พื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมชนหัวแหลมพัฒนา

ชวนลูกหลานสืบสานภูมิปัญญาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ครั้งที่ 2 (ทำน้ำหมัก EM)19 เมษายน 2558
19
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Chayaporn sabumong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อการต่อยอดภูมิปัญญาสู่การสร้างอาชีพและรายได้ 
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เยาวชนร่วมเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพจากผู้ใหญ่ในชุมชมที่เป็นแกนนำกลุ่มผู้สูงอายุ ได้เป็นผู้ฝึกสอนวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้
    กระบวนการขั้นตอนมีดังนี้
      1.  วางแผนการแบ่งหน้าที่ในการเตรียมวัสดุทำปุ๋ยหมัก
      2.  น้ำผลไม้ ผัก ที่มีอยู่ตามบ้านมารวมกัน แล้วคัดแยกเอาเศษที่ไม่ใช้ออก
      3.  น้ำผลไม้และผัก หั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อทำให้ย่อยสลายง่ายมากขึ้น
      4.  นำปุ๋ย EM 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำเปล่า 5 ลิตร มาผสมรวมกัน
      5.  ใช้ไม้พาย กวนให้เข้ากัน จากนั้นปิดฝาถัง แล้วรอ ประมาณ 2 สัปดาห์
      6.  เมื่อได้ปุ๋ยน้ำหมักครบ 2 สัปดาห์ ให้นำแบ่งมาโดยน้ำหมัก 1 ลิตร ผสมกับ น้ำยา เอ็ม 70
    และจะได้ปุ๋ยน้ำหมักที่ใช้เป็นน้ำยาล้างเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น จาน ช้อน ห้องน้ำ หรือ สามารถเช็ดสิ่งสกปรกให้หมดไป โดยวิธีธรรมชาติและไม่มีสารเคมี
      7. สรุปผลที่ทำกิจกรรมที่เกิดขึ้นในกลุ่ม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

น้ำจุลินทรีย์

  น้ำจุลินทรีย์  มีลักษณะเป็นของเหลว  สีน้ำตาลดำ  มีกลิ่นอมเปรี้ยวอมหวาน ค่า พีเอช อยู่ที่ประมาณ 3.5  ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจำนวนมากกว่า 80 ชนิด จึงไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี หรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้      อีเอ็ม ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต  เช่น  คน  สัตว์  พืช  และแมลงที่เป็นประโยชน์    แต่ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  ถ้านำไปใช้ในการล้างตลาด จะช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น  ลดจำนวนสัตว์และแมลงพาหะนำโรค  ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก  อีเอ็ม จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้น การล้างตลาด ควรกระทำในช่วงเวลาเย็น เพื่อให้การกำจัดสิ่งสกปรกทั้งหลายเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ

  ลักษณะเฉพาะของ อีเอ็ม คือ  เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ ดังนั้น เวลาจะใช้ อีเอ็ม ต้องคิดอยู่เสมอว่า อีเอ็ม เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องการที่อยู่ที่เหมาะสมในอุณหภูมิปกติ  ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต  เราจึงสามารถขยายหรือผลิต อีเอ็ม  ได้เองจากพืชผักผลไม้และผลผลิตจากธรรมชาติ โดยนำไปหมักตามกรรมวิธีที่ถูกต้อง
การผลิต อีเอ็ม เพื่อใช้ในกิจกรรมตลาดสด หรือกิจกรรมอื่นใดก็ตาม ก่อนอื่นต้องผลิต  หัวเชื้อจุลินทรีย ในปริมาณตามที่ต้องการ  แล้วจึงนำหัวเชื้อที่ได้ไปขยายเป็น  อีเอ็ม อีกทีหนึ่ง

  • วัสดุและอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพในถังขนาด 60 ลิตร
  1. ผลไม้สุก 12  กิโลกรัม เช่น ฟักทอง(เอาทั้งเมล็ด), กล้วยน้ำว้า, มะละกอ, สับปะรด(เอาทั้งเปลือก) ให้ทำการสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามภาพ
  2. น้ำตาลธรรมชาติ เช่น น้ำตาลอ้อย, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลโตนดที่ไม่ผ่านการฟอกสีหรือเจือปนด้วยน้ำยากันเสีย หรือใช้กากน้ำตาล  จำนวน 4 กิโลกรัม
  3. น้ำสะอาด 40 ลิตร ควรเป็นน้ำฝน หากจำเป็นต้องใช้น้ำประปาก็ควรใส่ตุ่มตากแดดเพื่อไล่คลอรีนให้หมดก่อน
  4. ภาชนะหมัก ควรเป็นภาชนะชนิดทึบแสงและมีฝาปิดสนิท ก่อนใช้ควรล้างให้สะอาดและถ้าตากแดดก่อนใช้ก็ยิ่งดี ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะเนื่องจากเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะถูกกัดจนทะลุได้
  5. ไม้พาย ควรเตรียมไว้ โดยล้างให้สะอาดพร้อมตากแดดก่อนใช้
  • วิธีทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ
  1. ใส่น้ำสะอาด 40 ลิตร ลงในถังหมักขนาด 60 ลิตร
  2. ใส่กากน้ำตาล  จำนวน 4 กิโลกรัม ลงในถังหมัก แล้วใช้ไม้พายกวนให้เข้ากัน
  3. ใส่ผลไม้สุก 12  กิโลกรัม ลงในถังหมัก กวนให้พอเข้ากัน (หลักการผสมคือ ผลไม้สุก 3 กิโลกรัม : กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม : น้ำ 10 ลิตร)
  4. หลังจากใส่ส่วนผสมทั้งหมดแล้วควรมีพื้นที่ว่างเพื่อให้มีอากาศอยู่ประมาณ หนึ่งในห้า ของภาชนะ ทำการปิดฝาให้สนิท เขียนป้ายบอกวันที่ผลิต และถังหมักควรอยู่ในที่ร่ม
  5. เมื่อครบ 7 วันให้เปิดฝาถังหมักดู ถ้ามีราขาวเกิดขึ้น พร้อม ๆ กับมีกลิ่นส้มฉุน แสดงว่าการหมักของเราได้ผลดี  แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นบูด และน้ำเป็นสีดำ ให้ทำการเพิ่มน้ำตาลหรือกากน้ำตาลลงไปอีก แล้วปิดฝา (ถ้ามีหนอนเกิดขึ้น ก็ไม่เป็นไร เพราะอาจจะเกิดจากการปิดฝาไม่สนิท ต่อมาหนอนจะตายกลายเป็นอาหารพืชไปเอง)
  6. เมื่อครบกำหนด 3 เดือน ก็เป็นอันเสร็จ ให้กรองเอาเฉพาะน้ำใส ๆ ด้านบนหรือน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพไปใช้งาน โดยต้องผสมน้ำก่อน ตามอัตราส่วน ดังนี้
      - น้ำหมัก : น้ำ 1: 200 เมื่อนำไปใช้ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
      - น้ำหมัก : น้ำ 1: 200 เมื่อนำไปใช้ฉีดพ่นหน้ากรีดหรือหน้ายางเพื่อเพิ่มน้ำยาง(1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง)
      - น้ำหมัก : น้ำ 1: 500 เมื่อนำไปใช้กับจำพวกไม้ยืนต้น
      - น้ำหมัก : น้ำ 1:1000 เมื่อนำไปใช้กับจำพวกพืชผัก
      - น้ำหมัก : น้ำ 1:1 หรือใช้น้ำหมักอย่างเดียว(ให้ทดลองว่าแบบใดได้ผลดีกว่า) เพื่อฉีดพ่นกำจัดวัชพืช

  นอกจากนี้ เมื่อหมักครบ 3 เดือนแล้ว ก็สามารถนำไปขยายหัวเชื้อต่อ ได้อีก นำกากที่เหลือไปทำปุ๋ย โดยเทรอบ ๆ โคนต้นในรัศมีพุ่มใบต้นไม้ หรือปล่อยกากที่เหลือไว้ก้นถังหมักเพื่อขยายหัวเชื้อต่อ

มายเหตุ: ระหว่างการหมัก หรือก่อนครบ 3 เดือน ถ้าสังเกตุเห็นว่าถังบวม ให้รีบเปิดฝาเพื่อระบายอากาศออก แล้วรีบปิดฝาให้สนิททันทีเพื่อป้องกันเชื้ออื่นแทรกลงไป

  โดยกิจกรรมในครั้งนี้เด็ก ไ ดร่วมเรียนรู้การทำจากป้านา  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่อยู่ในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนในชุมชน 15 คน
  • ผู้สูงอายุ 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่