แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ ลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านสะแตน่าอยู่

ชุมชน บ้านสะแต ถนนสะแต1 ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

รหัสโครงการ 57-02571 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0087

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2557 ถึง 15 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มีนาคม 2558 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่1)

วันที่ 28 มีนาคม 2558 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชน ประชาชนให้ห่างไกลจากยาเสพติด
  2. เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน มีสุขภาพ สมบูรณ์แข็งแรง
  4. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนรู้รักสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มติดยาเสพติด ได้มาเรียนการแสดงปัตจสิละร่วมกัน เกิดความสนุก สร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน ระหว่างครูผู้สอนและกลุ่มที่มาเรียน เมื่อเขาได้เข้ามาทำกิจกรรมนี้ ช่วยลดช่องว่างการพูดคุยและไม่หันไปหมกมุ่นกับยาเสพติด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เป็นกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง = 30 คน และกลุ่มติดสารเสพติด = 45คนรวมทั้งหมด จำนวน 75 คนทำการสอนทักษะโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนกลุ่มปัจจะสีลัตของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน
3.ครูได้สอนองค์ประกอบของการแสดงสิละต่างๆ และการแสดงปัจจะสีลัต ให้กับเยาวชนที่มาร่วมกิจกรรม กลุ่มเสี่ยงเป็นคนมาเรียนและจัดแสดงเอง โดยแสดงการรำสิละเดี่ยว และการรำสิละคู่ สำหรับใช้เพื่อการแสดงและแข่งขัน

 

75 95

2. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่3)

วันที่ 4 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชน ได้เล่นกีฬาไม่พึ่งพาสิ่งเสพติด
  2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพ พลานามัยแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ให้เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพและรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. เพื่อยกระดับมาตรฐานการเล่นกีฬาในท้องถิ่นให้สูงขึ้นและรู้จักกฎกติกา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้ปกครองและเยาวชนในหมู่บ้าน ได้มาร่วมเล่นฟุตลอลร่วมกันในตอนเย็น ทำให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของตนเอง สร้างสัมพันธุ์ระหว่างครอบครัวด้วยกัน เป็นการส่งเสริมพลานามัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม
  • เยาวชนได้เรียนท่าทางการเตรียมรับลูกตบ พื้นฐานการรับลูกตบ และสัมผัสบอลด้วยแขนทั้ง 2 ข้าง ทำให้กลุ่มเยาวชนชอบเล่นกีฬาและได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้ห่างไกลยาเสพติด เพราะเดิมทีมเยาวชนกลุ่มเสี่ยงจะมีเวลาว่างเยอะ ทำให้หันไปมั่วสุม แต่เมื่อมีกิจกรรมที่เขาชอบทำให้เขาสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง = 36คน และกลุ่มติดสารเสพติด = 10คน รวมทั้งหมด จำนวน 36 คน ตามวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณี โดยสอนทักษะด้านการบรรยายธรรม,อานาซีด,ซาเยาะ เพื่อเป็นสื่อในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.พิธีกรเชิญโต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิด
3.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชนและชาวบ้าน
4.วิทยาการได้สอนทฤษฏีและเทคนิคการครอบครองและการเลี้ยงลูกบอล
5.เด็กและเยาวชนได้ฝึกการอบอุ่นร่างกาย
6.ให้เด็กและเยาวชนฝึกครอบครองและการเลี้ยงลูกบอลที่ละคน
7.เด็กและเยาวชนได้สอบถามปัญหา

 

75 75

3. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่4)

วันที่ 10 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสามารถปฏิบัติตามหลักปฎิบัติของศาสนาอิสลาม 5 ประการ(การปฎิบัติ ละหมาด 5 เวลาและการเตรียมตัวก่อนละหมาด)ได้ถูกต้อง
  2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดตั้งใจฟัง มีสมาธิ ตรงต่อเวลาและมีระเบียบวินัยมากขึ้น
2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีการซักถามปัญหา ในเรื่องการละมาด 5 เวลา 3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดส่วนใหญ่สามารถปฎิบัติการละหมาด 5 เวลาได้ถูกต้องและการเตรียมตัวก่อนละหมาด เช่น การอาบน้ำละหมาดได้ถูกต้อง

