พื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมชนหัวแหลมพัฒนา

กิจกรรมรู้จักบ้านฉันผ่านการค้นหา18 ตุลาคม 2557
18
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อนำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูลชุมชน เติมเต็มข้อมูล ชุมชนเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ผู้สูงวัย - เพื่อนำข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำข้อมูลที่ได้ศึกษามารวบรวมรายละเอียด เช่น ข้อมูลพื้นฐานประชากรชุมชน ข้อมูลพื้นฐานอาชีพ ทุน ศักยภาพ ภูมิปัญญาชุมชน เป็นต้น
  • นำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูล และให้คนในชุมชนช่วยเติมเต็ม
  • จัดทำข้อมูลชุมชน แผนพัฒนาชุมชน และแผนการเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ศึกษาความเป็นมาและสภาพการเปลี่ยนแปลงของชุมชนโดยบทบาทของเยาวชน

  • ศึกษารวบรวมประวัติความเป็นมา  และศักยภาพของชุมชน
  • ศึกษาสภาพความเปลี่ยนแปลงของชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม อาชีพ วิถีชีวิต วัฒนธรรม
  • พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนในพื้นที่ (งานวิจัยวัยทีน)

สิ่งที่ได้รับ

  • การได้เรียนรู้เรื่องราวของชุมชนเพิ่มมากขึ้น / ความเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรม
  • มีความกล้าพูด กล้าคุย กล้าซักถามผู้ใหญ่ในชุมชนมากขึ้น

สิ่งที่น้องเยาวชนได้รับ

  • มีความสนใจเพิ่มขึ้น
  • มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น เช่น การแต่งกาย การพูดคุย
  • ความรับผิดชอบที่มีมากขึ้น
  • การพัฒนาฝีมือในการทำผลิตภัณฑ์
  • การพัฒนาทักษะของเยาวชน
  • ลดการเที่ยว / ภาวะเสี่ยงที่จะมีในเด็ก
  • ฟื้นสายสัมพันธ์ที่ดีของพี่ น้อง และเพื่อน
  • ได้รับความร่วมมือในการทำกิจกรรมจากน้อง ๆ มากขึ้น
  • ได้มีการพบปะพูดคุยกันมากขึ้นในชุมชน
  • เด็ก ๆ อยากทำกิจกรรมในชุมชนมากขึ้น

สิ่งที่เยาวชนแกนนำได้รับ

  • มีความรับผิดชอบ
  • เกิดทักษะการทำงานกับน้อง ๆ ในชุมชน
  • เกิดความอยากทำกิจกรรม อยากทำงาน สนับสนุนน้องเพิ่ม เช่น การสอนภาษา การส่งเสริมให้น้องเรียนหนังสือ
  • คิดทำงานเพื่อน้อง ๆ ผ่านกิจกรรมต้าง ๆ เช่น การสร้างรายได้ การทำผลิตภัณฑ์
  • ทำห้องสมุดชุมชน

2.จัดเวทีค้นหาศักยภาพชุมชน  และพัฒนาโครงการ

สิ่งที่ได้้รับ

  • เยาวชนรู้ข้อมูล และสนใจอยากทำงานต่อ
  • แบ่งงานให้น้อง ๆ ช่วยสร้างความเข้าใจกับชุมชน
  • รู้ว่าเยาวชนต้องทำอะไร และทำอย่างไร

3.ศึกษาดูงาน (พื้นที่บ้านเขาถ่าน อ.ท่าฉาง)

  • ศึกษาการทำลูกประคบจากสมุนไพร
  • ศึกษาการทำน้ำยาล้างจานจากน้ำหมัก
  • ศึกษาเศรษฐกิจพิเพียง (ปลูกผัก เลี้ยงหมู)

การปรับใช้ในชุมชน

  • เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานชุมชน เด็กสามารถทำงานในชุมชนได้ สร้างกลุ่มสร้างรายได้ให้กับเด็กในชุมชน
  • การแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น การนำต้นอ้อที่มีมากในชุมชนมาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์
  • การทำห้องสมุดในชุมชน
  • การทำซุ้มประตูจากใบมะพร้าวถัก

แนวคิดการทำงานต่อ

  • ทำลูกประคบ ช่วยดูแลผู้สูงอายุ
  • การทำยาดมสมุนไพร
  • ทำกระเป๋าผ้า เพื่อเป็นของฝากจากชุมชน
  • การเพิ่มรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์

4.จัดทำแผนที่ชุมชน

  • การเติมเต็มความรู้ ทักษะการทำงนวิจัย
  • กระบวนการภาพเล่าเรื่อง
  • การเก็บข้อมูลชุมชน
  • ทำแบบสอบถาม

