บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

เด็ก เยาวชน ฝึกการแสดงกลองยาว ครั้งที่8-913 พฤศจิกายน 2557
13
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย saiyai
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา  ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กและเยาวชน  ปราชญ์ชุมชนมาพร้อมกันที่บ้านของนายวินัย  เคหันติโม  ในเวลา  13.00  น.  เด็กและเยาวชนฝึกตีกลอง  เป็นจังหวะโดยปราชญ์ชุมชนได้สอนจังหวะการตีดังนี้  จังหวะเพลงกลองยาว             จังหวะเพลงกลองยาว  หมายถึง  กระสวนจังหวะกลองยาวที่มีการตีวนซ้ำไปมา  โดยใช้เสียงพื้นฐานทั้ง 3 เสียง  ที่ฝึกมาแล้วในตอนต้น  คือ  เสียงป๊ะ  เสียงเพิ่ง  และเสียงบ่อม  มาผูกเป็นเพลง  ต่าง ๆ  และเขียนออกมาในรูปแบบของโน้ตเพลงไทยเดิม  กรมศิลปากรได้มีการกำหนดจังหวะเพลง  กลองยาวและท่ารำไว้อย่างเป็นระเบียบแบบแผนที่แน่นอน  วงกลองยาวโดยทั่วไปจะกำหนดจังหวะเพลงกลองยาวและท่ารำตามท้องถิ่นของตน  ได้ออกแบบท่ารำโดยเทียบเคียงจากกรมศิลปากร  นำมาประยุกต์ให้เข้ากับท้องถิ่นและภูมิปัญญาของวิทยากรท้องถิ่น คือ  คุณวินัย  เคหันติโม  ครูภูมิปัญญาไทย  (การแสดงพื้นบ้านกลองยาว)  ซึ่งกำหนดสำหรับการแสดง 1 ชุด มี 12 เพลงด้วยกัน  ดังนี้ 1.  จังหวะเพลงกลองยาวฟ้อนรำ  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 1 มีลีลาที่  อ่อนช้อยสวยงาม  สง่าผ่าเผย  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 1  (ท่าออก)  และท่าที่ 2 ของการรำกลองยาว  มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้ - - - บ่อม/ - เพิ่ง - -/ - เพิ่ง - -/ - เพิ่ง – บ่อม/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง - - ป๊ะ ป๊ะ/ - - - บ่อม/- - - บ่อม/ - - - บ่อม/
2.  จังหวะเพลงกลองยาวชาวทุ่ง  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 2  มีลีลาแบบสบายสบาย  เหมือนเดินชมความสดใสของท้องทุ่งนา  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 3  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้ /- - - บ่อม/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/- เพิ่ง – บ่อม/จะต้อง ตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ  8  จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง / - - ป๊ะ ป๊ะ/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/
3.  จังหวะเพลงกลองยาวปลุกใจ  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 3  มีลีลาเร่งเร้าปลุกใจให้สนุกสนานในการเล่นกลองยาว  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 4  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้ /- - - - / - เพิ่ง - บ่อม/ - - - เพิ่ง/ - เพิ่ง - บ่อม/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/
  4.  จังหวะเพลงกลองยาวระทึกใจ  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 4  มีลีลาที่คึกคัก    เร้าใจด้วยเสียงเพลงตีจังหวะกลองยาว  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 5  ของการรำกลองยาวชาวต้นมะขามเทศ  มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /- - - เพิ่ง/ - เพิ่ง - -/ - เพิ่ง – เพิ่ง/ - - - ป๊ะ/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/
5.  จังหวะเพลงกลองยาวเถิดเทิง  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 5  มีลีลาที่สนุกสนานตามแบบฉบับกลองยาว  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 6  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /- - - - / - เพิ่ง - ป๊ะ/ - - - เพิ่ง/ - เพิ่ง - ป๊ะ/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/  ดังแผนภูมิต่อไปนี 6.  จังหวะเพลงกลองยาวเร้าใจ  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 6  มีลีลาที่สนุกสนาน  เร้าใจ  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 7  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ  มีเสียงต่าง ๆ ใน 1 จังหวะ ดังนี้    /- - เพิ่ง บ่อม /- เพิ่ง – บ่อม/ เพิ่ง บ่อม เพิ่ง บ่อม/ - ป๊ะ ป๊ะ ป๊ะ/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/  ดังแผนภูมิต่อไปนี้ 7.  จังหวะเพลงกลองยาวไพรสวรรค์  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 7  มีลีลาที่รู้สึกสบายเหมือนได้อยู่ในดินแดนแห่งสวรรค์  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 8  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ  มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /- - - ป๊ะ / - เพิ่ง - ป๊ะ/ - เพิ่ง – ป๊ะ/ - เพิ่ง - เพิ่ง/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/  ดังแผนภูมิต่อไปนี้ 8.  จังหวะเพลงกลองยาวฉลองชัย  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 8  มีลีลาที่ทำให้รู้สึกเหมือนมีชัยชนะ  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 9  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /-  -  -  ป๊ะ/- เพิ่ง - ป๊ะ/- เพิ่ง -ป๊ะ/ - เพิ่ง – บ่อม/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  และลงจบจังหวะด้วยเสียง  /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/ 9.  จังหวะเพลงกลองยาวบ้านนา  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 9  มีลีลาที่ให้รู้สึกว่าบ้านนาเรานี้ช่างมีความสุข  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 10  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ  มีเสียง    ต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /- เพิ่ง – ป๊ะ/ - เพิ่ง – เพิ่ง/ - ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ/ - เพิ่ง เพิ่ง เพิ่ง/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะและลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/ - - - บ่อม/
10.  จังหวะเพลงกลองยาวกลองศึก  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 10  มีลีลาที่แสดงออกถึงความคึกคัก  ฮึกเหิม  และกล้าหาญชาญชัยยิ่งนัก  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 11  ของการรำกลองยาวชาว บ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้ /- - - ป๊ะ / -  เพิ่ง – ป๊ะ/ - - - ป๊ะ / -  เพิ่ง – ป๊ะ/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/  - - - บ่อม/
11.  จังหวะเพลงกลองยาวรื่นเริง  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 11  มีลีลาที่แสดงออกถึงความรื่นเริง  และมีความสุข  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 12 ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ  มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้ /- - - ป๊ะ/ - - - เพิ่ง/ - - - ป๊ะ/ - - - เพิ่ง/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/  - - - บ่อม/  ดังแผนภูมิต่อไปนี้ 12.  จังหวะเพลงกลองยาวชาวไทย  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 12  มีลีลาที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจในความเป็นไทย  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 13  ของการรำ กลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /- - - ป๊ะ/ - เพิ่ง – บ่อม/ - - - ป๊ะ/ - เพิ่ง- บ่อม/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/
 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เด็กและเยาวชนสามาถตีกลองยาวเป็นจัวหวะต่างๆได้

2.เด็กและเยาวชนมีความสนุกสนาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 32 คน
ประกอบด้วย

1.เด็กเยาวชน 30 คน 2.ปราญช์ชุมชน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เด็กและเยาวชนบางคนยังไม่เข้าใจจังหวะกลองยาง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-