แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง

ชุมชน บ้านโคกไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 ต.นาบินหลา อ.เมือง จ.ตรัง 92000

รหัสโครงการ 57-02543 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0105

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2557 ถึง 15 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2557 ถึงเดือน มีนาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศน์เริ่มโครงการ

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 29-30 พ.ย. 08:30- 21.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน เรื่องกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล การจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เริ่มต้นด้วย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวต้อนรับและกล่าวทักทายผู้เข้าร่วม โดยได้อธิบายถึงแนวทางโครงการคนใต้สรา้งสุข ที่เป็นกระบวนการที่สรา้งให้ชุมชนสามารจัดการตนเองได้ ในกระบวนการเลห่านี้ ครธทำงานเสมือนมาเรียนรู้ให้ขเาใจกระบวนการจัดการแก้ขไปัญหาของชุมชนด้วยชุมชนเองเน้นการพูดคุย สรา้งสภาผู้นำชุมชนเงนที่ใช้ในโครงการได้มาจาก สสส . ซึ่งเป็นเงินภาษีจากเหล้าและบุหรี่ กระบวนการหนุนเสริมและติดตามของโครงการว่า จะมีพี่เลี้ยงจังหวัด ค่อยหนุนเสริมในพื้นที่ มีพี่เลี้ยงของ สจรส.ค่อยหนุนเสริม อีกทางหนึ่ง กระบวนการติดตามจะเน้นการเขียนรายงาน เวบไซด์คนใต้สรา้งสุข
  • ต่อมา คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้มาพูดถึง วิสัยทัศน์ เป้าหมายของสสส.ที่เน้นต้องการ สรา้งสรรค์โอกาศให้ชุมชน และการสร้างนวัตกรรมสุขภาพ และอธิบายถึงความคาดหวังต่อรายงานโครงการว่า เน้นการกระชับเข้าใจได้ง่ายเช่นตัวชี้วัด คุณค่าของโครงการ และอธิบายเกี่ยวกับ การเงินเช่น การขอบิลเงินสด(หามใช้ใบส่งของ แทนบิลเงินสด)  การเขียนใบสำคัญรับเงิน การเขียนค่าเดินทาง การจ่ายเงินแก่วิทยากร การขอสำเนาบัตรประชาชนในกรณีที่จ่ายเกิน 1000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชน  การทำป้ายโลโก้ของสสส.ที่ถูกต้อง
  • การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์ คณะทำงานลงข้อมูลตามโครงการของสัญญาในเวปไซด์  โดยอธิบาย ขั้นตอนการป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการ การกรอกปฏิทินกิจกรรม การเขียนรายงานชุมชนผ่านเวบได์คนใต้สร้างสุข  โดยระบวนการทั้งหมดจะมีพี่เลี้ยงอาวุโส อธิบายประสายการณ์ที่ผ่านมาทั้งเรื่องการเขียนรายงานและการเงิน รวมทั้งการหนุนเสริมในพืน้ที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กำหนดการ การประชุมปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557 รอบ 2 วันที่ 29 - 30 พฤศจิกายน 2557 ณ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) ชั้น 14 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เงื่อนไข 1. ผู้เข้าร่วม ผู้รับผิดชอบโครงการๆ ละ 2 คน (หนึ่งในสองต้องมีคนใช้งานคอมพิวเตอร์ได้) 2. ให้นำสัญญาการดำเนินงานโครงการ จาก สสส. มาด้วย 3. ให้นำคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค 4. ค่าเดินทาง ค่าที่พัก เบิกจากงบประมาณโครงการ หมายเหตุ ที่พัก ผู้รับผิดชอบโครงการจองเองได้ แต่หากไม่สะดวกจะให้ทาง สจรส.จองให้ควรแจ้ง “ชื่อ-เบอร์โทรศัพท์” มาที่ สจรส. มอ. ภายในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557

  • วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 - 10.00 น. กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.00 - 11.00 น        ความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 11.00 - 12.00 น. - การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณกำไล สมรักษ์ - การบริหารการจัดการงบประมาณ  (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดยคุณสมบูรณ์ ขวัญสงค์ และคุณจุรีย์ หนูผุด - การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน โดยคุณกัญนภัส จันทร์ทอง 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 14.00 น. การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์ 14.00 – 21.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม • การจัดทำรายงาน

  • 30 พฤศจิกายน 2557 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 - 12.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ (ต่อ) • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม • การจัดทำรายงาน 13.00 - 15.00 น. ประชุมพี่เลี้ยงร่วมกับ สสส. เพื่อการพัฒนาระบบการติดตามประเมินผล

กิจกรรมที่ทำจริง

  • พี่เลี้ยงและชุมชนที่เข้าร่วมได้เข้าใจถึงกระบวนการติตดามหนุนเสริมของพี่เลี้ยงจังหวัดและสจรส.
  • พี่เลี้ยงและชุมชนได้เข้าใจการเขียนรายงานการเงิน และรายงานผ่านเวบไซด์โครงการคนใต้สรา้งสุข
  • การเก็บเอกสาร หลักฐานทางการเงิน
  • ได้ลงมือกรอกรายละเอียดโครงการทางเวบไซด์  ทำปฏทินกิจกรรมโครงการ ทำรายงานโครงการได้ และเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด
  • พี่เลี้ยงจังหวัดได้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในการติดตามและหนุนเสริมโครงการของชุมชน

 

2 2

2. 1.1.1 คณะทำงานเข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติกับกลุ่มเป้าหมายได้ มีการประชุมคณะทำงานเพื่อได้แนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน 15 คน

