แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)

ชุมชน บ้านหัวลำภู หมู่ที่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-01533 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0991

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2557 ถึง 10 กรกฎาคม 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน ตุลาคม 2557 ถึงเดือน มิถุนายน 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (6)

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อขยายเครือข่ายด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วิทยากรท้องถิ่น โดยครูติ้ม นำผู้ปกครอง ครู และเด็กๆ ร่วมกันรำกลองยาวประกอบดนตรีกลองยาวพื้นบ้าน ทุกคนร่วมกันรำอย่างสนุกสนาน บางคนจำท่ารำได้ดี บางคนจำท่าไม่ได้ก็ย้ายสะเอวตามจังหวะ เด็กๆบอกว่าอยากให้ครูติ้มมาสอนกลองยาวทุกอาทิตย์ จะได้รำเป็นเร็วๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกิจกรรมกลองยาว รำพรานโนราห์

กิจกรรมที่ทำจริง

วิทยากรท้องถิ่น สอนกลองยาว ให้ครู ผู้ปกครอง และเด็กเล็กร่วมกันทำกิจกรรม

 

30 30

2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกำหนด และวางแผนการดำเนินงาน พร้อมทั้งมอบหมายงานให้แก่ทุกคนดำเนินกิจกรรมร่วมกันต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวเปิดการประชุมหมู่บ้านประจำเดือนพฤศจิกายน แจ้งเรื่องจากหน่วยงานราชการต่างๆให้ที่ประชุมทราบ
นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ

1.เรื่องผลการดำเนินงานโครงการงวด1 ปิดรายงานงวดเรียบร้อยแล้ว

2.กิจกรรมด้านเกษตรกรรมยั่งยืน ตอนนี้ มีการจัดตั้งกลุ่มกองทุนชาวนาขึ้น เพื่อช่วยเหลือกันในการประกอบอาชีพ มีระเบียบกติกากลุ่มเพื่อถือปฏิบัติ

3.การอบรมโครงการหลักสูตร ผู้นำการพัฒนา ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งบ้านหัวลำภูและตำบลหัวไทร ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เข้ารับการอบรม ระหว่างวันที่ 10 - 12พย.2557นี้ ที่อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช มีกลุ่มแกนนำต่างๆทั้งหมด 40 คน โดยบ้านหัวลำภู ผู้ที่ไปร่วมอบรมดังนี้ - นางภูษณิศา แก้วเนิน - นางปราณี ไขแก้ว- นางเพชรรัตน์ พลายด้วง- นางเตือนใจ คงกำไร -นางส่อง คงเล่ห์ -นายบุญธรรม สังผอม - นายสุมาศ จันทร์ศรี - นายสร้วง เขียวทองจันทร์-นางจิดาภา แก้วเนิน - นางสาวจุฬาลักษณ์ มุสิกพันธ์ -นางธนภรณ์ จันทร์นวล -นางสะอิ้ง หนูคงบัตร์ -นางสาวศรีสุดา สังข์ชุม -นางสาวติ้ม แซ่พั่ว

4.กิจกรรมด้านเศรษฐกิจชุมชน การจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆตอนนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการ และร่วมกันประเมินผล

5.กิจกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดิน ผ่านการพิจารณาจากจังหวัดเรียบร้อยแล้ว และต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในการดำเนินงานกิจกรรมทุกอย่าง การดำเนินงานทุกอย่างจะนำมาสรุปและแจ้งให้ที่ประชุมทรายร่วมกับการประชุมหมู่บ้านทุกวันที่ 5 ของเดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมคิดแผนการดำเนินงาน แล้วร่วมกันกำหนดกิจกรรม วางแผนงาน ปฏิทินงาน และมอบหมายการทำงาน จัดทำกำหนดการ เป็นประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุป ประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา กำหนดแผนการดำเนินงาน มอบหมายงานในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป 

 

30 38

3. ติดตามผลผู้เรียนหลังจากกลับไป3เดือน แยกเวทีเป็นคณะรวม5เวที

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามผลและร่วมกันกำหนดนโยบายร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แยกแต่ละเวทีสรุปและติดตามผลหลังการเรียนรู้แล้วนำมาสรุปร่วมกันอีกครั้งที่ศูนย์ประสานงานชุมชน

เวทีเกษตรกรรมยั่งยืน

เวทีเศรษฐกิจชุมชน

เวทีการศึกษา

เวทีสวัสดิการ

เวทีวัฒนธรรมท้องถิ่น

เมื่อนำหัวหน้าคณะปฎิรูปมาสรุปร่วมกัน แล้วช่วยกันกำหนด เกิดกติกาชุมชนสีเขียว หรือ ชุมชนจัดการตนเอง ในการปฎิบัติร่วมกัน คือ
1.) ใช้วิถีพอเพียง 2.) ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตอาหารทั้งระบบ 3.) ไม่บริโภคแกงถุง
4.) ไม่ใช้เครื่องปรุงรส 5.) ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหาร 6.) ทำบัญชีครัวเรือน 7.) ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 8.) การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9.) ประชุม / ตรวจสุขภาพ ร่วมกัน อย่างน้อยปีละ 1ครั้ง 10.) ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และกำหนดเป็นกติกาชุมชนร่วมกัน นำเสนอในแผนชุมชนของหมู่บ้านต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามผลผู้เรียนหลังจากกลับไป3เดือน แยกเวทีเป็นคณะรวม5เวที 1.เวทีคณะเกษตรกรรม 2.เวทีคณะวัฒนธรรมท้องถิ่น 3.เวทีคณะสวัสดิการชุมชน 4.เวทีคณะเศรษฐกิจชุมชน 5.เวทีคณะการศึกษา ร่วมกำหนดกติกา นโยบายการจัดการชุมชนร่วมกัน เพื่อนำสู่เวทีใหญ่

