เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย

มหกรรมสุขภาพครั้งที่36 กันยายน 2558
6
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย karemah
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพและการผ่อนคลายทางอารมณ์
  2. เพื่อให้เยาวชนร่วมกับ อสม.ติดตามสุขภาพผู้สูงวัย3.เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้สูงวัย ร่วมกับเยาวชนติดตามดูแลผู้สูงวัย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติการรักษาสุขภาพจิตตามแนวพุทธศาสนาโดยการเจริญจิตภาวนา
  3. วิทยากรให้ความรู้และสาธิตการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย
  4. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง
  5. ชมนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง(NCD)
  6. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และบันทึกลงในสมุดบันทึก
  7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ผ้าขนหนู และการออกกำลังกายตามรูปแบบที่เยาวชนช่วยกันคิด
  8. เยาวชน จับคู่กับผู้สูงวัย และปฏิบัติการนวดให้ผู้สูงวัยเพื่อผ่อนคลาย
  9. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ร่วมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวยำพื้นบ้าน(สมุนไพร) น้ำดื่มสมุนไพร เช่น น้ำใบย่านาง บัวบก ตะไคร้ อัญชัญ กระเจี๊ยบ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการจัดกิจกรรมมหกรรมครั้งที่ 3 สรุปผลได้ดังนี้

  1. ผู้สูงอายุ เยาวชนธรรมะ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้มาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 135 คนเกินกว่าเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติการรักษาสุขภาพจิตตามแนวพุทธศาสนาโดยการเจริญจิตภาวนาจากการสังเกตพบว่า ผู้สูงวัยมีความสนใจ และฝึกปฏิบัติอย่างตั้งใจ บอกประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ สรุปได้ว่า ทำให้สบายใจขึ้น และมีความรู้มากขึ้น ส่วนเยาวชนธรรมะ จากการสังเกตพบว่าเยาวชนมีความตั้งใจปฏิบัติ และนั้งสมาธิได้ระยะเวลามากขึ้นกว่าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

  3. วิทยากรให้ความรู้และสาธิตการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย จากการสัมภาษณ์ พบว่าผู้สูงวัยเห็นความสำคัญของการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะสมกับวัย เห็นประโยชน์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นที่ดีต่อสุขภาพ

  4. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง โดยการชมนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง (NCD) จากการสัมภาษณ์ผู้สูงวัย พบว่ามีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น แต่ยังต้องการให้ทำอย่างต่อเนื่อง

  5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และบันทึกลงในสมุดบันทึก จากการประเมินโดยภาพรวมในสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพพบว่า ผู้สูงวัยมีความดันโลหิต และน้ำหนัก อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ มีบางรายเท่านั้นที่จะต้องติดตามผล และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน และการรับประทานยาต่อไป

  6. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ผ้าขนหนู และการออกกำลังกายตามรูปแบบที่เยาวชนช่วยกันคิด จากการสัมภาษณ์และสังเกต พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในกิจกรรมการออกกำลังกาย และเสนอแนะให้ทำอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในรูปแบบการออกกำลังกายที่เยาวชนสาธิต และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติ

  7. เยาวชน จับคู่กับผู้สูงวัย และปฏิบัติการนวดให้ผู้สูงวัยเพื่อผ่อนคลาย ผลจากการปฏิบัติ พบว่า ผู้สูงวัยมีความสุข สังเกตจากใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส และสนุกสนาน จากการที่ลูกหลานได้สัมผัสร่างกายโดยการนวด ตามที่ได้รับการฝึกปฏิบัติ อันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเยาวชนและผู้สูงวัย

  8. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ร่วมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวยำพื้นบ้าน(สมุนไพร) น้ำดื่มสมุนไพร เช่น น้ำใบย่านาง บัวบก ตะไคร้ อัญชัญ กระเจี๊ยบ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนสนใจและรับประทานข้าวยำ และดื่มน้ำสมุนไพรมากขึ้นโดยการเปรียบเทียบจากกิจกรรมอื่นๆที่ผ่านมา และพบว่าผู้สูงวัยผู้หญิงและเยาวชนผู้หญิง ชอบข้าวยำมากกว่าผู้ชาย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 135 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้สูงอายุ40 คน
  2. เยาวชนธรรมะ 50 คน
  3. ผู้ปกครองเยาวชนธรรมะ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ อสม.ครูจิตอาสา 45 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นิมลต์ หะยีนิมะ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-