วันที่ 6 ธันวาคม 2557 เวลา 13:30-16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ/แบ่งบทบาทหน้าที่กันทำตามความถนัดของแต่ละบุคคล/วางแผนและเตรียมการดำเนินงานช่วงเดือนแรกของโครงการ ปรับปฏิทินการทำงานให้ชัดเจน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานมีความเข้าใจในเรื่องกิจกรรมตามโครงการการและการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. มีมติร่วมกันในการขับเคลื่อนตามโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามโครงการ มีการกำหนดแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป เพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อสรุปเป็นรูปแผนชุมชนเพื่อให้ทันกันการทำประชาคมหมู่บ้านขององค์ปกครองท้องถิ่น เพื่อยื่นแผนพัฒนาแก่หน่วยงานท้องถิ่นต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อชี้แจงคณะบุคคลที่จะเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานโครงการ บทบาทหน้าที่ในการรับภาระกิจร่วมเพื่อขับเคลื่อนโครงการ
  • พี่เลี้ยงลงมาสร้างความเข้าใจแก่คณะทำงาน เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการและการจัดการโครงการตาม สสส.กำหนด
  • ออกแบบแผนงานการดำเนินงานตามโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มต้นด้วยผู้ใหญ่บ้าน กล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมประชุมและแนะนำคณะทำงาน พี้เลี้ยงโครงการแนะนำตัว กล่าวถึงที่ไปที่มาของโครงการ โดยได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.โดยได้รับงบจาสำนัก 6 และมีหน่วยงานที่ที่ติดตามสนับสนุนและประเมิณผลการดำเนินโครงการ คือสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.)โดยมี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ เป็นผู้กำกับดูแล ซึ่งโครงการบ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง ซึ่งได้รับงบประมาณรวมทั้งหมด 204,550 บาท โดยแบ่งโอนเข้าเป็นงวด จำนวน 3 งวด ตามกิจกรรมตามโครงการ เพื่อร่วมสร้างชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ชุมชนผ่านการจัดเก็บบัญชีครัวเรือน บัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน เพื่อได้รู้และตระหนักถึงสาเหตุปัจจัยหลักของปัญหา เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดวางแผนการจัดการครัวเรือนต่อไป และใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ต่อไป ในส่วนท้ายของกิจกรรมได้มีมติร่วมกันของคณะทำงานผู้เข้าร่วมประชุมในการร่วมกันผลักดันให้ชุมชนมีการรู้จักการจัดเก็บ จดบันทึกข้อมูลครัวเรือน บัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน และข้อมูลด้านอื่นๆเช่น พืชผักสวนครัวต่างๆ ตลอดจนร่วมกันสร้างพื้นที่สาธารณะในการเพิ่มต้นไม้หรือผักต่างๆที่เป็รความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน และมีการกำหนดปฏิทินในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้ทันกับการรายงานปิดงวดโครงการงวดที่1 ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนมีนาคม 2558 โดยกิจกรรมต่อไปคือกิจกรรมประชุมหมู่บ้านเพื่อทำความเข้าใจโครงการกับคนในหมู่บ้านและขอความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 14 ธันวามคม 2557

 

15 25

3. 1.2.1. ประชุมชาวบ้านเพื่อรับทราบ เข้าใจโครงการ และคัดเลือกครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 80 คน

วันที่ 14 ธันวาคม 2557 เวลา 10:30 - 16.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของชุมชนในการเข้าร่วมโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชาวบ้านให้การร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม และมีความสนใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยมีครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเบื้องต้น 60 ครัวเรือน
  • ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการร่วมคิดร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆที่วิทยากรถาม มีการถาม ตอบในที่ประชุม ปัญหาหลักเน้นเรื่องการรู้จักครัวเรือนตนเองผ่านการบันทึกข้อมูลครัวเรือน
  • กลุ่มผู้นำต่างๆในชุมชน เช่น อสม. สมาชิกอบต.ผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วย ให้ความสำคัญในการดำเนินโครงการ ซึ่งถือเป็นการร่วมกันสร้างชุมชนน่าอยู่ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชาชนในหมู่บ้านเข้าใจและรับทรายโครงการ ได้รายชื่อตัวแทนครัวเรีอน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เมื่อคณะทำงานและตัวแทนครัวเรือนมาเข้าร่วมประชุมกันพร้อมเพรียงกันแล้ว เข้าสู่พิธีเปิดโครงการโดยได้รับเกียรติจากนายชลธี ตะหมัง กำนันตำบลนาบินหลามาเป็นประธานในการเปิดโครงการ และกล่าวรายงานโดยนายณัฐพงศ์ นาทุ่งนุ้ย ผู้ใหญ่บ้านและประธานโครงการ
  2. คุณเสณี จ่าวิสูตร (พี่เลี้ยง) ทำความเข้าใจกับผู้เข้าร่วมประชุมในเรื่องของหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ สสส./สจรส.มอ. ที่ไปที่มาของการได้มาของงบประมาณในการมาดำเนินโครงการ และเป้าหมายของหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ
  3. คุณเสณี จ่าวิสูตร (พี่เลี้ยง) ชวนชาวบ้านร่วมคิด ร่วมแสดงความคิดเห็นเกียวกับปัญหาของครัวเรือนที่เกิดขึ้น รายจ่ายครัวเรือน รายรับครัวเรือน เงินขาดมือไม่พอจ่าย การเป็นหนี้เป็นสิน และเชื้อเชิญครัวเรือนให้มาศึกษาครัวเรือนตนเองโดยผ่านการทำบัญชีครัวเรือน
  4. เจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ตรัง ทำความรู้จักหน่วยงานตรวจบัญชีสหกณ์ มาให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในเรือ่งการจัดทำบัญชีครัวเรือน ร่วมกันบันทึกบัญชีครัวเรือนตัวอย่างในแบบฝึกสอนที่เตรียมมา ให้ครัวเรือได้มีความรู้ความเข้าใจในการลงตัวเลขต่างๆก่อนจะเริ่มลงบันทึกข้อมูลครัวเรือนในสมุดจริง
  5. รับสมัครครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมกับโครงการเพื่อเป็นครัวเรือนหลักในการขับเคลื่องงานตามแผนโครงการต่อไป
  6. กำหนดแผนงานในการดำเนินโครงการครั้งต่อไปเพื่อให้ทันกันช่วงเวลาที่กำหนดตามแผนฌครงการ

 

80 113

4. จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส.

