แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้เกิดคณะปฏิรูปหัวลำภูเพื่อการจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. เกิดคณะสภาผู้นำชุมชนนำการปฏิรูปจำนวน 1 คณะ 2. มีเครือข่ายขยายผล 1 ต่อ 5 เป็นคณะปฏิรูปหัวลำภู 5 คณะ เชิงคุณภาพ 1. คณะสภาผู้นำ นำการปฏิรูปพัฒนากระบวนการจัดการตนเองของชุมชนได้อย่างเป็นระบบ 2. คณะปฏิรูปหัวลำภูมีกติกาในการจัดการตนเองร่วมกัน และกำหนดเป็นกติกาชุมชน

 

 

1.1 มีการประชุมทุกเดือนเกิดสภาผู้นำคณะปฏิรูป 1 คณะ ชื่อคณะปฏิรูปบ้านหัวลำภู เกิดเครือข่ายคณะปฏิรูป 5 คณะ ได้แก่ 1) ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน มีนายบุญธรรม สังผอม เป็นหัวหน้า สมาชิก 150 คน 2) ด้านวัฒนธรรมชุมชน มีนางสาววิชชุดา สุขช่วย เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 3) ด้านสวัสดิการชุมชน มีนางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 4) ด้านเศรษฐกิจชุมชน มีนางเตือนใจ คงกำไร เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 5) ด้านการศึกษา มีนายพิชชาบดี ดำจันทร์ เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน

1.2 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ โดยแผนชุมชนบ้านหัวลำภู เปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ว่า '' หลวงพ่อพวยคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำวิถีพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข สร้างเสริมเติมสุขทุกครัวเรือน " และใส่ไว้ในแผนชุมชนฉบับบูรณาการเรียบร้อยแล้ว

1.3 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ มีกติกาชุมชนจัดการตนเองร่วมกันกำหนดไว้เป็นแผนชุมชน เป็นหลักสูตรจัดการตนเองแบบฉบับคนหัวลำภู จำนวน 10 ข้อ ได้แก่ 1) ใช้วิถีพอเพียง 2) ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตอาหาร 3) ไม่บริโภคแกงถุง 4) ไม่ใช้เครืองปรุงรส 5) ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหาร 6) ทำบัญชีครัวเรือน 7) ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 8)การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9) ร่วมประชุม ตรวจสุขภาพ ทุกปี 10) ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล 5

2 เพื่อพัฒนาบ้านต้นแบบให้มีการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ใช้วิธีการเพื่อนช่วยเพื่อนและพี่สอนน้อง
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. มีมัคคุเทศน์น้อยเป็นวิทยากรชุมชนเมื่อมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 30 คน 2. มีโฮมสเตย์เพื่อให้ผู้มาเรียนรู้ได้อยู่อาศัยในขณะฝึกปฏิบัติกับบ้านต้นแบบ จำนวน 20 บ้าน 3. มีหลักสูตรชุมชนบ้านหัวลำภู แบบฉบับหลักสูตรการจัดการตนเอง 1 หลักสูตร เชิงคุณภาพ 1. มีมัคคุเทศน์น้อยเป็นวิทยากรชุมชนสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้มาเรียนพักอาศัยและฝึกปฏิบัติได้อย่างมีระบบและมีคุณภาพ 2. มีโฮมสเตย์ให้ผู้มาเรียนพักอาศัยในขณะฝึกปฏิบัติ อย่างมีระบบและมีคุณภาพ ผู้เรียนมีความพึงพอใจ 3. มีหลักสูตรชุมชนบ้านหัวลำภู ฉบับการจัดการตนเองและขยายผลสู่เครือข่ายได้

 

 

2.1มีมัคคุเทศก์น้อยคนรุ่นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน 35 คน เกิดภาคีการเป็นมัคคุเทศก์เพิ่มเติมจากนอกหมู่บ้าน 1 คน รวม 36 คน

2.2 มีโฮมสเตย์ จำนวน 15 บ้าน ผู้มาเยือนมาเรียนรู้ได้อยู่อาศัยในขณะฝึกปฏิบัติกับบ้านต้นแบบ "แหล่งเรียนรู้ คู่ธรรมชาติ บนวิถีชีวิตคนหัวลำภู" 1) บ้านนายบุญธรรม สังผอม รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน 2) บ้านนางส่อง คงเล่ห์รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน 3) บ้านนางจิดาภา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน15 คน 4) บ้านนางสาวติ้ม แซ่พั่ว รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน 5) บ้านนางเตือนใจ คงกำไร รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน 6) บ้านนางหวน จันบรรจง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน 7) บ้านนางฉิ้น สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน 8) บ้านนางสาววิชชุดา สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน 9) บ้านนางมนธิรา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน 10) บ้านนางภูษณิศาแก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 50 คน 11) บ้านนางชาลี นพรัตน์ รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน20 คน 12) บ้านนางบุญเรือน สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน10 คน 13) บ้านนางสาวสุมณฑา หนูสีคง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน10 คน 14) บ้านนายสุมาศ จันทร์ศรี รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน 15) บ้านนางหนูเล็ก คงขลิกรับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน

2.3 มีหลักสูตรชุมชนบ้านหัวลำภู แบบฉบับหลักสูตรการจัดการตนเอง 1 หลักสูตร

3 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส หรือ สจรส.มอ. 2. ส่งรายงานงวดได้ทันเวลาและถูกต้อง

 

 

  1. เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส สจรส.มอ. และพี่เลี้ยง ทุกครั้ง
  2. รายงานผลการดำเนินงานได้ทันเวลาตามงวดงาน เอกสารและรายงานการเงินถูกต้องครบถ้วน