  • จากการทำกิจกรรมนี้ ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้ปกครอง ทำให้มีพาเด็กเยาวชนทั่วไปเข้ามาร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้รับความสนใจการผู้ใหญ่ในชุมชนที่เข้ามาร่วมฟังการบรรยายเช่นกัน
  • เด็กเยาวชนกลุ่มเสียงได้ร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจ และได้ฟังการบรรยายร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้ใหญ่เรื่องยาเสพติด ผิดหลักการศาสนา การเลิกยาเสพติดจะทำให้การปฏิบัิศาสนกิจของเราสมบูรณ์ขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนมีคุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติตามหลักศาสนาได้ถูกต้อง โดยมีการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียน
  2. ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิดการอบรม
  3. วิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องหลักปฎิบัติ 5 ประการในศาสนาอิสลาม(การปฎิบัติ ละหมาด 5 เวลาและการเตรียมตัวก่อนละหมาด)แก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน
  4. ซักถามปัญหา
  5. กล่าวปิดการอบรม
  6. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
  7. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดร่วมกันพัฒนามัสยิดกับกูโบร์

 

45 45

4. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่2)

วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชน ประชาชนให้ห่างไกลจากยาเสพติด
  2. เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน มีสุขภาพ สมบูรณ์แข็งแรง
  4. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนรู้รักสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนมีความสนุกและตั้งใจในการเรียนปัจจะสิลัต ซึ่งการเรียนรู้ในวันนี้เยาวชนสามารถนำเอาท่ารำไปใช้ป้องกันตัวเองเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • ผู้ปกครองที่ส่งลูกหลานเข้ามาร่วมกิจกรรม มีความสบายใจ ไม่กังวลเมื่อลูกเข้ามาเรียนปัจจะสิลัต
  • เยาวชนได้ทำกิจกรรมในยามว่างและมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เป็นกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง=30คนและกลุ่มติดสารเสพติด=45คนรวมทั้งหมด จำนวน 75 คนทำการสอนทักษะโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนกลุ่มปัจจะสีลัตของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน
3.ครูสอนการเล่นปัจจะสิละ ในวันนี้ได้สอนวิธีการป้องกันตัวกับคู่ต่อสู้ในการเล่นสีลัต

 

75 75

5. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่4)

วันที่ 2 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชน ได้เล่นกีฬาไม่พึ่งพาสิ่งเสพติด
  2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพ พลานามัยแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ให้เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพและรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. เพื่อยกระดับมาตรฐานการเล่นกีฬาในท้องถิ่นให้สูงขึ้นและรู้จักกฎกติกา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้ชาย และชอบกีฬาฟุตบอลทำให้ตั้งใจฝึกซ้อม และมาเรียนตรงเวลา เกิดความสนุกสนาน ในวันนี้ได้ความรู้เรื่อง การงัดบอลจากพื้น การงัดบอลด้วยมือข้างเดียว การเกี่ยวบอล การรับบอลไกลตัวด้านข้าง การรับลูกตบที่รุนแรง การรับบอลด้วยมือข้างเดียว จากความรู้ที่ได้ ในช่วงเย็นเยาวชนจะไปเล่นฟุตลอลร่วมกัน และนำสิ่งที่ได้เรียนไปใช้ในสนามฟุตบอล เมื่อแข่งกันเล่นในช่วงตอนเย็น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง = 45คน และกลุ่มติดสารเสพติด = 30 คน รวมทั้งหมด จำนวน75 คน ตามวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณี โดยสอนทักษะด้านการบรรยายธรรม,อานาซีต,ซาเยาะ เพื่อเป็นสื่อในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.พิธีกรเชิญโต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิด
3.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชนและชาวบ้าน
4.ครูสอนกีฬาฟุตลอลให้กับกลุ่มเยาวชน ในวันนี้สอนเทคนิคการรับลูกตบเป็นเทคนิคที่ยากพอสมควรจะต้องฝึกซ้อมเป็นประจำและบ่อย หลายครั้งที่การรับลูกตบเป็นเทคนิคที่วัดผลแพ้ชนะในการแข่งขันเลยทีเดียว

 

75 75

6. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่5)