วันที่ 14 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรณรงค์การงดสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เป็นพื้นที่งดสูบบุหรี่ เป็นเขตห้ามสูบบุหรี่ของชุมชน และประชาชนในหมู่บ้านปฏิบัติร่วมกันไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ที่แสดงป้าย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ เพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชนในชุมชน ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ในที่สาธารณะ

กิจกรรมที่ทำจริง

ทำป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อรณรงค์ให้คนในชุมชนงดสูบบุหรี่ในพื้นที่ที่แสดงป้าย 

 

80 113

5. 1.3.2. กิจกรรมการออกแบบแบบสำรวจบัญชีครัวเรือน/จัดทำแบบสำรวจข้อมูล

วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้าใจคณะทำงานและเยาวชนในการเก็บข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย และร่วมกันออกแบบชุดสำรวจครัวเรือนในรูปแบบข้อมูลหมู่บ้านเพื่อให้ทราบสภาพทั่วไปของครัวเรือนและชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจในการลงข้อมูล การเก็บข้อมูล และการดำเนินงานตามแผนโครงการ
  • คณะทำงานเด็กและเยาวชนได้ร่วมกันออกแบบชุดสอบถามครัวเรือนเพื่อให้มีความครอบคลุมในการเก็บข้อมูล เช่น บัญชีครัวเรือน ความมั่นคงทางอาหาร
  • เกิดกลุ่มเด็กและเยาวชน เป็นทีมเก็บข้อมูลครัวเรือน
  • เด็กและเยาวชนสามารถแสดงความคิดเห็น มีความกล้าแสดงออก
  • มีชุดต้นแบบสำรวจครัวเรือนเพื่อเก็บข้อมูลครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ร่วมเรียนรู้เรื่องการลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือน แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ
  • คณะทำงานและเด็กเยาวชน ทำความเข้าใจเพิ่มเติมเรื่องการบันทึกข้อมูลครัวเรือน
  • ร่วมกันออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ฐานข้อมูลครัวเรือนเบื้องต้น

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สร้างความเข้าใจให้แก่เด็กและเยาวชน ให้มีความเข้าในการดำเนินงานตามโครงการ ที่มาของงบประมาณ ความต้องการที่จะเห็นผลที่เกิดของแหล่งทุน สสส. และแผนงานตามโครงการที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณ
  • ชี้แจงทำความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชนในการรับทราบภาระกิจงานตามโครงการ แบ่งพื้นที่ครัวเรือนในการออกเก็บข้อมูลจากบัญชีครัวเรือนที่ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการจดบันทึกอยู่ และเก็บข้อมูลทั่วไปตามแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลสู่การสังเคราะห์ต่อไป
  • คณะทำงานและเยาวชนร่วมกันออกแบบชุดสำรวจครัวเรือน นอกเหนือจากสมุดบัญชีครัวเรือนที่ทางสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์มอบให้ ซึ่งครัวเรือนมีทุกครัวแล้ว โดยในชุดสำรวจครัวเรือนที่ออกแบบ ต้องมีความครอบคลุมทั้ง สภาพทั่วไปของครัวเรือน พืชผักที่ครัวเรือนปลูก ไม้ยีนต้น เครื่องมือประกอบอาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และครบถ้วนของแต่ละครัวเรือน
  • แต่งตั้งชุดคณะทำงานเด็กและเยาวชนเพื่อให้มีหัวหน้าทีมในการทำงาน แบ่งพื้นที่ครัวเรือนในการลงเก็บข้อมูล
  • กำหนดวันเวลาในการปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการต่อไป

 

40 40

6. 1.3.3. ประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการลงบัญชีครัวเรือน/และกระบวนการจัดเก็บข้อมูล/รวบรวมข้อมูล คณะทำงาน10คน ตัวแทนครัวเรือน 40 คน เด็กและเยาวชน30คน ครึ่งวัน

วันที่ 21 ธันวาคม 2557 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ให้ครัวเรือนมีความเข้าใจในการเข้าร่วมโครงการ กิจกรรมตามแผน และการเรียนรู้การลงบัญชีครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ครัวเรือนเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการลงข้อมูลครัวเรือน หมวดหมู่ต่างๆ
  • เด็กและเยาวชนมีความสัมพันธ์กับครัวเรือนที่ต้องลงเก็บข้อมูลเพื่อง่ายต่อการลงทำงานพื้นที่
  • เด็กและเยางชนมีความกล้าที่จะให้ข้อมูลแก่ครัวเรือนเป้าหมายในการสร้างความเข้าในการลงข้อมูลครัวเรือน
  • มีการกำหนดวันเริ่มลงข้อมูล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายในการขับเคลื่อนงานตามโครงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ
  • เรียนรู้การลงข้อมูลบัญชีครัวเรือน
  • แบ่งทีมงานเพื่อรับผิดชอบครัวเรือนเป้าหมายในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล
  • กำหนดการดำเนินกิจกรรมตามแผนโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นประธานโครงการกล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมประชุม
  • วิทยากรจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ตรัง สร้างความรู้ความเข้าใจการบันทึกข้อมูล หมวดหมู่ การเติมข้อมูลต่างๆให้ตรงตามช่อง เพื่อง่ายต่อการตรวจ
  • แบ่งกลุ่มครัวเรือนเป้าหมายออกเป็น 7 กลุ่ม และให้เด็กและเยาวชนเสริมในกลุ่ม เพื่อง่ายต่อการติดตามและลงเก้บข้อมูลเพิ่มเติม
  • กลุ่มร่วมกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มตัวอย่างและนำเสนอผลงานผ่านกลุ่ม
  • กำหนดการลงบันทึกข้อมูลครัวเรือนในวันที่ 1 มกราคม 2558 

