แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านสะแตน่าอยู่

ชุมชน บ้านสะแต ถนนสะแต1 ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

รหัสโครงการ 57-02571 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0087

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2557 ถึง 15 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2557 ถึงเดือน มีนาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินงานของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รับความรู้เรื่องการลงโครงการในคอมพิวเตอร์
  • ได้รับข้อเสนอแนะจากคณะทำงาน สจรส.มอ.หาดใหญ่ในการรายงานทางเวปไซต
  • ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ
  • มอบหมายให้มีผู้รับชอบรวบรวมการจัดเก็บหลักฐานการเบิกจ่ายเงินโครงการให้ชัดเจน อาจเป็นในลักษณะหลัก รอง กรณีที่ผู้รับผิดชอบหลักไม่อยู่ผูรับผิดชอบรองสามารถนำหลักฐานการเบิกจ่ายต้องพร้อมในการตรวจสอบ ติดตาม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 - 10.00 น. กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

10.00 - 11.00 น. ความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

11.00 - 12.00 น. - การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณกำไล สมรักษ์ - การบริหารการจัดการงบประมาณ  (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดยคุณสมบูรณ์ ขวัญสงค์ และคุณจุรีย์ หนูผุด - การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน โดยคุณกัญนภัส จันทร์ทอง 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 14.00 น. การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์ 14.00 – 21.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม • การจัดทำรายงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

09.00 - 10.00 น. - กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

10.00 - 11.00 น  - ความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

11.00 - 12.00 น. - การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณกำไล สมรักษ์ - การบริหารการจัดการงบประมาณ  (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดยคุณสมบูรณ์ ขวัญสงค์ และคุณจุรีย์ หนูผุด

  -  การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน โดยคุณกัญนภัส จันทร์ทอง 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 14.00 น. การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์ 14.00 – 21.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม

 

2 2

2. สำรวจข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหายาเสพติดในชุมชน

วันที่ 8 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างเครือข่ายในการดูแลสุขภาวะเยาวชนด้านการป้องกันยาเสพติด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ข้อมูลเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมากกว่าจะเป็นเยาวชนกลุ่มปกติ
  • ส่วนที่เป็นกลุ่มที่ติดยาเสพติดไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ยินดีเข้าร่วมโครงการ
  • บางครอบครัวไม่ให้ความร่วมมือในการสำรวจข้อมูล กลัวว่าจะนำข้อมูลไปให้ตำรวจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สำรวจข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหายาเสพติดในชุมชน ด้านคน,ครอบครัว,กลไกลของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ,ด้านสิ่งแวดล้อม, ด้านอาชีพ,ด้านกิจกรรม เก็บข้อมูลโดยคัดเลือกตัวแทนเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สำรวจข้อมูลเด็กและเยาวชน แยกเป็นกลุ่มเสียงและกลุ่มปกติ
  • สำรวจปัญหาและปัจจัยที่จะเกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหายาเสพติดในชุมชน โดยแบ่งเป็น ด้านคน ครอบครัว กลไกล และทางด้านสิ่งแวดล้อม
  • การสำรวจจะแบ่งการสำรวจเป็นกลุ่มของเป็นชุมชน

 

15 15

3. ทำป้ายไวนิลห้ามสูบบหรี่

วันที่ 11 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรณรงค์ให้ลดปริมาณผู้สูบบุหรี่และสุราในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จัดทำป้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นำป้ายมาติดไว้ในสถานที่สาธารณะชุมชนของหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้มีการลด ละเลิกสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
  • ชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือ ไม่มีการสูบบุหรี่ในที่สถานที่สาธารณะเช่น ในบริเวณโรงเรียน ในพื้นที่ที่มีการประชุม และสถานที่จัดการอบรมต่างๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่
  • นำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่มาติดไว้ในที่ประชุมหมู่บ้าน
  • ผู้ใหญ่บ้านเชิญชวนให้ชาวบ้านมีการงดสูบบุหรี่ในที่ประชุมหมู่บ้าน

 

100 100

4. จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการตลอดจนเพื่อสร้างความเข้าใจและทำให้ชุมชนมีทัศนคติที่ดีในการดำเนินงานโครงการ(เปิดโครงการ)พร้อมจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องศาสนาอิสลามว่าด้วยยาเสพติด