วันที่ 9 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสามารถปฏิบัติตามหลักปฎิบัติของศาสนาอิสลาม ได้ถูกต้อง
  2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงตั้งใจฟัง มีสมาธิ มีความอดทนและเสียสละมากขึ้น
  2. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีการซักถามปัญหา
  3. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้การถือศิลอดวิธการถือศิลอดและข้อห้ามต่างในช่วงการถือศิลอดที่ถูกต้อง จากการแลกเปลี่ยนสนทนาธรรม กลุ่มเยาวชนมีความตั้งใจว่าจะถือศีลอดให้ครบใน 1 เดือน โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เพราะหากยุ่งเกี่ยวหรือเสพยาจะทำให้การถือศีลอดใช้ไม่ได้
  4. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยง ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.พิธีกรแนะนำและเชิญวิทยากร(โต๊ะครู)
3.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักปฎิบัติ 5 ประการในศาสนาอิสลาม(การถือศิลอดและวิธการถือศิลอดรวมทั้งข้อห้ามต่างในช่วงการถือศิลอด)แก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน
4.ซักถามปัญหา
5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการอบรม
6.ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน

 

45 45

7. จัดกิจกรรมฝึกอบรมด้านอาชีพ แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดสารเสพติด

วันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้เรื่องการเลี้ยวนกกระทา
  2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีอาชีพและรายได้
  3. เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายแก่ครอบครัว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดสารเสพติด จะร่วมการทำงานและจะทำให้กลุ่มนี้มีความสามัคคีมากขึ้น จะแบ่งกลุ่มในการทำงานเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงกับกลุ่มติดสารเสพติด ส่วยรายได้ของการเลี้ยงนกกระทานั้นยังไม่มีการแบ่งกำไรอีก เพื่อกำหนดแนวทางการจัดสรรผลผลิตหรือรายได้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและสามารถสร้างเป็นอาชีพได้เพื่อเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดสารเสพติดที่ขาดรายได้ก็จะมีรายได้จากการเลี้ยงนกกระทาเข้ามาช่วยในส่วนนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมฝึกอบรมด้านอาชีพ แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง = 30 คนและกลุ่มติดสารเสพติด = 30 คนรวมทั้งหมด จำนวน 60 คน ในกิจกรรมการเลี้ยงนกกระทาในชุมชนโดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติ

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.พิธีกรแนะนำและเชิญวิทยากร(เลี้ยงนกกระทา)
3.ขั้นตอนแรก การให้อาหารและน้ำ โดยน้ำจะให้ไว้ในรางตลอด ส่วนอาหารจะให้วันละ 2 ครั้งคือ ตอนสาย ๆ และบ่าย ๆ อาหารที่ให้จะเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทาโดยเฉพาะก็ได้หรืออาจจะเป็นสูตรอาหารที่คิดขึ้นเองโดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก

4.ขั้นตอนที่สอง การทำความสะอาดรางน้ำและกรงนก ถ้าหากกรงนกไม่เปื้อนอาหารนั้นก็จะไม่สกปรกมากจึงไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดประจำ แต่รางน้ำจำเป็นต้องทำความสะอาดทุกวัน เพราะถ้าสกปรก อาจทำให้นกเป็นโรคและติดเชื้อได้ง่าย การทำความสะอาดอาจติดตั้งเป็นระบบปั๊มน้ำไว้ แล้วเปิดน้ำไปตามรางใช้แปรงถูรางน้ำ ปล่อยน้ำล้างให้สะอาด วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาถอดรางน้ำออกมาล้าง ส่วนตาข่ายที่ใช้ทำกรงต้องถอดออกไปทำความสะอาดนำไปขัดล้างแค่เพียง 2 ปีต่อครั้ง

5.ขั้นตอนสุดท้าย การเก็บไข่เวลาที่ใช้เก็บไข่ควรเก็บช่วงเย็นประมาณ 18.30 - 19.00 น. แล้วเตรียมใส่ถุงส่งให้ลูกค้าในวันรุ่งขึ้น หากมีไข่หลังจากเก็บไปแล้วก็จะนำไปรวมกันวันต่อไป ควรออกแบบกรงให้สะดวกต่อการเก็บไข่โดยให้ไข่ไหลเทออกมาที่รางด้านนอกกรง ถ้าหากมีไข่ติดอยู่ใต้กรงให้ใช้ไม้เขี่ยออกมาเบา ๆ ไข่ที่เก็บได้แล้วต้องรีบนำไปขาย เพราะอายุของไข่นกสด ๆ อยู่ได้ประมาณ 10 วันเท่านั้น นก 7 ตัว ควรจะให้ไข่ 4 - 5 ฟอง หากให้ต่ำกว่านี้ ต้องพยายามตรวจสอบว่านกตัวไหนไม่ให้ไข่ จะจับแยกออกมาเลี้ยงเป็นนกเนื้อแทน ปกตินกจะให้ไข่ประมาณ 8 - 9 เดือน และจะให้ไข่น้อยลงจนไม่ให้ไข่เลยเมื่ออายุ 10 - 12 เดือน จึงต้องปลดขายเป็นนกเนื้อ และทยอยเลี้ยงรุ่นใหม่หมุนเวียนกันไปตลอด นำข้อมูลที่ได้มาปฏิบัติและให้ผู้รู้ทางด้านการเลี้ยงนกกระทาได้มาดูว่าการทำกรงถูกต้องหรือเปล่าและพื้นที่เหมาะสมในการเลี้ยงนกหรือไม่และตอนนี้ทางชุมชนบ้านสะแตได้เลี้ยงนกกระทาเกียบ 40 กว่าตัวและมีการออกไข่แต่ละวันได้เกินกว่า 90-100 ลูก ลูกค้าที่ซื้อไข่ส่วนใหญ่จะเป็นคนในชุมชนและบุคคลภายนอกที่มีอาชีพ ค้าขายและบางที่ก็มีลูกค้ามาซื้อมูล นกเพื่อทำปุ๋ยและตอนนี้ทางชุมชนก็มีรายได้ส่วนนี้

 

60 60

8. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่3)

วันที่ 30 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชน ประชาชนให้ห่างไกลจากยาเสพติด
  2. เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน มีสุขภาพ สมบูรณ์แข็งแรง
  4. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนรู้รักสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการต่อสู้ สำหรับใช้ป้องกันตนเอง เมื่อเกิดภัย และได้แสดงท่าสิละคู่ต่อสู้ด้วยกัน เกิดความสนุกสนาน และเนาวชนกล้าแสดงออกมากขึ้น ไม่หันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เป็นกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง=30คนและกลุ่มติดสารเสพติด=45 คน รวมทั้งหมด จำนวน 75 คนทำการสอนทักษะโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนกลุ่มปัจจะสีลัตของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียน
  2. ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน
  3. สอนปัจจะสีลัตของชุมชน แก่เด็กและเยาวชน ทำการสอนทักษะโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนกลุ่มปัจจะสีลัตของชุมชน โดยในวันนี้สอนวิธีการต่อสู้

 

75 75

9. จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่5)

วันที่ 6 มิถุนายน 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชน ได้เล่นกีฬาไม่พึ่งพาสิ่งเสพติด
  2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพ พลานามัยแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ให้เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพและรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. เพื่อยกระดับมาตรฐานการเล่นกีฬาในท้องถิ่นให้สูงขึ้นและรู้จักกฎกติกา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เยาวชนได้เรียนรู้ท่าการรับบอลเพิ่มขึ้น คือ การรุกด้วยการตบหัวเสา การรุกด้วยการตบบอลกลาง และการรุกด้วยการตบบอลเร็ว เกิดทักษะการเล่นฟุตบอลที่เก่งขึ้น และในช่วงเวลาว่างตอนเย็นก็จะนำไปเล่นฟุตบอลในชุมชนร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรม/สอนทักษะด้านสันทนาการ แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง=43 คนและกลุ่มติดสารเสพติด= 40 คนรวมทั้งหมด จำนวน 83 คนตามวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณี โดยสอนทักษะด้านการบรรยายธรรม,อานาเซะ,ซาเยาะ เพื่อเป็นสื่อในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชนและชาวบ้าน
3.เยาวชนฝึกซ้อมการเล่นฟุตบอล พร้อมมีครูฝึกคอยสอนการรับบอล หลังจากที่ฝึกซ้อมการรับบอลจากการรุกแดนหลังแล้ว แบบฝึกต่อไปที่จะนำเสนอคือ การรับบอลจากการรุกหน้าตาข่าย ซึ่งการรุกหน้าตาข่ายโดยหลัก ๆ แล้วจะมีการรุกอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1.การตบหัวเสา 2.การตบบอลกลาง และ 3.การตบบอลเร็ว

 

83 83

10. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่6)

