แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)

ชุมชน บ้านหัวลำภู หมู่ที่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-01533 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0991

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2557 ถึง 10 กรกฎาคม 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2557 ถึงเดือน ตุลาคม 2557

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศน์

วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้ทำโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ คณะผู้ทำงานโครงการผู้รับทุนจากสสส.เข้าร่วมประชุม ได้รับฟังการชี้แจงจากสสส.เจ้าหน้าที่สจรส.มอ.และทีมงานพร้อมทั้งพี่เลี้ยง และซักถามรายละเอียดการดำเนินงาน การรายงานกิจกรรม ฝึกทำรายงาน การรายงานทางเวปไซด์ สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ฝึกปฏิบัติจริง ตลอดจนสามารถกำหนดปฏิทินการดำเนินโครงการได้เพื่อการดำเนินกิจกรรมได้อย่างเกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ต่อไป ขอบคุณพี่เลี้ยง คณะเจ้าหน้าที่สสส.และสจรส.มอ.ทุกท่าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปฐมนิเทศน์ผู้รับทุนจากสสส.

กิจกรรมที่ทำจริง

เจ้าหน้าที่ สจรส.อธิบายการจัดทำรายงานทางเวบไซค์ การกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน

 

2 2

2. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (1)

วันที่ 19 มิถุนายน 2557 เวลา 12:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ปฏิรูปวัฒนธรรมชุมชน โดยการขยายเครือข่ายด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ร่วมปฏิรูปศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยนางภูษณิศา แก้วเนิน และทีมวิทยากรวัฒนธรรมท้องถิ่น กับผู้ปกครองเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู จำนวน 35 คน ร่วมกับครู 2คน คณะวิทยากร 3คน ร่วมประชุมชีแจงรายละเอียดโครงการและการร่วมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมให้ทุกคนรับทราบอีกครั้งและร่วมกันเสนอแนะแนวทางการทำกิจกรรม ร่วมกำหนดกติกาเพื่อร่วมกันปฏิบัติที่ศูนย์ฯ โดยกำหนดกติกาดังนี้
1.ร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมทุกวันอังคารแรกของเดือนช่วงบ่าย
2.อาหารที่ให้เด็กรับประทานต้องไม่ปรุงด้วยเครื่องปรุงรส
3.เครื่องดื่มต้องไม่ใช้น้ำอัดลม
4.ร่วมกิจกรรมพัฒนาและปรับภูมิทัศน์ของศูนย์ฯทุกเดือน ซึ่งเป็นการเริ่มต้นแบบก่อนเพื่อการปฏิรูปสู่ข้อที่
5.ต่อไป หลังจากเสร็จประชุมในครั้งนี้ผู้ปกครองและเด็กๆช่วยกันกวาดทำความสะอาด ปรับภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบของศูนย์ฯด้วยกัน โดยไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้าว่าจะเกิดกิจกรรมนี้ทำร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น ร่วมกิจกรรมกลองยาว รำพรานโนราห์

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะวิทยากร ชี้แจงรายละเอียด ทำความเข้าใจ การทำกิจกรรมกลองยาว และรำพรานโนราห์ ให้ผู้ร่วมกิจกรรมทราบและร่วมกันกำหนดแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน มอบหมายหน้าที่ผู้ร่วมกิจกรรม 

 

30 30

3. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

วันที่ 23 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดคณะปฏิรูปหัวลำภู 5 คณะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมราษฏรของหมู่บ้าน ร่วมประชุมคณะทำงาน 6 คน ร่วมกับคณะกรรมการกลุ่มบ้านต้นแบบมหาวิทยาลัยหมู่บ้าน ร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานให้สำเร็จตามบริบทของชุมชน มอบหมายภารกิจในการดำเนินโครงการตามความสมัครใจ และความถนัด นางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ - นายบุญธรรม สังผอม ทำหน้าที่เหรัญญิก - นายวิรยุทธ หวังแก้ว ทำหน้าที่เลขานุการ - นายพิชชาบดี ดำจันทร์ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ -นางสาววิชชุดา สุขช่วย  ทำหน้าที่ฝ่ายทะเบียนและบัญชี -นายสุมาศ จันทร์ศรี ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สนับสนุนและร่วมดำเนินกิจกรรม โดยกำหนดให้บ้านสร้างสุข เป็นศูนย์ประสานงานชุมชน และร่วมประชุมคณะกรรมการ ร่วมกับประชุมราษฏร ทุกวันที่ 5 ของเดือน -นางภูษณิศา แก้วเนิน เสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาเรื่อง การจัดทำป้ายหมู่บ้าน เพื่อความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นด้วยให้จัดสร้าง และให้นางภูษณิศา แก้วเนิน ไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมคิดแผนการดำเนินงาน แล้วร่วมกันกำหนดกิจกรรม วางแผนงาน ปฏิทินงาน และมอบหมายการทำงาน จัดทำกำหนดการ เป็นประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดแผนการดำเนินงาน มอบหมายภารกิจ 

 

32 32

4. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (2)

วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดคณะปฏิรูปวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ร่วมประชุมและฝึกซ้อมการรำพราน และกลองยาว กับผู้ปกครองเด็กเล็ก- เด็กๆ -ครู และวิทยากรท้องถิ่น  สมาชิกต่างร่วมกันคิดกระบวนท่ารำ ตามความถนัดเพื่อเพิ่มเติมเป็นท่ารำใช้ในการฝึก พร้อมกับกำหนดให้มีกิจกรรมทำร่วมกัน กำหนดการทำกิจกรรมรำพรานโนราห์ และกลองยาวสลับกันเรียนรู้ทุกเดือน วิทยากรน้อยรำพรานโนราห์ ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย -ดญ.สุชาวดี คงแก้ว-ดช.ปิยะวัฒน์ แก้วเนิน -ดช.รฐนนท์ ณ กาศ  และนายไชยา นุ่นสังข์ เป็นคณะวิทยากร กลองยาว ได้แก่ นางสาวติ้ม แซ่พั่ว หัวหน้า และนางจิดาภา แก้วเนิน นางหนูเล็ก คงขลิก  สร้างสัมพันธภาพที่ดีของครู ผู้ปกครอง  เตรียมพร้อมในการร่วมกันทำกิจกรรมตลอดทั้งปี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีคณะปฏิรูปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยใช้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู เป็นเวทีปฏิรูปร่วมกับผู้ปกครองเด็ก ผู้ร่วมเวทีจำนวน 30 ครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมจัดเวทีที่ศูนย์ประสานงานชุมชน วิทยากรนางภูษณิศา แก้วเนิน นางสาววิชชุดา สุขช่วย นางสาวติ้ม แซ่พั่ว ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม สร้างความเข้าใจ เสนอแนะข้อคิดเห็นร่วมกัน และชวนทำกระบวนการและท่าทางการออกกำลังกายรำพราน ให้ผู้ปกครองได้มีความเข้าใจและให้ผู้ปกครองร่วมคิดกระบวนท่าการออกกำลังกายร่วมกันโดยใช้ดนตรีมโนราห์ประกอบท่าทาง และร่วมกันกำหนดกติการ่วมกัน

 

30 35

5. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

วันที่ 3 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเตรียมรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการโครงการทั้งหมดร่วมประชุมที่ศูนย์ประสานงานชุมชน และร่วมกันนำเสนอข้อตกลงร่วมกันในการทำงานดังนี้ ข้อ 1.แยกทีมงานรับผิดชอบร่วมกันแต่ละด้าน ดังนี้ 1.ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน นายบุญธรรม สังผอม เป็นหัวหน้าคณะ  ทีมงานประกอบด้วย นางมนธิรา แก้วเนิน , นางส่อง คงเล่ห์ ,นายสุมาศ จันทร์ศรี (ผู้ใหญ่บ้าน),นายสร้วง เขียวทองจันทร์ , นายสวย ดำนุ้ย ,นายไพโรจน์ หวานอม นายวิรยุทธ หวังแก้ว (ผช.) 2.ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น นางสาววิชชุดา สุขช่วย (ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู) เป็นหัวหน้าคณะ ทีมงานประกอบด้วย นายไชยา นุ่นสังข์ นางสาวติ้ม แซ่พั่ว นางหนูเล็ก คงขลิก นางจิดาภา แก้วเนิน ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย นายเสกสรรค์ สุขเกษม
3.ด้านสวัสดิการชุมชน นางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นหัวหน้าคณะ ทีมงานประกอบด้วย  นายสุพิศ นุนทองหอม (ผช.)นางจุฑามาศ แก้วจันทร์ (สมาชิก อบต.) 4.ด้านปฏิรูปเศรษฐกิจชุมชน นางเตือนใจ คงกำไร เป็นหัวหน้าคณะ ทีมงานประกอบด้วย นายสัมพันธ์ จันทร์เรือง นางเพชรรัตน์ พลายด้วง นางบุญเรือน สุขช่วย นางหวล จันบรรจง นางผิ้น กวนซัง นางแจ้ง หวานอม นางปราณี ไขแก้ว นายสุรศักดิ์ หวานอม  นางสาวนภนันภ์ หนูจุ้ย
5.ด้านปฏิรูปการศึกษา นายพิชชาบดี ดำจันทร์ เป็นหัวหน้าคณะ ทีมงานประกอบด้วย สมาชิกบ้านต้นแบบที่มีที่พักให้ผู้มาเรียนได้พักอาศัยขณะเรียนรู้ จำนวน 15 บ้าน ข้อ 2. ให้แต่ละด้านเตรียมงานตามปฏิทินกิจกรรมของด้านตนเอง
ข้อ 3. มอบหมายงานแต่ละด้านกันเอง แล้วนำมาร่วมหารือร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมคิดแผนการดำเนินงาน แล้วร่วมกันกำหนดกิจกรรม วางแผนงาน ปฏิทินงาน และมอบหมายการทำงาน จัดทำกำหนดการในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

นำปฏิทินโครงการที่ช่วยกันกำหนดการทำกิจกรรมมาร่วมกันทบทวน ตามลำดับก่อนหลัง มอบหมายงานตามความถนัดและความสมัครใจ

 

30 30

6. รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

วันที่ 5 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการนางภูษณิศา แก้วเนิน เล่าเรื่อง โครงการคลีนิคชุมชนคนรักสุขภาพ โครงการมหาวิทยาลัยหมู่บ้าน บ้านหัวลำภู และการต่อยอดโครงการปฏิรูปหัวลำภู สู่หมู่บ้านจัดการตนเอง เล่าความเป็นมา เริ่มทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไรบ้าง การเกิดกติกากลุ่ม ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ ว่าต่อไปจะทำทั้งหมู่บ้านเพื่อปฏิรูปให้เกิดกติกาของหมู่บ้าน สู่การจัดการตนเองได้ และให้ต้นแบบ 30 ครัวเรือนขยายสู่คนในชุมชน 1ต่อ 5 และรับสมัครผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมของโครงการ หรือผู้สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมของแต่ละด้าน

  1. ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน มีนายบุญธรรม สังผอม เป็นหัวหน้าคณะ
  2. ด้านวัฒนธรรมชุมชน มีนางสาววิชชุดา สุขช่วย เป็นหัวหน้าคณะ
  3. ด้านสวัสดิการชุมชน มีนางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นหัวหน้าคณะ
  4. ด้านเศรษฐกิจชุมชน มีนางเตือนใจ คงกำไร เป็นหัวหน้าคณะ
  5. ด้านการศึกษา มีนายพิชชาบดี ดำจันทร์ เป็นหัวหน้าคณะ