วันที่ 12 ธันวาคม 2557 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างเครือข่ายในการดูแลสุขภาวะเยาวชนด้านการป้องกันยาเสพติด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชุมชน และทุกภาคส่วนยินดีให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะผู้นำศาสนา ครูตาดีกา เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนเป็นคนดี โดยเริ่มตั้งแต่เด็กที่อยู่ในโรงเรียนตาดีกา
  • การบรรยายในเรื่องยาเสพติดโดยหยิบยกให้เป็นเรื่องเดียวกันในหลักการอิสลามที่จะต้องดูแลให้เยาวชนห่างใกลยาเสพติด ซึ่งครอบครัวสำคัญ โดยได้รับความร่วมือจากผู้นำศาสนา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการตลอดจนเพื่อสร้างความเข้าใจและทำให้ชุมชนมีทัศนคติที่ดีในการดำเนินงานโครงการ(เปิดโครงการ)พร้อมจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องศาสนาอิสลามว่าด้วยยาเสพติด,บทบาทของผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาในศาสนาอิสลามกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน,บทบาทของสถาบันครอบครัวในศาสนาอิสลามกับการป้องกันยาเสพติดในครอบครัวแก่ผู้นำ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการตลอดจนเพื่อสร้างความเข้าใจและทำให้ชุมชนมีทัศนคติที่ดีในการดำเนินงานโครงการ
  • เปิดโครงการโดยนายดัลนียา  สาแม (โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดบ้านสะแต) พร้อมจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องศาสนาอิสลามว่าด้วยยาเสพติด บทบาทของผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาในศาสนาอิสลามกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน บทบาทของสถาบันครอบครัวในศาสนาอิสลามกับการป้องกันยาเสพติดในครอบครัวแก่ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน/ผู้นำศาสนา/กรรมการมัสยิด ชรบ. อสม. กลุ่มสตรี/และครูตาดีกา

 

100 104

5. จัดตั้งสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา ซึ่งเป็นสภาที่มีบาทหน้าที่ในการแก้ปัญหาต่างๆของชุมชน

วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้คนหรือกลุ่มคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด และแก้ปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา ประกอบด้วยจากตัวแทนกลุ่มต่างๆ ดังนี้ผู้นำชุมชน=8คน/กรรมการหมู่บ้าน=10คน, ทต.=5คน, ผู้นำศาสนา=3คนกรรมการมัสยิด =12คน, ชรบ.=30คน , อสม. =10คน, กลุ่มสตรี=3คน , ครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่=7คนตัวแทนของครัวเรือน =16 คนรวมทั้งหมดจำนวน 100 คน โดยมี โต๊ะอีหม่ามเป็นประธาน, ผู้ใหญ่บ้านเป็นรองประธานสภาคนที่1,นายอัมรัน เจ๊ะเลาะ  เป็นรองประธานคนที่ 2 ,นายสามัน มามะสะ เป็นเลขานุการสภา บทบาทของสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา 1. กำหนดแผนและกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น พัฒนามัสยิด,โรงเรียนตาดีกา และพัฒนาสิ่่งสาธารณประโยชน์ 2. กำหนดการทำกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีต่างตามรูปแบบอิสลาม เช่น จัดกิจกรรมวันเมาลิด,วันอาซูรอ,กิจกรรมเดือนรอมฎอน,กิจกรรมโรงเรียนตาดีกา 3. พิจารณาการจัดทำโครงการต่างๆที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นๆ เช่น โครงการ พนม. 4. พิจารณาในการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดตั้งสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา ซึ่งเป็นสภาที่มีบาทหน้าที่ในการแก้ปัญหาต่างๆของชุมชน ตลอดจนมีบทบาทในการติดตาม, ตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 100 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ผู้นำชุมชน=8คน/กรรมการหมู่บ้าน=10คน, ทต.=5คน, ผู้นำศาสนา=3คนกรรมการมัสยิด =12คน, ชรบ.=30คน , อสม. =10คน, กลุ่มสตรี=3คน , ครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่=7คนตัวแทนของครัวเรือน =16 คนรวมทั้งหมดจำนวน 100 คน 1.ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดกิจกรรม 2.ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม และติดตามกลุ่มเป้าหมาย 3.จัดประชุมเพื่อจัดตั้งสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา มีขั้นตอนดังนี้    3.1 โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิดประชุม        3.2โต๊ะอีหม่ามชี้แจงวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวาจากตัวแทนกลุ่มต่างให้แต่ละกลุ่มเสนอชื่อ พร้อมชี้แจงบทบาทหน้าที่ของสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา    3.3 ผู้เข้าร่วมประชุมได้ดำเนินการคัดเลือกสมาชิกสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา    3.4 สมาชิกสภาดำเนินการคัดเลือกตำแหน่งต่างๆของสภา    3.5 โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์ปิดประชุม

 

100 100

6. จัดประชุมสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา/เครือข่าย/ทีมงาน

วันที่ 21 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ชุมชนมีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชนที่ชุมชนยอมรับ 1 เรื่อง และนำไปประกาศใช้หรือนำไปบังคับใช้ ในชุมชนทำให้ชุมชนสามารถควบคุมและป้องกันยาเสพติด
  • เพื่อให้ชุมชนมีหลักสูตรการแก้ไข

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ชุมชนได้หลักสูตรในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 1 หลักสูตร
2.ชุมชนได้กำหนดมาตรการทางสังคมของหมู่บ้าน ในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด คือ พบเด็กกำลังเสพยาเสพในหมู่บ้านครังแรกจะมีการตัดเตือนก่อนและถ้าพบครั้งที่2จะส่งให้ตำรวจทันที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา/เครือข่าย/ทีมงาน ในการกำหนดหลักสูตรและกิจกรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชน โดยหลักสูตรประกอบด้วยเนื้อหา ด้านความรู้เรื่องยาเสพติด,โทษและพิษภัยของยาเสพติด,กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด,ศาสนาอิสลามว่าด้วยยาเสพติด,บทบาทของผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาในศาสนาอิสลามกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน,บทบาทของสถาบันครอบครัว

กิจกรรมที่ทำจริง

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ 63 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผู้นำชุมชน=8คน/กรรมการหมู่บ้าน=10คน,ทต.=5คน, ผู้นำศาสนา=3คนกรรมการมัสยิด =12คน, ชรบ.=1คน , อสม. =1คน, กลุ่มสตรี=1คน , ครูตาดีกา=1คน.ข้าราชการในพื้นที่=8คน,ครูกีรออาตี=1คน,ตัวแทนของครัวเรือน =1 คน,ตัวแทนเยาวชน=1คน,ผู้ทรงคุณวุฒิ=1คน,ปราชญ์ชาวบ้าน=1คน,วิทยากรสอนอิสลามศึกษา=1คนรวมทั้งหมดจำนวน 63 คน รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง 1.ลงทะเบียน 2.โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิดประชุม 3.โต๊ะอีหม่าม(ประธานสภา) 4.สมาชิกสภาแต่ละคน เสนอและแสดงข้อคิดเห็น 5.เลขานุการสภาจดบันทึกการประชุมและสรุป  6.โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์ปิดประชุม

 

63 63

7. จัดกิจกรรมสัมพันธ์แก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน

วันที่ 28 ธันวาคม 2557 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความไว้วางใจ มีทัศนคติที่ดี สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนๆในเชิงสร้างสรรค์และการยอมรับต่อการเข้ารับการบำบัด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติมีความไว้วางใจ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้นำชุมชน,ผู้นำศาสนา ต่อผู้ปกครองและกับเพื่อน
2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด และกลุ่มเสี่ยงยอมรับตัวเองและกล้าพูดความจริงมากขึ้น
3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติมีความรู้จักกันและสนิทสนมมากขึ้นและสามาถทำกิจกรรมร่วมกันได้
4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด มีความเข้าใจและยอมรับต่อการเข้าร่วมกิจกรรมและการบำบัด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมสัมพันธ์แก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน 45 ราย และเยาวชนกลุ่มเสี่ยง=30คนเพื่อสร้างความคุ้นเคย ความไว้วางใจ การยอมรับตลอดจนเพื่อสร้างการมีทัศนคติที่ดีต่อการเข้ารับการบำบัด

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.พิธีกรเชิญผู้ใหญ่บ้านกล่าวพบปะ เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยง
3.พิธีกรเชิญโต๊ะครูบรรยายให้ความรู้
4.จัดกิจกรรมสัมพันธ์ตามรูปแบบอิสลามทีมงานจัดจัดกิจกรรมสัมพันธ์
5.ซักถามปัญหา
6.อดีดกำนันตำบลบเระเหนือ เป็นคนในพื้นที่กล่าวปิดการจัดกิจกรรม

 

55 55

8. ประชุมทีมงานในการวิเคราะห์ข้อมูล

วันที่ 4 มกราคม 2558 เวลา 20.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชุมชนสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาจัดทำแผน กำหนดกิจกรรมหรือกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาได้ตรงตามสาเหตุ และสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการวิเคราะห์ดังนี้ - เก็บข้อมูลได้ 55 คน ,โสด 45 คน,สมรส 10 คน,กลุ่มอายุ น้อยกว่า 12 ปี  2 คน,อายุ 12-20 ปี 25 คน,อายุ 21 ปีขึ้นไป 28 คน - เด็กและเยาวชน ติดสารเสพติดแยกตามประเภท ดังนี้ บุหรี่ 10 คน,กระท่อม 30 คน,ยาบ้า 3 คน,กลุ่มเสียง 12 คน - สถานที่ที่เด็กและเยาวชนรวมกลุ่มเสพสารเสพติดในชุมชน มี 2 จุด - กลุ่มในบ้าน - กลุ่มในสวน  - ในชุมชนไม่มีแหล่งจำหน่ายสารเสพติด 5.เด็กและเยาวชนออกไปหาซื้อสารเสพติดนอกพื้นที่ - เด็กและเยาวชน รวมกลุ่มกันประมาณ 5-10 คน และลงขันเก็บเงินคนละ 20-30 บาท ในการเสพสารติดแต่ละครั้ง - ส่วนผสมในสารเสพติดที่พบส่วนใหญ่ ประกอบด้วย ใบกระท่อม,น้ำโคก,ยาแก้ไอ บางครั้งก็มี ยาอัลฟาโซแลม ช่วงเวลาที่เด็กและเยาวชน เสพสารเสพติด ส่วนใหญ่มี 2 เวลา คือ เที่ยงเวลา 13.00น-14.00นและ เย็นเวลา 19.00น.-23.00น.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมทีมงานในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางและกิจกรรมในการแก้ปัญหาหรือหลักสูตรของชุมชนในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเพื่อใช้ข้อมูลในการออกมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คอเต็บกล่าวดูอาอ์เปิดประชุม - สมาชิกเทศบาลกล่าวนำและเปิดการประชุม - ผู้รับผิดชอบโครงการฯชี้แจงแนวทางและประเด็น,เนื้อหาการวิเคราะห์ข้อมูล - ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล - สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล - คอเต็บกล่าวดูอาอ์ปิดประชุม

 

15 15

9. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่1)

วันที่ 9 มกราคม 2558 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนมีจิตใจที่บริสุทธิ์ไม่ตกเป็นทาสแห่งวัตถุด้วยความโลภและเห็นแก่ตัว 2.เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงตั้งใจฟัง มีสมาธิ มีความอดทนและเสียสละมากขึ้น
2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีการซักถามปัญหา
3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องหลักการปฎิบัติ(การบริจาคซะกาต) ตามหลักของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง
4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยง ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
5.จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงหลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมศาสนบำบัดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 1 โดยรวมแล้วมีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.พิธีกรแนะนำและเชิญวิทยากร(โต๊ะครู) 3.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักปฎิบัติ หลักการปฎิบัติ(การบริจาคซะกาต) ตามหลักของศาสนาอิสลาม 4.ซักถามปัญหา 5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการอบรม 6.ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 49 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน 35 ราย ,เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง 14 คน รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

 

50 50

10. จัดกิจกรรมตามหลักสูตรของชุมชนที่ชุมชนจัดทำขึ้นในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดและหลักคำสอนของศาสนาว่าด้วยยาเสพติดและนำไปประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง ทำให้เด็กและเยาวชนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และเป็นคนดี มีคุณภาพของสังคมได้ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดส่วนใหญ่ตั้งใจฟัง
2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีการซักถามปัญหา
3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดทราบถึงถานการณ์ยาเสพติดและได้รับความรู้เรื่องยาเสพติด,ศาสนาว่าด้วยเรื่องยาเสพติด ,กฎหมายว่าด้วยเรื่องยาเสพติดและโทษและพิษภัยของยาเสพติด 4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
5.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและกล้าแสดงออกมากขึ้น 6.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดพัฒนาความสะอาดสองข้างเข้าไปมัสยิด 7.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีความขยันมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมตามหลักสูตรของชุมชนที่ชุมชนจัดทำขึ้นในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและให้ความรู้เรื่องยาเสพติดและหลักคำสอนของศาสนาอิสลามเพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน 2.พิธีกรเชิญโต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิด 3.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน  4.ฝ่ายทหารบรรยายเรื่องสถานการณ์และความรู้เรื่องยาเสพติด 5.โต๊ะครูบรรยายให้ความรู้ศาสนาว่าด้วยเรื่องยาเสพติด  6.พักรับประทานอาหารกลางวันและละหมาดซุห์รีร่วมกัน 7.ฝ่ายตำรวจบรรยายเรื่องกฎหมายว่าด้วยเรื่องยาเสพติดและบทลงโทษ  8.ฝ่ายสาธารณสุขบรรยายเรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติด 9.โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์ปิดการอบรม 10.ทำกิจกรรมละหมาดอัสรีร่วมกัน

 

75 75

11. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่2)

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน มีความเข้าใจและเกิดความศรัทธาในหลักศรัทธาที่ถูกต้อง เกิดความยำเกรง สามารถกลับใจเป็นคนดีได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดส่วนใหญ่ตั้งใจฟัง 2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดไม่กล้าซักถาม 3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน) 4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีความกระตือรือร้นในการปฎิบัติศาสนกิจมากขึ้นกว่าครั้งที่1  5.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดพัฒนาและทำความสะอาดภายนอกและภายในมัสยิด 6.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนมีความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ดีขึ้นและช่วยเหลืองานการพัฒนาในชุมชนเพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อขัดเกลาจิตใจ และสร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนมีคุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติตามหลักศาสนาได้ถูกต้อง โดยมีการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม พร้อมปฏิบัติศาสนกิจร่วมกันและจัดกิจกรรมรณรงค์พัฒนาสิ่งสาธารณะประโยชน์ เช่น พัฒนามัสยิด พัฒนากูโบร์ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน 2.พิธีกรแนะนำและเรียนเชิญวิทยากร(โต๊ะครู) 3.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักศรัทธา 6 ประการในศาสนาอิสลาม(หลักศรัทธาต่อบรรดามะลาอิกะฮฺ และคัมภีร์ต่าง ๆ ของอัลลอหฮ)แก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน 4.ซักถามปัญหา 5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการบรรยาย 6.จัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์

 

50 50

12. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่1)

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชน ได้เล่นกีฬาไม่พึ่งพาสิ่งเสพติด 2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพ พลานามัยแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ให้เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ  และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 3. เพื่อยกระดับมาตรฐานการเล่นกีฬาในท้องถิ่นให้สูงขึ้นและรู้จักกฎกติกา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ปัจจุบันสถานการณ์การติดยาเสพติดของของเยาวชนมีจำนวนมากขึ้น เพื่อให้เยาวชนในหมู่บ้านและชาวบ้านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของตนเอง เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของชาวบ้าน เพื่อให้เกิดความรักสามัคคีมากขึ้น เพื่อส่งเสริมพลานามัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดสารเสพติด ตามวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณี โดยสอนทักษะด้านการบรรยายธรรม,อานาเซะ,ซาเยาะ เพื่อเป็นสื่อในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน 2.พิธีกรเชิญโต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิด 3.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชนและชาวบ้าน

 

36 36

13. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่3)

วันที่ 1 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน มีความเข้าใจและเกิดความศรัทธาในหลักศรัทธาที่ถูกต้อง เกิดความยำเกรง สามารถกลับใจเป็นคนดีได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดส่วนใหญ่ตั้งใจฟัง 2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีการซักถามเล็กน้อย 3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน) 4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีความกระตือรือร้นในการปฎิบัติศาสนกิจและมีการอ่านซิกรุลลอฮหลังละหมาด 5.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดพัฒนาความสะอาดสองข้างเข้าไปมัสยิด 6.พฤติกรรมการเสพยาของเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป เดิมเสพยาแบบเปิดเผยเป็นกลุ่มใหญ่ มาเป็นแบบหลบๆซ่อนๆและเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 2-4 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติตามหลักศาสนา เพื่อขัดเกลาจิตใจ และสร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนมีคุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติตามหลักศาสนาได้ถูกต้อง

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน 2.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน 3.พิธีกรแนะนำและเรียนเชิญวิทยากร(โต๊ะครู) 4.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักศรัทธา 6 ประการในศาสนาอิสลาม(หลักศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูตต่าง ๆ  ,ศรัทธาต่อวันสิ้นสุดท้าย และศรัทธาต่อกฎสภาวะ สิ่งที่เป็นการกำหนด และเงื่อนไขการกำหนดจากพระผู้เป็นเจ้า)แก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน 4.ซักถามปัญหา 5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการบรรยาย 6.จัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์

 

50 50

14. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่2)

วันที่ 7 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชน ได้เล่นกีฬาไม่พึ่งพาสิ่งเสพติด 2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพ พลานามัยแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ให้เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ  และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 3. เพื่อยกระดับมาตรฐานการเล่นกีฬาในท้องถิ่นให้สูงขึ้นและรู้จักกฎกติกา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนในหมู่บ้านและชาวบ้านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของตนเอง
  • ชาวบ้านมีความรักสามัคคีมากขึ้น
  • ส่งเสริมพลานามัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง=20คนและกลุ่มติดสารเสพติด=34คนรวมทั้งหมด จำนวน 34 คนตามวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณี โดยสอนทักษะด้านการบรรยายธรรม,อานาเซะ,ซาเยาะ เพื่อเป็นสื่อในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน 2.พิธีกรเชิญโต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิด 3.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชนและชาวบ้าน

 

35 35

15. ปิดงวดโครงการงวดที่ 1 ปี 57 รุ่น 2 จ.นราธิวาส

วันที่ 17 มีนาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งรายงานกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้เรียนรู้ในการทำกิจกรรมงวดที่ สจรส.มอ.ชั้น 10

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมร่วมกับ สจรส.

กิจกรรมที่ทำจริง

-ส่งรายงานกิจกรรมงวดที่ 1

 

1 1

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 38 15                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,900.00 71,500.00                  
คุณภาพกิจกรรม 60 59                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ปิดงวดโครงการงวดที่ 1 ปี 57 รุ่น 2 จ.นราธิวาส ( 17 มี.ค. 2558 )
  2. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่1) ( 28 มี.ค. 2558 - 29 มี.ค. 2558 )
  3. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่3) ( 4 เม.ย. 2558 - 5 เม.ย. 2558 )
  4. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่4) ( 10 เม.ย. 2558 )
  5. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่2) ( 25 เม.ย. 2558 - 26 เม.ย. 2558 )
  6. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่4) ( 2 พ.ค. 2558 - 3 พ.ค. 2558 )
  7. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่5) ( 9 พ.ค. 2558 )
  8. จัดกิจกรรมฝึกอบรมด้านอาชีพ แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดสารเสพติด ( 16 พ.ค. 2558 - 17 พ.ค. 2558 )
  9. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่3) ( 30 พ.ค. 2558 - 31 พ.ค. 2558 )
  10. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่5) ( 6 มิ.ย. 2558 - 7 มิ.ย. 2558 )
  11. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่6) ( 12 มิ.ย. 2558 )
  12. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่4) ( 13 มิ.ย. 2558 - 14 มิ.ย. 2558 )
  13. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่7) ( 26 ก.ค. 2558 )
  14. จัดกิจกรรมสันทนาการชุมชน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก่เด็กและเยาวชน ( 8 ส.ค. 2558 - 9 ส.ค. 2558 )
  15. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่5) ( 15 ส.ค. 2558 - 16 ส.ค. 2558 )
  16. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่8) ( 21 ส.ค. 2558 )
  17. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่9) ( 3 ก.ย. 2558 )
  18. จัดงานความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของฅนใต้ปี2558 ( 4 ก.ย. 2558 - 6 ก.ย. 2558 )

(................................)
นายอันวา มูนา
ผู้รับผิดชอบโครงการ