สร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (กิจกรรมที่ 6)13 มิถุนายน 2558
13
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย บ้านบางวัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้บุคคลต้นแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นใน 7 ด้าน 3 กลุ่ม คือ ได้รับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน 2558

  • ช่วงเช้า อบรมหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง
  • ช่วงบ่าย อบรมหลักสูตรชุมชนพึ่งตนเอง

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2558

  • ช่วงเช้า อบรมศึกษาดูงานการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสำเร็จ
  • ช่วงเย็น อบรมดูงานการทำเกษตรแบบผสมผสาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลสรุปกิจกรรม มีดังนี้

  • ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์บ้านโงกน้ำ หมู่ 8  ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

จุดแข็งบ้านโงกน้ำ

  • ทำนา ทำสวน ปลูกผักกินเอง
  • ทำนากินเอง
  • มีงานทำอย่างน้อย 4 อาชีพ ทุกครัวเรือน
  • มีเงินฝากทุกคนทุกครัวเรือน

ชุมชนบ้านโงกน้ำชาวบ้านสวนใหญ่จะเน้นทำเกษตรและการเลี้ยงปลาดุกซึ่งเลี้ยงในบ่อดิน สามารถจับขายได้หลายตันและมีการแปลรูปของปลาดุก โดยการสาธิตการทำปลาดุกร้าเพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้

ส่วนผสม

  1. ปลาดุก 5 ก.ก. การเลือกซื้อปลาดุกที่มีขนาดใหญ่เกินไปไม่ได้ เพราะจะทำให้เนื้อแข็ง ควรเลือกขนาด 6-8 ตัวต่อกิโลอายุปลาไม่เกิน  4  เดือน และต้องเป็นปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน
  2. เกลือ 2 ขีด
  3. เกลือ 2 ขีด
  4. น้ำตาลทายแดง 5 ขีด

วิธีทำ

  1. ทำให้ปลาตายเสียก่อน โดยนำปลาใส่ในกระสอบและเกลือ 1 ถุง ปิดปากถุงไว้รอจนปลาตาย
  2. ตัดหัวปลาให้คางติดอยู่กับตัวปลา ส่วนหัวปลาสามารถนำไปทำปุ๋ยได้
  3. ล้างปลาจนเมือกจากตัวปลาหมด
  4. นำปลาใส่ภาชนะพักไว้ 12 ชั่วโมง
  5. นำเกลือและน้ำทรายแดงผสมกันแล้วใส่ในท้องปลา เรียงปลาให้เรียบร้อยในภาชนะที่มีฝาปิด น้ำตาลที่เหลือโรยให้ทั่วตัวปลา ปิดปาทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง
  6. แล้วนำปลาไปตากแดด 6 วัน กลับปลาทุกครึ่งวัน พอแห้งใช้ลูกกลิ้ง  ๆ สลับไปมาให้แบน
  7. แพคใส่ถุงสุญญากาศ เก็บไว้ได้ 3 เดือน  รสชาติไม่เปลี่ยนแปลง

เทคนิคการทอดปลาดุกร้า

  1. เน้นไฟอ่อนๆ
  2. น้ำมันท่วมตัวปลา
  3. เวลาทอดให้พลิกตัวปลากลับไปกลับมา 30 วินาทีต่อครั้ง จนปลาสุก

วิธีทอดไม่ให้ปลาติดกระทะ      คลุกปลากับไข่ (ตีไข่ให้เข้ากัน)

การทำปุ๋ยหมัก

ส่วนผสม

  1. สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 1 ซอง ทำน้ำหมักได้ 20 ลิตร
  2. ผัก หรือผลไม้ 40 กก.  หรือหัวหลา 30 ก.ก.+ผัก ผลไม้ 10 กก.
  3. กากน้ำตาล 10 ก.ก. และน้ำ  10  ลิตร

วิธีทำ

  1. นำน้ำและการน้ำตาลผสมกัน
  2. ใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.21  คนให้เข้ากัน แล้วใส่ผักผลไม้ลงไป
  3. ปิดฝาทิ้งไว้ 3 สัปดาห์

การใช้ปุ๋ยหมัก (ปุ๋ยน้ำ)

  • เอากากออกก่อน แล้วผสมน้ำใช้ได้เลย โดยมีอัตราการใช้คือ  สำหรับรดผัก ผสมน้ำปุ๋ยหมัก  4 ช้อนโต๊ะ / น้ำ 20 ลิตร และสำหรับไม้ผล ใช้ 1:500 3 -5 วันฉีดเรื่อย ๆ เพื่อบำรุง
  • ถ้าน้ำในบ่อมีกลิ่น สามารถใช้ พด. 6  ในการบำบัดน้ำได้
  • คติการใช้ปุ๋ย “ ขี้หมูกินหัว  ขี้วัวกินใบ  ขี้ไก่กินลูก”

การทำไข่เค็ม

  • ไข่ 100 ฟอง / น้ำ  6 กก. / เกลือ  6 ถุง (ไอโอดีนปรุงทิพย์)
  • ต้มน้ำให้เกลือละลาย ทิ้งไว้ให้เย็น
  • ใส่ไข่ หาอุปกรณ์ทับไว้ไม่ให่ไข่ลอยืปิดฝาแช่ทิ้งไว้  10 วัน

หลักการเกษตรทฤษฎีสมัยใหม่  ไว้บริโภค        แบ่งปัน        ส่วนที่เหลือซื้อวัตถุดิบ

หลักการทำงานที่ประสบความสำเร็จ

  1. ต้องประชุมก่อนทำงาน ถ้าไม่ประชุม ไม่ทำ/จบงาน ทุกครั้งต้องประชุม
  2. ไม่ถือเงิน ถ้าเงินเหลือนำฝาก
  3. การทำงานทุกอย่างโปร่งใส บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง  2 เงื่อนไข

3 ห่วงคือ

  1. ความมีเหตุผล
  2. รู้จักพอประมาณ การใช้จ่ายสมฐานะ
  3. มีภูมิคุ้มกันที่ดี การรักษาสุขภาพ ออกกำลังกาย

2 เงื่อนไข

  1. การศึกษาตลอดเวลา นำความรู้มาพัฒนางาน
  2. การมีคุณธรรมกำกับการดำเนินชีวิต

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  • ขี้นพื้นฐาน  4 ขั้น
  1. ขั้นพอกิน
  2. ขั้นพอใช้ สร้างสิ่งที่ต้องใช้ให้พอ
  3. ขั้นพออยู่ อยู่ให้สมฐานะ
  4. พอร่มเย็น  ไม่มีหนี้สิน
  • ขั้นก้าวหน้า  5  ขั้น
  1. ขั้นทำบุญ คือการอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับ
  2. ขั้นทำทาน การให้ความรู้แก่ผู้อื่น , การให้อภัย
  3. ขั้นเก็บรักษาทรัพย์  ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติให้ยั่งยืน มี 5 อย่าง
  • การฝังดิน  คือปลูกให้มาก
  • ให้เขากู้  ส่งให้ลูกเรียนหนังสือ
  • ฝากธนาคาร การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ , ภาษีสังคม
  • ใช้หนี้เก่า  เลี้ยงดูตอบแทนพ่อแม่
  • ทิ้งลงเหว  การรู้จักบริโภค  การทำบัญชีครัวเรือน จ่ายอย่างประหยัด กินให้มีประโยชน์

4.ขั้นขายทรัพย์  ผลิตเพื่อกินแล้วก็ขาย เพื่อดำรงชีวิต การขายของให้พิจารณาที่ทุนเป็นสำคัญ อย่าเอากำไรให้มาก ให้ผู้ซื้อมีความสุข

5.ขั้นรวยทรัพย์  รวยการเงิน รวยน้ำใจ การมีเมตตา  ความเอื้ออาทร  การช่วยเหลือกัน

หลักการทรงงานของในหลวง

  1. หลักคิด เป็นนักประชาธิบไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น  รู้จักฟังคำคิดเห็น
  2. หลักวิชา
  3. หลักปฏิบัติ

หลักการทำงานของปราชญ์  เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช คือ ลดละการใช้สารเคมี

ความสุข 8 ประการ

  1. ความสุขทางร่างกาย (happy body) ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ หลีกเลี่ยงของแสลง ใช้หลักกินน้อย โรคน้อย ตายยาก กินมาก ตายง่าย
  2. หัวใจเป็นสุข (happy heart)    ใจเย็นไม่รุ่มร้อน
  3. สมองเป็นสุข (happy brain)
  4. สังคมหรือกลุ่มเป็นสุข (happy socialty)    ไม่อิจฉาริษยา  มองคนในแง่ดี
  5. ผ่อนคลายเป็นสุข (happy relaxtion)  ไม่เครียด
  6. วิญญาณเป็นสุข (happy soul)
  7. เงินเป็นสุข (happy money)  มีพอประมาณ สมฐานะ มีจ่ายได้
  8. ครอบครัวเป็นสุข (happy family) มีความเข้าใจ ให้เกียรติ

คติเตือนใจในการทำงานให้เป็นสุข

  • “ จงทำงานเสมือนว่าเราจะตายในวันพรุ่งนี้ แต่จงเรียนรู้หมั่นศึกษาเสมือนว่าเราไม่มีวันตาย”
  • “ การทำงานอย่าผัดวันประกันพรุ่ง”
  • “อย่าถามว่าประเทศชาติให้อะไรแก่เราบ้าง แต่จงถามว่าเราให้อะไรแก่ประเทศชาติบ้าง”

ผลผสรุปของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญา 7 ด้าน

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความกระตือรือร้นในการที่ไปได้ความรู้เพิ่มเติม
  2. สามารนำแบบอย่างที่ได้ไปศึกษาดูงานมาปรับในการปฏิบัติของครอบครัวในชุมชน
  3. ได้หลักแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของชุมชนให้มีความพอเพียง
  4. เกิดความรักความสามัคคีภายในกลุ่มคณะ
  5. บุคคลที่เดินทางไปสามารถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 268 คน
ประกอบด้วย

จากการประชุมของคณะกรรมการโครงการ ได้คัดเลือกเฉพาะบุคคลต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • สรุปให้จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับบุคคลต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกมาจากการสำรวจ ได้มีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มเติม

รายชื่อดังนี้

  1. นางอัมพร ศรีประเสริฐ
  2. นายมานพ ประพรม
  3. นางห้อง ไชยช่วย
  4. นางจันจิรา จันทร์เนตร
  5. นางสุมล กิจไพโรจน์
  6. น.ส.วิราภรณ์ โมจินดา
  7. นางอัมพร มากมูล
  8. นางยุพิน ศรีประเสริฐ
  9. นายสมใจ บุญเสริม
  10. นายชาตรี ตันติวิวัฒน์
  11. นายถาวร คงหมุน
  12. น.ส. ธิดารัตน์ ชุมทอง
  13. นายเลี่ยม อุปไชย
  14. นางจารุ รักบำรุง
  15. นางเบญจา สุขภิมนตรี
  16. ด.ช.สรวิชญ์ สุขภิมนตรี
  17. นายก้อง ศรีฟ้า
  18. นายสมพร คงหมุน
  19. นายอุดร บุญเสริม
  20. น.ส.ดามันญา ลักษณธวิลาส
  21. นางปรานี แก้วสะอาด
  22. นางอารี สวัสดี
  23. นางผิน สังข์ขาว
  24. นายวินัย รักแต่งาน
  25. น.ส.วราภรณ์ หอมหวล
  26. นางอาดีลา หอมหวล
  27. น.ส.ปนัดดา จงรักษ์
  28. นางลักษมี ภู่เจริญ
  29. นายรวย รอดประชุม
  30. นายยงยุทธ โดยดี
  31. นายสถิตย์ ศรีฟ้า
  32. นางปนิดา ศรีฟ้า
  33. นายสมทรง ไชยช่วย
  34. น.ส.นันทาทิพย์ เพชรสุวรรณ
  35. นางพเยาว์ ตันสกุล
  36. นายนิตย์ จันทำ
  37. นายประเทือง เพ็ชรขาว
  38. น.ส.เมทนี สุขศรีนวล
  39. นายบุญศิริ ชูพงศ์
  40. นายกฤษ ศรีฟ้า
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การศึกษาดูงานนอกสถานที่ที่มีการอบรมเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ไกล แต่ก็สามารถดำเนินการได้จนประสบความสำเร็จด้วยความร่วมมือของทุกคน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณอุไรวรรณ ตัณฑอริยะ, คุณศักดิ์ชาย เรืองศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี