แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)

พลังงานทดแทนสู่ความพอเพียง8 ธันวาคม 2557
8
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน      2.เพื่อเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์  3.เพื่อเกิดการเรียนรู้เรื่องพลังงานจากเตาชีวมวล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พลังงานทดแทน สู่ความพอเพียง
1. ทีมงานเข้าหารือกับเจ้าหน้าที่พลังงานจังหวัดสงขลา  ร่วมกับ หน่วยงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครหาดใหญ่ในการจัดเก็บ น้ำมันพืชเหลือใช้ น้ำมันจากการเปิดกิจการซ่อมรถ และ การทำแก็สชีวภาพ และใช้อย่างปลอดภัย ในชุมชนแออัด
2. การสำรวจความต้องการและสถานที่ เพือออกแบบวางแผนการทำแก็สชีวภาพแก่ครัวเรือนต้นแบบ  พลังงานแสงอาทิตย์ และ เตาชีวมวล 3. อบรม ให้ความรู้ ติดตั้ง อุปกรณ์ แก็สชีวภาพแก่ครัวเรือนต้นแบบ  ติดตั้งแผงโซลาเซลล์และอุปกรณ์ ณ กองทุนขยะสร้างสุข และสาธิตการทำเตาชีวมวลแก่ครัวเรือนต้นแบบ 4.ใช้ขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร ) แยกจากครัวเรือน ใส่ลงถึงหมัก ทุกวันเพื่อ สร้างการเกิดแก๊ส เพื่อใช้ประกอบอาหารในครัวเรือน
4. ติดตามและประเมินผล โดยใช้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือ
5.จัดนิทรรศการพลังงานให้ความรู้ชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 8 ธันวาคม 2557  สำนักงานพลังงานจังหวัดสงขลา  พร้อมทีมงานอีก สองท่าน เดินทางมายังชุมชนป้อมหก วิทยากรชำนาญการในวันนี้ มาจากตำบล ปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา คือ คุณซาการียา หมัดเลียด พร้อมชุดอุปกรณ์ ทำก๊าซชีวภาพจำนวน หนึงชุด  ขณะที่ กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและ ชาวชุมชนป้อมหก ได้เดินทางมาเรียนรู้ร่วมกัน  ที่กองทุนขยะสร้างสุข ชุมชนป้อมหก  เริ่มจากการลงทะเบียน  และเปิดประเด็น จาก
คุณตั้ม เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพลังงานจังหวัดสงขลาได้กล่าวทักทาย ผู้เข้าอบรมคร้้งนี้ กล่าวชื่นชมชุมชนป้อมหกที่มีความเข้มแข็ง จนได้รับการคัดเลือกทางพลังงานจังหวัดในการทำโครงการร่วม และสนับสนุน เกิดการอบรมในครั้งนี้  เนื่องจากตอนที่มาสำรวจครั้งแรกพบว่า พื้นที่เป็นของการรถไฟ แต่ คนในชุมชน มีการคัดแยกขยะและแกนนำให้ความสนใจและตั้งใจจริงเรื่องการเรียนรู้เรื่องพลังงาน จึงได้มาทำการอบรมให้ในวันนี้
ต่อจากนั้นจึงเป็นการบรรยาย จาก คุณ ซาการียา หมัดเลียด ได้อธิบายโดยใช้วิธีการวาดภาพ และอธิบาย  ดังนี้

อุปกรณ์  ที่สำคัญของการทำก๊าซชีวภาพ
1.ถังขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร 1 ใบ ใส่ท่อพีวีซี ที่มีรอยบาก ใช้กาวสองตัน ยาแนวรอบรอยต่อระหว่างพีวีซีกับถังใส่หมัก
2.ท่อพีวีซี บรรจุนำ้ปูนขาวเพื่อลดการเกิดกลิ่น 1 ท่อ เชื่อมต่อกับสายยาง ส่งต่อ กับซึ่งต่อท่อที่พีวีซีอีกท่อซึ่งใส่ฝอยเหล็ก  เพื่อกรอง
3.ต่อสายยางมาสู่ ถังสองร้อยลิตร ใบใหญ่และ ถัง หนึ่งร้อยห้าสิบลิตรคว่ำ  บรรจุน้ำ สามส่วนสี่ของถัง ทำเช่นนี้ทั้งหมด สี่ ถัง
4.เชื่อมต่อด้วยสายยางลากเข้าสู่ครัว ต่อสายยางสู่หัวเตา

