พื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมชนหัวแหลมพัฒนา

อบรม อสม.น้อย เพื่อผู้สูงวัย14 มีนาคม 2558
14
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อต้องการให้เยาวชนสามารถดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนได้
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแนะนำตัว และชี้แจงวัตถุประสงค์ในการอบรม
  • ทำความเข้าใจเรื่องสุขภาพในผู้สูงอายุ
  • ทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และทดลองใช้เครื่องมือ
  • หลักการแนะนำเรื่องสุขภาพให้ผู้สูงอายุ
  • การดูแลสุขภาพในครอบครัว
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้เข้าร่วมประชุมแนะนำตัว

  • ในการอบรม อสม. น้อยครั้งนี้เพื่อสอนให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การดูแลสุขภาพผผู้สูงอายุในเบื้องต้น การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุรวมถึงเรียนรู้เรื่องสุขภาพเบื้องต้นที่พบในวัยต่าง ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดูแลเรื่องสุขภาพภายในครอบครัว โดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

2.ทำความเข้าใจเรืองสุขภาพในผู้สูงอายุ โรคต่างๆ ที่พบในผู้สูงอายุ

  • โรคข้อเข่าเสื่อม

    • ลักษณะอาการของโรค โดยพบในเพศหญิงบ่อยกว่าชาย ผู้ป่วยมักมีอาการปวดในเข่า บริเวณรอบๆ ลูกสะบ้า หรือในข้อพับเข่า มีเสียงดังเวลาขยับเคลื่อนไหวข้อ มีอาการฝืดหรือคล้ายข้อยึด หรือมีอาการบวมอักเสบในเข่า เป็นต้น

สาเหตุของโรค

  1. การใช้ข้อเข้าที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งพับเข้านาน ๆ เป็นประจำ การแบกรับน้ำหนักมากเป็นเวลานาน
  2. น้ำหนักตัวมากเกินไป เนื่องจากแรงที่กระทำผ่านเข่าจะมีค่าประมาณ 2-3 เท่าของน้ำหนักตัวเวลาเดิน
  3. เคยได้รับอุบัติเหตุจนเกิดการบาดเจ็บในข้อเข่ามาก่อน เช่น เอ็นยึดข้อเท้าฉีกขาดหลังจากเล่นกีฬา หรือกระดูกข้อเข่าแตกเคลื่อน
  4. เคยมีการอักเสบอย่างรุนแรงในข้อเข่ามาก่อน เช่น เอ็นยึดข้อเข่าอื่นๆ เช่น เก๊าท์ หรือ รูมาตอยด์ เรื้อรัง
  5. มีความพิการผิดรูปของข้อเข่าหรือ แนวขา ตั้งแต่กำเนิดหรือหลังอุบัติเหตุ กระดูกหักข้อเคลื่อน

การดูแลเบื้องต้น

  1. การให้ผู้สูงได้นั่งบนเก้าอี้ที่มีระดับสูงพอดีกับขา เท้าสามารถวางได้บนพื้น โดยที่ขาตั้งฉากกับเข่า มีพนักพิงหลัง มีที่เท้าแขนเพื่อความสะดวกของผู้สูงอายุในการลุกนั่ง
  2. หากผู้สูงอายุมีอาการปวดเข่าให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณที่ปวดครั้งละประมาณ 10 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
  3. หลีกเลี่ยงการนั่งขอเข่าเป็นเวลานาน ๆ
  4. การลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • โรคกรดไหลย้อย