กิจกรรมที่ทำจริง

1.เวทีคณะเกษตรกรรมยั่งยืน ที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรม 2.เวทีวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู 3.เวทีสวัสดิการชุมชน ที่ศูนย์ประสานงานชุมชน 4.เวทีคณะเศรษฐกิจชุมชน ที่บ้านต้นแบบเกษตรกรรม 5.เวทีการศึกษา ที่ศูนย์ประสานงานชุมชน

 

150 155

4. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (7)

วันที่ 2 ธันวาคม 2557 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อขยายเครือข่ายด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วิทยากรนางสาวติ้ม แซ่พั่ว  เป็นผู้นำทำกิจกรรมรำพรานโนราห์ ประกอบดนตรี ทุกคนต่างร่วมกันรำอย่างสนุกสนาน บางคนยังจำท่ารำไม่ได้ แต่ก็เต้นไปตามจังหวะของดนตรี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีคณะปฏิรูปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยใช้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู เป็นเวทีปฏิรูปร่วมกับผู้ปกครองเด็ก ร่วมกิจกรรมกลองยาวและรำพรานโนราห์

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกิจกรรมรำพรานโนราห์ กับวิทยากรน้อย

 

30 32

5. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7

วันที่ 4 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดคณะสภาผู้นำชุมชนบ้านหัวลำภูปฎิรูปการจัดการตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เจ้าหน้าที่จากร.พหัวไทร โดยนางสาวนุศรา บัวเชย และทีมงาน ร่วมตรวจสุขภาพ วัดความดัน เจาะเลือดเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน และให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ แจ้งผลการตรวจและให้คำแนะนำแก่ผู้ร่วมประชุม นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน /คณะทำงานปฎิรูป ได้แจ้ง
1.กำหนดการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 87 พรรษา วันที่ 5ธันวาคม 2557 ที่เทศบาลหัวไทร 2. แจ้งค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
3.แจ้งเรื่องการพัฒนาหมู่บ้าน ปรับภูมิทัศน์หมู่บ้านเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ 4.แจ้งเรื่องการรณรงค์ให้ใส่เสื้อเหลืองเดือนธันวาคม 5.แจ้งเรื่องจากหน่วยงานต่างๆ
6.กองทุนแม่ของแผ่นดิน ได้รับพระราชทานเงิน8,000 บาท
7.แจ้งการจัดงานบุญทานไฟของวัดหัวลำภูและสวดมนต์ข้ามปีคืนวันที่31ธ.ค

.8.การจัดงานปีใหม่ของกองทุนเงินล้าน

9.แจ้งการได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปี 2558โดยจะอบรมแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างวันที่ 17 - 21 ธันวาคม นี้เป็นเวลาจำนวน 5 วันติดต่อกัน ที่ศูนย์ประสานงานชุมชน ที่ทำการสารวัตรกำนัน

10.การฝึกอบรมโครงการพัฒนาขีดความสามารถคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ(กพสอ.) เพื่อให้พลังสตรีเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมชุมชน การส่งเสริมครอบครัวแข็งแรงตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ 3 ธันวาคมนี้ ที่ศูนย์ประสานงานชุมชน ที่ทำการสารวัตรกำนัน จากพัฒนาชุมชนอำเภอหัวไทร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมคิดแผนการดำเนินงาน แล้วร่วมกันกำหนดกิจกรรม วางแผนงาน ปฏิทินงาน และมอบหมายการทำงาน จัดทำกำหนดการ เป็นประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่จากรพ.หัวไทร ขี้แจงการร่วมทำกิจกรรม แผนกิจกรรม

 

30 65

6. ขยายเครือข่ายสวัสดิการชุมชน

วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดเครือข่ายคณะปฎิรูปสวัสดิการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตอนกลางวันคณะทำงานร่วมกับเครือข่าย  มอบของขวัญเด็กๆและผู้สูงอายุตามหมู่บ้าน หลังจากนั้น ร่วมกับคณะกรรมการวัดหัวลำภู จัดกิจกรรมบุญทานไฟ และสวดมนต์ข้ามปี ในศาลาการเปรียญวัดหัวลำภู เริ่มกิจกรรมตั้งแต่หัวค่ำ 19.00 น.คืนวันที่ 31 ธันวาคม 2557มีพระกฤษตพล หนูคงบัตร เจ้าอาวาสวัดหัวลำภู เป็นประธานในการจัดกิจกรรม และพักรับประทานอาหารว่างเป็นน้ำเต้าหู้ และข้าวต้มร้อนๆ นั่งบ้างนอนบ้างกันในวัด ทุกคนมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสอิ่มบุญ หลังจากนั้นเริ่มสวดมนต์อีกครั้งเวลา 23.00 น.โดยสวดมนต์ทั้งหมด 108 จบ ทุกคนสามารถทำได้จนเสร็จพิธี และพักผ่อนนอนกันในศาลาการเปรียญ ตี 3 ทุกคนก็จัดเตรียมทำขนมถวายพระในกิจกรรมบุญทานไฟ ที่หลายคนไม่เคยเห็น มีการก่อกองไฟ และคนที่นำอุปกรณืมาทำขมก็จะไปจุดไฟจากกองไฟนั้นเพื่อนำมาใช้ที่เตาของตัวเอง กลุ่มวัฒนธรรมท้องถิ่น นางกัลยา ขวัญเกิด ทำขนมพิม นางวรรณา คงเส้ง ทำขนมเจาะรู นางเตือนใจ คงกำไร ทำข้าวต้ม กลุ่มปลูกผักปลอกสารพิษ นางสะอิ้ง หนูคงบัตร และนางสาวศรีสุดา ดำชุม นางสมบูรณ์ คงนวลมี นางเพชรรัตน์ พลายด้วง ร่วมกันทำขนมโค กลุ่มน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ร่วมกันทำข้าวต้มมัด กลุ่มบางไร่ โดยนายประเทือง มิ่งใหญ่ ทำข้าวต้ม กลุ่มทะเลปัง โดยนางภัทรณัญ มณีเพชร ทำเครื่องดื่ม กลุ่มลำคลอง โดยนางพิชญา ดวงจันทร์ นำข้าวเหนียวปิ้ง มาร่วมงาน กลุ่มหนองนกไข่ โดยนางสาวสุภาวดี ชูมี ทำขนมโค และกลุ่มบ้านพัฒนา โดยนางสาวกมลพรรณ หวานอม และทึมงานรับด้านบริการ ล้างถ้วยชาม โดยเมื่อจัดเตรียมขนมเสร็จแล้ว นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน นายสุพิศ นุ่นทองหอม ผช.ได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดรับบิณฑบาตรและรับการถวายอาหาร โดยนางกิ่งกาญจน์ รักษาสัตย์ ตำแหน่งวัฒนธรรมอำเภอหัวไทร ประธานฝ่ายคฤหัส เสร็จแล้วมีการจับของขวัญพระ หลังจากนั้นพระให้พร และเจ้าอาวาสร่วมกับคณะทำงานสร้างสุขหารือและกำหนดจัดกิจกรรมนี้ในปีต่อๆไป โดยจะให้ชาวบ้านได้ร่วมจับของขวัญในกิจกรรมนี้ด้วย และเสนอต่อวัฒนธรรมอำเภอหัวไทร กำหนดให้วัดหัวลำภู เป็นต้นแบบอำเภอในการจัดงานบุญทานไฟ และเข้าแผนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ขยายเครือข่ายสวัสดิการชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ขยายเครือข่ายด้านสวัสดิการชุมชน โดยการร่วมกิจกรรมบุญทานไฟและสวดมนต์ข้ามปี ในวัดหัวลำภู 

 

30 120

7. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8

วันที่ 5 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดคณะสภาผู้นำชุมชนบ้านหัวลำภูปฎิรูปการจัดการตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการประชุม ชี้แจงรายละเอียด ประชาสัมพันธ์ข่าวจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวขอบคุณผู้ร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี และบุญทานไฟ เมื่อคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยกิจกรรมบุญทานไฟ เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวนครศรีธรรมราช ที่หายไปไม่มีใครได้เคยร่วมกิจกรรมดังกล่าว นางกิ่งกาญจน์ รักษาสัตย์ วัฒนธรรมอำเภอหัวไทร ได้เลือกเอาวัดหัวลำภู ทำกิจกรรมนี้เพื่อสืบทอดให้คนรุ่นหลัง การทำบุญทานไฟเป็นการทำบุญขนมที่ทำกันในวัด ก่อกองไฟ 1 กอง แล้วผู้ที่ทำขนมจะจุดไฟจากกองไฟนั้นมาที่เตาของตนเอง เสร็จแล้วร่วมกันถวายพระภิกษุสงฆ์ รับพร เป็นสิริมงคลวันขึ้นปีใหม่ หลังจากนั้นทุกคนจะรับประทานร่วมกัน ในการนี้มีผู้ร่วมทำขนมคือ นางเตือนใจ คงกำไร ข้าวต้ม 1 เตา นางกัลยา ขวัญเกิด ขนมพิมพ์ 1 เตา นางวรรณา คงเส้ง ขนมเจาะรู 1 เตา นางสะอิ้ง หนูคงบัตร ขนมโค 1 เตา หมู่ที่ 5 บ้านหนองนกไข่ ข้าวต้มมัด 1 เตา หมู่ที่ 2 บ้านทะเลปัง น้ำชา 1 เตา หมู่ที่ 8 บ้านบางไร่ ข้าวต้ม 1เตา โดยกิจกรรมประเพณีบุญทานไฟนี้ผู้ร่วมกิจกรรมเสนอให้เป็นต้นแบบของอำเภอหัวไทร และนัดกันว่าจะมาร่วมกิจกรรมนี้อีกคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และนัดจะเอาของขวัญมาร่วมกันแลกเนื่องในวันปีใหม่ด้วย โดยพระกฤษตพล หนูคงบัตร เจ้าอาวาสวัดหัวลำภู เป็นประธานจัดกิจกรรมดังกล่าวด้วย

    และแจ้งการศึกษาดูงานของนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากประเทศจีน kunming medical university เดินทางมาเรียนรู้เรื่องการปฎิบัติการพยาบาล วิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมไทยในจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมคณะสื่อมวลขนมาร่วมถ่ายทำสารคดีด้วย วันพุธที่ 21 มกราคมนี้ และมอบหมายให้นายไชยา นุ่นสังข์ นางสาววิชชุดา สุขช่วย นางสาวติ้ม แซ่พั่ว เป็นผู้นำทีมรำพรานโนราห์ เป็นฝ่ายต้อนรับ และจะนำลงพื้นที่บ้านต้นแบบตามวิถีของคนหัวลำภู และขอเชิญพี่น้องหัวลำภูทุกคนร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานดังกล่าวด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมคิดแผนการดำเนินงาน แล้วร่วมกันกำหนดกิจกรรม วางแผนงาน ปฏิทินงาน และมอบหมายการทำงาน จัดทำกำหนดการ เป็นประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

แจ้งผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา สรุป และประเมินผล มอบหมายงาน

 

30 50

8. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (8)

วันที่ 6 มกราคม 2558 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครอง และเด็กๆร่วมกันรำกลองยาว โดยใช้จังหวะจากเสียงอัดที่คณะกลองยาวซ้อมตอนหัวค่ำ ในตอนกลางวันคณะกลองยาวส่วนใหญ่จะต้องประกอบอาชีพ และซ้อมตีกลองยาวข่วงหัวค่ำหลังเลิกงาน ทุกคนรำอย่างสนุกสนาน ผู้ปกครองเสนอให้รำทุกวัน หรือบรรจุเป็นชั่วโมงสอนในตารางเวลาเรียนของเด็กๆ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกิจกรรมกลองยาว รำพราน

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันรำพรานโนราห์ และรำกลองยาว โดยวิทยากรท้องถิ่น

 

30 37

9. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมชุมชน (9)

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู็ปกครอง ครูและเด็กๆร่วมกันรำพรานโนราห์ โดยวิทยากรน้อย ดญ.ภัทรลภา สุขช่วย และดญ.สุชาวดี คงแก้ว ทุกคนร่วมกันรำอย่างสนุกสนาน ผู้ปกครองบางคนยังแสดงอาการเขินอาย บางคนนำลูกๆรำได้อย่างดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกิจกรรมกลองยาว รำพราน

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกิจกรรมรำพรานโนราห์ รำกลองยาว

 

30 32

10. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดคณะสภาผู้นำชุมชนบ้านหัวลำภูปฎิรูปการจัดการตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการประชุม ชี้แจงรายละเอียดเรื่องต่างๆที่หน่วยงานราชการแจ้งมา - ให้ผุู้ปลูกข้าวไปขึ้นทะเบียน -ตำรวจฝากเรื่องการแต่งรถทุกชนิด - ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านตอนนี้ ยังมีการเฝ้าระวัง -การขึ้นทะเบียนทหาร -เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแจ้งบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 20 - 50 ปีไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบได้ในวันศุกร์ที่ 13 กพ.นี้ที่วัดหัวลำภู เวลา 8.30- 12.00 น .-วัดหัวลำภู จัดทอดผ้าป่าสามัคคี วันที่ 12 เมษายน 2558 นี้ นางสาวศรีสุดา ดำชุม ตัวแทนคณะทำงานได้รับมอบหมายจากนางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการ ขี้แจงต่อที่ประชุม เรื่องชมรมคนรักษ์สมุนไพรอำเภอหัวไทร ประกอบด้วยกลุ่มปลูกสมุนไพร จำนวน 9 กลุ่ม และได้ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม จังหวัดสงขลา ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ และกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ จะขอรับงบสนับสนุนจากกองทุนสปสข.อบต.หัวไทร หากใครสนใจเรื่องใดให้สอบถามได้ที่คณะทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมคิดแผนการดำเนินงาน แล้วร่วมกันกำหนดกิจกรรม วางแผนงาน ปฏิทินงาน และมอบหมายการทำงาน จัดทำกำหนดการ เป็นประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

แจ้งผลการดำเนินงาน สรุป มอบหมายงาน

 

30 36

11. ติดตามผลผู้เรียนหลังจากกลับไป3เดือน

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมกันกำหนดกติกาและนโยบายร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นางภูษณิศา แก้วเนิน หัวหน้าคณะทำงาน ได้ดำนินการปราศรัย เปิดเวทีให้แต่ละคณะได้แสดงความคิดเห็น แยกเป็น 5 คณะ

1.คณะเกษตรกรรมยั่งยืน นายบุญธรรม สังผอม หัวหน้าคณะและสมาชิกร่วมกันพูดคุย สรุปได้ว่า สมาชิกปลูกผักกินเองเพิ่มมากขึ้น โดยลดการใช้สารเคมี ช่วงแรกๆลองผิดลองถูก และบางคนมาถามขอคำแนะนำที่บ้านต้นแบบ และมีเครือข่ายมาศึกษาดูงานเพิ่มมากขึ้น เข้าร่วมกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และได้รับการสนับสนุนทุนชุมชน จัดทำแปลงนาสาธิต จำนวน 30,000 บาท ด้วย

