แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)

ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ ชุมชน โชคสมาน11 กุมภาพันธ์ 2558
11
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย pramwade
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผล ข้อมูลจากการ เข้ามาเยี่ยมชมการจัดการขยะชุมชนป้อมหก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รวบรวมข้อมูล จำนวน 15 ชุด  จากการลงพื้นที่เยี่ยมเยาวชนชุมชน โชคสมาน
นำข้อมูลประมวลผลลงโปรแกรม Excell
อ่านค่า จากผลประเมิน
สรุปผลประเมิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากข้อมูลแบบประเมินการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะในครัวเรือน โดย สัมภาษณ์ ชาวชุมชน โชคสมาน  จำนวน 15 ชุดข้อมูล  ดังนี้

1 .กระป๋องอลูมิเนียม    มีผู้คัดแยก 12 ครัวเรือน  และไม่คัดแยก 3  ครัวเรือน  ครัวเรือนที่คัดแยก อย่างถูกต้องได้รวบรวมกระป๋องอลูมิเนียมเพื่อขาย
                              ส่วนอีก 3 ครอบครัวที่ไม่คัดแยก กล่าวว่า  บางครั้งมีปริมาณน้อย จึงทิ้งรวมกับขยะทั่วไป

2 หนังสือ                  มีผู้คัดแยก หนังสือ  12  ครัวเรือน  กล่าวว่า  แยก เพื่อจำหน่าย  และ บริจาค  บางท่านให้ข้อมูลว่า คัดแยกให้ได้ราคา
                                ผู้ที่ไม่คัดแยก  3 ครัวเรือน กล่าว่า เก็บไว้ ไม่ทิ้งเสียดาย เพราะชอบหนังสือ หนึ่งราย  อีกรายกล่าวว่า  ทิ้งรวมไปให้เทศบาลเก็บเอาไปขาย

3 กล่องกระดาษ        มีครัวเรือนที่คัดแยกกล่องกระดาษอย่างถูกต้อง จำนวน  8  ครัวเรือน  อีก 7 ครัวเรือนไม่มีการคัดแยกอย่างถูกต้อง

4 กล่องนม                มี 6 ครัวเรือน ที่คัดแยกกล่องนมออกจากขยะชนิดอื่น ซึ่งบางครั้งแยกเพื่อ นำกลับมาใช้ประโยชน์ ใหม่ อาทิร่วมบริจาคตามห้าง  บางครัวเรือนให้
                              ข้อมูลว่าคัดแยกเพราะ ให้บุตรหลานทำงานฝีมือ  ส่วนอีก8 ครัวเรือนไม่คัดแยก  กล่าวว่า โรงงาน หรือซาเล้งไม่รับซื้อ จึงทิ้งรวมกับขยะทั่วไป                              หากโรงงานรับก็จะคัดแยก

5 เสื้อผ้า                  มีครัวเรือนที่ คัดแยกขยะประเภทเสื้อผ้า จำนวน 9 ครัวเรือน ไม่คัดแยก จำนวน 6 ครัวเรือน ครัวเรือนที่คัดแยกและเข้าใจการจัดการมี 10 ครัว  เรือนซึ่งกล่าวว่า แยกเพื่อ บริจาค  ซ่อม  และ จำหน่าย ส่วน อีก 5 ครัวเรือน กล่าวว่า ทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ  หรือ เผารวมกับขยะอื่น

6 ขวดน้ำ                มีครัวเรือนที่คัดแยกขวดน้ำ จำนวน 13 ครัวเรือน เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่  และ นำไปขาย สร้างรายได้แก่ครัวเรือน

7 ขวดแก้ว เศษแก้ว    มีครัวเรือนที่คัดแยกขวดแก้ว เศษแก้ว จำนวน 10 ครัวเรือน เพื่อขาย แต่มี 5 ครัวเรือนทิ้งรวม  เนื่องจากมีปริมาณน้อย

8 กระป๋องสเปรย์        มีครัวเรือน ที่คัดแยก กระป๋องสเปรย์ ออกจากขยะทั่วไป 9 ครัวเรือน คัดแยกเพราะตระหนักถึงความอันตราย ของขยะ วิธีการจัดการโดยทิ้งในตู้ทิ้งขยะอันตราย หรือ ที่ทิ้งที่กำหนด อีก 5 ครัวเรือน  ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป

9 เศษอาหารเศษผัก มีครัวเรือนที่คัดแยกเศษอาหาร เศษผักออกจากขยะทั่วไป มีจำนวน  7 ครัวเรือน  เพื่อ เลี้ยงสัตว์โดยตรง 3 ครัวเรือน แยกเพื่อส่ง ส่งต่อให้เป็นอาหารสัตว์  อีก 4 ครัวเรือน อีก 8 ครัวเรือน เทปนไปกับขยะประเภทอื่น