    • ลักษณะอาการของโรค  ผู้ป่วยจะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ การไหลย้อนของกรดถ้ามีมากอาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อลำคอ กล่องเสียง และปอดได้ ผู้ป่วยจะมี อาการไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง หรือรู้สึกสำลักในเวลากลางคืน เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไป เวลานอน กรดจะไหลย้อนขึ้นมาได้มาก ปวดแสบ ปวดร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ ทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง ถ้าเป็นมาก จะเจ็บคอมาก จนอาจจะกลืนอาหารไม่ได้ คลื่นไส้ มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในปากหรือลำคอ มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา  คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร จึงไปซื้อยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารมารับประทานเอง เกิดการรักษาไม่ตรงจุด ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานลดลง หากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นโรคปอดอักเสบและมะเร็งหลอดอาหารได้
    • สาเหตุของโรค  เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ หลอดอาหารส่วนปลายมีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วน  ปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารบีบตัวอย่างผิดปกติ รวมถึงพันธุกรรมด้วย ในคนบางคน หูรูดหลอดอาหารทำงานได้น้อย  พฤติกรรมบางอย่างก็เป็นปัจจัยเสริม เช่น รับประทานอาหารเสร็จอิ่ม ๆ หรือรับประทานอาหารเสร็จ ยังไม่ถึง 4 ชั่วโมงแล้วนอน สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม รับประทานอาหารประเภทของทอด ของมัน หรืออาหารที่มีรส เปรี้ยวจัดเผ็ดจัด
    • การดูแลเบื้องต้น  งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ลดอาหารมัน ของทอด ของหวาน รับประทานอาหารให้เป็นเวลา  หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี
    • การรักษาโรคกรดไหลย้อน  สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวัน จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการอีก และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เป็นการลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจส่วนบน การรักษาด้วยวิธีนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้จะมีอาการดีขึ้นหรือหายดีแล้ว
  • โรคอัลไซเมอร์

    • ลักษณะของอาการ เป็นกลุ่มอาการผิดปกติซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมองหลายส่วนที่พบได้ในผู้สูงอายุโดยมีลักษณะเด่นได้แก่ ความจำที่แย่ลง นอกจากนี้ ยังอาจมีภาวะเสื่อมถอยของของทักษะต่าง ๆ อันเกิดจากการทำงานของสมองจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต หรือประกอบกิจวัตรประจำวัน เช่น การใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา เป็นต้น ในระยะแรกผู้ป่วยจะอาการซึมเศร้า เครียด หงุดหงิดง่าย เมื่อผ่านไปสักระยะจะเริ่มมีความจำถดถอย จำได้บ้างไม่ไดบ้าง บางครั้งจำไม่ได้ว่าของสิ่งนั้นหยิบมาเพื่ออะไร จำไม่ได้ว่าหยิบมาแล้วไปตั้งที่ไหน จำไม่ได้กว่ากินข้าวหรือยัง ทั้ง ๆ ที่เพิ่งกินข้าวเสร็จ  และระยะท้ายผู้ป่วยอาการแย่ลง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย
    • สาเหตุของโรค
    1. ภาวะสมองเสื่อมที่อาจหายได้ ได้แก่ ภาวะเลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมองบางชนิด การขาดวิตามิน บี12 โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น ไทรอยด์ และผลข้างเคียงจากการใช้ยา
    2. ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ที่พบได้บ่อย และโรคอื่น ๆ ที่ทำให้สมองเสื่อมคล้ายอัลไซเมอร์อีก 5-6 โรค
    • การดูแลรักษา
    1. ควบคุมน้ำหนัก เพราะความอ้วนสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม
    2. เลือกรับประทานอาหารเพื่อบำรุงสมอง อาทิ กรดโอเมก้า 3 ในรูปดีเอชเอที่ช่วยปกป้องกรดไขมันที่หุ้มเซลล์ประสาท
    3. นอนหลับให้มากพอในแต่ละวัน
    4. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เสมอ
    5. ลองฝึกเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำอะไรที่ขัดกับชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหารด้วยมือซ้าย
    6. ออกกำลังกายแบบแอโรบิควันละประมาณ 30 นาที อย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์