 

80 76

7. 1.3.1. ประชุมกลุ่มเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านเพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ/ชักชวนใหเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ 40 คน

วันที่ 21 ธันวาคม 2557 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • สร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชน คัดเลือกคณะทำงานเยาวชนสู่การดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนให้การตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรม และให้ความสนใจในข้อมูลที่ได้รับจากวงประชุม
  • เด็กและเยาวชนสามารถแสดงความสามารในการพูดคุยในที่ประชุมได้ และสามารแสดงความคิดเห็นได้สามารถจับประเด็นได้
  • เยาวชนที่เข้าร่วมดครงการ 15 คน ถือว่ามีความรู้ความสามารถ คืออยู่ในช่วงกำลังศึกษาในขั้นมัธยมปลาย และมีความกระตือรือร้นในการแสดงความสามารถ
  • ได้ทีคณะทำงานที่เป็นเยาวชนเพื่อขับเคลื่อนงานตามแผนงานโครงการ
  • มีการกำหนดแผนงานการดำเนินงานตามโครงการต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะทำงานและเยาวชนมีความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ
  • เกิดทีมคณะทำงานและเยาวชนในการลงพื้นเก็บข้อมูล
  • กำหนดแผนงานกิจกรรมเพื่อเป็นไปตามเป้าหมาย

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทำความเข้าใจการเข้าร่วมโครงการ หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ รวมถึงรายละเอียดกิจกรรมตามโครงการแก่เด็กและเยาวชนเข้าใจถึงการเข้าร่วมโครงการ
  • ร่วมแลกเปลี่ยนในที่ประชุมเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ยาเสพติดในเยาวชน และปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านคือเยาวชนติดน้ำกระท่อม
  • ร่วมแสดงความคิดเห็นในการหาแนวทางการแก้ปัญหา ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความกล้าพูด กล้าแสดงออกในที่ประชุม
  • คัดเลือกเยาวชนในการเข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นทีมทำงานหลักในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย โดยเยาวชนเข้าร่วมโครงการจำนวน 15 คน ส่วนเยาวชนที่เหลือก็ให้ความร่วมมือในกิจกรรมอื่นๆ
  • แบ่งกลุ่มครัวเรือเป้าหมายเป้น 7 กลุ่มหลักๆ โดยแบ่งเยาวชนในการลงเก็บข้อมูลครัวเรือน
  • ให้เด็กและเยาวชนร่วมออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลครัวเรือนให้ครอบคลุม ทั้งข้อมูลครัวเรือน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารปริมาณต้นไม้ที่ครัวเรือนปลูก
  • กำหนดลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูล โดยใช้เวลาในการเก้บข้อมูล 3 เดือน เริ่มปลายเดือนมกราคมเป็นเดือนแรก

 

40 38

8. 3.1.1. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 1

วันที่ 11 มกราคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ ผ่านมา ร่วมกันออกแบบแผนการดำเนินงานต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานมีความเข้าใจในการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา มีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการออกแบบแผนงานกิจกรรมครั้งต่อไปเพื่อให้สอดรับกับความเป็นอยู่ของชุมชน
  • คณะทำงานที่เป็นเด็กและเยาวชนให้ความสำคัญเข้าร่วมกิจกรรม และมีการค้นคว้าข้อมูลล่วงหน้าเพื่อมานำเสนอต่อที่ประชุม
  • มีการกำหนดวัน เวลาในการเดินทางดูงาน ร่วมกำหนดผู้เข้าร่วม 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • รายงานผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา สรุปผลจากกิจกรรม
  • วางแนวทางในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป
  • ออกแบบแผนงานกิจกรรมร่วม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เมื่อที่ประชุมพร้อม ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทายชาวบ้านที่ร่วมเป็นคณะทำงานโครงการ ขอบคุณคณะทำงานที่ให้ความร่วมมือในการร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งโดยภาพรวมตำบล บ้านโคกไม้ไผ่ มีผลการดำเนินงานด้านงานพัฒนาถือว่านำหมู่บ้านอื่นๆ การได้รับสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. ถือว่าเป็นโอกาสของหมู่บ้านที่จะได้พัฒนาหมู่บ้านให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
  • ร่วมรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนงานกิจกรรมที่ผ่านมา ซึ่งโครงการได้มีการจัดกิจกรรมแล้ว 5กิจกรรมหลักๆ ซึ่งทุกครั้งที่ผ่านมามีชาวบบ้านให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี โดยในส่วนของการลงข้อมูลครัวเรือนจากที่ได้สอบถามพูดคุย มีการลงข้อมูลบ้างแล้ว และก้ยังมีหลายครัวเรือนอาจสับสนเรื่องของการจัดหมสดหมู่การลงข้อมูล แต่ก็สามารถบันทึกรายรับ รายจ่ายได้ในระดับหนึ่ง
  • แผนงานกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป คือการศึกษาดูงาน พื้นที่ต้นแบบ โดยกำหนดไว้ 2 สถานที่ในวันเดียว คือ เกษตรพอเพียงตามวิถีพุทธ และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งอยู่ในจังหวัดพัทลุง ซึ่งทีมงานลงไปสำรวบพื้นที่และติดต่อพื้นที่เพื่อเข้าชมสถานที่แล้ว โดยกำหนดออกเดินทาง วันที่ 17 มกราคม 2558
  • เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความสารถในการร่วมกันพัฒนาชุมชน ผ่านการคิดค้นการทำสินค้าใช้ทดแทน โดยในแผนกิจกรรมโครงการตั้งใว้ 2 ชนิด ซึ่งจากเวทีพูคุยให้เด็กและเยาวชนหาข้อมูลเรื่องการผลิดสบู่ก้อน และสบู่เหลว เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายได้ใช้ และเพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับกลุ่มที่ผลิตสินค้า โดยเน้นผลิตจากถ่านไม้ไผ่ ถือเป็นชื่อของหมู่บ้านในการกำหนดการทำงาน กิจกรรมนี่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนแสดงความรู้ความสามรถเต็มที่
  • แผนงานการเก็บข้อมูลครัวเรือน ซึ่งได้ออกแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล โดยเด็กและเยาวชนเป็นผู้ลงเก็บสำรวจ กำหนดการลงเก็บข้อมูลครัวเรือนครั้งแรกช่วงปลายเดือนมกราคม และรวบรวมข้อมูลครั้งแรกต้นเดือนกุมภาพันธ์
  • ช่วงท้ายของการประชุมเป็นการร่วมกันลงชื่อครัวเรือนที่เข้าร่วมเดินทางดูงาน

 

30 31

9. 1.4 กิจกรรมการศึกษาเรียนรู้หมู่บ้านสร้างสุข 1 วัน

วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเรียนรู้การจัดการเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานที่ต้นแบบที่ประสบความสำเร็จเพื่อปรับใช้กับพื้นที่ตัวเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้เข้าร่วมมีความสนใจในสถานที่ทั้งสองพื้นที่ ซึ่งโดยสภาพพื้นที่คล้ายๆกันกับพื้นที่ตัวเอง โดยบางคนก็ได้มีการทำไปบ้างแล้วพอได้มาเห็นก็อยากกลับไปทำบ้าง ซึ่งสามารถทำได้ในพื้นที่ตัวเอง
  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้จากวิทยากรอธิบาย มีการตั้งคำถามเพื่อคลายความสงสัย มีความสนใจในการอธิบายซึ่งเป็นเรื่องที่ไกล้วตัว เช่นอการศึกษาปัจจุบันผ่านการทำบัญชีควรัวเรือน ซึ่งในโครงการมีการให้ครัวเรือนทำด้วย
  • เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมมีความกล้าแสดงออก โดยให้ความร่วมมือกับวิทยากรในการออกมาแสดงความสามารถหน้าเวที

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เรียนรู้ครัวเรือสร้างสุขในพื้นที่อื่นเพื่อมาปรับใช้กับครัวเรือนและชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เมื่อผู้เข้าร่วมเดินทางมาถึงพร้อมกัน ออกเดินทางจากที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 มุ่งหน้าสู่จังหวัดพัทลุง เพื่อเข้าศึกษาแหล่งเรียนรู้ โดยแวะสักการะทวดเขาพับผ้า เพื่อเป็นศิริมงคลในการเดินทาง และออกเดินทางต่อเข้าตำบลตะโหมด เพื่อเข้าชมสวนยางพาราสมลม ของคุณลุงวิฑูร หนูเสน ซึ่งเป็นเกษตรทำสวนยางพารา โดยพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นป่าสวนผสม มีพืชนาๆชนิดขึ้นในสวน ทั้งพืชที่เป็นสมุนไพร และที่เป็นอาหาร มีการสะสมอาหารพืชจากการทับถมของใบไม้นาๆชนิด ซึ่งสามารถเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราและเพิ่มเปอร์เซ็นของน้ำยางทำให้ขายได้ในราคาดี ในพื้นที่ยังมีการเลี้ยงผิ้งเพื่อเอาน้ำผิ้งจำหน่ายโดยใช้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าสวนยางเป็นแหล่งหาอาหารของผิ้ง
  • หลังจากเยี่ยมชมสวนลุงฑูร และรับประทานอาหาร ก็ออกเดินทางเพื่อเข้าชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านผู้ใหญ่สมศักดิ์ ทองใส ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่ที่ 15 ตำบลควนมะพร้าว อ.เมือง จังหวัดพัทลุง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ทำนา เนื่องจากมีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ โดยผู้ใหญ่สมศักดิ์ เล่าว่า พื้นที่หมู่ 15 แยกตัวออกมา มีแต่ปัญหามากมาย ทั้งเรื่องยาเสพติด ความขัดแย้งของคนในชุมชน และที่สำคัญคือปัญหาหนี้สิน ที่มีทั้งในและนอกระบบ หมู่บ้านมีแนวทางในการจัดการชุมชน คือ ค้นหาอดีต ศึกษาปัจจุบัน ออกแบบอนาคต ผ่านการทำบัญชีครัวเรือน เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา เมื่อเห็นปัญหาก็รู้ทางออก ปัจจุบันชุมชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสถบันการเงินที่เข้มแข็งเช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ธนาคารหมู่บ้าน ตัวชี้วัดที่สำคัญคือจำนวนหนี้ที่ลดลงของคนในชุมชน โดยสถานที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลควานมะพร้าวมีการทำเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่จำกัด โดยใช้พื้นที่ประมาณ 3-4 ไร่ในการทำการเกษตร มีทั้งแปรงนาข้าว บ่าเลี้ยงปลา และปลูกพืชสวนบนแปรงนา คันบ่อ และเลี้ยงสัตว์ผสมกัน ซึ่งใช้พื้นที่น้อยและสามารถพึ่งพากันและกัน 