สิงที่ได้รับ

  • รู้วิธีการทำงานวิจัย และการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน
  • ลงปฏิบัติการจริงในชุมชน
  • มีการวางแผนการทำงานที่ชัดเจนขึ้น

ขอบเขตการศึกษา

1.ประวัติความเป็นมาของชุมชน ในช่วงแรกของชุมชนนั้นยังมีสภาพแวดล้อมที่เป็นแม่น้ำ การสัญจรจะมีสะพานไม้ไว้เชื่อมบ้านเรือนในชุมชน จนต้อมาทางชุมชนได้ร่วมกันถมที่ดินเพื่อให้เกิดเป็นพื้นดินขึ้นมา และมีการจัดทำถมที่ดินเรื่อย ๆ จนเป็นแผ่นดินในปัจจุบัน ต่อมาชาวบ้านได้มีการจัดตั้งเป็นชุมชน เกิดการสหกรณ์

2.อาชีพของคนในชุมชน

  • การทำประมง = ประมงพื้นบ้าน และประมงพาณิชย์
  • ค้าขาย = ผักสด ปลา ของชำ

3.การสนับสนุนที่มีภายในชุมชน

  • สาธารณะสุขจังหวัด ที่ส่งเสริมเรื่องการจัดการขยะ อาหารปลอดภัย แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
  • พอช. บ้านมั่นคง
  • สปสช. ดูแลเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ
  • เครือข่ายองค์กรงดเหล้า
  • สสส. สนับสนุนการทำโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
  • เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

4.วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและศักยภาพที่มีในชุมชน

  • การทำเครืื่องมือประมง เช่น ถักอวน ถักแห
  • เกษตรกรรม การปลูกผักไร้ดิน
  • งานช่าง เช่น ช่างต่อเรือ ช้างไม้ ช่างปูน
  • อาหาร และขนมหวาน เช่น ทองหยิบทองหยอด ฝอยทอง
  • งานฝีมือ เช่น การทำพวงมะหวด การถักกระเป๋า ผลิตภัณฑ์จากกะลา การทำสิ่งของเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ ของเล่น

5.สิ่งที่เยาวชนจะดำเนินการต่อไป

กิจกรรมให้ความรู้

  • ทำห้องสมุดในชุมชน
  • สอนหนังสือ และสอนภาษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาที่มีในชุมชน
  • กิจกรรมให้ความรู้ สอนทำผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ ศิลปะ
  • การเรียนทำขนม
  • การเรียนทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

กิจกรรมสร้างรายได้

  • เก็บขยะ ขายขยะแลกของเก่า
  • ทำผลิตภัณฑ์ของฝากขอที่ระลึกจากชุมชน เช่น ถุงผ้า กระเป๋าสาน ยาดม
  • ทำขนม เช่น ขนมดอกจอก ถั่วกรอบแก้ว
  • ทำแหนมเห็ด

กิจกรรมเพื่อชุมชน

  • ทำลูกประคบเป็นของฝากให้ผู้สูงอายุในชุมชน

กิจกรรมกลุ่ม (การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม)

  • ลดขยะในชุมชน โดยการใช้กล่องข้าว และกระติกน้ำ
  • การออม โดยการออมวันละบาท และออมรายกลุ่ม
  • ทุนการศึกษาสำหรับน้องเยาวชน

  • ค้นพบข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชนก่อนที่จะก่อตั้ง พบเห็นข้อมุลประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสิ่งที่เป็นหลักฐานยืนยัน คือ อู่ต่อเรือญี่ปุ่นสมัยสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2

  • มีการพูดคุย แลกเปลี่ยน ในเรื่องราวชุมชน แต่ละช่วงวัยของตนเอง ทำให้ทราบว่า ชุมชนหัวแหลมพัฒนามีประวัติความเป็นมายาวนาน
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของเยาวชนในทิศทางที่ดีขึ้น
  • เยาวชนเกิดการเรียนรู้เรื่องราวในชุมชน
  • เยาวชนและพี่แกนนำ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในชุมชน
  • เยาวชนได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานอย่างมีระบบ รู้จักการคิดวิเคราะห์ การวางแผนเพื่อการสำรวจข้อมูล
  • มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างเด็กและเยาวชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนชุมชน
  • สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • จำนวนผู้เข้าร่วม เวลาไม่ตรงกัน เนื่องจาก มีภาระกิจครอบครัว และงาน ทำให้การทำกิจกรรมไม่พร้อมกัน  แนวทางการแก้ไข  มีการจัดเวลา และแบ่งงานเพื่อให้เกิดการศึกษาข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครบทุกคน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-