บ้านห้วยทรัพย์น่าอยู่ คู่พลับพลึงธาร ร่วมต้านโรคติดต่อ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อที่มากับปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม8 กุมภาพันธ์ 2558
8
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัญญา อ่าวน้ำ
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อลดโรคติดต่อที่มาจากขยะและสิ่งแวดล้อมเพื่อคนในชุมชนเกิดสุขภาวะที่ดี
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ร่วมลงทะเบียนในเวลา 08.30น.
  • นัดชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรม จัดอบรมโรคติดต่อที่มากับขยะ ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู๋บ้านห้วยทรัพย์ วิทยากรในการอบรมในครั้งนี้ คือนางกานดา เรืืองศรี และนางสุภานี พงศ์พิทักษ์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จาก รพ.สตเตรียม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วิทยากรในการอบรมในครั้งนี้ คือนางกานดา เรืองศรี และนางสุภานี พงศ์พิทักษ์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. เตรียม
  • นางกานดา เรืองศรี ผอ.รพ.สต.เตรียม ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรอบรมในหัวข้อโรคไข้เลือดออก ได้พูดถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในชุมชนตำบลคุระ จากสถิติในรอบปีที่ผ่านมามีสถานการณ์ผู้ป่วยจำนวน 8 ราย สาเหตุเกิดจากยุงลายที่มีแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมากและในบริบทชุมชนที่อยู่อาศัยส่วนมากจะขาดการกำจัดขยะอย่างถูกวธี และฤดูฝนในชุมชนมีมากและฝนตกชุก อาการของโรค ผู้ป่วยที่ติดเชื้ออาจไม่มีอาการหรืออาจมีบ้างเล็กน้อย หรืออาจจะเกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้เมื่อหายร่างกายจะมีภูมิต่อเชื้อนั้นตลอดชีวิต ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ อาการสำคัญให้สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกคือ  มีไข้สูง  มีจุดเลือดออกตามรูขุมขน การป้องกันไข้เลือดออก ที่ได้ผลดีคือการที่ชาวบ้านได้มีส่วนช่วยเหลือตนเองคือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การป้องกันส่วนบุคคลคือป้องกันตนเองในเรื่องการใส่เสื้อผ้า ทายากันยุง และควรนอนกลางมุ้ง
  • นางสุภานี พงษ์พิทักษ์ เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.เตรียม เป็นพยาบาลวิชาชีพ ได้ให้ความรู้ในหัวข้อโรค ฉี่หนู ซึ่งได้ยกตัวอย่างในกรณีของผู้ป่วยในชุมชนบ้านห้วยทรัพย์ที่มีภรรยาของผู้ป่วยได้เล่าเรื่องราวถ่ายทอดประสบการณ์ สาเหตุ อาการของโรค โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ให้เพื่อนคนอื่นๆได้รับฟัง โดยนางสุภานีได้อธิบายรายละเอียด สาเหตุ ปัจจัยในการติดเชื้อ เลปโตสไปร่า ซึ่งมีหนูเป็นพาหะ นำโรค  เกิดกับกลุ่มเกตรกร ชาวสวน ชาวไร่ และมักจะเกิดในสภาพพื้นที่ชื้นแฉะ ที่มีแหล่งน้ำท่วมขัง  เชื้อโรคอาจเข้าสู่ร่างกายได้จากการสัมผัสเช่น ดื่ม/บาดแผล/เยื่อบุต่างๆ ระยะฟักตัวของโรค ประมาณ10วัน อาการที่สำคัญ คือผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไป5-14วัน จะมีอาการ ปวดศรีษะ กล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะน่องและโนขา เยื่อบุตาแดง นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว แนวทางการรักษา  หากไม่ได้รักษาอย่างทันท่วงทีผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้เนื่องจากไตวาย วิธีป้องกันตนเอง คือ การสวมรองเท้าบูท เมื่อต้องเดินลุยน้ำหรือผ่านที่ชื้นแฉะ และควรปิดภาชนะอาหารให้มีความมิดชิดเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับเชื้อ
  • ผลที่เกิดขึ้นประชาชนชาวบ้านได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ มีความเข้าใจ และตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรค ด้วยตนเองได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  1. แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว
  2. แกนนำ อสม.
  3. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น.
  4. แกนนำนักเรียน

จำนวน 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายศักดิ์ชาย เรืองศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-