คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรในพื้นที่ตัวอย่าง3 เมษายน 2558
3
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร รู้จักวิธีการที่ถูกต้องในการใช้สมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น โดยเน้นการนำเอาสมุนไพรมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สมุนไพรเป็นยา อาหารและเครื่องดื่ม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมศึกษาดูงานในโรงพยาบาลท่าฉาง ที่ใช้แพทย์แผนไทยในการรักษา / บำบัดผู้ป่วย

  • เวลา 08.00 น. ออกเดินทางจากหมู่ 1 บ้านพรุกระแชง
  • เวลา 10.00 น. ลงทะเบียน ห้องประชุมโรงพยาบาลท่าฉาง
  • เวลา 10.00 น. - 12.00 น. ให้ความรู้เรื่อง การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร
  • เวลา 12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • เวลา 13.00 น. - 14.00 น. ชม ลานตากสมุนไพร
  • เวลา 14.00 น. - 15.00 น. ชม ห้องจำหน่ายยาสมุนไพร
  • เวลา 15.00 น. เดินทางกลับ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมศึกษาดูงานในโรงพยาบาลท่าฉาง ที่ใช้แพทย์แผนไทยในการรักษา / บำบัดผู้ป่วย มีผู้เข้าร่วม จำนวน 30 คน

  • กิจกรรม ให้ความรู้เรื่อง การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร โดย นางสาวอรุณรัตน์ เนืองคีบ ตำแหน่งแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลท่าฉาง เริ่มต้นด้วยการแนะนำตัว และจุดประสงค์ของการมาศึกษาดูงานในครั้งนี้ ว่าด้วยโครงการคนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส สำนักงานส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ โดยวิธีการที่สำคัญของโครงการฯ คือ การส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย โดยวิธีการดังนี้

    • เรียนรู้ : ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ  การแปรรูปสมุนไพร และการรักษาโรคด้วยการนวดไทย อบและประคบสมุนไพร
    • ส่งเสริม : ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร การปลูกสมุนไพรในครัวเรือน
    • รักษา : การรักษาอาการเจ็บป่วยเกี่ยวโรคกล้ามเนื้อ ด้วยการ นวด และประคบสมุนไพร
    • ปรับเปลี่ยน : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2 ส. โดยยึดหลัก "กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา"

จากนั้น วิทยากร ก็ได้ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ (การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค) โดยยกตัวอย่าง 6 กลุ่มอาการ

  1. กลุ่มยาแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้แก่ กานพลู โหรพา มะรุม ว่านน้ำ อบเชยเทศ
  2. กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ได้แก่ ทองพันชั่ง เหงือกปลาหมอ
  3. กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ ได้แก่ มะขามป้อม มะแว้งเครือ
  4. กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ปลาไหลเผือก แก้ไขห้าราก
  5. กลุ่มอาการแก้ฟกช้ำ ปวดข้อ ได้แก่ ว่านนางคำ ไพล กำลังพญาเสือโคร่ง
  6. กลุ่มยารักษาริสีดวงทวาร ได้แก่ เพชรสังฆาต
  • กิจกรรม ชมโรงตากสมุนไพรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์  ในการใช้ " พืชสมุนไพร " มาทำเป็นยารักษาโรคต่างๆ นั้น แพทย์แผนโบราณใช้ " พืชสมุนไพร " นี้ได้ทั้งสดๆ และตากแห้งแล้ว ในการใช้ " พืชสมุนไพร " ขณะที่ยังสดๆ อยู่เป็นวิธีการที่สะดวกมากใช้ก็ง่ายแต่ฤทธิ์ของตัวยาที่มีอยู่ใน " พืชสมุนไพร " อาจจะไม่คงที่ ในบางครั้งการออกฤทธิ์อาจจะดี  แต่บางครั้งก็ออกฤทธิ์ไม่ดีนัก " พืชสมุนไพร " ที่ใช้กันสดๆ นั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น ว่านหางจระเข้ รากหญ้าคา เป็นต้น  แต่การใช้ยาสมุนไพรส่วนมากนิยมาใช้แห้งเพราะจะได้คุณภาพของยาที่คงที่  โดยเลือกเก็บยาสมุนไพรที่ต้องการตามฤดูกาลเก็บของพืช แล้วนำเอามาแปรสภาพโดยผ่านขบวนการที่เหมาะสมเพื่อเก็บยาเอาไว้ได้เป็นเวลานาน ในการแปรสภาพนั้น  โดยทั่วไปก็จะต้องนำส่วนที่ใช้เป็นยามาผ่านการคัดเลือก ผ่านการล้าง  การตัดเป็นชิ้นที่เหมาะสมแล้วใช้ความร้อนทำให้แห้ง  เพื่อสะดวกในการเก็บรักษา  วิธีการแปรสภาพยาสมุนไพรนั้นแตกต่างไปตามชนิดของ " พืชสมุนไพร " ส่วนที่ใช้เป็นยาและความเคยชินของแต่ละท้องที่ วิธีการที่ใช้บ่อยและจะเอาส่วนไหนของพืชที่เป็นยามาใช้  คือ
  1. รากและส่วนที่อยู่ใต้ดิน : ก่อนอื่นจะต้องคัดเอาขนาดที่พอๆ  กันเอาไว้ด้วยกันเพื่อจะได้สะดวกในการแปรสาพต่อไปนั่นเอง  ต่อจากนั้นก็ล้างดินและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ เอารากฝอยออกไปให้หมด  หากว่าเป็นพืชที่มีเนื้อแข็งแห้งได้ยากจะต้องหั่นเป็นชิ้นที่เหมาะสมก่อน  ถ้าเป็นพืชที่ไม่แข็งนำมาผ่านขบวนการให้ความร้อนตามแต่ชนิดของพืชนั้นๆ  พืชที่ใช้หัวและรากประกอบด้วย โปรตีน แป้ง เอนไชม์  หากผ่านความร้อนตามแบบต้มหรือนึ่งจะทำให้สะดวกในการเอาไปทำให้แห้ง หลังจากผ่านความร้อนแล้ว นำเอามาติดเป็นชิ้นๆ แล้วอบให้แห้งในอุณภูมิที่เหมาะสม
  2. การเก็บรักษาพืชสมุนไพร : การเก็บรักษาพืชสมุนไพรเอาไว้เป็นเวลานาน  มักจะเกิดการขึ้นราหรือเกิดมีหนอน  เกิดการเปลี่ยนลักษณะของสี  กลิ่น  ทำให้ยาสมุนไพรเสื่อมคุณภาพลงได้  ทำให้เกิดไม่ออกฤทธิ์ในการบำบัดรักษา สูญเสียฤทธิ์ของยาไปเลย  ด้วยเหตุนี้เอง  จะต้องมีการเก็บรักษาที่ดีเพื่อประกันคุณภาพและฤทธิ์การรักษาของสมุนไพรนั้น ในการเก็บรักษานั้นควรปฏิบัติดังนี้
  • ยาที่เก็บรักษาเอาไว้จะต้องทำให้แห้ง  เพื่อป้องกันการขึ้นราและการเปลี่ยนลักษณะเกิดภาวะ " ออกชิไดซ์ " ยาที่ขึ้นราง่าย จะต้องเอาออกตากแดดอยู่เสมอ
  • สถานที่ ที่เก็บรักษาจะต้องแห้ง เย็น  การถ่ายเทอากาศจะต้องดี
  • ควรแบ่งเก็บรักษาเป็นสัดเป็นส่วน  ยาที่มีพิษ  ยาที่มีกลิ่นหอมควรเก็บแยกเอาไว้อย่างมิดชิด ป้องกันการสับสนปะปนกัน
  • จะต้องคอยหมั่นดูแลอย่าให้มีหนอน หนู  แมลงต่างๆ มารบกวนรวมทั้งระวังเรื่องความร้อน ไฟ ที่อาจจะเกิดขึ้นก็ได้
  • กิจกรรม เยี่ยมชมอาคารแพทย์แผนไทยหลังใหม่และ ร้านจำหน่ายยาสมุนไพร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วม 30 คน ประกอบด้วย

  1. คณะทำงานโครงการฯ 10 คน
  2. อสม. 14 คน
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 6 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • หลังจากรายงานปิดบัญชีงวดที่ 1 ยังไม่ได้รับงบประมาณจาก สสส. ผู้รับผิดชอบโครงการฯ จึงได้ขอยืมเงินจากชมรม อสม.
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง / นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • อยากให้ทาง สสส. ได้แจ้งกำหนด วันโอนเงิน หรือ เหตุที่ล่าช้า เพราะโครงการฯ ต้องทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-