3.ทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และทดลองใช้เครื่องมือ

  • เครื่องวัดความดัน ใช้ในการวัดความดันของผู้สูงอายุเนื่องจาก ผู้สูงอายุจะมีค่าความดันที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพร่างกาย ดังนั้นลูกหลานจึงจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังภาวะความดันในผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอในผู้สูงอายุที่มีภาาวะเสี่ยง การวัดความดันนั้น

    • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความดัน
      ค่าความดันโลหิต (Blood Pressure) คือค่าที่แสดงความดันของโลหิตในร่างกายมี 2 ค่า คือค่าบน (Systolic Pressure) และค่าล่าง (Diastolic Pressure) มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท ค่าบน คือค่าความดันที่อยู่ในหลอดเลือดแดง ขณะที่หัวใจสูบฉีดเลือดอย่างเต็มที่  หลังจากนั้น กล้ามเนื้อหัวใจจะผ่อนคลายชั่วครู่ ให้ค่าแรงดันมีกำลังอ่อนลงที่สุด ซึ่งค่าที่ได้ก็คือ ค่าล่าง

    • ข้อแนะนำทั่วไปในการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต

  1. ให้ผู้สูงอายุเตรียมร่างกายให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ผ่อนคลาย ก่อนทำการวัด หากผู้สูงอายุเพิ่งเดิน หรือเพิ่งมากจากการออกกำลังกายคสรให้ผู้สูงอายุนั่งพักก่อนทำการวัด
  2. วัดความดันโลหิตที่แขนซ้าย ซึ่งอยู่ใกล้หัวใจ โดยให้จุดที่รับสัญญาณ อยู่ในระดับหัวใจ
  3. สวมปลอกแขนที่บริเวณต้นแขน ให้จุดรับสัญญาณอยู่ตรงกลางท้องแขนด้านใน เหนือข้อพับประมาณ 2 - 3 ซม.
  4. ติดเทปที่ปลอกแขนให้พอดีกับขนาดแขน ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป
  5. หงายต้นแขนขึ้น แล้ววางแขนบนโต๊ะให้รู้สึกสบาย โดยปลอกแขนจะอยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
  6. การวัดความดันโลหิต อาจจะวัดวันละหลายครั้ง จะได้ผลดีกว่าการวัดครั้งเดียว และควรพักประมาณ 5 นาที ก่อนจะวัดครั้งที่ 2
    • ค่าความดันโลหิต
    1. ความดันโลหิตต่ำ                ค่าบน  (Systolic) ต่ำกว่า 100   ค่าล่าง (Diastolic) ต่ำกว่า 60    ควร ปรึกษาแพทย์
    2. ความดันโลหิตปกติ              ค่าบน  (Systolic) ต่ำกว่า130   ค่าล่าง (Diastolic) ต่ำกว่า85       ควรมีการเช็คด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ
    3. ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย       ค่าบน  (Systolic) 130 - 139 ค่าล่าง (Diastolic) 85 - 89        ควร ปรึกษาแพทย์
    4. ความดันโลหิตสูง                 ค่าบน  (Systolic)140 - 159     ค่าล่าง (Diastolic) 90 - 99         ควรรีบพบแพทย์
    5. ความดันโลหิตสูงมาก             ค่าบน  (Systolic) 160 - 179  ค่าล่าง (Diastolic) 100 - 109    ควร รีบพบแพทย์
    6. ความดันโลหิตสูงมากอันตราย ค่าบน  (Systolic) สูงกว่า 180   ค่าล่าง (Diastolic) สูงกว่า 110   ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
  • ปรอทวัดไข้ วิธีวัดปรอทหรือวิธีวัดไข้ที่บ้าน โดยทั่วไปในบ้านเรายังใช้ปรอทวัดไข้อยู่ (Mercury glass thermometer) เพราะมีราคาถูก เข้าถึงได้ทุกครัวเรือน วัดไข้ได้แม่นยำ ใช้ได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ ไม่ต้องดูแลมากและเก็บรักษาง่าย