วันที่ 12 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงในชุมชนสามารถปฏิบัติตามหลักปฎิบัติของศาสนาอิสลาม ได้ถูกต้อง
  2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องการปฎิบัติ ตามหลักจริยธรรมของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ได้ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
  • จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงหลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมศาสนบำบัดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 6 โดยรวมแล้วมีพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น การมั่วสุมเสพยาในชุมชนลดลง จะแอบเสพยาแบบลับๆ เป็นกลุ่มเล็กๆ และไม่มีการลักขโมย
  • เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงร่วมกับชาวบ้านในการพัฒนามัสยิดและเส้นทางในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมศาสนบำบัด โดยกลุ่มเยาวชนร่วมกันทำความสะอาดมัสยิด และบริเวณรอบ ๆ มัสยิด เพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับการทำกิจกรรมละมาดร่วมกันในช่วงเดือนรอมฏอน
ได้ละมาดร่วมกัน และโต๊ะครู ได้บรรยายธรรมเพิ่มเติมเรื่องการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ผลบุญที่ได้รับจากการทำความดีละเว้นความชั่ว

 

45 45

11. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่4)

วันที่ 13 มิถุนายน 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชน ประชาชนให้ห่างไกลจากยาเสพติด
  2. เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน มีสุขภาพ สมบูรณ์แข็งแรง
  4. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนรู้รักสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนในหมู่บ้านและชาวบ้านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของตนเอง มีความสนุก และกล้าแสดงออกมากขึ้น เยาวชนรำเก่งขึ้น จากการสังเกตุผู้ชมการแสดงปัจจัสิลัต เยาวชนจะมีความชอบในการชม และชอบในการแสดง มีความสุขเมื่อได้มาเรียนรู้ร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง = 30 คน และกลุ่มติดสารเสพติด = 45 คนรวมทั้งหมด จำนวน 75 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียน
  2. ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน
  3. สอนปัจจะสีลัตของชุมชน ทำการสอนทักษะโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนกลุ่มปัจจะสีลัตของชุมชน ในวันนี้สอนสิละคู่ และแสดงให้ผู้ชมดู สิละคู่เพื่อแสดง ความสวยงามของท่าทางการต่อสู้ เป็นการ ต่อสู้ที่ไม่อันตราย แสดงให้ผู้ชมดู ไม่เอา จริง สิละชนิดนี้ใช้ผู้ชาย หรือผู้หญิงแสดงก็ได้

 

75 75

12. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่7)

วันที่ 26 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนมีจิตใจที่บริสุทธิ์ไม่ตกเป็นทาสแห่งวัตถุด้วยความโลภและเห็นแก่ตัว
  2. เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องหลักการปฎิบัติ(การบริจาคซะกาต) ตามหลักของศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง
2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยง ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
3.จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงหลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมศาสนบำบัดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 7 โดยรวมแล้วมีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนมีคุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติตามหลักศาสนาได้ถูกต้อง โดยมีการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม พร้อมปฏิบัติศาสนกิจร่วมกันและจัดกิจกรรมรณรงค์พัฒนาสิ่งสาธารณะประโยชน์ เช่น พัฒนามัสยิด พัฒนากูโบร์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน ในการดำเนินกิจกรรมรณรงค์พัฒนาสิ่งสาธารณะประโยชน์

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.พิธีกรแนะนำและเชิญวิทยากร(โต๊ะครู)
3.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักปฎิบัติ หลักการปฎิบัติ(การบริจาคซะกาต) ตามหลักของศาสนาอิสลาม
4.ซักถามปัญหา
5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการอบรม 6. ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน

 

45 45

13. จัดกิจกรรมสันทนาการชุมชน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก่เด็กและเยาวชน