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมตามด้านที่ตนเองสนใจและถนัดที่จะทำกิจกรรมด้านนั้นๆ และกำหนดการทำกิจกรรมร่วมกันของแต่ละด้าน โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลหัวไทร นางรจนา ทรงสังข์ และทีมงาน ฝ่ายเวชปฏิบัติชุมชนและครอบครัว ร่วมคัดกรองสุขภาพให้กับทุกคน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ แยกการขยายเครือข่าย 1 ค่อ 5 ตามหลักสูตรหัวลำภู เป็นคณะ โดยไม่ซ้ำกัน 1 คณะปฎิรูปเกษตรกรรมยั่งยืน 2 คณะปฎิรูปวัฒนธรรมชุมชน 3 คณะปฎิรูปสวัสดิการชุมชน 4 คณะปฎิรูปเศรษฐกิจชุมชน 5 คณะปฎิรูปการศึกษาชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอรายละเอียดโครงการตั้งแต่เริ่มปีแรก โครงการคลีนิคชุมชนคนรักสุขภาพ โครงการมหาวิทยาลัยหมู่บ้าน บ้านหัวลำภู และต่อยอดโครงการปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง

 

150 150

7. เรียนรู้การเป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่น

วันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

บ้านต้นแบบเรียนรู้การเป็นวิทยากรชุมชน และจัดการบ้านพร้อมรับผู้มาเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มบ้านต้นแบบและสมาชิกในครัวเรือน เรียนรู้การเป็นวิทยากรท้องถิ่น โดยมีนายนิพนธ์ มากมณี พัฒนากร เป็นวิทยากร เรียนรู้ การต้อนรับผู้มาเยือน การพูด การตอบคำถาม และร่วมกันกำหนดโฮมสเตย์ตามความ สมัครใจและพร้อมที่จัดบ้านของตนเองให้เป็นโฮมสเตย์ ดังนี้ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน "แหล่งเรียนรู้ คู่ธรรมชาติ บนวิถีชีวิตคนหัวลำภู"

1.บ้านนายบุญธรรม สังผอม รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน

2.บ้านนางส่อง คงเล่ห์  รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน

3.บ้านนางจิดาภา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน  15 คน

4.บ้านนางสาวติ้ม แซ่พั่ว รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน

5.บ้านนางเตือนใจ คงกำไร รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน

6.บ้านนางหวน จันบรรจง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน

7.บ้านนางฉิ้น สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน

8.บ้านนางสาววิชชุดา สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน

9.บ้านนางมนธิรา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน

10.บ้านนางภูษณิศา  แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 50 คน

  11.บ้านนางชาลี นพรัตน์ รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน  20 คน

12.บ้านนางบุญเรือน สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน  10 คน

13.บ้านนางสาวสุมณฑา หนูสีคง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน  10 คน

14.บ้านนายสุมาศ จันทร์ศรี รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน

15.บ้านนางหนูเล็ก คงขลิก  รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน

บ้านหัวลำภู มีบ้านต้นแบบที่สามารถรับผู้มาเรียนรู้ พักอาศัยและร่วมเรียนรู้ได้ครั้งละ 200 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

บ้านต้นแบบเรียนรู้การเป็นวิทยากรและจัดการบ้านพร้อมรับผู้มาเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีการฝึกปฏิบัติการเป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่น

กิจกรรมที่ทำจริง

ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม เป้าหมายการเรียนรู้

 

30 35

8. เรียนรู้การเป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่น

วันที่ 11 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

บ้านต้นแบบเรียนรู้การเป็นวิทยากรชุมชน และจัดการบ้านพร้อมรับผู้มาเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มบ้านต้นแบบเรียนรู้การเป็นวิทยากรท้องถิ่น ฝึกปฏิบัติการสอนวิชาตามหลักสูตรของตนเอง ตามความถนัดของสมาชิกแต่ละบ้าน  บางครัวเรือนช่วยกันสอน บางครัวเรือนมอบหมายให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้สอนและนำผู้เรียนฝึกปฏิบัติ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

บ้านต้นแบบเรียนรู้การเป็นวิทยากรและจัดการบ้านพร้อมรับผู้มาเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีการฝึกปฏิบัติการเป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่น

กิจกรรมที่ทำจริง

เรียนรู้การเป็นวิทยากรท้องถิ่น การสอนผู้มาเรียนให้ฝึกปฏิบัติ

 

30 32

9. เรียนรู้การเป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่น

วันที่ 12 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้บ้านต้นแบบเรียนรู้การเป็นวิทยากร และจัดการบ้านพร้อมรับผู้มาเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มบ้านต้นแบบเรียนรู้และปฏิบัติจริง โดยทีมวิทยากรจากพัฒนาชุมชนอำเภอหัวไทร นำผู้เรียนลงพื้นที่ที่บ้านของต้นแบบแต่ละด้าน  และทุกบ้านช่วยกันแนะนำและเติมเต็มร่วมกัน ประเมินร่วมกัน ช่วยกันคิดและร่วมกันเสนอแนะว่าแต่ละบ้านควรจะต้องเพิ่มเติมอย่างไรให้เตรียมพร้อมและสามารถพร้อมที่จะรับผู้มาเรียนให้พักอาสัยอยู่กับเจ้าบ้านได้ ทีมอสม.นางเตือนใจ คงกำไร นางเพชรรัตน์ พลายด้วง นายสัมพันธ์ จันทร์เรือง ช่วยเสนอแนะเรื่องการจัดบริเวณบ้านให้น่าอยู่และถูกสุขลักษณะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

บ้านต้นแบบเรียนรู้การเป็นวิทยากรและจัดการบ้านพร้อมรับผู้มาเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีการฝึกปฏิบัติการเป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่น

กิจกรรมที่ทำจริง

ฝึกนำผู้เรียนปฏิบัติจริงในพื้นที่บ้านต้นแบบแต่ละด้าน

 

30 33

10. ฝึกปฏิบัติโฮมสเตย์พื้นที่จริง

วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้และฝึกปฏิบัติพื้นที่จริง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย เรียนรู้เรื่องโฮมสเตย์ ที่ครูสายันต์โฮมสเตย์ ตลาดน้ำคลองแดน ซึ่งจัดให้มีตลาดทุกวันเสาร์ ครูสายันต์  ชลสาคร เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่สมาชิก ซึ่งเป็นโฮมสเตย์หลังแรกของตลาดแห่งนี้
เรียนรู้ เรื่องการจัดการบ้านเป็นโฮมสเตย์
-อันดับแรกคือความตั้งใจในการทำโดยต้องมีจิตสาธารณะก่อน - ตลอดจนความมีีคุณธรรม - การรู้จักให้กับผู้มาเยือน - การจัดการบ้านหลักสำคัญคือความสะอาดของบ้าน แบ่งบ้านและจัดการบ้านให้มีระบบ - จัดสรรพื้นที่ของบ้านให้เป็นประโยชน์ การต้อนรับผู้มาเยือนอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส อ่อนโยน พูดจาไพเราะ - การบอกเล่าที่มาหรือประวัติของชุมชนเป็นสิ่งที่ทุกคนควรรู้จักชุมชนของตนเอง - การจัดห้องนอนไม่จำเป็นต้องหรูหรา
-การมีห้องน้ำให้เพียงพอต่อผู้มาพัก - การเตรียมอาหารให้ผู้มาพัก - ตลอดจนการบริหารจัดการกลุ่มโฮมสเตย์ และร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิก ได้ร่วมกันชมการสาธิตการจัดบ้านให้เหมาะสม น่าสนใจ ตลอดจนสมาชิกทั้งหมดเดินชมตลาดน้ำคลองแดน ผลิตผล อาหารต่างๆ และผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านนำมาขายในตลาด ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีเวทีแสดงให้ผู้มาเที่ยวได้ชม เป็นการแสดงรำมโนราห์ของเด็กและเยาวชน การสีซอของคุณลุง ที่ให้ผู้มาเที่ยวเดินผ่านไปมาได้ฟัง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ฝึกปฎิบัติพื้นที่จริง ที่โฮมสเตย์ตลาดน้ำคลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

เรียนรู้การจัดการบ้านเป็นโฮมสเตย์ การจัดตั้งกลุ่มโฮมสเตย์ หลักการเป็นเจ้าของบ้านที่ดี

 

30 33

11. เวทีปฏิรูปเกษตรกรรมยั่งยืน (1)

วันที่ 2 สิงหาคม 2557 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เริ่มต้นร่วมกิจกรรมที่วัดหัวลำภู
  • ตรวจสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายโดยกลุ่มอสม.หมู่บ้าน นางเพชรรัตน์ พลายด้วง นายสัมพันธ์ จันทร์เรือง และให้ความรู้เรื่อง1.หลัก 3 อ.( 1.อาหาร 2. อารมย์ 3.ออกกำลังกาย ) 2.เรื่อง 2ส.3.เรื่องผลกระทบการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย โดยนางรจนา ทรงสังข์ เจ้าหน้าที่เวชปฏิบัติโรงพยาบาลหัวไทร / ผู้ทรงคุณวุฒิโครงการ
  • ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมสุขภาพดีบนวิถีพอเพียง โดยการลงพื้นที่จริงในการเรียนรู้ร่วมกันที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน นายบุญธรรม สังผอม  นายวิรยุทธ หวังแก้ว นายไพโรจน์ หวานอม  เป็นวิทยากรท้องถิ่น
  • รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน โดยอาหารประกอบด้วยแกงเลียงผักรวมที่ปลูกในชุมชน แกงส้มปลากับยอดมะขามจากริมรั้ว หุงข้าวด้วยข้าวสังหยด ไม่ใช้ถุงพลาสติกบรรจุอาหารและใส่ข้าว
  • ผู้สูงอายุบางคนไม่สามารถลงพื้นที่จริงได้เนื่องจากสุขภาพไม่เอื้ออำนวยแต่ก็ส่งสมาชิกในครัวเรือนลงพื้นที่แทน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีคณะปฏิรูปเกษตรกรรมยั่งยืน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มต้นที่วัดหัวลำภู
  • ตรวจสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย
  • ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมสุขภาพดีบนวิถีพอเพียง
  • รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน 

 

40 73

12. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3

วันที่ 5 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้ใหญ่บ้าน นายสุมาศ จันทร์ศรี คณะทำงาน ประธานการประชุม ร่วมประชุมราษฏรประจำเดือน นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ
          เรื่องที่ 1)  การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านสุขภาวะ  ดังนี้
1.การประชุม มีการประชุมทุกวันที่ 5 ของเดือน ร่วมกับเวทีประชุมราษฏรและประชาคมหมู่บ้าน และชี้แจงการดำเนินงานโครงการให้ที่ประชุมทราบอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการผลัดเปลี่ยนกัน และแจ้งที่ประชุมทราบเรื่องกิจกรรมชวนลูกจูงหลานรำพรานโนราห์ และบ้านหัวลำภู ได้รับเลือกเป็นตัวแทนเข้าร่วมงาน ร้อยพลังสร้างสุข ที่ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กทม.วันที่ 26 - 28 สิงหาคมนี้ จะมีตัวแทนหัวลำภูเดินทางไปร่วมทั้งหมด 16 คน

2.เวทีปฏิรูปด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ร่วมกิจกรรมที่เวทีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู ทุกอังคารแรกของเดือน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำแล้วสนุกสนาน สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู และวิทยากรน้อย ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย และดญ.สุชาวดี คงแก้ว

3.เวทีปฏิรูปด้านเกษตรกรรมยั่งยืน กำหนดขยายเครือข่ายครั้งที่1 วันที่ 2 สิงหาคม ซึ่งจัดกิจกรรมเป็นที่เรียบร้อย ได้รับความสนใจและร่วมมือจากลุ่มผู้สูงอายุเป็นอย่างดี ทำสัญญาใจเรื่องกติการ่วมกัน 10 ข้อด้วย และครั้งที่ 2 วันที่ 16 ส.ค นี้ ใช้เวทีบ้านวิถีพอเพียงนายบุญธรรม สังผอม เป็นเวที มีกลุ่มผู้สูงอายุเป็นเป้าหมาย

4.เวทีปฏิรูปเศรษฐกิจชุมชน กำหนดวันที่ 23 ส.ค นี้ ใช้เวทีบ้านต้นแบบวิถีพอเพียงเป็นเวทีขยายเครือข่ายสู่กลุ่มอาชีพ       เรื่องที่ 2.) บ้านหัวลำภูได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านงดเหล้าเข้าพรรษา 1อำเภอ 1หมู่บ้าน โดยรับสมัครผู้ร่วมงดเหล้าในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา และผู้ที่ทำได้จริงเป็นต้นแบบได้รับเกียรติบัตรจากผู้ว้าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 10 คนประเภทบุคคลและครอบครัว

        เรื่องที่ 3.) บ้านหัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ชาวประชาสุขใจ ของกระทรวงวัฒนธรรม 1อำเภอ 1หมู่บ้าน รณรงค์ให้คนในหมู่บ้านรักษาศีล ๕

      เรื่องที่ 4.)บ้านหัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน จากสำนักงานพัฒนาชุมชน และนำเสนอผลงานเพื่อขอรับพระราชทานเงินขวัญถุงจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมคิดแผนการดำเนินงาน แล้วร่วมกันกำหนดกิจกรรม วางแผนงาน ปฏิทินงาน และมอบหมายการทำงาน จัดทำกำหนดการ เป็นประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่ร่วมทำแล้วสำเร็จ ผลการทำกิจกรรม ให้ที่ประชุมทราบ และร่วมประเมินผล

 

30 30

13. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (3)

วันที่ 6 สิงหาคม 2557 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ขยายผลวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกกลุ่มเป้าหมายผู้ปกครอง และเด็กเล็ก ร่วมกันรำกลองยาว ฝึกท่ารำ โดยมีวิทยากรท้องถิ่น ต้นแบบกลองยาว นางสาวติ้ม แซ่พั่ว เป็นผู้นำทำ และนางจำเนียร รามแก้ว ซึ่งไม่ได้เป็นวิทยากรกลองยาวและไม่ได้เป็นผู้ปกครองของเด็ก แต่มาร่วมรำด้วยเพราะรักและชอบกลองยาว  และต่างร่วมกันกำหนดกิจกรรมในครั้งต่อไป โดยบอกว่า อยากให้จัดกิจกรรมนี้ทุกสับดาห์ ไม่อยากให้จัดเดือนละครั้ง เวลาน้อยไปอยากรำเป็นเร็วๆ โดยวิทยากรรับปากว่าจะขอมาหารือเรื่องดังกล่าวกับคณะทำงานก่อน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกิจกรรมกลองยาว รำพราน

กิจกรรมที่ทำจริง

นางสาวติ้ม แซ่พั่ว เป็นวิทยากรแนะนำกระบวนท่ารำกลองยาว ให้ทุกคนร่วมกันรำ

 

30 32

14. เวทีปฏิรูปเกษตรกรรมยั่งยืน(2)

วันที่ 16 สิงหาคม 2557 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อขยายเครือข่ายด้านเกษตรกรรมยั่งยืน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • กำหนดกติกากลุ่มร่วมกัน จำนวน 10 ข้อ 1.ใช้วิถีพอเพียง 2.ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตอาหาร 3. ไม่บริโภคแกงถุง 4.ไม่ใช้เครืองปรุงรส 5. ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหาร 6. ทำบัญชีครัวเรือน 7. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 8.การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9. ร่วมประชุม ตรวจสุขภาพ ทุกปี 10.ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล 5
  • ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันแล้วนำไปปิดไว้ที่บ้านของตนเองเพื่อเป็นสัญญาต่อชุมชน
  • มีสัญญาใจต่อกันว่า จะร่วมกันปฏิรูปหัวลำภู ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีปฏิรูปเกษตรกรรมยั่งยืน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • กำหนดกติการ่วมกัน
  • บันทึกข้อตกลงร่วมกัน
  • สัญญาใจเริ่มปฏิรูป

 

40 46

15. ต้นแบบขยายผลสู่กลุ่มอาชีพ ครั้งที่ 1

วันที่ 23 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เกิดเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน ขยายผลสู่กลุ่มอาชีพ 10 กลุ่ม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย นัดพบที่ศูนย์ประสานงานชุมชนช่วงหัวค่ำ นางภูษณิศา แก้วเนิน เล่าเรื่องลำนำหัวลำภู และผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา ร่วมคิดและนำเสนอแนวทางการร่วมกันดำเนินกิจกรรมและการรวมกลุ่มกันทำงาน เรียนรู้เรื่องการปลูกผัก และการจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยนายสุพัฒน์ แก้วเนิน บ้านต้นแบบน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ได้หันมาทำวิถีพอเพียงหลังจากเลิกงานประจำตอนเย็น เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน และอาหารปลอดภัยจากสารเคมี
การเลี้ยงด้วง โดย ดต.กิ่ง โยมมาก ตำรวจจากสภ.หัวไทร ที่ทำอยู่ก่อนมาช่วยแนะนำ หลังจากนั้นไป ร่วมเรียนรู้ ที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน นายบุญธรรม สังผอม และ นายสุมาศ จันทร์ศรี นายวิรยุทธ หวังแก้ว นายไพโรจน์ หวานอม ร่วมกันเป็นวิทยากร สมาชิกร่วมเรียนรู้วิถีพอเพียง และฝึกปฏิบัติจริง การทำนาอินทรีย์ และมีข้าวเปลือกไว้สีกินเองในครัวเรือน ที่เหลือนำไปขายในตลาดชุมชน การทำปุ๋ยหมัก การปลูกผัก การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมู การเลี้ยงปลา การทำน้ำหมักชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งทุกอย่างเป็นวิถีพอเพียงที่อยู่ในบ้านเดียวโดยเอื้อต่อกันอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปรับใช้ในวิถีชีวิตของตนเองที่บ้าน โดยสมาชิกที่มีความคิดเหมือนกัน จัดทำกันในรูปแบบของกลุ่มๆละ 5 คน ตอนกลางวันนัดพบกันที่ศูนย์ประสานงานอีกครั้ง เพื่อจัดทีมในการรวมกลุ่มอาชีพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีคณะปฏิรูปเศรษฐกิจชุมชน ใช้เวทีเกษตรกรรมยั่งยืน บ้านวิถีพอเพียง เป็นเวทีปฏิรูป