    • วิธีการใช้ปรอท
    1. นำปรอทวัดไข้ออกจากที่เก็บ เช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาแอลกอฮอล์ ในส่วนกระเปาะที่มีปรอทอยู่ และในส่วนที่จะอมในปาก
    2. สะบัดให้ปรอทลงไปอยู่ในกระเปาะให้หมดหรือลงต่ำอย่างน้อยถึงระดับ 35 องศาเซลเซียส
    3. ควรบ้วนล้างปากให้สะอาดด้วยน้ำ เปล่าสะอาด เพื่อไม่ให้เศษอาหารติดค้าง ก่อนการวัดปรอททุกครั้ง
    4. หากต้องการวัดที่รักแร้ กระเปาะปรอทวัดไข้ต้องอยู่ในรักแร้ หนีบปรอทให้แน่น และทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที
    5. ภายหลังการวัดปรอททุกครั้ง ต้องทำความสะอาดหลอดแก้วหรือปรอทวัดไข้ด้วยน้ำสบู่ โดยล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง เก็บในหลอดที่เก็บปรอทเสมอ เก็บปรอทวัดไข้ในที่ๆไม่โดนแสงแดด อุณหภูมิปกติ และที่สำคัญเก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
    • วิธีอ่านปรอท

    เมื่อวัดปรอทเสร็จแล้ว ใช้สำลีหรือกระดาษชำระแห้งเช็ดคราบน้ำลายหรืออุจจาระที่อาจติดอยู่ออก แล้วอ่านปรอทว่ามีไข้หรือไม่ โดยถือปรอทในระดับตา สังเกตระดับสารปรอทที่เห็นเป็นแถบสีเงิน  เริ่มจากกระเปาะว่าไปสิ้นสุดทีเลขจำนวนใด ตรงนั้นจะเป็นค่าอุณหภูมิ อ่านค่าเป็นองศา ซึ่งมีอยู่ 2 มาตรา คือ องศาเซลเซียส (C ํ) กับองศาฟาเรนไฮด์  (F ํ)

    • อุณหภูมิเท่าไรจึงเรียกว่า “มีไข้”
    1. ถ้าปกติ อุณหภูมิของร่างกายเฉลี่ยประมาณ 37 C ํ หรือ 98.6 F ํ
    2. มีไข้ต่ำ ๆ คืออุณหภูมิระหว่าง 37.5-37.9 C ํ
    3. มีไข้สูง คืออุณหภูมิตั้งแต่ 38.5 C ํ ขึ้นไป
      ค่าของอุณหภูมิที่วัดแต่ละทางจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือถ้าวัดทางรักแร้จะต่ำกว่าวัดทางปากประมาณ 1 ฟาเรนไฮต์ และถ้าวัดทางทวารหนักจะสูงกว่าวัดทางปากประมาณ 0.6 ฟาเนไฮต์
        เมื่อวิทยากรได้ให้ความรู้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  เด็ก ๆ และผู้สูงอายุก็ได้มีการหัดทดลองการใช้เครื่องวัดความดัน ตามที่วิทยาได้สอนมีเพื่อการปฏิบัติการจริงที่ถูกต้องและเหมาะสม

4.หลักการแนะนำเรื่องสุขภาพในผู้สูงอายุ

  • โภชนาการในผู้สูงอายุ

    ผู้สูงอายุนั้นมีโอกาสเป็นได้ทั้งโรคขาดอาหาร และเกินอาหาร โดยเฉพาะโรคเกินอาหารในบุคคลที่มีอาหารสมบูรณ์ อยู่ดีกินดี จะทำให้มีโอกาสอ้วน และลงพุงได้มาก แต่ขาดการออกกำลังกาย หรือใช้แรงงานน้อย ยิ่งผู้ที่ทำงานในร่ม หรือนั่งโต๊ะจะเกิดโรคนี้ได้ง่าย จึงระวังเรื่องอาหารการกิน เพราะอาหารที่กินเข้าไปส่วนมากเพื่อบำรุงและซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหวก็เป็นไปด้วยความเชื่องช้า ทำให้เกิดการสะสมของไขมันเมื่อกินอาหารมากจนเกินไป

    สำหรับโรคขาดอาหาร เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยเสื่อมโทรม โรคภัยไข้เจ็บ และการขาดอาหารจึงเกิดได้ง่าย และการขาดอาหารทำให้ร่างกายทรุดโทรม จึงจำเป็นต้องกินอาหารดีมีคุณค่าครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง วัยนี้มักขาดโปรตีน เหล็ก แคลเซียม และวิตะมีนบี1 เป็นช่องทางให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายและอวัยวะบางส่วนเสื่อมสมรรถภาพ ความต้องการอาหารและพลังงานของผู้สูงอายุ

    • สารอาหารที่ผู้สูงอายุต้องการ
  1. แคลอรี  ควรลดอาหารที่ให้แคลอรี่ เพราะจะเป็นโรคอ้วน ซึ่งง่ายแก่การเกิดโรคอื่นตามมาอีกมาก จึงควรลดปริมาณแคลอรี่ลง 7.5 % ทุก 10 ปี ที่มีอายุเพิ่มจาก 50-70 ปี และลดอีก 10% เมื่ออายุ 60-80 ปี
  2. คาร์โบไฮเดรท ควรลดให้น้อยลง โดยเฉพาะข้าว น้ำตาล และขนมหวาน
  3. ไขมัน ให้แคลอรี่สูง และย่อยยาก จึงควรกินให้น้อยลง วันหนึ่งไม่ควรกินเกิน 80 กรัม และเพื่อป้องกันโรคหัวใจ เส้นโลหิตอุดตัน ควรกินไขมันจากพืชให้มาก
  4. โปรตีน ควรกินที่มีคุณภาพดี ย่อยง่ายให้มาก เพราะคนสูงอายุไม่มีฟันหรือฟันไม่ดี จึงไม่สะดวกในการเคี้ยว และอวัยวะย่อยอาหารทำงานมีประสิทธิภาพน้อยลง ซึ่งโปรตีนนอกจากใช้ซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อที่สึกหรอแล้ว ยังจะใช้เผาผลาญเป็นพลังงานด้วย เนื่องจากต้องลดคาร์โบไฮเดรทและไขมันลง การกินโปรตีนทำให้ได้เหล็ก ไขมัน วิตะมิน และแคลเซียม  ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนหรือเป็นโพรง
  5. แคลเซียมและเหล็ก ผู้สูงอายุควรได้แคลเซียมอย่างน้อยวันละ 800 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ช่วยการแข็งตัวของเลือด การยืดหดของกล้ามเนื้อและประสาทสมบูรณ์ด้วย ส่วนเหล็กนั้นช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
  6. วิตะมิน โดยเฉพาะวิตะมิน บี1 บี2 และ ซี ควรกินให้มาก ด้วยวิตะมิน บี1 ช่วยการทำงานของหัวใจและระบบประสาท ทำให้อยากอาหารมากขึ้น อวัยวะย่อยอาหารทำงานดีขึ้นและป้องกันท้องผูก ส่วน บี2 ก็ควรกินเพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับวิตะมิน ซี นั้น ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และสุขภาพแข็งแรง
  7. น้ำ คนวัยนี้มักมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยและการขับถ่าย จึงควรดื่มน้ำวันละประมาณ 5-8 แก้ว

5.การดูแลสุขภาพในครอบครัว

  • การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว ทั้งวัยเด็ก วัยกลางคน และผู้สูงอายุ
  • การดูแลรักษาสุขภาพเมื่อเกิดอาการผิดปกติในร่างกาย
  • การเลือกวิธีการปรุงอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการต้ม ตุ๋น ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการปรุงอาหาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนในชุมชน
  • ผู้สูงอายุ
  • เจ้าหน้าที่ อสม.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่