วันที่ 8 สิงหาคม 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดสารเสพติด มีทักษะการเล่นกีฬา มีความสามัคคี รู้แพ้-รู้ชนะ รู้จักให้อภัย ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง
  2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็ก/เยาวชน ทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มปกติและกลุ่มต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีประชุมคณะทำงาน เตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
2.มีการลงทะเบียนผู้เขัาร่วมกิจกรรม แต่ไม่ครบทุกคน
3.ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิดงานและพบปะพูดคุยกับเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพ ผู้ปกครองและผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม
4.เริ่มด้วย กิจกรรมที่ 1 การแข่งขันฟุตบอล 5 คน เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพ จำนวน 10 คู่ กิจกรรมที่ 2 การแข่งวอลเล่บอลระหว่างของเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพ จำนวน 4 คู่ กิจกรรมที่ 4 การแข่งขันชักเย่อระหว่างเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพจำนวน 2 คู่ 5.เด็ก และ เยาวชน ทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มปกติและกลุ่มติดยาเสพติด ตลอดจนผู้ปกครองและผู้นำต่างๆในชุมชน มีความสัมพันธ์ที่ดีมาก และชุมชนมีการยอมรับเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพมากขึ้นพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมสันทนาการชุมชน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง=30คน กลุ่มผู้ปกครอง =10 คนและกลุ่มติดสารเสพติด=45คนรวมทั้งหมด จำนวน 75 คนเพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดี สร้างความรัก ความสามัคคีของเด็กและเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประชุมคณะทำงาน เตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
2.ลงทะเบียน
3.เปิดงานโดยผู้ใหญ่บ้าน
4.จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่น ฟุตบอล,วอลเล่บอล
5.มอบของขวัญ/ของที่ระลึก แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 

75 75

14. จัดกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน(ครั้งที่5)

วันที่ 15 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชน ประชาชนให้ห่างไกลจากยาเสพติด 2. เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 3. เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน มีสุขภาพ สมบูรณ์แข็งแรง4. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนรู้รักสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการป้องกันตัวเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
  • เด็กและเยาวชนได้พูดคุยกัน เรื่อง ยาเสพติด ต่างรู้โทษของยาเสพติด และจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะทำให้พ่อแม่เสียใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เป็นกิจกรรม สอนปัจจะสีลัตของชุมชน จัดกิจกรรมสอนทักษะปัจจะสีลัตของชุมชน แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง=25 คนและกลุ่มติดสารเสพติด= 24 คน รวมทั้งหมด จำนวน 49 คน ทำการสอนทักษะโดยมีผู้ฝึกสอนเป็นคนกลุ่มปัจจะสีลัตของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.ผู้ใหญ่บ้านพูดคุยพบปะเยาวชน 3. ดำเนินการสอนปัจจะสิลัต โดยครูในชุมชน วันนี้สอนท่า สิละคู่เพื่อแสดง ความสวยงามของท่าทางการต่อสู้

 

49 49

15. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่8)

วันที่ 21 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนมีจิตใจที่บริสุทธิ์ไม่ตกเป็นทาสแห่งวัตถุด้วยความโลภและเห็นแก่ตัว
  2. เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการบรรยายธรรม เรื่อง ความสามัคคี ทำให้เด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง มองเห็นว่า การมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การบรรยายธรรม การละมาดร่วมกัน และการมาทำโครงการร่วมกัน สิ่งเหล่านั้นคือการสร้างความสามัคคี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนมีคุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติตามหลักศาสนาได้ถูกต้อง โดยมีการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม พร้อมปฏิบัติศาสนกิจร่วมกันและจัดกิจกรรมรณรงค์พัฒนาสิ่งสาธารณะประโยชน์ เช่น พัฒนามัสยิด พัฒนาถนนในหมู่บ้านและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน ในการดำเนินกิจกรรมรณรงค์พัฒนาสิ่งสาธารณะประโยชน์

กิจกรรมที่ทำจริง

พัฒนาในหมู่บ้าน บริเวณสองข้าทางถนน ด้วยการตัดหญ้าสิ่งกีดขวาง และช่วยกันเก็บขยะ ปรับภูมิทัศน์สองข้างทางให้มีความสวยงาม น่ามอง หลังจากพัฒนาเสร็จ ทีมเยาวชนได้ละมาดร่วมกัน และฟังการบรรยาย เรื่อง ความสามัคคีในหมู่บ้าน

 

45 45

16. จัดกิจกรรมศาสนบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่เด็กและเยาวชน(ครั้งที่9)

วันที่ 3 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนมีจิตใจที่บริสุทธิ์ไม่ตกเป็นทาสแห่งวัตถุด้วยความโลภและเห็นแก่ตัว
  2. เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดตั้งใจฟัง มีสมาธิ ตรงต่อเวลาและมีระเบียบวินัยมากขึ้น
2.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดมีการซักถามปัญหา
3.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดส่วนใหญ่สามารถปฎิบัติการละหมาด 5 เวลาได้ถูกต้องและการเตรียมตัวก่อนละหมาด เช่น การอาบน้ำละหมาดได้ถูกต้อง
4.เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติด ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)
5.เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้มีการพัฒนาในหมู่บ้านร่วมกับชาวบ้าน บริเวณมัสยิดในมัสยิด หลังจากการพัฒนาเสร็จแลัว มีการฟังการบรรยาย เรื่อง คุณธรรมและจริยธรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อขัดเกลาจิตใจ และสร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนมีคุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติตามหลักศาสนาได้ถูกต้อง โดยมีการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม พร้อมปฏิบัติศาสนกิจร่วมกันและจัดกิจกรรมรณรงค์พัฒนาสิ่งสาธารณะประโยชน์ เช่น พัฒนามัสยิด พัฒนาถนนในหมู่บ้านและกูโบร์ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน (ในการดำเนินกิจกรรมรณรงค์พัฒนาสิ่งสาธารณะประโยชน์ แต่ละครั้งจะทำร่วมกับเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง/ประชาชนในชุมชนทุกครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดร่วมกันพัฒนามัสยิดถนนในหมู่บ้าน

 

45 45

17. จัดงานความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของฅนใต้ปี2558

วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อได้เรียนรู้ในการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อนำมาปฏิบัติในหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้เรียนรู้ในการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อนำมาปฏิบัติในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ที่จัดโดย สสส. ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ ม.สงขลานครินทร์

กิจกรรมที่ทำจริง

้เข้าร่วมกิจกรรมงานสร้างสุข ในวันแรก เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ห้องความมั่นคงทางสุขภาพ วันที่ 2 เข้าร่วมห้องชุมชนน่าอยู่ และร่วมเรียนรู้นิทรรศการที่จัดแสดงในงาน

 

2 2

18. จัดทำรายงาน

วันที่ 12 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดทำรายงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ข้อมูลที่นำไปสู่การเขียนโครงการได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมทีมสรุปข้อมูลโครงการ และปรึกษาพี่เลี้ยงเพื่อทำรายงานให้สมบูรณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง สรุปผลการทำโครงการ และดำเนินการจัดทำรายงานโครงการ

 

4 4

19. จัดกิจกรรมศาสนาบำบัด/กิจกรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ครั้งที่10

วันที่ 20 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนมีจิตใจที่บริสุทธิ์ไม่ตกเป็นทาสแห่งวัตถุด้วยความโลภและเห็นแก่ตัว ฃ
  2. เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดในชุมชนเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การพัฒนาหมู่บ้าน เป็นหลักศรัทธาอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม และเป็นซุนนะห์ (แบบอย่างของท่านศาสดา) ที่ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ซึ่งเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงได้สัญญากับทีมงานจะพยายามปฏิบัติตามแนวซุนนะห์ของท่านศาสดามูฮัมหมัด คือ การรักษาความสะอาดตามแหล่งสาธารณะในชุมชน
  • เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดและกลุ่มเสี่ยง ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน(ละหมาดร่วมกัน)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนมีคุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติตามหลักศาสนาได้ถูกต้อง โดยมีการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม พร้อมปฏิบัติศาสนกิจร่วมกันและจัดกิจกรรมรณรงค์พัฒนาสิ่งสาธารณะประโยชน์ เช่น พัฒนามัสยิด พัฒนากูโบร์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน ในการดำเนินกิจกรรมรณรงค์พัฒนาสิ่งสาธารณะประโยชน์

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียน
2.พิธีกรแนะนำและเชิญวิทยากร(โต๊ะครู)
3.วิทยากร(โต๊ะครู)บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักปฎิบัติ 4.ซักถามปัญหา
5.โต๊ะครูกล่าวดูอาอ์และปิดการอบรม 6.ปฎิบัติศาสนกิจร่วมกัน

  • ตอนเช้ามีการพัฒนาหมู่บ้าน พื้นที่สาธารณะร่วมกัน
  • กลางคืนบรรยาย เรื่อง โทษของยาเสพติด

 

45 45

20. จัดประชุมสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา/เครือข่าย/ทีมงาน

วันที่ 27 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ได้ดำเนินกิจกรรมไปแล้วตลอดจนปัญหาและอุปสรรค 2. เพื่อหากลวิธีใหม่ๆในการดำเนินงานทำกิจกรรมต่อยอดหรือนำไปขยายผลต่อไปหรือยุติการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ)พร้อมแจ้งให้ประชาชนในชุมชนรับทราบ พร้อมรับทราบข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและแก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินโครงการ ดังนี้

