เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย

เปิดโลกโภชนาการ19 กรกฎาคม 2558
19
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย karemah
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารด้านสุขภาพ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและเหมาะสมกับผู้สูงวัย3.เพื่อให้กลุ่มเยาวชนธรรมะและผู้สูงวัยมีกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ก่อนดำเนินกิจกรรม

  1. คณะทำงานศึกษาศึกษาแนวทางและกำหนดกรอบกิจกรรม
  2. ศึกษาเอกสาร ความรู้ เกี่ยวกับโภชนาการของผู้สูงวัย สรุปรวบรวมความรู้จากวิทยากรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการจากกิจกรรมที่ผ่านมา
  3. คณะทำงานประชุม เพื่อสรรหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ การทำอาหารเพื่อสุขภาพในท้องถิ่น เช่น การทำน้ำสมุนไพร การปรุงอาหารจากสมุนไพรในท้องถิ่น การทำข้าวยำ เป็นต้น
  4. ดำเนินการจัดทำป้ายนิเทศ เพื่อจัดนิทรรศการ
  5. ดำเนินการจัดกิจกรรม เปิดโลกโภชนาการ ตามวันเวลาที่กำหนดไว้

5.1สาธิตการทำข้าวยำท้องถิ่นตากใบ ใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่น โดยมีผู้สูงอายุในท้องถิ่น สรุปวิธีทำได้ดังนี้ ส่วนผสมสำหรับทำน้ำหุงข้าวยำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ประกอบด้วย

1.ใบไม้สมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ใบพันสะหมอ ใบยอป่า ใบไม้เท้าพันยา ใบมะกรูด ใบมะนาว ฯลฯ 2.หัวกะเปราะ หัวกระชาย หัวกะทือ หัวขมิ้น
วิธีทำ 1.นำใบไม้สมุนไพรและหัวพืชสมุนไพรมาใส่ครกตำให้เข้ากัน 2.ใส่น้ำ แล้วคั้นและกรองเอาเฉพาะน้ำใส่ในข้าวสาร 3.ตั้งไฟ หุงเป็นข้าวสวย

แกล้มข้าวยำ(ส่วนประกอบของการรับประทานข้าวยำ) ประกอบด้วย

1.ปลาย่างเอาแต่เนื้อ 2.มะพร้าวคั่ว 3.พริกไทยป่น 4.ผักในท้องถิ่นชนิดต่างๆหั่นซอย เช่น ดอกดาหลา ใบกะเสม (จันทร์หอม) ใบมะกรูด ถั่วฝักยาว ถั่วงอก แตงกวา มะม่วงสับ ใบกะเปราะ ตะไคร้ เมล็ดกระถิน ยอดมะม่วงหินพานต์(แตรแหร) ยอดตาเป็ด ฯลฯ

บูดู

1.บูดูสดไม่มีส่วนผสม 2.บูดูเคี่ยวประกอบด้วยส่วนผสมและวิธีทำดังนี้ บูดู ใบมะกรูด ตะไคร้ น้ำตาลแว่น

วิธีทำ นำส่วนผสมทั้งหมดตั้งไฟนำเคี่ยวให้เดือด ปรุงรสตามความต้องการ

วิธีนำมารับประทาน นำข้าวสวยที่หุงด้วยใบไม้สมุนไพร ใส่ปลาย่าง มะพร้าวคั่ว กับแกล้มผัก ราดบูดู (ปรุงรสตามต้องการ) มาผสมคลุกเคล้าให้กัน เหมือนลักษณะการยำจึงเรียกว่า ข้าวยำสมุนไพร

5.2สาธิตการทำน้ำดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ มีน้ำกระเจี๊ยบ น้ำตะไคร้ น้ำใบบัวบก ผสมใบเตยและใบย่านาง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการจัดกิจกรรม

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่ปรากฏในบันชีลงทะเบียน จำนวน 150 คน

  2. ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริงประมาณ 300 คน (ไม่ได้ลงทะเบียน)

  3. ประเมินผล โดยการสังเกต และสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า

- ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ทราบถึงประโยชน์ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และได้เรียนรู้อาหารเพื่อสุขภาพจาก แผนภูมิ รูปภาพ ที่นำมาจัดนิทรรศการ

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสรรพคุณของพืชสมุนไพรใกล้ตัวและมีอยู่ในท้องถิ่น

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำข้าวยำและสรรพคุณจากพืชผักที่นำมาปรุงข้าวยำตามสูตรดั้งเดิมของท้องถิ่นตากใบ

  • จากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพบว่า มีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการปรุงอาหารของท้องถิ่นที่รู้จักนำพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่อยู่ใกล้ตัว มาปรุงอาหารให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพโดยใช่ส่วนผสมที่ได้สัดส่วนไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสรับประทานอาหารและดื่มน้ำสมุนไพร และกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ต่อไปนี้ "เราจะไปทำดื่มที่บ้านบ้างไม่เห็นยากเลยและไม่ต้องลงทุน"

4.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจและเข้าร่วมกิจกรรมเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ สรุปผลการประเมินคุณภาพกิจกรรมอยู่ในระดับ 4

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 150 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย

จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 150 คน ประกอบด้วย

  • เยาวชน 50 คน
  • ผู้สูงวัย 40 คน
  • ผู้ปกครองและครูจิตอาสา 60 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นิมลต์ หะยีนิมะ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-