 

50 50

10. 2.1.3. อบรมการทำและใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ - ปลูกผัก สำหรับบริโภคในครัวเรือน

วันที่ 18 มกราคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความรู้ในการปลูกผักและผลิตปุ๋ยเพื่อใช้เอง เป็นการลดรายจ่าย และสามารถเพิ่มรายได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจการผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า นางรม กรรมาวิธีการผสม การบรรจุถุง การอัดก้อน และการเขี่ยเชื้อเห็ดนางฟ้า นางรม
  • ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจในการเปิดดอกเห็ดเมื่อก้อนเชื้อเดินเต็มก้อนแล้ว มีเห็ดไว้รับประทานทุกครัวเรือน
  • ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจการผลิตปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จากก้อนเชื้อเห็ดมี่หมดสภาพแล้ว และสามารถผลิตเห็ดฟาง จากก้อนเชื้อเห็ดเก่าได้
  • สามารถนำส่วนที่เหลือใช้จากการเพาะเลี้ยงเห็ดกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในครัวเรือน จากก้อนเชื้อเห็ดเก่า
  • การเรียนรู้การผลิตก้อนเห็ด นางฟ้า นางรม 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • บ้านโคกไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 มีกลุ่มเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า นางรม ในหมู่บ้านโดยมีสมาชิกเริ่มต้น จำนวน 5 ครัวเรือน ซึ่งเห็นว่าสามรถนำมาเป็นอาหารเพื่อลดรายจ่าย และสามารถขายเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางนึง จึงสนับสนุให้ครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการร่วมมาเรียนรู้การทำก้อนเห้ดเพื่อสามารถนำกลับไปเปิดดอกเองได้ในครัวเรือน
  • โดยวัตถุดิบที่มาใช้หลักๆ คือ - ขี้เลื้่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม - รำละเอียด 10 กิโลกรัม - ปูนขาว 1 กิโลกรัม - ยิปซั่ม 1 กิโลกรัม - ภูไมท์ซัลเฟส 1 กิโลกรัม -ดีเกลือ 2 ขีด กากน้ำตาล1 กิโลกรัม - น้ำสะอาด 80 ลิตร โดยนำส่วนผสมเข้าด้วยกัน และบรรจุใส่ถุง อัดก้อนให้แน่นใส่คอและจุกเพื่อนึ่งฆ่าเชื้อ จากนั้นนำมาเขี่ยเชื้อเห็ด และบ่มก้อนเพื่อให้เชื้อเดิน 30 วัน เมื่อเชื้อเดินเต็มก้อนก็สามารถเปิดดอกนำดอกเห็ดมารับประทานได้
  • เมื่อก้อนเชื้อที่เปิดดอกจนหมดเชื้อเห็ดแล้ว สามารถแปรสภาพเป็นปุ๋ยเพื่อใส่ต้นไม้ได้ และยังสมารถทำเห็ดฟางได้ คือ นำก้อนเห็ดเก่ามาฉีกถุงออกตีให้แตกออก ผสมหยวกกล้วยหั่นเป็นแว่นๆ ใส่มูลสัตว์ ผสมให้เข้ากันรดน้ำให้เปียกชุ่ม จากนั้นโรยเชื้อเห้ดฟางบนกอง ใช้พลาสติดำปิดคุมใว้ 10 วัน จากนั้นเปิดพลาสติกแล้วพรมน้ำ แล้วปิดคุมไว้ 7 วันสามารถเก็บเห็ดฟางราับประทานได้ เมือ่หมดเห็ดฟาง กลับกองรดน้ำคุมพลาสติกหมักต่อกลายเป็นปุ๋ยหมักเอามาใช้บำรุงพืชได้ต่อไป

 

50 50

11. 3.2.1. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 1

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.00 - 18.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เตรียมทีมเยาวชนเพื่อลงเก็บข้อมูลครัวเรือน ครั้งที่ 1
  • กำหนดทีม วิธีการ และรูปแบบในการเก็บข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เวทีเตรียมความพร้อมแก่เยาวชนในการลงเก็บข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย หลังจากครัวเรือนเป้าหมายจดบันทึกข้อมูลรายจ่าย-รายรับ ครัวเรือน ผ่านไป 1 เดือน เพื่อนำข้อมูลมารวบรวมวิเคราห์ต่อไป
  • เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเอกสารซึ่งเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การกรอกข้อมูล การสอบถามครัวเรือนเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน
  • เยาวชนมีการแบ่งงานกันทำ โดยแบ่งทีมทำงานออกเป็น 4 ทีม ลงเก็บข้อมูลครัวเรือน 65 ครัวเรือน  เพื่อสามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น
  • ในเวทีประชุมเยาวชนมีความสนใจในข้อมูล มีการสอบถามในเวที เสนอความคิดเห็นต่างๆได้ดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมที่คณะทำงานประจำเดือน เพื่อสรุปงานกิจกรรมที่ผ่านมา วางแผนเตรียมงานการดำเนินงานในอนาคต
  • เวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนของคณะทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เตรียมทีมเยาวชนเพื่อเก็บข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย
  • ชี้แจงทำความเข้าใจเอกสาร เครื่องมือในการลงเก็บข้อมูล วิธีการเก็บการบันทึกข้อมูล
  • กำหนดทีมงานแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งที่มเยาวชน

 

20 20

12. 1.3.4 กิจกรรมสำรวจข้อมูลครัวเรือน โดยเยาวชนและตัวแทนครัวเรือน ในช่วงเวลา 3 เดือน ให้ครอบคลุมรายรับ รายจ่าย