  1. เกิดสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา 1 สภา มีสมาชิก 45 คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน อบต., ผู้นำศาสนา กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี แม่บ้าน , เยาวชน และครูตาดีกา ข้าราชการในพื้นที่
  2. มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง คือ เด็กและเยาวชนต้องไม่เสพหรือดื่มสารเสพติดทุกชนิดในชุมชน กรณีฝ่าฝืน ครั้งที่ 1 กล่าวตักเตือน ครั้งที่ 2 กล่าวตักเตือนและเรียกผู้ปกครองมาคุยพร้อมให้เด็กและเยาวชนฟังบรรยายธรรมและทำบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 3 ส่งดำเนินคดีตามกฏหมาย
  3. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดเข้ารับการบำบัด จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 100
  4. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดสามารถเลิกสารเสพติดแล้วไม่กลับติดสารเสพติดซ้ำและสามารถกลับตัวเป็นคนดีของสังคมทำให้สังคมยอมรับ จำนวน 3 คน
  5. เด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดสามารถลดปริมาณการเสพ เหลือวันละ 1 ครั้ง จำนวน 25 คน
  6. เกิดเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันยาเสพติดในชุมชน 7 เครือข่าย กลุ่มบ้านๆละ 7 คนประกอบด้วย ตัวแทนผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน อบต., ผู้นำศาสนา กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี แม่บ้าน , เยาวชน และครูตาดีกา ข้าราชการในพื้นที่
  7. เกิดกลุ่มอาชีพไข่นกกระทาจำนวน1 กลุ่ม มีสมาชิก 25 คน
  8. เกิดกลุ่มการเล่นกีฬา 1 กลุ่ม
  9. เกิดกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ 1 กลุ่ม
  10. มีการอบรมจริยธรรม/สอนศาสนาแก่เด็กและเยาวชน ทุกคืนวันศุกร์ของเดือน
  11. ทางชุมชนมีความสัมพันธ์และยอมรับกับเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดดีขึ้นอยากให้ต่อยอดการดำเนินงานโครงการต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ตลอดจนปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อไปปรับปรุงแก้ไข/หากลวิธีใหม่ๆ พร้อมนำข้อมูลไปบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น หน่วยราชการ ในการดำเนินงานต่อไป(ปิดโครงการ)

กิจกรรมที่ทำจริง

1.โต๊ะอีหม่ามกล่าวดูอาอ์เปิดการประชุม
2.ผู้ใหญ่บ้านกล่าวพูดคุยในที่ประชุม
3.ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
4.สมาชิกสภาชุมชนศรัทธากำปงตักวา เครือข่าย ทีมงาน แต่ละคนสรุปประเด็นในเนื้อหาที่ตนเองได้รับมอบหมายหรือรับผิดชอบ พร้อมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ตลอดจนปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อไปปรับปรุงแก้ไข/หากลวิธีใหม่ๆ พร้อมนำข้อมูลไปบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ

 

105 105

21. ภาพถ่าย

วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเผยแพร่ในการทำกิจกรรมในชุมชนและเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จ่ายค่าจ้างถ่ายรูปและล้างรูป

 

1 1

22. เบิกคืนค่าเปิดบัญชี

วันที่ 2 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ถอนเงินค่าเปิดบัญชี 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สามารถจัดทำบัญชีได้ และจำนวนตัวเลขในรายงานถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ถอนเงินคืนค่าเปิดบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ถอนเงินคืนค่าเปิดบัญชี จำนวน 100 บาท

 

1 1

23. มาร่วมกิจกรรมกับ สจรส.เพื่อตรวจเอกสารโครงการ

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อมาตรวจเอกสารทางการเงินเพื่อปิดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รับคำแนะนำการทำรายงานการเงิน และรายงานฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำรายงานฉบับสมบูณณ์ ที่ สจรส.มอ.

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เพื่อมาตรวจสอบเอกสารโครงการ รายงานการเงิน และรายงานฉบับสมบูรณ์

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 38 38                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,900.00 210,080.00                  
คุณภาพกิจกรรม 152 151                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายอันวา มูนา
ผู้รับผิดชอบโครงการ