10 เปลือกผลไม้  มี 8  ครัวเรือนคัดแยกเปลือกผลไม้ เพื่อ เป็นอาหาร สัตว์ แพะ วัว  ใส่ใต้ต้นไม้  อีก 7 ครัวเรือน ไม่คัดแยก ไม่ว่าง  ไม่มีพื้นที่  ไม่เข้าใจ จึงทิ้งรวมกับขยะทั่วไป

11  พลาสติก  ถุงพลาสติก มีครัวเรือนคัดแยก อย่างเข้าใจ จำนวน 11 ครัวเรือนคัดแยกเพื่อ จัดจำหน่ายกับซาแล้ง  หรือ โรงงาน เพื่อเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน                                     มี สี่ครัวเรือน ไม่คัดแยก

12 หลอดไฟ        มี 7 ครัวเรือนคัดแยกอย่างเข้าใจว่าขยะอันตรายให้โทษ  ทิ้งอย่างถูกต้องในที่จัดให้ หรือ รวมกันแล้วทิ้งเมื่อเจ้าหน้าที่มาเก็บ  อีก 8 ครัวเรือน ทิ้ง  รวมกับขยะประเภทอื่น

13 เศษไม้ ต่างๆ กะลา  มี 8 ครัวเรือน  ที่คัดแยกขยะประเภทเศษไม้ และ กะลาออกจาก ขยะอื่นๆ เพื่อเป็นเชื้อเพลิง และ นำมาประดิษฐ์ ก่อนทิ้ง ส่วนอีก 7 ครัวเรือน ไม่มีพื้นที่เก็บจึง ทิ้งรวม กับขยะอื่นๆ

14  เศษกระดาษ    มี 6 ครัวเรือน ที่ คัดแยก เพื่อ ขาย และใช้ใหม่  อีก 9 ครัวเรือนไม่คัดแยก  เผา  และทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ

15 แบตเตอร์รี่ ถ่านไฟฉาย มี 6 ครัวเรือนเข้าใจว่าขยะประเภทนี้เป็นขยะ อันตราย ทิ้ง รวมขยะอื่นๆไม่ได้ แต่อีก 9 ครัวเรือนไม่คิดเช่นนั้น อาทิ ไม่มีจุดทิ้งจุดรวม ไม่เข้าใจถึงอันตราย จึงทิ้งรวมกันกับขยะอื่นๆ

16  ขวดใส่น้ำยาสุขภัณฑ์  ยาฆ่าแมลง  มี 10 ครัวเรือนคัดแยกและทิ้งแยกจากขยะทั่วไป  อีก 5 ครัวเรือน รู้วาเป็นขยะอันตราย แต่ไม่รู้ว่าควรทิ้งที่ไหนจึงทิ้งรวมกับขยะอื่น  บางครัวเรือนใช้วิธี เผา รวมกับขยะอย่างอื่นเนื่องจากขาดความเข้าใจ

17 เครื่องใช้ไฟฟ้า ซากอิเลคทรอนิค มี 8 ครัวเรือน แยกเพื่อจำหน่าย  และ 7 ครัวเรือน ทิ้งรวมกันกับขยะประเภทอื่นๆ

18  เศษผ้า      มี 9 ครัวเรือน นำเศษผ้ามาใช้ประโยชน์ ต่อ อาทิ บริจาค ขาย หรือ ผ้าเช็ดมือ  6 ครัวเรือน ทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น และบางครัวเรือนใช้วิธีการเผา

19 ยางรถชนิดต่างๆ  มี 3 ครัวเรือนนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นเชื้อเพลิง  บางครัวเรือน นำมาเป็นกระถางปลูกพืช  แต่อีก 12 ครัวเรือน วางทิ้งไว้ในที่ว่างๆ หรือทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ


    ทั้งหมดคือ ข้อมูลที่ได้รับจากการสอบถามที่ประเมิน จากชุมชน โชคสมานผ่าน กิจกรรม นักสืบน้อยตามรอยขยะ 


สรุปอีกครั้งได้ว่า ครัวเรือนทั้งหมด 15 ครัวเรือน เข้าใจเรื่องการจัดการขยะ รีไซเคิล สามารถจัดการได้อย่างถูกต้อง แต่เรื่องขยะอันตราย นี้ ควรมีการรณรงค์ส่งเสริม ใช้คนในพื้นที่หาจุดรวม  เพื่อนำขยะอันตรายมาทิ้งรวมกันจะได้ไม่ทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ  จากการเข้าไปทำกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ ชาวชุมชนและเยาวชน ได้ รับการเรียนรู้และทบทวน อีกครั้งเพื่อปฎิบัติการด้านการจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

บัณฑิตอาสา 2 คน
ทีมงาน 5 คน
เด็กและเยาวชน  8  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-