directions_run

ร่วมสร้างชุมชนสุขภาวะและท้องถิ่นน่าอยู่บ้านต้นทุเรียน

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพกลุ่มเยาวชนให้มีความเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1. คณะกรรมการชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา 2. กลุ่มเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มทั่วไปได้รับการพัฒนาศักยภาพ

 

 

  • จากการดำเนินงานโครงการครั้งนี้ คณะกรรมการชุมชนและภาคีเครือข่ายร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาในหมู่บ้านต้นทุเรียน และนำปัญหาที่ได้มาดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนที่ได้วางไว้ การดำเนินงานกิจกรรมได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์บริหารส่วนตำบลยะรัง สาธารณสุขอำเภอยะรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง สำนักงานเกษตร โรงเรียนบ้านต้นทุเรียน โรงเรียนตากีกา เป็นต้น จนสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมได้ตามแผนที่ได้วางไว้
  • ประชาชนในหมู่บ้านทุกกลุ่มทั้งเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มคนว่างงาน กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้นำชุมชนได้รับการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักญภาพของตนเองด้านการประกอบอาชีพ การส่งเสริมความรู้ด้านการเกษตร สอนการสกรีนเสื้อเพื่อเป็นแนวทางการทำธุรกิจ ส่งให้ความรู้ด้านศาสนากับการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้การบำเพ็ญประโยชน์เป็นต้น
2 เพื่อส่งเสริมอาชีพพัฒนาเด็กเยาวชนในชุมชนให้มีงานทำ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของเยาวชนกลุ่มทั่วไปในชุมชนมีงานทำ

 

 

จากการดำเนินกิจกรรมโครงการดังกล่าวยังไม่สามารถตอบโจรย์การทำให้กลุ่มเยาวชนและกลุ่มทั่วไปมีงานทำ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายยังไม่เห็นถึงความสำคัญของการทำงาน ไม่ได้นำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์

3 เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มทั่วไปในชุมชนด้านยาเสพติด โดยใช้หลักศาสนธรรมนำชีวิต
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 เยาวชนกลุ่มเสี่ยง

 

 

กลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่เข้าร่วมการจัดกิจกรรมโครงการ ค่ายส่งเสริมความรู้ด้านยาเสพติด การอบรมคุณธรรม จริยธรรม การส่งความรู้ด้านศาสนาในการดำรงชีวิต การละหมาด การดูอาร์(บทขอพร)ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

4 เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนเป็นนโยบายสาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวชี้วัด : เกิดประเด็นนโยบายสาธารณะและกติกาของชุมชน

 

 

มีนโยบายสาธารณและกติกาชุมชน สมัชชาสุภาพบ้านต้นทุเรียน 3 เรื่อง 1 เรื่องการจัดการขยะ2 สถานการณ์รายจ่ายมากกว่ารายรับ 3 สถานการณ์เยาวชนว่างงาน

5 เพื่อบริหารจัดการโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. จัดประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงในจังหวัดจำนวน 3 ครั้ง 2. ประชุมร่วมกับสจรส. อย่างน้อย 3 ครั้ง 3. มีป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ติดตั้งในสถานที่จัดประชุมทุกครั้ง 4. มีรายงานความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์ส่ง สสส.ภายในระยะเวลาที่กำหนด

 

 

ในส่วนของการสนับสนุนจากพี่เลี้ยง และสจรส. 1. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงจำนวน 5 ครั้ง ในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง และการดูแลเอกสาร รายงานจำนวน 3 ครั้ง 2. ประชุมร่วมกับ สจรส.มอ. 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นการปฐมนิเทศก่อนเริ่มโครงการ ครั้งที่ 2 ส่งเอกสารงวดที่ 1 ครั้งที่ 3 ประชุมความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขคนใต้ และครั้งที่ 4 เป็นการส่งเอกสารปิดโครงการ 3. เกิดป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ สสส. จำนวน 2 ป้าย 4. มีรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 เล่ม