พื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมชนหัวแหลมพัฒนา

กิจกรรมนักวิจัยวัยทีน ครั้งที่ 120 ตุลาคม 2557
20
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมสร้างทักษะการเก็บข้อมูลให้กับนักวิจัยวัยทีน ในการค้นหาข้อมูลชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 1

  • การเรียนรู้ อบรมการใช้ เครื่องมือ 7 ชิ้น วิธีการเก็บข้อมูลชุมชน  เช่น การเขียนผังเครือญาติ การวาดแผนที่ชุมชน การเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน การทำปฎิทินความสำคัญในชุมชน
  • การถ่ายภาพสิ่งดีๆ ในชุมชน และนำมาเล่าเรื่องราวให้กลุ่มเพื่อนๆ ฟัง
  • สรุปข้อมูลสิ่งดีๆ จากการเรียนรู้ และนำเสนอ

วันที่ 2

  • ศึกษาวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อทำปฏิทินชุมชน
  • ศึกษาประวัติชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน
  • ศึกษาระบบสุขภาพของคนในชุมชน กับ ป้าแต๋วประธาน อสม. ชุมชนหัวแหลมพัฒนา
  • ศึกษาโครงสร้างองค์กรชุมชนจากคณะกรรมการชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิทยากรสอนทักษะ เครื่องมือการทำงานชุมชน ที่สำคัญ ได้แก่

1.ผังเครือญาติ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของคนในครับครัวที่สัมพันธ์กันโดยสสายเลือด และสัมพันธ์กันโดยการสมรส โดยการใช้สัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย เขียนง่าย เช่น วงกลม หมายถึง ผู้ชาย, สามเหลี่ยม หมายถึง ผู้หญิง , เครื่องหมาย "เท่ากับ" หมายถึง แต่งงานกัน , เครื่องหมาย "ไม่เท่ากับ" หมายถึง หย่าร้างกัน , วงกลม มีจุดสีดำด้านใน หมายถึง ผู้ป่วย หรือผู้พิการ

2.แผนที่ชุมชน เป็นการทำแผนที่ชุมชนด้วยมือ วาดจากการลงพื้นที่สำรวจบ้านของตนเองจริงๆ ตรงไหนวาดไม่ได้ ก็ลงไปสำรวจ ทำให้เข้าใจและรู้จักชุมชนของตนเองมากขึ้น

3.ประวัติศาตร์ชุมชน เป็นการช่วยกันสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ถึงประวัติ และความเป็นมาของชุมชน และนำมามาทำเป็นแผงผังแสดงเหตุการณ์สำคัญๆ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมน เพื่อให้เข้าใจง่าย และเห็นถึงภูมิหลังของชุมชน

4.ปฏิทินชุมชน เป็นการสัมภาษณ์คนในชุมชนเพื่อศึกษาถึงประเพณี วัฒนธรรม การประกอบอาชีพ แล้วมาจัดทำเป็นปฏิทิน ว่าภายใน 1 ปี ชุมชน มีประเพณีสำคัญๆ อยู่ในช่วงใดบ้าง  มีการประกอบอาชีพมด อยู่ในช่วงใดของปี ซึ่งปฏิทินของชุมชนพบว่า

  • เดือนมกราคม ทุกปีจะมีการจัดกิจกรรมวันปีใหม่ โดยทางชุมชนจะจัดหาของขวัญ เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมาร่วมกิจกรรมและจับของขวัญ อีกทั้งยังมีการแสดงจากเด็ก ๆ ในชุมชน
  • เดือนเมษายน จะมีการจัดกิจกรรมรดน้ำผู้สูงอายุในชุมชน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
  • เดือนกันยายน ช่วงวันส่งตายาย จะมีการทำขนมเข่ง ขนมเทียน และขนมใบพ้อ

5.ประวัติชีวิต เป็นการลงไปพุดคุยสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน เพื่อให้ทราบข้อมูล ความเป็นของคนนั้นๆ ว่ามีความสำคัญกับชุมชนอย่างไร

จากการลงพื้นที่สอบถามนั้น ปู่ทิ้ง  สะบู่ม่วง นั้นได้มีบทบาทเป็นประธานชุมชน และนำพาชุมชนเข้าสู่การเรียนรู้การทำเกษตรด้วยการเริ่มต้นปลูกผักต่าง ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุน และได้ทดลองทำผักไฮโดรโปนิค ซึ่งทำให้ชุมชนมีชื่อเสียงในเรื่องของผักปลอดสารพิษ

6.ระบบสุขภาพชุมชน เป็นการศึกษาระบบการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ

ระบบสุขภาพของคนนั้นชุมชนจะถูกดูแลโดย อสม.ชุมชนหัวแหลมพัฒนา ซึ่งทาง อสม.นั้นก็ได้มีการลงตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ ในชุมชนเป็นประจำทุกเดือน มีการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพร่วมกับผู้สูงอายุในชุมชน  โดยวิธีการรักษาของคนในชุมชนนั้นส่วนใหญ่หากเจ็บป่วยเล็กน้อยจะอาศัยการซื้อยาจากร้านขายยาทั่วไป หรือถ้าหากเป็นหนักก็จะเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลของรัฐ  บางบ้านมีความรู้ในเรื่องของสมุนไพร ก็จะใช้วิธีการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร

7.โครงสร้างองค์กรชุมชน เป็นการศึกษาความสัีมพันธ์ของคน กลุ่มคนที่มีอยู่ในชุมชน จากการศึกษากลุ่มคนต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงในชุมชนในเรื่องของสุขภาพ เช่น กลุ่มเยาวชนเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่เข้ามาทำกิจกรรมส่งเสริมการลดการดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์  เพื่อสุขภาพของชาวบ้านในชุมชน กลุ่ม อสม.ชุมชนหัวแหลมพัฒนา ที่คอยให้ความช่วยเหลือ ผู้ป่วยและดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน

  • เยาวชนที่เข้าร่วมอบรมได้วาดผังเครือญาติของตนเอง การเขียนผังเครือญาติ ทำให้เกิดการนับเครือญาติ และได้พูดคุยกับผู้ใหญ่และคนในครอบครัว ค้นพบญาติที่ห่างไกล ทราบความเป็นมาต่างๆ ของครอบครัวได้อย่างละเอียด  โดยมีการผังเครือญาติบ้านยายสำอางค์ บ้านลุงอ๊อด บ้านย่ามาลัย บ้านป้านา
  • เยาวชนในชุมชนการช่วยกันวาดแผนที่ชุมชน และพูดคุยเก็บข้อมูลบ้านแต่ละหลัง ว่าอยู่ทิศทางไหน ในชุมชน จนได้แผนที่ชุมชนที่มีความสวยงาม เป็นปัจจุบัน และเกิดจากฝีมือคนในชุมชนเอง
  • การลงพื้นที่ไปสอบถาม พูดคุย สำรวจข้อมูลเพื่อทำแผนที่ชุมชน ทำประวัติศาสตร์ชุมชน จากคนเฒ่าคนแก่ ผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งจากการบอกเล่าแลกเปลี่ยนประวัติชุมชนที่มีมาเดิม จากการเก็บข้อมูลชุมชน บุคคลสำคัญที่เด็กและเยาวชนแต่ละคนไปค้นหามา ทำให้ค้นพบศักยภาพชุมชน ทุน ภูมิปัญญา เพื่อที่จะนำมาในการสืบสานอาชีพเพื่อต่อยอดในการทำรายได้สู่ชุมชน เช่น การทำพวงมะหวด การทำอุปกรณ์ทางการประมง ความสามารถด้านงานฝีมือ การทำขนมไทย  ซึ่งต้นทุนของชุมชนนั้นจะมีย่ามาลัย  เป็นผู้ถ่ายทอดการทำขนมไทย สูตรเมืองเพชร โดยไข่เป็ดที่ใช้ทำนั้นก็เป็นของป้าแต๋ว ประธาน อสม.ของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา  11 คน
  • สภาเด็กและเยาวชนชุมชนหัวแหลมพัฒนา 3 คน
  • ทีมวิทยากรและพี่เลี้ยงโครงการ 3 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เรื่องราวชุมชนจะมีอายุหลายปี ทำให้ต้องมีการค้นหาข้อมูลกันอย่างละเอียดและสอบถามจากผู้สูงอายุ หรือปู่ ย่า ตา ยาย ในชุมชนเพื่อนำมาคิด วิเคราะห์ ให้เกิดข้อมูลประวัติที่แท้จริง  แนวทางการแก้ไข มีการแบ่งงานการเก็บข้อมูล สอบถาม สัมภาษณ์ และพูดคุยบอกเล่าเรื่องราว แล้วนำมาเสนอ ให้กับกลุ่มเพื่อนได้ฟัง คิด วิเคราะห์
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-