กิจกรรมที่ทำจริง

สมาชิกกลุ่มเป้าหมายร่วมเรียนรู้วิถีพอเพียงที่บ้านต้นแบบ นายบุญธรรม สังผอม เพื่อนำไปปรับใช้ในวิถีชีวิตของตนเอง

 

50 53

16. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (4)

วันที่ 2 กันยายน 2557 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ขยายผลวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกร่วมกันทำกิจกรรม โดยมีวิทยากรน้อย ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย และเด็กหญิงสุชาวดี คงแก้ว เป็นผู้นำทำ  เด็กๆทำท่าทางตามอย่างสนุกสนาน เด็กบางคนทำตามได้ บางคนก็เล่นพลางรำพลางตามแตถนัด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีคณะปฏิรูปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยใช้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู เป็นเวทีปฏิรูปร่วมกับผู้ปกครองเด็ก ผู้ร่วมเวที ร่วมกิจกรรมกลองยาว รำพรานโนราห์

กิจกรรมที่ทำจริง

วิทยากรท้องถิ่น รำพรานโนราห์ ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย และเด็กหญิงสุชาวดี คงแก้ว นำสมาชิกทุกคนร่วมกันรำพรานโนราห์  ประกอบดนตรี

 

30 31

17. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

วันที่ 5 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกำหนด และวางแผนการดำเนินงาน พร้อมทั้งมอบหมายงานให้แก่ทุกคนดำเนินกิจกรรมร่วมกันต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เวทีประชุมหมู่บ้านทุกวันที่ 5 ของเดือน นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานการประชุม ชี้แจงรายละเอียดงานต่างๆที่ทางราชการแจ้งมาให้ที่ประชุมทราบ และมอบหมายให้ นางภูษณิศา แก้วเนิน ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานกิจกรรมโครงการหมู่บ้านสุขภาวะให้ที่ประชุมรับทราบร่วมกัน 1.ผลการเป็นตัวแทนร่วมงาน"ร้อยพลังสร้างสุข" ที่กทม.ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากทุกคน ทุกหน่วยงาน สมาชิกทุกคนเดินทางโดยสวัสดิภาพและไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆ ผลผลิตของหัวลำภู ที่นำไปจัดนิทรรศการ ของดีบ้านฉัน ได้แก่ ข้าวปลอดสารพิษ ขนมลา กะปิกุ้ง น้ำมันมะพร้าวสะกัดเย็น ผักต่างๆ กล้วยอบ หมวกเปี้ยวฯลฯ ของที่ขายดี คือขนมลา กับกะปิ 2.บ้านหัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี 2557 โดยมีกติการ่วมกันในชุมชนเพื่อถือปฏิบัติ 3.นายวิระยุทธ หวังแก้ว ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้ยื่นหนังสือขอลาออก เนื่องจากต้องทำธุรกิจนอกพื้นที่ แต่ตำแหน่งเลขานุการ และต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนของโครงการยังดำเนินงานตามปกติ 4.กลุ่มที่สนใจจัดตั้งกลุ่มอาชีพ กลุ่มละ 5 คน ตอนนี้ ที่เริ่มดำเนินงานได้จริงแล้วและเห็นเป็นรูปธรรม คือ -กลุ่มปลูกผัก มีนายประยูร ทองศรีจันทร์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม - กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ นางเพชรรัตน์ พลายด้วง เป็นหัวหน้ากลุ่ม - กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง มีนางปราณี ไขแก้ว เป็นหัวหน้ากลุ่ม - กลุ่มขนมท้องถิ่น มีนางสำลี เขียวทองจันทร์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม ขณะนี้กำลังทำขนมลาขาย ตรงกับเทศกาลเดือนสิบของภาคใต้พอดี โดยใช้อุปกรณ์ในการทำกับกลุ่มต้นแบบบ้านนางเตือนใจ คงกำไร- กลุ่มเลี้ยงด้วง มีนายประยูร รัตนบุรี เป็นหัวหน้ากลุ่ม ส่วนกลุ่มที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ และกำหนดวันที่ 20 กันยายน นี้ นัดประชุม ร่วมประเมินและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 เชิญทุกท่านร่วมกิจกรรมดังกล่าวที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนนายบุญธรรม สังผอม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมคิดแผนการดำเนินงาน แล้วร่วมกันกำหนดกิจกรรม วางแผนงาน ปฏิทินงาน และมอบหมายการทำงาน จัดทำกำหนดการ เป็นประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมรายงานผล สรุป ประเมินการทำกิจกรรม ที่ผ่านมา และกำหนด วางแผนการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

 

30 30

18. ต้นแบบขยายผลสู่กลุ่มอาชีพ ครั้งที่ 2

วันที่ 20 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เกิดเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน ขยายผลสู่กลุ่มอาชีพ 10 กลุ่ม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกกลุ่มเป้าหมายทุกคน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีพอเพียงบ้านต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน นายบุญธรรม สังผอม และมีวิทยากรท้องถิ่น นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน นายไพโรจน์ หวานอม นายวิรยุทธ หว้งแก้ว ร่วมแลกเปลี่ยนด้วย สมาชิกล้อมวงคุยกันตามกลุ่มที่แต่ละคนได้จับจองกันไว้แล้วตามความถนัดและสนใจ และต่างร่วมกันนำเสนอข้อคิดเห็น ปัญหาอุปสรรคในการทำกิจกรรมของกลุ่ม
1. กลุ่มเลี้ยงด้วง นายประยูร รัตนบุรี เริ่มเลี้ยงแล้วแต่เปลือกมะพร้าวที่จะต้องทุบให้ด้วงกินทุกวันมีน้อย

2.กลุ่มปลูกผัก นายประยูร ทองศรีจันทร์  สมาชิกกลุ่มเริ่มปลูกผักไว้ทานเองแล้ว

3.กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ นางเพชรรัตน์ พลายด้วง สมาชิกเริ่มทำคอกไก่ และอยู่ระหว่างหาพันธูไก่

4.กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง นางปราณ๊ ไขแก้ว สมาชิกเริ่มทำคอกไก่ และอยู่ระหว่างหาพันธูไก่

5.กลุ่มขนมท้องถิ่น นางสำลี เขียวทองจันทร์ สมาชิกร่วมกันทำขนมลาขาย ใช้อุปกรณ์จากบ้านต้นแบบที่มีอยู่ก่อนแล้ว ช่วงแรกๆหัดกันหลายรอบ ต้นแบบช่วยฝึกและปฎิบัติจริง ตอนนี้ทำไว้กินเอง แจกลูกหาน และขายในชุมชน ไม่พอกับความต้องการ

6.กลุ่มเลี้ยงปลา อยู่ระหว่างดำเนินการ 7.กลุ่มเลี้ยงกบ  อยู่ระหว่างดำเนินการ 8.กลุ่มนาอินทรีย์  อยู่ระหว่างดำเนินการ 9.กลุ่มเลี้ยงเป็ด  อยู่ระหว่างดำเนินการ 10.กลุ่มทำเคย มีนางสาวนภนันท หนูจุ้ย สมาชิกร่วกกันหากุ้งมาร่วมกันทำ ตอนนี้ส่งขายเป็นกระปุก เพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีคณะปฏิรูปเศรษฐกิจชุมชน ใช้เวทีเกษตรกรรมยั่งยืน บ้านวิถีพอเพียง เป็นเวทีปฏิรูป เกิดเครือข่ายกลุ่มอาชีพ 10 กลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

เรียนรู้วิถีพอเพียงที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน และนำไปจัดตั้งกลุ่มอาชีพปฏิบัติได้จริง

 

50 50

19. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5

วันที่ 5 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกำหนด และวางแผนการดำเนินงาน พร้อมทั้งมอบหมายงานให้แก่ทุกคนดำเนินกิจกรรมร่วมกันต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภูษณิศา แก้วเนิน สรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาให้ที่ประชุมทราบ

1.ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน สมาชิกกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มชมรมผู้สูงอายุม.4 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเริ่มดำเนินการ

2.ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น สมาชิกกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ปกครองและเด็กเล็กที่ศูนย์เด็กเล็กบ้านหัวลำภู ทุกวันอังคารของทุกเดือน และจะเพิ่มการจัดกิจกรรมให้เพิ่มขึ้นเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายต้องการที่จะเพิ่มเวลาในการจัดกิจกรรมให้มากขึ้น ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป 7 ตค.นี้จะนำผู้ปกครองและแกนนำชุมชน แกนนำอสม.ช่วยกันทำความสะอาดเนื่องจากพบโรคมือ เท้า ปาก เปื่อย 1 ราย

3.ด้านการศึกษา มีวิทยากรท้องถิ่นและมีบ้านต้นแบบที่สามารถให้ผู้มาเรียนพักอาศัยในขณะเรียนได้ จำนวน 20 หลัง 200 คน

4.ด้านเศรษฐกิจชุมชน เกิดกลุ่มอาชีพต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ

5.ด้านสวัสดิการชุมชน อยู่ระหว่างขอสมทบเงินจากอบต.หัวไทร และมีแผนงานที่จะพาคณะกรรมการศึกษาดูงานนอกสถานที่ ยังไม่กำหนดสถานที่และเวลา

6.วันที่ 10 ตุลาคมนี้ ได้รับเชิญจากโรงพยาบาลหัวไทร ให้ผู้นำชุมชนร่วมนำเสนอผลงานการมีส่วนร่วมของชุมชนในการประเมินคุณภาพของโรงพยาบาล ใช้โปรแกรมพาวเวอร์พอย ในการนี้มอบหมายให้ทีมงานอสม.ม.4 นายสุมาศ จันทร์ศรี ,นางเตือนใจ คงกำไร, นางเพชรรัตน์ พลายด้วง, นายสัมพันธ์ จันทร์เรือง, ร่วมกิจกรรมกับหัวหน้าต้นแบบ นางภูษณิศา แก้วเนิน ,นายศานิต นุ่มคง, นางสาวสุมณฑา หนูสีคง เวลา 8.30 น.ผลสรุปจะนำมาเล่าในการประชุมครั้งต่อไป

7.งานร้อยพลังสร้างสุข ทุกคนที่ไปร่วมกิจกรรม ได้รับความชื่นชมจากผู้ร่วมงานอย่างน่ายินดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมคิดแผนการดำเนินงาน แล้วร่วมกันกำหนดกิจกรรม วางแผนงาน ปฏิทินงาน และมอบหมายการทำงาน จัดทำกำหนดการ เป็นประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดแผนการดำเนินงาน สรุปผลการจัดกิจกรรม ร่วมประเมินผล มอบหมายงานในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป 

 

30 30

20. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (5)

วันที่ 7 ตุลาคม 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ขยายผลวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มเป้าหมายร่วมทำกิจกรรมช่วงเช้า เสร็จแล้ว  ร่วมกันทำความสะอาดอุปกรณ์ทั้งหมด และนำไปตากแดด และอาคารเรียน ห้องเรียน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เปื่อย ที่พบในเด็ก 1 ราย และให้หยุดเรียน 3 วัน และปิดเทอมต่อไป จะเปิดเรียนวันที่ 3 พฤษจิกายน นี้ โดยมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลหัวไทร มาร่วมด้วย แกนนำอสม.ผู้ปกครอง และครู ต่างช่วยกันทำความสะอาดจนเรียบร้อย และนัดการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป เปิดเทอมหน้า โดยสมาชิกทุกคนมีช่องทางที่ติดต่อประสานงานกันทางโทรศัพท์ และการติดต่อทางไลน์กลุ่ม คณะทำงานสร้างสุข และ 1669
- นัด่ทีมคณะทำงาน และแกนนำอสม.ร่วมนำเสนอผลงานการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงพยาบาลหัวไทร วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม 2557 เวลา8.30น.ในการประเมินคุณภาพของโรงพยาบาลHA โดยนางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นผู้นำทีมนำเสนอในรูปแบบพาวเวอร์พอย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกิจกรรมกลองยาว รำพรานโนราห์

กิจกรรมที่ทำจริง

ขยายผลวัฒนธรรมท้องถิ่น กลองยาว และรำพรานโนราห์ สู่เครือข่าย โดยใช้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภูเป็นเวทีขยายผล

 

30 30

21. เวทีเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงานงวดที่1

วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลงานงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทำตามกิจกรรมได้ตามสัญญา และมีผลงาน คือ

1 หัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านรักษาศีล๕ ของกระทรวงวัฒนธรรม

2.หัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน

3.หัวลำภู ได้รับเลือกเข้าร่วมกิจกรรม '' งานร้อยพลังสร้างสุข '' ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กทม.โดยจัดนิทรรศการน์ของดีบ้านฉัน และรำพรานโนราห์ ร่วมงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภูษณิศา แก้วเนิน ร่วมพิธีเปิด และปิด

4.หัวลำภู ได้รับเลือกร่วมกิจกรรม ประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลหัวไทร

5.หัวลำภู มีกติกาชุมชนสีเขียว ร่วมกันเพื่อถือปฏิบัติ จำนวน 10 ข้อ 6.หัวลำภู มีกลุ่มอาชีพเพิ่มมากขึ้น กลุ่มเลี้ยงด้วง กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง กลุ่มปลูกผัก กลุ่มขนมท้องถิ่น

7.หัวลำภู มีกลุ่มวัฒนธรรมท้องถิ่นเกิดขึ้น จากผู้ปกครองและเด็กๆ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู

8.หัวลำภู มีโฮมสเตย์เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้มาเรียนไดพักอาศัยขณะเรียน จำนวน 15 หลัง

9.กลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน มีแปลงนาอิทรีย์สาธิต เพื่อให้ผู้มาเรียนได้ฝึกปฏิบัติ

10.แผนพัฒนาหมู่บ้านและตำบล กำหนดชุมชนสุขภาวะและตำบลสุขภาวะ อยู่ในแผนพัฒนา

11.หัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้าน งดเหล้าเข้าพรรษา

12.หัวลำภู ได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2558 ของพัฒนาชุมชนอำเภอหัวไทร

13.การเงินโครงการงวดที่ 1รับเงินจากสสส. 71120 บาท ใช้ไปทั้งหมด 110160บาท  ติดลบ -38540  บาท เนื่องจากกำหนดการจัดกิจกรรมตามแผนงาน และการต่อเนื่องของกิจกรรม โดยกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ได้สำรองจ่ายเงินสำหรับจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปผลงานงวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

เวทีเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสรุปผลงานงวดที่ 1 คณะทำงานโครงการ ร่วมเวทีเรียนรู้กับทีมพีึ่เลี้ยง ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สรุปเอกสารรายงานเป็นรายครั้งที่ทำกิจกรรม ประกอบด้วย รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม หลักฐานการเบิกจ่ายเงิน และรูปภาพการทำกิจกรรม ขั้นตอนที่ 2 บันทึกกิจกรรมวันนี้ โดยมีหลักฐาน ชื่อผู้เข้าร่วมในโครงการ ใบสำคัญรับเงินค่าอาหาร ๗๐๐ บาทจากที่ประชุม และค่าเดินทางของพื้นที่ ขั้นตอนที่ 3 นำเอกสารให้พี่เลี้ยงโครงการเสนอแนะ ขั้นตอนที่ 4 นำเอกสารมาสรุปผลงานงวดกับอาจารย์กำไล สมรักษ์ หรือพี่เลี้ยงสุดา ไพศาล พริ้นรายงานส่ง สสส ได้

 

3 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 43 21                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 177,800.00 110,160.00                  
คุณภาพกิจกรรม 84 67                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (7) ( 2 ธ.ค. 2557 )
  2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7 ( 4 ธ.ค. 2557 )
  3. ขยายเครือข่ายสวัสดิการชุมชน ( 31 ธ.ค. 2557 )
  4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8 ( 5 ม.ค. 2558 )
  5. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (8) ( 6 ม.ค. 2558 )
  6. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมชุมชน (9) ( 3 ก.พ. 2558 )
  7. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 ( 5 ก.พ. 2558 )
  8. ติดตามผลผู้เรียนหลังจากกลับไป3เดือน ( 10 ก.พ. 2558 )
  9. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (10) ( 3 มี.ค. 2558 )
  10. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 ( 5 มี.ค. 2558 )
  11. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 11 ( 5 เม.ย. 2558 )
  12. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (11) ( 7 เม.ย. 2558 )
  13. กำหนดกติกาชุมชนร่วมกัน ( 13 เม.ย. 2558 )
  14. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 12 ( 20 เม.ย. 2558 )
  15. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (12) ( 25 เม.ย. 2558 )
  16. เรียนรู้ บันทึก รายงานโครงการ ( 10 พ.ค. 2558 )

(................................)
นางภูษณิศา แก้วเนิน
ผู้รับผิดชอบโครงการ