แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)

อบรมเชิงปฎิบัติการ สวนผักสร้างสุข21 พฤศจิกายน 2557
21
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสภาพแวดล้อมของชุมชนสะอาด เรียบร้อย น่าอยู่ อาศัย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ึ7 พย  2557 เวลา 10.00 น ถึง 12.00 น  ประชุมทีมงาน เพื่อออกแบบกิจกรรม สวนผักสร้างสุข  และ ติดต่อวิทยากร

14 พย  2557  เวลา 10.00 น ถึง 12.30 น ออกเดินประชาสัมพันธ์ และสอบถามความต้องการเข้าอบรม และเข้าร่วม กิจกรรมสวนผักสร้างสุข

20 พย  2557  เวลา  14.00 น เดินทางไปรับก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ณ ดวงดาว ฟาร์มเห็ด  บ้านพรุ จังหวัดสงขลา
21 พย 2557  เวลา 10.00 น  ถึง 12.00 น  อบรม สวนผักสร้างสุข

นัดพบครั้งต่อไป  วันศุกร์ที่ 12 พย 2557    เรื่องติดตามผลการดำเนินงาน และ อบรมการทำน้ำยาอเนกประสงค์จากน้ำหมักสับปะรด และ การเก็บน้ำมันพืชจากครัวเรือน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการเดินสำรวจในพื้นที่ชุมชน บริเวณ ณ ถัดอุทิศ ในวันที่ 14  พย 2557 พบว่า  ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บ้านช่วงเวลา 10.00 น ถึง  12.30 น ส่วนใหญ่คือ ผู้สูงอายุ  แม่บ้าน  ผู้ป่วย  ผู้ ประกอบกิจการในครัวเรือน  ทางทีมงาน และบัณฑิตอาสาจึงเข้าไปทำการประชาสัมพันธ์และสอบถามข้อมูลการปลูกพืชสวนครัวในครัวเรือน พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ ปลูกผักสวนครัวเล็กๆไว้บางส่วนของบ้าน เนื่องจาก สีเขียวทำให้รู้สึก สบายตา สบายใจ และ ได้เป็นอาหาร  หลายครัวเรือน ให้ข้อมูลว่า ชอบปลูกต้นไม้แต่ยังไม่กล้าปลูกผัก กินเองเพราะ ไม่ถนัด  เมื่อทางทีมงานสอบถามว่า สนใจเพาะต้นอ่อนทานตะวัน ถั่วงอก  เห็ดนางฟ้า และ ผักสวนครัวบ้างมั้ย โดยมีวิทยากรมาให้ความรู้ก่อน และ กลับไปปลูก หลังจากนั้นมานัด กันคุย และเล่าว่า ที่เราได้ปลูกนั้น มีผลอย่างไรบ้าง  เมื่อชาวบ้านได้ทราบว่ามีการสอนก่อนทำ และติดตามผล  ก็เริ่มสนใจ  และ ได้สั่งอุปกรณ์การปลูก
          หลังจากเก็บข้อมูลเรียบร้อย ทีมงานได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อหาความสนใจของแต่ละครัวเรือน เพื่อให้ครัวเรือนนั้นๆ เป็นต้นแบบ ครัวเรือนของการปลูกสวนครัว ชนิดต่างๆ  เมื่อวันอบรมมาถึง  เวลา 10.05 นาที  เห็นครัวเรือนตัวเองเดินทางเข้ามาใกล้กองทุนขยะสร้างสุข  ทีมงานก็รู้สึกใจชื้นขึ้นมาทันที

            วิทยากรเดินทางมาถึง พร้อมอุปกรณ์สาธิต  คุณ เปรมวดี  ผอมเอียด ได้กล่าวทักทายผู้เข้าอบรม และแจ้งถึงวัตถุประสงค์ให้ทราบ และแนะนำวิทยากรให้กับที่ประชุมรู้จัก หลังจากนั้นก็ได้เรียนรู้ด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเอง  เริ่มจาก  การเพาะถั่วงอกในขวด เรื่องง่ายๆ และเชื่อมโยงกับการจัดการขยะ  ในที่อบรม เต็มไปด้วยความอยากรู้ อยากเรียน และ เป็นคนต่างวัยก็ตาม บ้างก็เล่าประสบการณ์ที่สำเร็จ  บ้างก็ถามถึงสาเหตุของการความล้มเหลวที่ผ่านมา วิทยากรได้ขยายความและให้คำตอบจนหายข้องใจ  ต่อมาเรื่องการเพาะเห็ด  ซึ่ง อาจารย์ อุไรวรรณ โชติทอง ท่านเป็นข้าราชการเกษียรณ์ ครั้งนี้่ท่านได้สนใจ เข้าร่วมอบรมด้วยท่านสนใจเพาะเห็ดนางฟ้ามาก อยากทอลองเพาะเลี้ยง  ท่านมีบ้านไว้เป็นที่จอดรถ มีบริเวณ ครัว ที่ว่างมากพอที่จะจุเห็ด สอง สามร้อยก้อนแต่ท่าน อยากทำ 30 ก้อนนี้ให้เห็นผลก่อน เมื่อมีประสบการณ์ดีพอ ก็สามารถขยายเพิ่มได้ อีกท่านคือ ช่างพล  เป็นช่างซ่อมรถมอเตอร์ไซต์ อาศัยในซอยถัดอุทิศ  ไม่ค่อยว่างมาอบรม แต่ ก็นำล้อยางรถมอเตอร์ไซต์มากลับด้านแล้วใส่ดินปลูก ตะไคร้ไว้หน้าบ้าน  ก็ดูเขียวสดชื่นสบายตา  อีกแบบ  กลับมาที่การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน  ทีมงานได้แบ่งให้แต่ละท่านที่เข้าอบรมไปลองเพาะดู โดยวิทยากรให้ความรู้จนเห็นภาพ และจากแววตาของผู้เข้าอบรม น่าจะทำได้  สอบถาม แลกเปลี่ยนพูดคุยสักระยะ หนึ่งก็ ได้ทำการนัดวันดูผลงาน และ อบรมเรื่องการเก็บน้ำมันจากครัวเรือน การทำน้ำยาอเนกประสงค์ ในครั้งต่อไป วันศุกร์ ที่ 12 ธันวาคม 2557  สำหรับครั้งนี้ กลับบ้านไปอย่างมีไฟ  พร้อมที่จะเพาะ และ ปลูก ร่วมสร้างหน้าบ้านให้น่าอยู่ด้วยการเพิ่มสีเขียวที่กินได้ให้หน้าบ้านตัวเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย

คุณครูจิ๋ม ศิริภรณ์ เหมมณี    นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  อำเภอ หาดใหญ่

ครูซาร่า  นางสาว พารีซา ปาเซเลาะ  บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คุณ โสภา เพ็ชรรัตน์  ประธานกลุ่มสตรีชุมชนป้อมหก

คุณ สุภาพร ศุภารัตน์  อสม ชุมชนป้อมหก

คุณ ดี  กัมพูชา  จิตอาสาชาวต่างชาติในชุมชนป้อมหก

ทีมงานโครงการ  6 ท่าน

ผู้เข้าอบรม 18 ท่าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-