กระบวนการเกิดก๊าซชีวภาพ 1.ใช้มูลวัวสด 1 ส่วน
2.น้ำ 2 ส่วน
3.เหลือพื้นที่อีก 1 ส่วน
4.พักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน เติมเศษอาหาร อาทิ เศษผัก เศษผลไม้ หรือมูลสัตว์ทุกวัน วันละไม่เกิน สอง ลิตร เศษอาหารที่ยกเว้น คือ เปลือกมังคุด ทุเรียน เพราะ ย่อยสลายยาก และ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว  หรือ อาหารจำพวก กระดูกสัตว์

5.เมื่อเกิดแก๊สชีวภาพ ถังเก็บสองร้อยลิตร จะลอยขึ้นพ้นระดับน้ำ (หากจุดไฟไม่ติด ให้ปล่อยทิ้ง และรอแก๊สรอบใหม่) 6.เปิดวาล์ลแก๊สเมื่อต้องการใช้ก๊าซปรุงอาหาร 7. เมื่อเกิดกากตะกอนมากขึ้น จนไม่สามารถเติมของเสียได้อีก เปิดวาล์วระบายตะกอนและน้ำหมัก นำไปผสมดินเพื่อทำปุ๋ย

แก๊สสาธิตวันนี้ชุดนี้เมื่อเกิดก๊าซแล้วสามารถ ใช้งานได้ครั้งละ 1 ชั่วโมง  สามารถ ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ครัวเรือนได้

ประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ ข้อที่ 1 กำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ  ข้อที่ 2 ได้ก๊าซหุงต้ม  เพราะก๊าซชีวภาพ ประกอบด้วย  ก๊าซมีเทน และคาร์บอนไดออกไซต์ เป็นส่วนใหญ่ โดยมี แก๊ซอื่นๆ เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และ ไนโตรเจนอีกเล็กน้อย  ก๊าซมีเทน ในก๊าซชีวภาพ ที่จุดไฟได้ สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงปรุงอาหารได้
ประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ  ข้อที่ 3 เป็นปุ๋ยชีวภาพ  ทั้งผสมดิน และ น้ำหมักชีวภาพ

ข้อควรระวัง

1.  อย่าใจร้อน ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน และไม่เติมของเสียเข้าสู่ถังหมักเกินปริมาณที่กำหนด 2.  มูลสัตว์  ที่ใช้ในการเริ่มต้นระบบไม่ควรใช้มูลสัตว์ที่กินรำหยาบและใช้น้ำยาเคมีล้างคอก หรือผ่านการชะล้างน้ำแล้ว 3.  รักษาความเป็นกรด ด่าง ph ในถังให้อยู่ในช่วง 6.0 ถึง 7.5 สังเกตจากกลิ่นของน้ำล้นออกจากถังหากมีกลิ่นเปรี้ยวต้องหยุดเติมของเสียทันที รอจนกลิ่นเปรี้ยวหมดไป แล้วจึงเติมมูลสัตว์เหมือนตอนเริ่มต้นระบบ 4.  ป้องกันไม่ให้สารเคมีหรือสารยับยั้งจุลินทรีย์เข้าสู่ถังหมัก เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น


          หลังจาก วิทยากรอธิบายจบก็ได้ นำอุปกรณ์ไปติดตั้งและ สาธิตการใช้งาน  และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการติดตั้ง และได้ซักถามเรื่อง ประสบการณ์ต่างๆจากวิทยากร  เมื่อติดตั้งเสร็จสิ้นจึงเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ


รอการติดตั้งโซลาเซล์จาก อาจารย์ สมพร จัดนิทรรศการพลังงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ครัวเรือนนำร่อง100 คน
เยาวชน 20 - 30 คน ทีมงาน 12-15 คน
สำนักงานพลังงานจังหวัดสงขลา
กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่
บอ มอ สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ เครือข่ายชุมชนจัดการขยะ 5  ชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เตรียมมูลวัวไม่เพียงพอต่อการหมัก  ต้องเพิ่มอีก 5 กระสอบ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

--