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ทีมเยาวชนปฎิบัติการลงเก็บข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย เก็บข้อมูลครัวเรือน บัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน ครบคลุมถึงสำรวจความั่นคงทางอาหารของแต่ละครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ทีมเยาวชนที่ลงปฎิบัติงาน มีความรู้ความเข้าใจในการเก็บข้อมูลเอกสารเครื่องมือ และสามารถสอบถามพูดคุยกับตัวแทนครัวเรือนเพื่อให้ได้ข้อมูล
  • ครัวเรือนให้ความร่วมมือแก่ทีมเยาวชนในการให้ข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลต่างๆตามเครื่องมือสำรวจ
  • ทุกครัวเรือนที่เป็นเป้าหมายโครงการมีการเก็บข้อมูลบัญชีรายรับ รายจ่ายครัวเรือนทุกครัวเรือน ซึ่งสะดวกต่อการให้ข้อมูลครัวเรือนต่อทีมเยาวชนที่ลงเก็บข้อมูล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ทีมเยาวชนและคณะทำงานลงพื้นสำรวจข้อมูลครัวเรือน และข้อมูลตา่างๆ
  • ช่วงเวลาในการสำรวจให้ครอบคลุมในเวลา 3 เดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทีมเยาวชนลงสำรวจ เก็บข้อมูลครัวเรือน โดยใช้ชุดเครื่องมือแบบสำรวจครัวเรือน เพื่อนำข้อมูลแต่ละครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการนำมารวบรวมและวิเคราะห์ต่อไป
  • ทีมเยาวชนลงเก็บข้อมูลครัวเรือเป้าหมาย โดยแบ่งทีมกันลงเก็บ แบ่งครัวเรือนในการเข้าเก็บข้อมูล
  • ใช้รูปแบบการได้มาของข้อมูล แบบถึงตัวถึงครัวเรือน เน้นการพูดคุยกับตัวแทนครัวเรือนเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน

 

40 30

13. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 2

วันที่ 18 มีนาคม 2558 เวลา 17:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • สรุปรับทราบผลการดำเนินงาน งวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานได้รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนโครงการ ที่ผ่านมา และร่วมออกแบบแผนการดำเนินกิจกรรมในอนาคต
  • ร่วมพูดคุยถึงการดำเนินงาน ผลที่ได้ จุดแข็ง จุดอ่อนของการดำเนินงาน ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และร่วมกันวางแนวทางในการแก้ใขปัญหาร่วมกัน
  • กำหนดผู้เข้าร่วมประชุมกับ สจรส. คือ นายเกียรติศักดิ์ บุญมี และ นายยุทธนนนท์ กวางทะวาย 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ เพื่อสรุปรวบรวมข้อมูลรายงานส่งงวดที่ 1
  • เตรียมคน เอกสาร เพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สจรส.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงสถานการณ์การดำเนินงานของกิจกรรมตามแผนงานโครงการ สรุปการดำเนินงานที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรคจาการดำเนินงาน และการรวบรวมเอกสารเพื่อสรุปรายงานส่ง งวดที่ 1 คัดเลือกผู้เข้าร่วมประชุมกับ สจรส.ในวันที่ 21 - 22 มีนาคม 2558 ณ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา
  • ร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงกิจกรรมของหมู่บ้านในอนาคต ทั้งในส่วนของการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการ และกิจกรรมอื่นๆที่หมู่บ้านและการเข้าร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ

 

20 20

14. เข้าร่วมประชุมเพื่อตรวจเอกสารส่งปิดงวดที่ 1

วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ตรวจเอกสารรายงาน การเงิน เพื่อปิดงวดที่1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ตรวจความถูกต้องของเอกสารการเงิน ใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จ ใบลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมตามกิจกรรมที่ผ่านมา
  • นำส่งเอกสารเพื่อพิจารณาขอรับงบสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการต่อไป ต่อ สจรส. และ สสส. 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เข้าร่วมประชุมเพื่อตรวจเอกสาร รายงานปิดงวดที่ 1
  • ส่งเอกสาร ง.1 ส.1 เพื่อขอรับงบสนับสนุนงวดต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นำเอกสารรายงานการเงิน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนนำส่งเพื่อขอรับงบสนับสนุนดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการต่อไป

 

2 3

15. คืนเงินค่าเปิดบัญชี

วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • คืนเงินค่าเปิดบัญชี ปิดงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เพื่อนำรายงานส่งพิจารณาสนับสนุนงบงวดต่อไป 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คืนเงินค่าเปิดบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

คืนเงินค่าเปิดบัญชี 500 บาท

 

1 1

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 43 15                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 204,550.00 78,210.00                  
คุณภาพกิจกรรม 60 47                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  • แผนงานกิจกรรมที่ได้รับสนับสนุนตามโครงการที่เสนอ โดยกิจกรรมเน้นในเรื่องการให้ครัวเรือนสามารถเข้าใจปัญหาหลักของแต่ละครัวเรือน โดยผ่านการจดบัญทึกข้อมูลรายรับ รายจ่ายครัวเรือน เพื่อครัวเรือนสามารถเข้าใจปัญหาและความต้องการของแต่ละครัวเรือน เพื่อสามารถดำเนินกิจกรรมของแผนงานโครงการต่อไปได้ ในการสนับสนุนงบประมาณในงวดแรก ซึ่งล้าช้ากว่าแผนงานที่วางใว้ ประกอบกับช่วงเวลาในการรายงานผลการดำเนินงานรายงวด คืองวดที่ 1 เร็วตามแผนที่ตั้งใว้ จึงเป็นเหตุให้แผนงานโครงการถูกขยับเลื่อนออกไปตามแผนกิจกรรม ทำให้งวดแรกไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามงบประมาณที่สนับสนุนให้ ทำให้ในงวดงบประมาณต่อไป ต้องดำเนินกิจกรรมให้ทันกับการรายงานงวดที่ 2
  • ในช่วงการดำเนินกิจกรรมเก็บข้อมูลครัวเรือนซึ่งแผนกิจกรรมได้สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงพื้นที่ครัวเรือนเพื่อเก็บข้อมูลครัวเรือน โดยปัญหาที่เกิดคือช่วงเวลาในการลงเก็บข้อมูลเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของการศึกษา ช่วงปลายปิดภาคเรือน การหาสถานศึกษาใหม่ จึงทำให้แผนการดำเนินงานตามกิจกรรมที่ตั้งใว้ต้องขยับเพื่อเปิดโอกาศให้เด็กและเยาวชนได้จัดการปัญหาของแต่ละคน เพื่อสามารถมัเวลาทำกิจกรรมร่วมกันได้
  • ในช่วงปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมที่ตกต่ำ ปัญหาราคายางพารา ทำให้ครัวเรือนต้องมุ่งทำงานเพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือน ซึ่งรวมถึงเด็กและเยาวชนในชุมชน เมื่อปิดภาคเรียนต้องออกไปหางานทำพิเศษเพื่อหารายไดช่วยเหลือครอบครัว ซึ่งทำให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่สามารถร่วมกิจกรรมกับคนอื่นได้อย่างพร้อมเพรียง แผนงานกิจกรรมตามโครงการจึงต้องปรับแผนการดำเนินงานให้ตรงกับช่วงหยุดงานหรือวันหยุดต่างๆ จึงอาจทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทันตามเป้าหมายที่ตั้งใว้
  • ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หน่วยงานท้องถิ่นได้ลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชนในการกำหนดแผนพัฒนาตำบล น่าเสียดายที่แผนพัฒนาหมู่บ้านไม่สามารถออกแบบได้ทันช่วงเวลาดังกล่าว แต่สามารถนำแผนพัฒนาหมู่บ้านที่ได้นี้เสนอใหม่ในปีงบประมาณถัดไปได้ และกับหน่วยงานอื่นๆ

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 2 ( 18 มี.ค. 2558 )
  2. เข้าร่วมประชุมเพื่อตรวจเอกสารส่งปิดงวดที่ 1 ( 21 มี.ค. 2558 )
  3. คืนเงินค่าเปิดบัญชี ( 21 มี.ค. 2558 )
  4. กิจกรรมการรวบรวม เรียบเรียง จัดหมวดหมู่ข้อมูลบัญชีครัวเรือน เป็นข้อมูลรวมหมู่บ้าน ครั้งที่ 1 ( 12 เม.ย. 2558 )
  5. กิจกรรมรวบรวม เรียบเรียง จัดหมวดหมู่ข้อมูลบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2 ( 12 เม.ย. 2558 )
  6. กิจกรรมรวบรวม เรียบเรียง จัดหมวดหมู่ข้อมูลบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 3 ( 12 เม.ย. 2558 )
  7. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 2 ( 17 พ.ค. 2558 )
  8. อบรมเด็กและเยาวชนในการใช้หอกระจายข่าวครั้งที่ 1 ( 23 พ.ค. 2558 )
  9. เทคนิคการเขียนและการพูดเพื่อการสื่อสารและการจัดรายการ ครั้งที่ 2 ( 24 พ.ค. 2558 )
  10. เวทีคืนข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือน 1วัน ( 2 มิ.ย. 2558 )
  11. อบรมการทำและใช้สินค้าทดแทน ครั้งที่ 1 ( 11 มิ.ย. 2558 )
  12. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 3 ( 12 มิ.ย. 2558 )
  13. กิจกรรมการปลูกพืชอาหารเพิ่มในพื้นที่สาธารณะได้แก่ พืชผักพื้นเมือง จำนวน3ชนิด3,000ต้น ( 13 มิ.ย. 2558 )
  14. กิจกรรมเรียนรู้เพิ่มการออมฯ ( 21 มิ.ย. 2558 )
  15. กิจกรรมยกร่างแผนครัวเรือนและแผนชุมชน 1 วัน ( 24 มิ.ย. 2558 )
  16. กิจกรรมหนุนเสริมครัวเรือนในการปลูกพืชผักพื้นเมือง บริโภคในครัวเรือน ไม่ต่ำกว่าครัวเรือนละ10ชนิด ( 25 มิ.ย. 2558 )
  17. เวทีพิจารณาแผนฯและลงประชามติรับแผนชุมชน ( 27 มิ.ย. 2558 )
  18. กิจกรรมจัดทำกติกาครัวเรือนสร้างสุข ( 28 มิ.ย. 2558 )
  19. จัดทำป้ายนิทรรศการประชาสัมพันธ์โครงการ ( 1 ก.ค. 2558 )
  20. จัดทำสื่อสารสนเทศในการรณรงค์ ( 1 ก.ค. 2558 )
  21. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 4 ( 5 ก.ค. 2558 )
  22. อบรมการทำและใช้สินค้าทดแทน ครั้งที่ 2 ( 11 ก.ค. 2558 )
  23. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 5 ( 2 ส.ค. 2558 )
  24. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 4 ( 15 ส.ค. 2558 )
  25. เข้าร่วมงานความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้ ปี 2558 ( 4 ก.ย. 2558 )
  26. เข้าร่วมงานความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้ ปี 2558 ( 5 ก.ย. 2558 )
  27. เข้าร่วมงานความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้ ปี 2558 ( 6 ก.ย. 2558 )

(................................)
นายเกียรติศักดิ์ บุญมี
ผู้รับผิดชอบโครงการ