directions_run

มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. มีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ โดยใช้หลัก 3 อ. 2ส. ให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 81 คน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. มีคณะทำงานจัดการข้อมูล 2. มีกระบวนการพัฒนาคณะทำงานข้อมูล 3. มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าในการสร้างความตระหนักต่อชุมชนในประเด็น ผู้สูงอายุ 4. มีการวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชน 5. มีกระบวนการคืนข้อมูลให้ชุมชน

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  1. จัดกิจกรรมอาวุโสโอเคให้กับผู้สูงอายุ 81 คน และเยาวชน 30 คน

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

  1. มีกิจกรรมการจัดการข้อมูลผู้สูงอายุโดยเยาวชน มีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และคืนข้อมูล
  2. มีการประชุมทีมงานทุกเดือน
  3. มีกิจกรรมจัดทำคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮฺ)
  4. มีกิจกรรมจัดการข้อมูลผู้สูงอ่ยุโดยเยาวชน มีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล คืนข้อมูล และกิจกรรมถอดบทเรียน
2 2. เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. ชุมชนมีกิจกรรมสำหรับอบรมให้ความรู้ และเตรียมความพร้อมสำหรับครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 ครัวเรือน 2. ได้ชุดความรู้/คู่มือดูแลผู้ป่วยที่เป็นของชุมชน โดยมีการบูรณาการกับหลักการของศาสนาอิสลาม จำนวน 1 ชุด ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. เกิดกลุ่มตัวแทนสมาชิกในครอบครัว และเยาวชนที่มีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุ โดยแน้นการให้ความสำคัญในกิจวัตรประจำวันและการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ 2. ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ด้านศาสนามาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  1. จัดอบรมให้ความรู้และเตรียมความพร้อมสำหรับครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุโดยตัวแทนครัวเรือน 40 คน
  2. ผู้สูงอายุได้คู่มือการดูแลสุขภาพผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย 1 ชุดฃ

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

  1. ครอบครัวและชุมชนมีความรู้และทักษะในการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ เกิดกระบวนเรียนโดยใช้การบูรณาการของศาสนาในการดูแลผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุมีการนำความรู้จากการเรียนแบบกลุ่มย่อย (ฮาลาเกาะฮฺ) ทั้ง 6 ครั้ง มาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง
3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสแสดงศักยภาพของตนเองในการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. ผู้สูงอายุในชุมชนรวมตัวกันเป็นอาสาสมัครถ่ายทอดความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ด้านอาหาร ด้านอาชีพ ด้านสมุนไพร และด้านศาสนาให้ผู้สนใจและเยาวชนจำนวน 1 กลุ่ม 2. มีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ เช่น ขนม เครื่องใช้ที่เกิดจากการประดิษฐ์ วางจำหน่าย เพื่อสมทบในกองทุนผู้สูงอายุ กุนุงจนอง ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. มีองค์ความรู้ในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชนและผู้สนใจ จำนวน 1 ชุด 2. เกิดศูนย์ถ่ายทอดความรู้เชิงประสบการณ์ ประจำชุมชน 1 ศูนย์

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  1. มีกิจกรรมมหกรรมชุมชนกุนุงจนองถ่ายทอดภูมิปัญญา 2 ครั้ง โดยผู้สูงอายุ 1 กลุ่ม ร่วมถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. มีผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์จากกะลาและการทำขนม (ปูโละลือแม) วางจำหน่ายในกิจกรรมมหกรรมชุมชนกุนุงจนอง

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

  1. มีบอร์ดองค์ความรู้ในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทำขนมปูโละลือแม 1 ชุด จัดตั้งที่ห้องสมุดชุมชน
  2. มีศูนย์ถ่ายทอดความรู้เชิงประสบการณ์ ประจำชุมชน 1 ศูนย์ที่โรงเรียนตาดีกานูรูลอิห์ซานกุนงจนอง
4 4. เพื่อสร้างกลไกชุมชนที่แข็งแรงสู่ชุมชนน่าอยู่
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1.มีการประชุมติดตามกิจกรรม ทุกเดือน จำนวน 10 เดือน 2.มีการถอดบทเรียน 1 ครั้ง ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ มีการปรับแผน และ กิจกรรมเพื่อความสอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  1. กิจกรรมประชุมทีมงาน 10 ครั้ง ณ โรงเรียนตาดีกานูรูลอิห์ซานกุนุงจนอง
  2. จัดกิจกรรมถอดบทเรียน 1 ครั้ง โดยมีทีมงาน 15 คน ตัวแทนผู้สูงอายุ 15 คน และตัวแทนเยาวชน 15 คน

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

  1. เกิดการปรับแผนและกิจกรรมเพื่อความสอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5 5. เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับสสส.และสจรส.

เข้าร่วมประชุมกับ สจรส.จำนวน 4 ครั้ง คือ ปิดงวด 1 สังเคราะห์โครงการ ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ และปิดงวด 2

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ (2) 2. เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (3) 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสแสดงศักยภาพของตนเองในการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ (4) 4. เพื่อสร้างกลไกชุมชนที่แข็งแรงสู่ชุมชนน่าอยู่ (5) 5. เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh