ทุ่งนางดำน่าอยู่ คู่ป่าชายเลน

จัดทำแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น28 มีนาคม 2015
28
มีนาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย สมใจ บุญมาเลิศ
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำป้ายแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 5 ป้าย เพื่อบอกให้รู้ถึงวิธีการ/ขั้นตอนในการเตรียมการ เช่น กระชัง-พันธุ์ปลา-ปู/วิธีการเลี้ยง/การดูแลจนถึงการเก็บเกี่ยว ทำให้ผู้ที่มาเยี่ยมชม หรือพบเห็นได้รู้ถึงวิธีการ ทำให้เกิดความเข้าใจและสามารถที่จะถ่ายทอดไปสู่ท้องถิ่นและชุมชนที่มีการทำประมงได้ต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดทำป้ายแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 5 ป้าย เพื่อบอกให้รู้ถึงวิธีการ/ขั้นตอนในการเตรียมการ ได้แก่
  1. การเตรียมพื้นที่/สถานที่ตั้งกระชัง
  2. ขนาดของกระชังแต่ละห้องและความลึก
  3. การเตรียมพันธ์ ปู ปลา ที่จะเอามาลงกระชัง
  4. การดูแลรักษาและให้อาหาร
  5. ระยะเวลาเก็บผลผลิต

วิธีเลี้ยง ปูนิ่ม

  1. ปล่อยปูขนาด 6.5 – 7.5 ซม. จำนวน 1 ตัว/1ตะกร้า
  2. นำตะกร้าปูไปวางเลี้ยงบนแพที่เตรียมไว้ โดยด้านบนของตะกร้า จะเจาะเป็นรูเพื่อให้อาหาร
  3. การให้อาหารให้ปลาเป็ดสับขนาด 1 -2 นิ้ว ให้ตัวละ 1- 2 ชิ้น วันละ 1 ครั้ง ระยะเวลาเลี้ยง ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงสามารถเก็บผลผลิตได้ทั้งหมด หลังเลี้ยงได้ 1 เดือน ปูจะลอกคราบเป็นจำนวนมาก การตรวจและเก็บปูนิ่มจะดูทุก 4 ชม. เพราะปูที่ลอกคราบแล้ว 6 ชม. กระดองจะเริ่มแข็ง ไม่สามารถจำหน่ายได้ การสังเกตปูลอกคราบ ในตะกร้าที่มีปู 2 ตัว แสดงว่าปูลอกคราบแล้ว นำปูไปแช่ในน้ำจืดที่สะอาดและใส่ภาชนะบรรจุเก็บที่อุณหภูมิไม่เกินกว่า- 18 องศาเซลเซียส
    การเลี้ยงปลากะรังในกระชัง

  4. การเตรียมพันธุ์ปลา พันธุ์ปลากะรังที่นำมาเลี้ยงเป็นพันธุ์ปลาที่ได้จากการรวบรวมจากธรรมชาติ ถ้าปลาที่รวบรวมได้เป็นปลาขนาด 1 นิ้ว จะต้องนำไปอนุบาลให้ได้ขนาด 4 นิ้วเสียก่อนแต่ปกติแล้วเกษตรกรมักจะรวบรวมลูกปลาโดยใช้ไซหรือลอบ จึงมักจะได้ปลาขนาด 5-7 นิ้วขึ้นไป จึงจะนำไปเลี้ยงในกระชังได้

  5. การจัดปลาลงเลี้ยงในกระชังและอัตราปล่อย การเลี้ยงปลากะรังในกระชังนั้น การจับปลาลงเลี้ยงก็ต้องดำเนินการเช่นเดียวกับการเลี้ยงปลากะพงขาว กล่าวคือ ต้องคัดปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันลงเลี้ยงในกระชังเดียวกัน สำหรับอัตราการปล่อยปลา กรมประมงได้แนะนำให้ปล่อยในอัตรา 15 ตัว/ตารางเมตร ทั้งนี้อัตราการปล่อยปลาได้ถึง 60 ตัว/ตารางเมตร จากการทดลองของกรมประมงได้ผลดีแล้วพบว่า สามารถปล่อยปลาขนาด 4-5 นิ้ว ลงเลี้ยงได้ในอัตรา 75 ตัว/ตารางเมตร
  6. อาหารและการให้อาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงปลากะรังเป็นอาหารจำพวกปลาเป็ดสด ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ปลาหลังเขียว การให้อาหารก็ต้องสับปลาสดให้เป็นชิ้นพอดีกับปากปลา และให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็นให้จนกระทั่งปลากินอิ่มเช่นเดียวกัน
  7. การเจริญเติบโต ปลากะรังขนาด 4-5 นิ้ว ที่ปล่อยเลี้ยงในกระชังในอัตรา 75 ตัว/ตารางเมตร จะโตได้ขนาดตลาด (400-800 กรัม) ในระยะเวลาเลี้ยง 5-6 เดือน ส่วนการเลี้ยงปลากะรังให้ได้โตขนาด 1.2-1.5 กิโลกรัมนั้น หลังจากเลี้ยงไปได้ 5 เดือนแล้วควรคัดแยกปลาลงเลี้ยงในกระชังที่ตาอวนใหญ่ขึ้น เช่น ขนาดตา 1.5-2 นิ้ว และลดอัตราปล่อยลงเหลือ 40 ตัว/ตารางเมตร ซึ่งจะใช้เวลาเลี้ยง 4-8 เดือน
  • นักท่องเที่ยวมาเพิ่มมากขึ้น
  • ชุมชนมีรายได้เพิ่มจากการรับนักท่องเที่ยว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • เด็ก เยาวชนและแกนนำ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นาย ศักดิ์ชาย เรืองศรี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-