directions_run

ส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชน ตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไสยง

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสร้างการเรียนรู้แก่เยาวชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัด : 1. มีองค์กร/คณะกรรมการชุมชนดำเนินงานอย่างน้อย 1 ชุด 2. จำนวนเยาวชนที่เข้าร่วมการแลกเปลียนเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่า 75 % มีกิจกรรมฐานการเรียนรู้ในชุมชนด้านการทำบัญชีครัวเรือนข้อมูลสมุนไพรได้อย่างน้อย 50 % 3. มีข้อมูลในชุมชนในด้านการทำบัญชีครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพรในชุมชนอย่างน้อย 50 % 4. ร้อยละ 80 ของเยาวชนที่เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปลูกพืชสมุนไพรที่ใช้บ่อยในชุมชน การแปรรูปสมุนไพร และการจัดจำหน่ายสมุนไพร 5. ร้อยละ 70 ของเยาวชนที่เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปลูกพืชสมุนไพรที่ใช้บ่อยในชุมชน การแปรรูปสมุนไพร และการจัดจำหน่ายสมุนไพรครบวงจร 6. เยาวชนสามารถต่อยอดสุ่การจัดการและเพิ่มรายได้ด้วยต้นทุนชุมชนได้ 7. เกิดกลไกการดำเนินงานในชุมชน 8. เกิดกติกาสังคมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเสพสารเสพติด บุหรี่ เหล้า ในชุมชน

เชิงปริมาณ 1.มีการจัดตั้งคณะทำงานดำเนินงานโครงการจำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ครู และกลุ่มแม่บ้าน,มีเยาวชนและผู้สนใจเข้า่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีเยาวชนลงมือเก็บข้อมูลครัวเรือน และการทำบัญชีสมุนไพรที่ใช้บ่อยในชุมชน เกิดการดำเนินงานร่วมกันในหมู่บ้านและแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่ เชิงคุณภาพ 1.เกิดการพูดคุยและมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านต่างๆเช่น การมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมตามโครงการของชุมชนและมีการเชื่อมประสานกับภาคีเครือข่ายในชุมชน คือโรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์ เพื่อการเรียนรู้จากต้นทุนของบ้านไสยงเอง 2.มีการจัดประชุมทุก 2 เดือน และมีผู้เข้าร่วมเวทีการพูดึคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินงานขับเคลื่อนในชุมชนไม่ต่ำกว่า 50 คน มีการนำเสนอเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคนในชุมชน

2 2.เพื่อให้เด็กเยาวชนมีรายได้จากการเพิ่มมูลค่าสมุนไพรในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. มีข้อมูลในชุมชนในด้านการทำบัญชีครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพรในชุมชนอย่างน้อย 50 % 2. ร้อยละ 80 ของเยาวชนที่เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปลูกพืชสมุนไพรที่ใช้บ่อยในชุมชน การแปรรูปสมุนไพร และการจัดจำหน่ายสมุนไพร 3. ร้อยละ 70 ของเยาวชนที่เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปลูกพืชสมุนไพรที่ใช้บ่อยในชุมชน การแปรรูปสมุนไพร และการจัดจำหน่ายสมุนไพรครบวงจร 4. เกิดกติกาสังคมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเสพสารเสพติด บุหรี่ เหล้า ในชุมชน 5. เยาวชนสามารถต่อยอดสุ่การจัดการและเพิ่มรายได้ด้วยต้นทุนชุมชนได้

เชิงปริมาณ 1.มีเยาวชน จำนวน 47 คน ลงมือเก็บข้อมูลครัวเรือน และการทำบัญชีสมุนไพรที่ใช้บ่อยในชุมชน ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้คุณค่าการใช้จ่ายเงินในครัวเรือน เชิงคุณภาพ 1.เยาวชนร่วมกันสำรวจข้อมูลชุมชนทุกครัวเรือนในด้าน - ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน ประกอบด้วยสมาชิกกี่คน มีอาชีพ รายรับ/รายจ่ายจากแหล่งใดบ้าง รวมทั้งหน้ีสินที่เกิดขึ้น - การดูแลสุขภาพของคนในครัวเรือน - การใช้สมุนไพรในการรักษาโรคในครัวเรือน - การปลูกพืชสมุนไพรในครัวเรือน - การทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายของครัวเรือน ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลด้วยตนเอง เยาวชนได้พบว่ามีรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น การเล่นหวย, การดื่มสุรา /สูบบุหรี่ , การเล่นพนัน ,ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคเช่นค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เนต เป็นต้น เกิดการพูดคุยกันในกลุ่มสำรวจถึงความสูญเปล่าของรายได้ในครัวเรือนที่พบ 2.มีกติกาการจัดเขตปลอดบุหรี่ร่วมกันในชุมชน

3 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลโครงการ
ตัวชี้วัด : - จำนวนครั้งในการเข้ารวมพัฒนาโครงการร่วมกับ สสส. และ สจรส.มอ. และพี่เลี่ยงโครงการ - รายงานกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงานโครงการ รายงานการเงินเสร็จสมบูรณ์

1.มีการเข้าร่วมพัฒนาโครงการร่วมกับสสส.และพี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 4 ครั้ง 2.มีการจัดทำรายงานกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงานโครงการและรายงานการเงินเสร็จสมบูรณ์ ส่งเอกสารครบตามแผนงานและได้ตรวจสอบร่วมกับเจ้าหน้าที่สจรส.มอ.แล้ว

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างการเรียนรู้แก่เยาวชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (2) 2.เพื่อให้เด็กเยาวชนมีรายได้จากการเพิ่มมูลค่าสมุนไพรในชุมชน (3) เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh