สร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ

สรุปและประเมินผลโครงการ ชี้แจงผลการดำเนินโครงการให้คนในชุมชนรับทราบ (กิจกรรมที่ 9)24 มิถุนายน 2558
24
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย บ้านบางวัน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมชี้แจงให้ที่ประชุมรับทราบการปิดกิจกรรมของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุม เวลา 16.00 น.ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน
  • คณะกรรมการในแต่ละตำแหน่งสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาให้ทุกคนได้รับทราบ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลจากการประชุม โดยคุณกฤษ ศรีฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการได้สรุปการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา มีดังนี้

สรุปประเมินผลโครงการโดยคณะทำงาน โครงการสร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ ม.1 ต.บางวัน อ.คุระบุรี จ.พังงา

  • ชุมชนบ้านบางวันเป็นชุมชนเล็กๆมีประชากรอาศัยอยู่ในปัจจุบัน620 คน แยกเป็น ผู้หญิง 315 คน ผู้ชาย 305 คน มีพื้นที่ 2,890 ไร่ ด้านทิศตะวันออกจดอุทยานแห่งชาติศรีพังงา ทิศตะวันตกจดป่าชายเลนและคลองบางวันที่ไหลออกไปสู่ทะเลอันดามัน ทิศเหนือจดพื้นที่หมู่บ้านโค้งศรราม ทิศใต้จดกับอำเภอตะกั่วป่า มีถนนเพชรเกษมตามแนวเหนือใต้ ประชาชนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นเกษตกร โดยมีอาชีพปลูกยางพาราอย่างเดียวประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างเดียว 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีงานเกินสองอย่างคือ ปลูกยาง , ปลูกปาล์มน้ำมัน , ปลูกผัก , ทำเรือประมง หรืออาชีพอื่น ๆ ด้วยประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เมื่อผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำหรือราคาถูก ก็จะทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาทางเศรษฐกิจมาก ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต คุณภาพการศึกษาของเยาวชนในหมู่บ้าน รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ที่ทำให้บางครอบครัวอ้างภาวะเศรษฐกิจ ไม่สามารถมีเวลาที่จะทำเพื่อส่วนรวมได้รวมถึงข้ออ้างไม่มีเวลาให้กับบุตรหลานมาก เพราะต้องทำงานหาเงิน มีผลทำให้เด็กจำนวนหนึ่งขาดความอบอุ่น ขาดการเอาใจใส่จากครอบครัว หันไปหาเพื่อน ติดเพื่อน ติดเกมส์ จนบางกลุ่มนำไปสู่การติดยาเสพติด
  • สภาพเศรษฐกิจที่ไร้ความหวังนำไปสู่ความหวังลมๆ แล้งๆ กับการพนัน หรือหวยเบอร์ ทำให้บางครอบครัวยิ่งประสบปัญหาหนักขึ้นไปอีก จนบางครอบครัวถึงกับบ้านแตก ครอบครัวแตกแยก
  • แต่ขณะเดียวกันในหมู่บ้านชุมชน ยังมีศาสนา ภูมิปัญญาดั้งเดิม มีประเพณีวัฒนธรรมมีบุคคลอันเป็นต้นแบบด้านต่าง ๆ และผู้นำที่มีความเป็นธรรม เป็นเครื่องร้อยรัดให้ชุมชนได้อยู่กันอย่างผาสุขในระดับหนึ่ง
  • ทางคณะทำงานได้เรียนเชิญคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำในชุมชน ร่วมปรึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาในหมู่บ้าน ได้ข้อสรุปตรงกันว่า หากเราจะสร้างสังคมของเราให้มีความสุขอย่างยั่งยืนได้ต้องเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัว ลงไปถึงบุคลากรในครอบครัว ที่จะต้องมีการพัฒนา มีการปรับทัศนคติ ความเชื่อ ให้เป็นธรรมมาทิฐิโดยสถาบันครอบครัวจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกันประคับประคอง ปลูกฝัง พัฒนา บุคลกรในครัวเรือนเพื่อให้ง่ายต่อการทำงานและติดตามประเมินผล คณะทำงานได้ร่วมกับชุมชนแบ่งหมู่บ้านบางวันออกเป็น 4 โซน มีคณะกรรมการโซน บริหารจัดการภายในโซนของตนเอง โดยมีการระดมสมองกำหนดกิจกรรมต่างๆ เช่น กีฬาสานสัมพันธ์ หรือการรณรงค์ต่อต้านเหล้า บุหรี่ และเก็บข้อมูลเพื่อค้นหาปัญหาและศักยภาพของชุมชน จะค้นหาครอบครัวและบุคคลต้นแบบด้านต่างๆ ในโซน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้บุคคลต้นแบบด้านต่างๆ ได้เป็นครู ได้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน เมื่อได้บุคคลต้นแบบมาแล้ว ก็มีการพัฒนาต่อยอดบุคคลต้นแบบ โดยการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปศึกษาดูงาน รับฟังการบรรยายจากปราชญ์ชุมชน ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านชุมชนพึ่งตนเอง ด้านการปลูกพืชแบบผสมผสาน ที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดตรัง โดยระหว่างการเดินทางไปก็มีการระดมสมอง ถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา กำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ของการไปศึกษาดูงาน และเมื่อไปศึกษาดูงานทุกคนก็ตั้งใจกันมากที่จะหาความรู้และซักถามข้อสงสัย เมื่อวันเดินทางกลับจากการใช้เวทีบนรถประชุมระดับผู้นำ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน เคยไปศึกษาดูงานมาก่อน ถึงภาคอีสานถึงประเทศลาว ก็ยืนยันว่าครั้งนี้เป็นการดูงานที่คุ้มค่าได้ประโยชน์มากที่สุดเท่าที่เคยได้ไปมา เมื่อมีการวิเคราะห์ไว้ทำไมที่บ้านโงกน้ำที่ไปดูงานกัน จากเดิมเป็นชุมชนที่ชาวบ้านยากจน มีโจรขโมย การพนัน และอาชญากรรม กลายเป็นหมู่บ้านพึ่งตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง มีสวัสดิการชุนชน ทุกครัวเรือนมีอาชีพ ทุกคนมีเงินออม ครัวเรือนมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ ได้ข้อสรุปว่า
  1. ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและชุมชน
  2. มีผู้นำตามธรรมชาติ (ครูเกษียณ) ที่มีวิสัยทัศน์ มีอุดมการณ์ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ นำไปสู่การให้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
  3. ความโปร่งใสในการทำงาน การมีการเปิดเผยในทุกระดับ และผลประโยชน์ที่ได้รับ การจัดสรรอย่างเป็นธรรม
  4. ระบบประชาธิปไตยที่มีเริ่มต้นลงมือทำเองได้ในชุมชนจะต้องผ่านมติเสียงส่วนใหญ่ สร้างกติกาที่ทุกคนมีส่วนร่วม ทำความเข้าใจกับเสียงส่วนน้อย ประชุมชี้แจงการทำงานเป็นระยะจนถึงขั้นตอนสรุปประเมินผล
  5. ความใกล้ชิดสนิทสนมที่ชุมชนมีให้กัน โดยการไปดูงานด้วยกัน ไปเที่ยว ไปสังสรรค์ด้วยกัน
  • ในการประชุมสรุปโครงการในหมู่บ้าน ทุกภาคส่วนเห็นว่าแม้จะปิดโครงการไปแล้ว สิ่งที่ชุมชนจะต้องดำเนินการต่อเนื่อง คือ
  1. กิจกรรมสานสัมพันธ์พ่อแม่ลูกในครัวเรือน และ ครัวเรือนต่อครัวเรือนในโซนต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมกีฬาของหมู่บ้าน
  2. กิจกรรมศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละโซน
  3. กิจกรรมบุคคลต้นแบบที่จะต้องมีการพัฒนาต่อยอด ให้ชุมชนและนักเรียนเข้าไปศึกษาหาความรู้
  4. กิจกรรมบ่มเพาะต้นกล้ามนุษย์ สร้างคนดีที่มีความกตัญญูต่อผู้ที่มีพระคุณ 8 ด้าน โดยทำดีตอบแทนในแต่ละด้าน และการสอนธรรมะในโรงเรียน
  5. กองทุนเงินออมกลุ่มสัจจะของชุมชน
  6. จัดกิจกรรมวันแม่ วันพ่อ ในชุมชน รวมทั้งนิทรรศการของโซนต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
  7. การประชุมทุกเดือนเพื่อสรุปประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน คณะทำงานและชุมชนเห็นว่า งบประมาณของ สสส. มีประโยชน์ต่อชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ชุมชนได้สร้างโอกาส มีมุมมองและทัศคติใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความอยู่ดีมีสุขของชุมชน และอนาคตที่สดใสอย่างยั่งยืนของเยาวชน ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 226 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนครัวเรือน
  • ผู้นำชุมชน
  • คณะครู
  • คณะกรรมการ

จำนวน 60 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ตัวแทนครัวเรือนมาเข้าร่วมประชุมน้อย เนื่องจากไม่ใช่ประชุมใหญ่ประจำเดือนของหมู่บ้าน  ดังนั้น เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินกิจกรรมของโครงให้ทั่วถึง จึงจะนำไปเสนอในที่ประชุมหมู่บ้าน ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2558 อีกครั้งหนึ่ง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
คุณอุไรวรรณ ตัณฑอริยะ,คุณศักดิ์ชาย เรืองศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-