พื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมชนหัวแหลมพัฒนา

กิจกรรมพี่ชวนน้องเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน ครั้งที่ 2 (สมุนไพร)27 กันยายน 2557
27
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิต  การสร้างเสริมสุขภาวะให้กับเยาวชน - เพื่อเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญาที่มีในชุมชนจากครูภูมิปัญญา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เยาวชนได้ไปเรียนรู้การทำสมุนไพรลูกประคบ จากกลุ่มสมุนไพรวัยทีนบ้านเขาถ่าน  โดยการทำกิจกรรมนั้นได้มีคุณขนิษฐา รักเขียว เป็นผู้ให้ความรู้แก่เด็กๆ ในเรื่องประโยชน์  ส่วนผสมของสมุนไพรลูกประคบ
  • เด็กๆ ยังได้ทดลองทำสมุนไพรลูกประคบได้ด้วยตนเอง ซึ่งครั้งนี้คุณขนิษฐา  รักเขียว ได้สอนเด็กๆ ทำลูกประคบตัว และลูกประคบหน้า
  • เด็กๆ ยังได้ทำน้ำยาล้างจานด้วยตนเอง พร้อมทั้ง ชวนเด็ก ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำกิจกรรม และชวนเด็ก ๆ คิดกิจกรรมที่เป็นผลิตภัณฑ์ของเยาวชนในชุมชนหัวแหลมพัฒนา  เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับเด็ก ๆ ชุมชน  หลังจากนั้นได้เด็กได้เดินเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้  ชมสวนสมุนไพร และเยี่ยมชมสวนลองกองของคุณขนิษฐา  รักเขียว
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ความรู้ที่ได้จากการทำสมุนไพรลูกประคบ

  • อุปกรณ์การทำลูกประคบ
  1. ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ตัดเป้นผืนขนาด กว้าง 35 เซนติเมตร  x ยาว 35 เซนติเมตร
  2. เชือกหรือหนังยาง
  3. ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ
    นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์เสริมเวลาใช้งานอีก คือ
  4. หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ
  5. จานหรือชามอลูมิเนียมเจาะรู (เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้) รองลูกประคบ
  • วิธีการทำลูกประคบ
  1. หั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด ตำมะกรูด ตำพอหยาบๆ (เวลาประคบจะได้ไม่ระคายเคือง)
  2. นำใบมะขาม ใบส้มป่อย (เฉพาะใบ) ผสมกับสมุนไพรข้อ1 เสร็จแร้ว ใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เป้นเนื้อเดียวกัน แต่อย่าให้แฉะจนเป้นน้ำ
  3. แบ่งตัวยาที่เรียบร้อยแล้วใส่ผ้าดิบห่อเป้นลูกประคบประมาณลูก ส้มโอ รัดด้วยเชือกให้แน่น
  • ประโยชน์ของการประคบ (จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน)
  1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  2. ช่วยลดอาการบวมอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อหลัง 24-48 เซนติเมตร
  3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ ผังผืด ยืดตัวออก
  5. ลดการติดขัดของข้อต่อ
  6. ลดอาการปวด
  7. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพร

  • ไม่ควรใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่เคยเป็นแผลมาก่อนหรือบริเวณที่มีกระดูกยื่น และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อัมพาต ในเด็กและผู้สูงอายุ เพราะมักมีความรู้สึกในการรับรู้และตอบสนองช้าอาจทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ง่าย
  • ไม่ควรใช้การประคบสมุนไพรในกรณีที่มีการอักเสบปวดแดงร้อน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก เพราะจะทำให้อักเสบบวมมากขึ้นและอาจมีเลือดออกมากตามได้

สิ่งที่เด็กๆ ได้จากการเรียนรู้

  1. การนำไปต่อยอดในชุมชน
  2. การเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยที่เด็ก ๆ อยากมีส่วนร่รวม และสนุกสนานกับกิจกรรมที่ทำ
  3. การจากสังเกตุพฤติกรรมของเด็ก ๆ สังเกตได้ว่าเด็ก ๆ ให้ความสนใจกับการทำกิจกรรม และชอบที่จะทำกิจกรรมในเชิงปฏิบัติ
  4. การทำน้ำยาล้างจานด้วยตนเองจากน้ำหมักชีวภาพ
  5. การได้เรียนรู้เรื่องสมุนไพร  และพบว่ามีสมุนไพรบางอย่างที่มีมากในชุมชน โดยที่เด็ก ๆ ไม่รู้ว่านั่นคือสมุนไพร

ข้อเสนอแนะจากคุณขนิษฐา  รักเขียว

  1. เด็กๆ ทุกคนดูมีความตั้งใจในการทำกิจกรรม
  2. อยากให้เด็กๆ มีผลิตภัณฑ์ของเยาวชนในชุมชน เป็นของฝากจากเด็ก ๆ ในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับเด็กๆ ในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มสมุนไพรวัยทีน บ้านเขาถ่าน
  • เยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • จำนวนผู้เข้าร่วมไม่ถึงเกินที่กำหนด เนื่องจากเยาวชนในพื้นที่อยู่ในช่วงสอบ และกำลังจะปิดเทอม จึงไม่สามารถมาร่วมงานได้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่