เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย

ผู้สูงวัยถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่เยาวชนครั้งที่25 กรกฎาคม 2558
5
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย karemah
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ผู้สูงวัยในท้องถิ่นที่มีความรู้ความชำนาญในแต่ละสาขาถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่เยาวชน และครูจิตอาสา
  2. เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาในท้องถิ่น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ก่อนดำเนินกิจกรรม

  • คณะทำงาน ศึกษาแนวทางและกำหนดกรอบการจัดกิจกรรม
  • ประสานงานติดต่อวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • จัดหาวัสดุอุปกรณ์
  • ประชุมชี้แจง คณะทำงาน คณะวิทยากร และมอบหมายงาน

การจัดกิจกรรม

  • เวลา 08:30 น. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม
  • ให้แต่ละกลุ่ม เข้าเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ตามฐานต่างๆทั้ง 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 จักสาน ฐานที่ 2 การทำน้ำยาซักผ้า ฐานที่ 3 การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
  • ลักษณะกิจกรรม
  1. สาธิตการจักสาน การทำน้ำยา และการทำน้ำมันมะพร้าว โดยคณะวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ทีละขั้นตอน พร้อมตอบคำซักถามของเยาวชน
  2. แบ่งกลุ่มเยาวชน และลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่วิทยากร ให้คำแนะนำ
  3. ทุกกลุ่มเข้ารับฟังการสาธิตและลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนทุกกิจกรรม พร้อมทั้งจดบันทึกตามแบบบันทึกที่คณะทำงานได้จัดทำขึ้น
  • เมื่อแต่ละกลุ่ม ได้เรียนรู้ จนครบกระบวนการทุกขั้นตอน ให้เปลี่ยนฐาน จนได้เรียนรู้ครบทั้ง 3 ฐาน
    ผลการจัดกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 105 คน
  • ประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรม และการฝึกปฏิบัติ จากการสังเกต สรุปได้ดังนี้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการจัดกิจกรรมครั้งที่ 2 โดยการสังเกตของคณะทำงาน พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้และการปฏิบัติกิจกรรม เยาวชน ผู้ปกครอง และคณะครู ให้ความสนใจ และตั้งใจฝึกปฏิบัติอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
1. ทักษะในการจักสานของเยาวชน จากการตรวจผลงาน พบว่า เยาวชนสามารถเรียนรู้ และปฏิบัติได้ดีขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 30 อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ร้อยละ 55 อยูในระดับปานกลาง และ ร้อยละ 15 อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ทั้งนี้เพราะ การจักสานนั้นเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะและการสังเกต เพราะฉะนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องฝึก อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และต้องมีผู้แนะนำ

2.ฐาน การทำน้ำยาล้างจาน (ครั้งที่ 1 ทำน้ำยาซักผ้า)เยาวชน สามารถทำได้ แต่มีความจำเป็นต้องมีผู้แนะนำและควบคุม ในขั้นตอนต่างๆ ซึ่ง จะได้ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะและความชำนาญต่อไป

3.ฐาน การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น จากการสังเกต พบว่า เยาวชนสามารถทำได้ตามขั้นตอนที่คณะวิทยากรแนะนำ เมื่อเปรียบเทียบกับการปฏิบัติครั้งที่1 สังเกต พบว่าคุณภาพของน้ำมันมะพร้าวดีขึ้นกว่าเดิม กลิ่นน้ำมันมีกลิ่นหอมขึ้น

  • สรุป ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และการปฏิบัติกิจกรรม อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม อยู่ในระดับ 4
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 105 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย

เยาวชน 50 คนผู้ปกครอง และผู้สูงอายุ 49 คนครูจิตอาสา 6 คน

หมายเหตุ เยาวชนกลุ่มเป้าหมาย คัดเลือกเฉพาะเยาวชนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง 6 ที่มีความพร้อมในการจักสาน การทำน้ำยา และน้ำมันมะพร้าว

ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย วิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตากใบ ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. ครูจิตอาสา สำนักเรียนพุทธศาสนาวัดธารากร และผู้ปกครองนักเรียน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นิมลต์ หะยีนิมะ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-