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกกลุ่มสมุนไพรแปรรูปสมุนไพรและแปรรูปปุ๋ยอินทรีย์

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสมใจ ด้วงพิบูลย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี