สร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ

ประชุมเพื่อรวบรวมข้อมูลจากสมุดสำรวจข้อมูลชุมชน (กิจกรรมที่ 3)15 พฤศจิกายน 2557
15
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย บ้านบางวัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรวบรวมข้อมูลจากสมุดสำรวจครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มดำเนินกิจกรรมเวลา 09.00 น.

  1. ขั้นตอนอธิบายถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมเก็บข้อมูลหมู่บ้านให้เด็ก ๆ ได้รับทราบ
  2. อธิบายแนวทางในการจดข้อมูลต่าง ๆ ตามแบบฟอร์มที่กำหนดมา
  3. แบ่งกลุ่มเพื่อแยกออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 2 คน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลของการดำเนินกิจกรรม มีดังนี้

1.ได้ดำเนินการแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นกลุ่มละ 2 คน ดังนี้

  • กลุ่ม 1 ด.ญ.กนิษฐา จันทำ และด.ญ.ปทิตตา เนรมิตร
  • กลุ่ม 2 ด.ญ.จุดี และด.ญ.เบญญทิพย์ กลักดวงจิตร
  • กลุ่ม 3 ด.ญ.ปาริฉัตร เพ็ชรขาวและด.ญ.สุดารัตน์ บุญเสริม
  • กลุ่ม 4 ด.ช.มนัส จันทร์เนตร ,ด.ช.เชาว์เลิศ ขาวสุดและด.ช.ธนพล พบด้วง

2.นำสมุดสำรวจครัวเรือนแยกตามจำนวนที่ได้รับมา แล้วให้แต่ละกลุ่มทั้งหมด 4 กลุ่ม

3.แจกแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลแต่ละครัวเรือน

4.เด็กบันทึกข้อมูลตามที่อธิบายและสามารถสอบถามข้อสงสัยได้ตลอดเวลา

5.สามารถบันทึกข้อมูลได้เสร็จ


ผลการสำรวจข้อมูลชุมชน บ้านบางวัน หมู่ 1 มีดังนี้

ณ เดือนพฤศจิกายน 2557

  • จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 200ครอบครัว
  • ประชากรประจำพื้นที่ ทั้งสิ้น620คนแยกเป็นชาย305คนหญิง315คน
  • ข้อมูลด้านที่ดิน
  • ที่ดินมีแอกสารสิทธิ์ จำนวน1,417.8 ไร่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ จำนวน1,473.75ไร่
  • พื้นที่ปลูกยางพาราจำนวน 2,130.7 ไร่
  • พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 275.25ไร่
  • พื้นที่ปลูกสวนผลไม้จำนวน86ไร่
  • พื้นที่ที่อยู่อาศัยจำนวน94.7ไร่
  • ข้อมูลด้านการทำประมงคิดเป็นมูลค่า 6,818,400 บาท

ข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย

  • อยู่บ้านของตนเอง จำนวน173 ครอบครัว
  • อาศัยอยู่กับญาติ จำนวน 14 ครอบครัว
  • เช่าบ้านอยู่ จำนวน 13 ครอบครัว

ข้อมูลการศึกษา

  • ระดับการศึกษา ชั้นปริญาโท 4คน
  • ชั้นปริญญาตรี 21คน
  • ชั้นมัธยมศึกษา 86คน
  • ชั้นประกาศวิชาชีพ 22คน
  • ชั้นประถมศึกษา 231คน
  • ไม่ได้เรียนหนังสือ77คน

ข้อมูลการศึกษาเล่าเรียน

  • กำลังศึกษาอยู่ ระดับชั้นปริญญาโท2 คน
  • ระดับชั้นปริญญาตรี16 คน
  • ชั้นมัธยมศึกษา 41 คน
  • ชั้นประกาศวิชาชีพ2 คน
  • ชั้นประถมศึกษา 65 คน
  • ชั้นอนุบาล31 คน
  • ไม่ถึงเกณฑ์ศึกษา 14 คน

ข้อมูลการได้มาซึ่งรายได้ของครอบครัว ดังนี้

  • อันดับ 1 สวนยางพารา
  • อันดับ 2 สวนปาล์มน้ำมัน
  • อันดับ 3 ประมง
  • อันดับ 4 สวนผลไม้
  • อันดับ 5 งานบริการ
  • อันดับ 6 งานรับจ้าง
  • อันดับ 7 จากลูกหรือญาติส่งมาให้

ข้อมูลทรัพย์สินเกี่ยวพาหนะของชุมชน

  1. รถยนต์จำนวน 88 คัน
  2. รถมอเตอร์ไซต์ จำนวน 277 คัน
  3. เรือ จำนวน 68 ลำ
  4. จักรกลการเกษตร จำนวน 48 เครื่อง

ข้อมูลกิจกรรมในครัวเรือนที่ทุกคนมีโอกาสทำร่วมกัน มีดังนี้

  • อันดับ 1 การรับประทานอาหารร่วมกัน
  • อันดับ 2 การนั่งดูโทรทัศน์พร้อมกัน
  • อันดับ 3 การไปเที่ยวด้วยกัน
  • อันดับ 4 การทำสวนครัวร่วมกัน
    ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมชุมชนที่ครอบครัวมีส่วนร่วม มีดังนี้

  • อันดับ 1 การประชุมประจำเดือน

  • อันดับ 2 การไปวัดทำบุญตักบาตร
  • อันดับ 3 พัฒนาหมู่บ้าน

องค์กรที่สมาชิกในครัวเรือนสมัครเป็นสมาชิก

  • อันดับ 1 กองทุนหมู่บ้านบ้านบางวัน
  • อันดับ 2กองทุนบทบาทสตรี
  • อันดับ 3 อาสามัครสาธารณสุข (อสม.)

ข้อมูลผู้วางแผน รายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน

  • อันดับ 1 ภรรยา
  • อันดับ 2 สามี
  • อันดับ 3บุตร

ข้อมูลวิธีที่คนในชุมชนใช้ในการบริหารเงิน มีดังนี้

  • อันดับ 1 ใช้วิธีการจดจำ
  • อันดับ 2 ใช้ได้เท่าไรใช้ไปก่อน
  • อันดับ 3 ใช้การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายครัวเรือน

ข้อมูลการกู้ยืมค่าใช้ครัวเรือน กรณีจำเป็นเร่งด่วน

  • อันดับ 1 ยืมญาติพี่น้องหรือเพื่อน
  • อันดับ 2ถอนเงินฝากจากธนาคร
  • อันดับ 3 ยืมกองทุนหมู่บ้าน
  • อันดับ 4 กู้ธนาคาร
  • อันดับ 5หนี้นอกระบบ

ข้อมูลค่าใช้จ่ายรวมต่อเดือนในชุมชน

  • ค่าใช้จ่ายอาหารต่อเดือนต่อครอบครัว จำนวน1,227,520 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อเดือนต่อครอบครัว จำนวน481,800 บาท
  • ค่าใช้จ่ายเหล้า/บุหรี่ต่อเดือนต่อครอบครัว จำนวน 97,585 บาท

ข้อมูลการปลูกพืชผักสวนครัว

  • กระเพา
  • ตะไคร้
  • มะกรูด
  • ข่า
  • ขิง
  • มะนาว
  • ใบรา
  • ใบเตย
  • อัญชัน
  • เสาวรส
  • พริก
  • มะเขือพวง
  • กล้วย
  • ชะอม
  • แค
  • ฟัก
  • แฟง
  • บวบ
  • ฟักทอง

ข้อมูลเกี่ยวกับนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ

  1. ปลูกผักกินเอง
  2. ประหยัด อดออม
  3. การทำความดี

ข้อมูลการนำหลักคำสอนมาใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว

  1. สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
  2. ศิล 5
  3. การให้อภัย
  4. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
  5. ทำดี ได้ดี
  6. เดินสายกลาง
  7. ไม่อิจฉาตาร้อน
  • ข้อมูลดังที่เก็บรวบรวมมานั้น นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งของชุมชน ที่เกิดจากชุมชนเอง ซึ่งสามารถวิเคราะห์มาใช้ในการวางแผนชุมชน หรือวางแผนพัฒนาต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 11 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

เด็กและเยาวชน จำนวน 8 คน และทีมงาน 3 คน มีดังนี้

  1. ด.ญ.กนิษฐา จันทำ
  2. ด.ญ.ปทิตตา เนรมิตร
  3. ด.ญ.จุฑามาศ โดยดี
  4. ด.ญ.เบญญทิพย์ กลักดวงจิตร
  5. ด.ญ.ปาริฉัตร เพ็ชรขาว
  6. ด.ญ.สุดารัตน์ บุญเสริม
  7. ด.ช.มนัส จันทร์เนตร
  8. ด.ช.เชาว์เลิศ ขาวสุด
  9. ด.ช.ธนพล พบด้วง
  10. นายนิคม ลำจวน
  11. นายสมใจ บุญเสริม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  1. ปัญหาในการแยกแยะข้อมูลของเด็ก เนื่องจากเป็นเรื่องขอข้อมูลทำให้เด็กยังทำได้ช้า เพราะไม่เคยทำ  แต่เมื่อปฏิบัติไปสักพักก็สามารถที่จะเข้าใจและทำเองได้
  2. ผู้บันทึกข้อมูลลายมือบางส่วนอ่านไม่ออก เด็กไม่เข้าใจ  แก้ไขโดยให้ผู้ดูแลได้ช่วยอ่านให้ฟัง
  3. ข้อมูลบางเล่มยังไม่สมบูรณ์ แก้ไขดดยให้แยกไว้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายศักดิ์ชาย เรืองศรีและนางสาวอุไรวรรณ ตัณฑอริยะ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-