2.คณะวัฒนธรรมท้องถิ่น นายไชยา นุ่นสังข์และสมาชิกร่วมพูดคุย สรุปได้ว่า ตอนนี้วิทยากรน้อย และวิทยากรใหญ่ ได้ไปสอนรำพรานโนราห์ และกลองยาว ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภูทุกเดือน ผู้ปกครองเสนอมาว่าให้บรรจุไว้ในตารางเรียนของเด็กเพื่อเด็กจะได้รำเป็นได้เร็วขึ้น คณะกลองยาวบ้านหัวลำภูซ้อมกันทุกหัวค่ำ และจะร่วมขบวนแห่ผ้าจังหวัดในวันที่ 3 มีนาคม วันแห่ผ้าขึ้นธาตุนี้ด้วย

3.คณะการศึกษา นางสาววิชชุดา สุขช่วย แสดงความคิดเห็นว่า ตอนนี้ บ้านโฮมสเตย์พร้อมรับคณะศึกษาดูงานจำนวน 15 หลัง

4.คณะเศรษฐกิจชุมชน นางสาวศรีสุดา ดำชุม แสดงความคิดเห็นว่า กลุ่มปลูกผักตอนนี้กำลังดำเนินการปลูกผักกินเอง แต่มีปัญหาคือฝนทิ้งช่วง 3 เดือนแล้ว ขาดน้ำรดผัก แต่ทุกคนยังสู้จะทำต่อไป บางคนก็มีผักกินและได้แบ่งเพื่อนแล้ว

5.คณะสวัสดิการชุมชน นางสอิ้ง หนูคงบัตร แสดงความคิดเห็นว่า สมาชิกตอนนี้มีกระปุกหยอดวันละบาท ทำจากกระป๋องแป้งที่ใช้แล้ว

และทุกคนได้ร่วมกันกำหนดกติกากลุ่มคือ 1.ใช้วิถีพอเพียง (ร่วมครัวเรือนต้นแบบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง) 2.ไม่กินแกงถุง 3.ลดการใช้สารเคมี 4.ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหารร้อน 5.ปลูกผักกินเอง 6.ร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ และจัดพิมพ์แจกให้แต่ละครัวนำไปติดไว้ที่บ้านของตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามผลผู้เรียนหลังจากกลับไป3เดือน แยกเวทีเป็นคณะรวม5เวที 1.เวทีคณะเกษตรกรรม 2.เวทีคณะวัฒนธรรมท้องถิ่น 3.เวทีคณะสวัสดิการชุมชน 4.เวทีคณะเศรษฐกิจชุมชน 5เวทีคณะการศึกษา ร่วมกำหนดกติกา นโยบายการจัดการชุมชนร่วมกัน เพื่อนำสู่เวทีใหญ่

กิจกรรมที่ทำจริง

ติดตามผลการร่วมกิจกรรม สรุปผลการดำเนินงานของแต่ละคณะ

 

150 170

12. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (10)

วันที่ 3 มีนาคม 2558 เวลา 11:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานโครงการ ร่วมกับหน่วยงานราชการ แกนนำ กำนันผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มกลองยาวบ้านหัวลำภู จำนวน 120 คน จัดขบวนแห่ผ้าพระบฏนานาชาติเมืองนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกิจกรรมกลองยาว รำพรานโนราหฺ

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกิจกรรมแห่ผ้าขึ้นธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

30 30

13. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10

วันที่ 5 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดคณะสภาผู้นำชุมชนบ้านหัวลำภูปฎิรูปการจัดการตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการประชุม ชี้แจงรายละเอียดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นางภูษณิศา แก้วเนิน แจ้งผลการดำเนินกิจกรรมหมู่บ้านสร้างสุข ตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเป็หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยมี 30 ครัวเรือนเป็นต้นแบบ มีพัฒนากรอำเภอมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ และติดตามการดำเนินงาน หลังจากนี้จะได้มีผญ.เป็นคณะกรรมการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้บริหารต่อไป  และตนเองได้รับการคัดเลือกไปอบรมsmart leader ที่ชลบุรี ตัวแทนจังหวัด เป็นเวลา 10 วัน ในการอบรมได้รับการโหวตให้เป็นผู้ที่มีวาทศิลป์ยอดเยี่ยมด่วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมคิดแผนการดำเนินงาน แล้วร่วมกันกำหนดกิจกรรม วางแผนงาน ปฏิทินงาน และมอบหมายการทำงาน จัดทำกำหนดการ เป็นประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปและรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มอบหมายงานตามกิจกรรมที่กำหนด

 

30 36

14. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 11

วันที่ 5 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดคณะสภาผู้นำชุมชนบ้านหัวลำภูปฎิรูปการจัดการตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการเปิดเวทีให้ทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ประเมินผลกิจกรรมที่ผ่านมา

นางธรภรณ์ จันทร์นวล ตัวแทนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง เสนอว่า ตอนนี้กลุ่มเลี้ยงไก่สามารถฟักไก่ได้เอง และสอนคนอื่นทำได้

นางกัลยา ขวัญเกิด ตัวแทนกลุ่มทำขนม บอกว่า กลุ่มทำขนมตอนนี้ปลูกผักกินเอง และนำมาขายร่วมกับขายขนม

นางสาวศรีสุดา ดำชุม ตัวแทนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ บอกว่า ตอนนี้กลุ่มปลูกผักกินเองแล้วยังปลูกร่วมกันที่แปลงของนางสอิ้ง หนูคงบัตร ด้วย และตาหลวงแสร์ พระในวัด ยังปลูกผักใส่ถังสังฆทานไว้ให้ชาวบ้านได้นำมากินด้วย

กลุ่มเกษตรกรรม นายบุญธรรม สังผอม บอกว่าตอนนี้แปลงนาสาธิตเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้ว ข้าวหอมนิลพันธ์ุพื้นเมือง ที่นา 5 ไร่ ได้ข้าว 4300กก. และสีกินเอง สีขายเอง กก.ละ50บาท กิจกรรมเวทีประกาศชัยชนะ จะร่วมกันจัดกิจกรรมสรงน้ำหลวงพ่อพวยองคมุนี พระคู่บ้าน และรดน้ำผู้สูงอายุ ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมคิดแผนการดำเนินงาน แล้วร่วมกันกำหนดกิจกรรม วางแผนงาน ปฏิทินงาน และมอบหมายการทำงาน จัดทำกำหนดการ เป็นประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ประเมินผล มอบหมายงาน กำหนดแผนงาน

 

30 37

15. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (11)

วันที่ 7 เมษายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เนื่องจากเป็นช่วงที่โรงเรียนปิดภาคเรียน จึงได้นัดทำกิจกรรมที่ศูนย์ประสานงานชุมชน โดยวิทยากรน้อยและวิทยากรใหญ่ได้ช่วยกันนำทุกคนรำกลองยาว อย่างสนุกสนาน และได้ทานอาหารมื้อเที่ยงด้วยกัน อีกทั้งมีขนมจีนได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองนำมาร่วม ใช้เวลาร่วมกิจกรรมกันหลายชั่วโมงเพราะไม่ต้องเรียนวิชาอื่น และมีเวลาที่เด็กๆว่างจากการเรียน จนเกือบค่ำจึงได้แยกย้ายกันกลับบ้าน หลายคนเสนอแนะว่าให้เปิดโรงเรียนสอนโนราห์ และรำพราน เนื่องจากลูกๆชอบ ในช่วงปิดภาคเรียน มีผู้ปกครองสนใจอยากให้ลูกๆได้มาเรียนอย่างเต็มที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกิจกรรมกลองยาว รำพรานโนราห์

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมรำพรานโนราห์ และรำกลองยาว

 

30 35

16. กำหนดกติกาชุมชนร่วมกัน

วันที่ 13 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเกิดกติกาชุมชนจัดการตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตอนกลางคืน มีรำวงย้อนยุค โดยกลุ่มวัฒนธรรมท้องถิ่น และวงดนตรีจากบ้านทะเลปังมาร่วมกิจกรรม นำรายได้เข้าวัดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย
แจ้งกติกาชุมชนให้ทุกคนรับทราบและใส่ไว้ในแผนชุมชน ทำเป็นบันทึกข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบและร่วมกันปฎิบัติต่อไปดังนี้ 1.ใช้วิถีพอเพียง เข้าร่วมเป็นแกนนำต้นแบบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 2.ลดการใช้สารเคมี
3.ไม่กินแกงถุง

4.ไม่ใช้เครื่องปรุงรส
5.ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหารร้อน 6.ทำบัญชีครัวเรือน
7.ปลูกผักกินเอง
8.การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9.ประชุม ร่วมตรวจสุขภาพ ร่วมกัน
10.ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล 5
โดยแจกให้ทุกคนได้นำไปปิดไว้ที่บ้าน และร่วมกันต้อนรับนายสิทธิชัย เผ่าพันธ์ นายอำเภอหัวไทร ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานสรงน้ำพระ พบปะชาวบ้าน และได้รดน้ำขอพรจากนายอำเภอด้วย และหลังจากนั้นได้ร่วมกันไหว้ขอพรพระ สรงน้ำหลวงพ่อพวย หลวงพ่อทวด พระภิกษุสงฆ์ และรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีประกาศชัยชนะหมู่บ้านจัดการตนเอง(รวมเวทีใหญ่1เวที)ร่วมกันกำหนดนโยบายชุมชนเพื่อถือปฎิบัติ-สรุปผล ถอดบทเรียน ขยายเครือข่ายเวทีย่อย

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดกติกาชุมชน ร่วมสรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

 

150 204

17. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 12

วันที่ 20 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดคณะสภาผู้นำชุมชนบ้านหัวลำภูปฎิรูปการจัดการตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ร่วมประชุมหมู่บ้านโดยนายสุมาศ จันทร์ศรี ผู้ใหญ่บ้านดำเนินการประชุม แจ้งเรื่องของหน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง

นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวขอบคุณทุกคนที่ได้ร่วมงานกันมาตลอดโครงการ และสรุปผลการดำเนินงานของโครงการจากได้ร่วมประชุมแกนนำที่ศูนย์ประสานงานชุมชน 2 วัน ก่อนหน้านี้ โดยการเปิดเวทีให้ทุกคนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าทำโครงการแล้ว ดีกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน อย่างไรบ้าง

นายบุญธรรม สังผอม หัวหน้ากลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน กล่าวว่า ตนเองและคนในครอบครัวได้กินอาหารดีๆปลอดสารพิษแน่นอนเพราะปลูกเอง อาหารทำเองได้ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างความมั่นคงให้กับชีวิต มีเพื่อน มีเครือข่ายมาเรียนรู้มากมาย ตอนนี้ในครัวเรือนที่ต้องซื้อคือเกลือ อยากให้ทุกคนได้ทำอย่างนี้ไปตลอดอย่าหยุด

นางสาวศรีสุดา ดำชุม ตัวแทนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ กล่าวว่า ตนเองสุขภาพไม่ดี จึงได้เห็นความสำคัญและหันมาปลูกผักกินเองปลอดสารเคมีดีต่อสุขภาพ และได้เพื่อนร่วมกันทำ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณสมทบจากกองทุนสปสช.อบต.หัวไทร อีกด้วย

นายไชยา นุ่นสังข์ และนางติ้ม แซ่พั่ว นำเสนอเรื่องรำพรานและกลองยาว ว่า เป็นครูสอนร่วมกับวิทยากรน้อย ทำแล้วชอบ มีความสุข มีเครือข่ายมาร่วมมากขึ้น อยากเปิดโรงเรียนสอนรำพรานโนราห์ และกลองยาว เพื่อให้เด็กรุ่นหลังได้รำเป็นและสืบทอดต่อไปได้

นางปราณี ไขแก้ว กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง กล่าวว่า รวมกลุ่มกันทำงาน ช่วยเหลือกัน ตอนนี้เลี้ยงไก่ในเล้ารวมกัน และสามารถฟักได้เอง ลูกไก่ให้เพื่อนไปเลี้ยงต่อได้

นางกัลยา ขวัญเกิด กลุ่มทำขนม กล่าวว่า สมาชิกกลุ่มร่วมกันทำขนมร่วมกันในช่วงที่วัดมีงาน หรือมีเทศกาลต่างๆ ได้รวมตัวกันทำงาน ช่วยเหลือกันและกัน ช่วยเหลือหมู่บ้าน หรือส่วนรวมได้ด้วย

นางสาวอรวรรณ สงวนปราง บอกว่า ไม่เคยเข้ามาร่วมกับหมู่บ้านเลย เห็นเพื่อนปลูกผักกิน และร่วมกันทำงานแล้วชอบ เลยร่วมด้วยเห็นว่ามีประโยชน์

ที่ประชุมได้เสนอว่า ควรจะมีการทำกิจกรรมต่อเนื่องโดยพี่นำน้องทำ อยากให้หัวลำภูทุกบ้านเป็นเหมือนบ้านของบุญธรรม สังผอม ถึงจะไม่เหมือนทั้งหมดแต่อยากให้ทุกบ้านเป็นบ้านต้นแบบต่อไปได้ และคงเอกลักษณ์ความเป็นหัวลำภู เอาไว้ แผนชุมชนบ้านหัวลำภู เปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ว่า '' หลวงพ่อพวยคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำวิถีพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข สร้างเสริมเติมสุขทุกครัวเรือน " และใส่ไว้ในแผนชุมชนฉบับบูรณาการเรียบร้อยแล้ว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำคณะปฎิรูป ร่วมประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ประเมินผล ร่วมจัดทำแผนชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปผลการดำเนินงาน มอบหมายงาน กำหนดแผนการทำงาน

 

30 33

18. ขยายเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น (12)

วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เนื่องจากยังเป็นช่วงปิดภาคเรียน ทุกคนนัดกันมาร่วมกิจกรรมที่ศูนย์ประสานงานชุมชน มีวิทยากรน้อย และวิทยากรใหญ่ร่วมกันนำรำ มีผู้ปกครองและเด็กเล็กรำร่วมกันอย่างสนุกสนาน มีน้องตัวเล็กๆที่พี่พามาร่วมรำด้วยกัน มีผู้สูงอายุที่เป็นปู่ย่า ตายาย มานั่งเชียร์ด้วย เมื่อเวลารำเสร็จ เด็กๆต่างนัดกันว่าพรุ่งนี้จะมารำกันอีกดีกว่า ช่วงบ่ายวัฒนธรรมอำเภอหัวไทร นางกิ่งกาญจน์ รักษาสัตย์ ร่วมประชุมเครือข่ายวัฒนธรรม เพื่อกำหนดการจัดประเพณีสมโภชขวัญข้าว ที่วัดศาลาแก้ว เป็นประเพณีประจำอำเภอ กำหนดจัดงานวันที่ 3พค.2558 นี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกิจกรรมกลองยาว รำพรานโนราห์

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมรำพรานโนราห์ และรำกลองยาว

 

30 36

19. เรียนรู้ บันทึก รายงานโครงการ

วันที่ 10 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อบันทึกรายงานกิจกรรม ติดตามผล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

อาจารย์กำไล สมรักษ์ พี่เลี้ยง เดินทางมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีคณะทำงานหมู่บ้านสร้างสุขตำบลหัวไทร จำนวน 6 หมู่บ้านๆละ 6 คน เข้าร่วมกิจกรรม เริ่มฝึกปฎิบัติและเรียนรู้ ส่งรายงาน บันทึกกิจกรรมทางเวปไซค์ เริ่มจากหมู่ที่ 2 ไปจนครบ 6 หมู่บ้าน มื้อเที่ยงยกชั้นมากินด้วยกัน อาหารทำจากผลผลิตของเหล่าสมาชิก  นัดร่วมกันทำกิจกรรม ทบทวนอีกที วันที่ 13 พ.ค.2558 นี้ ที่เก่าเวลาเดิม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

บันทึกรายงานกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปผลกิจกรรม เรียนรู้ และ บันทึกรายงานกิจกรรม 

 

6 9

20. ตืดตามผลผู้เรียนหลังจากกลับไป 3 เดือน

วันที่ 12 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามและให้เกิดกลไกการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แยกเวทีการติดตามหลังการเรียนรู้ตามบ้านต้นแบบ เป็น 5 เวที ตามบ้านต้นแบบ และได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปี 2558 เวทีได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมได้ดังนี้

1.คณะเกษตรกรรมยั่งยืน บ้านบุญธรรม สังผอม จากบ้านวิถีพอเพียง ตอนนี้ได้รับทุนชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน จัดทำแปลงนาอินทรีย์สาธิต มีข้าวกินและขายข้าวสารในตลาดชุมชน มีเครือข่ายมาศึกษาดูงานเพิ่มมากขึ้น ทั้งสมาชิกในชุมชนและนอกชุมชน จำนวน 150 คน เลี้ยงไก่พื้นเมือง ไว้กินและขาย มีทุกอย่างไม่ต้องซื้อซื้อเฉพาะเกลือ ข้าวสารจดทะเบียนโอทอป และได้รับการสนับสนุนสติ้กเกอร์ พร้อมทั้งเครื่องซีนถุง จากมหาวิทยาลัยการอาชีพหัวไทร

2.คณะเศรษฐกิจชุมชน นางสาวศรีสุดา ดำชุม หัวหน้ากลุ่มอาชีพ  มีทุนชุมชน ทุนมนุษย์ ทุนทรัพยากร มีกลุ่มอาชีพเพิ่มขึ้นหลากหลาย กลุ่มขนม กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มเลี้ยงด้วง กลุ่มปลูกผัก กลุ่มทำเคย กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง กลุ่มนาอินทรีย์ กลุ่มกลองยาว กลุ่มสมุนไพรเพื่อชุมชน กลุ่มวัฒนธรรมสมุนไพร กลุ่มรักษ์สมุนไพร และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อม ในการดำเนินงานของกลุ่มสมุนไพร

3.คณะการศึกษา นางสาววิชุดา สุขช่วย ร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานโฮมสเตย์ที่ตลาดน้ำคลองแดน ตอนนี้สมาชิกบ้านต้นแบบ มีโฮมสเตย์พร้อมต้อนรับแก่ผู้มาเรียนรู้ได้พักอาศัยกับบ้านต้นแบบ จำนวน 15 บ้าน 200 คน

4.คณะสวัสดิการชุมชน ขณะนี้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 30 คนอบต.หัวไทร ได้เข้าแผนเพื่อสมทบสวัสดิการไว้แล้วด้วย

5.คณะวัฒนธรรมท้องถิ่น นายไชยา นุ่นสังข์ บอกว่า สมาชิกรำพรานและกลองยาวมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวลำภู และเครือข่ายหมู่บ้านใกล้เคียง ทั้งหญิงและชาย มีชื่อเสียงมากขึ้น และอยากเปิดเป็นโรงเรียนสอนเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ

  - นางภูษณิศา แก้วเนิน ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติจากกรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โดยนายอำเภอหัวไทร เป็นผู้มอบ   - เมื่อวันที่ 3 พค.ที่ผ่านมาได้ร่วมกิจกรรมประเพณีสมโภชขวัญข้าว ซึ่งในการนี้ได้รับการจัดเป็นประเพณีประจำอำเภอ ตามโครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางมิติของวัฒนธรรม ใช้ชื่อว่า ขวัญข้าวหัวไทร ขวัญใจแม่โพสพ มีเครือข่ายสภาวัฒนธรรมทุกตำบลนำขวัญข้าวมาร่วมในงานด้วย ปราชญ์ท้องถิ่น ได้สืบทอดการทำกระเฌอขวัญข้าว การบูชาแม่โพสพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามผลผู้เรียนหลังจากกลับไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ทบทวน ติดตามการดำเนินกิจกรรมหลังการเรียนรู้

 

150 157

21. ติดตาม สรุปผลโครงการ

วันที่ 13 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานโครงการ และเครือข่ายหมู่บ้านสร้างสุข ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงาน บันทึกรายงานกิจกรรม เอกสารการเงินที่เกี่ยวข้อง รับประทานอาหารมื้อเที่ยงด้วยกัน แล้วทำต่อ ตอนเย็นร่วมกันทำอาหารกินด้วยกัน จนตกดึกจึงเดืนทางกลับบ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปผล ติดตาม การดำเนินงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

บันทึกรายงานกิจกรรมทางเวปไซค์ สรุปผลกิจกรรม

 

6 6

22. เวทีเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช สรุปงวด 2

วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลงานงวดที่ 2

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานโครงการ รายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ผลสรุปของโครงการ รายงานเวปไซค์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานกิจกรรม สรุปผลการดำเนินงาน รายงานเวปไซค์

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปผลการดำเนินงาน งวด 2

 

3 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 43 43                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 177,800.00 178,300.00                  
คุณภาพกิจกรรม 172 134                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางภูษณิศา แก้วเนิน
ผู้รับผิดชอบโครงการ