คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

กิจกรรมเรียนรู้การตรวจสุขภาพเบื้องต้น13 มิถุนายน 2558
13
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ในการดูแลสุขภาพคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 13 มิถุนายน 2558 ณ. โรงอาหารบ้านพรุกระแชง โรงเรียนบ้านพรุกระแชง

  • เวลา 08.30 น. ลงทะเบียน
  • เวลา 09.00 น. กิจกรรมให้ความรู้ "การเรียนรู้การตรวจสุขภาพเบื้องต้น"
  • เวลา 11.00 น. กิจกรรมให้คววามรู้ "การป้องกันโรคไข้เลือดออก"
  • เวลา 12.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • เวลา 13.00 น. กิจกรรม "เสริมทักษะ การตรวจสุขภาพ ด้วยการลองปฏิบัติจริง"
  • เวลา 15.00 น. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพรุกระแชงกล่าวปิดการอบรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 13 มิถุนายน 2558  ได้จัดกิจกรรมเรียนรู้การตรวจสุขภาพเบื้องต้น เพื่อสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ในการดูแลสุขภาพคนในชุมชน ณ.โรงเรียนบ้านพรุกระแชง ซึ่งมีคณะทำงานโครงการฯ จำนวน 3 คน อสม. 4 คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบยาลส่งเสริมสสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง จำนวน 5 คน เข้าร่วามทำกิจกรรม

เวลา 08.30 น. - มีนักเรียนชั้น ป.5 และ ป.6 จำนวน 50 คน ร่วมลงทะเบียนอบรม

เวลา 09.00 น. - กิจกรรมให้ความรู้ "การเรียนรู้การตรวจสุขภาพเบื้องต้น" โดย นางดารุณี  ผุดผาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติงาน ให้ความรู้เรื่อง

1.การตรวจวัดค่าความดันโลหิตสูง : เป็นกิจกรรมอบรมให่้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพไม่ให้เป็นโรค
1.1 เราควรจะวัดความดันเมื่อไหร่บ้าง

  • เมื่อรู้สึกว่า มีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น อ่อนเพลีย เป็นลม หมดสติ ปวดท้อง ตกเลือด บวมตามร่างกาย ท้องเดิน อาเจียนมากๆ หรือ ตามัว
  • เมื่อเป็นโรคเบาหวาน หรือ ต่อมธัยรอยด์โต (คอพอก)
  • เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือร่าวกายได้รับบาดเจ็บ อาจพบความดันต่ำในคนที่มีอาการตกเลือดจนเกิดภาวะ “ช็อค”
  • ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ควรจะตรวจวัดความดันเลือด ปีละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะในคนที่มีอายุ มากกว่า 40 ปีขึ้นไป เพราะคนที่เป็นความดันเลือดสูง บางครั้งอาจไม่มีอาการอะไรมากก่อนเลยก็ได้

1.2 ขั้นตอนการวัดความดันโลหิต

  • นั่ง หรือ นอนพัก ให้สบาย หายตื่นเต้น ประมาณ 5-10 นาที
  • วัดความดันท่านอน ให้นอนหงาย วางแขนขนานกับลำตัวตามสบาย หงายฝ่ามือขึ้น / วัดความดันท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ วางแขนที่จะวัดบนโต๊ะ หงายฝ่ามือขึ้น ท่านี้สะดวกในการวัดความดันด้วยตัวเอง
  • วางเครื่องวัดความดัน ให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ หันหน้าปัทม์ที่อ่านให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตา ไม่ควรวางไกลเกิน 3 ฟุต
  • พันผ้ารอบแขน โดยจับปลายด้านที่มีสายยาง วางบนแขนด้านชิดกับลำตัว แล้วจึงพันส่วนที่เหลือไปเรื่อยๆ จนรอบแขน ให้ขอบล่างของผ้าพันแขน อยู่เหนือข้อศอกประมาณ 2 นิ้ว กรณีที่สวมเสื้อมีแขน ให้พับแขนเสื้อข้างนั้นขึ้นเหนือข้อศอก ประมาณ 5 นิ้ว ก่อนพันผ้าพันแขน
  • กดปุ่ม START/STOP บนเครื่องวัดความดัน รอจนตัวเลขหยุดลงแล้วจึงอ่านค่า
  • ภายหลังที่วัดความดันครั้งแรก แล้ว เพื่อความแน่นอนให้วัดซ้ำดูอีกครั้ง โดยเฉพาะถ้าพบว่า ความดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ  โดยปกติแล้วการวัดค่าความดันโลหิตจะแสดงผลออกมา 2 ค่า บันทึกค่าเป็นสัดส่วน เช่น 120/80 mmHg (ซึ่งเป็นค่าความดันฯที่ปกติ) Systolic คือ ตัวเลขตัวบนซึ่งมีค่ามากกว่า เป็นการวัดค่าความดันของหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจบีบตัว Diastolic คือ ตัวเลขตัวล่างซึ่งมีค่าน้อยกว่า เป็นการวัดค่าความดันในหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจคลายตัว Pulse rate คือ อัตราการเต้นของหัวใจใน 1 นาที

2.การคำนวน ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสม BMI : คำนวณหาค่า BMI วัดความอ้วน เพื่อประเมินหาไขมันส่วนเกินในร่างกาย เพื่อคำนวณความเสี่ยงในการเป็นโรค ประโยชน์ใช้เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ถ้าค่าที่คำนวนได้ มากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ผอมเกินไป ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง ดังนั้นควรรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สูตรการคำนวนหาค่า BMI ก็คือ = น้ำหนัก(กิโลกรัม) หาร ส่วนสูง(เมตร)ยกกำลังสอง เมื่อได้ค่ามา ก็เอามาเทียบตามค่าดังนี้

  • ต่ำกว่า 17 = ผอม กินให้เยอะกว่านี้หน่อยจะดีกว่านะ
  • 17-18.4 = สมส่วน ทำตัวให้เหมือนเดิมอ่ะ ดีแล้ว ^ ^
  • 18.5-24.9 = เริ่มจะอวบ (ยังไม่อ้วนนะ) ระวังหน่อยๆ ช่วงนี้เริ่มกินเยอะขึ้นแล้วใช่ไหมเรา?
  • 25-29.9 = อวบระยะสุดท้ายหรืออ้วนแล้วล่ะ แต่ยังไม่ถึงกะเป็นอันตราย ให้รีบลด
  • มากกว่า 30 = อ้วนแบบอันตรายแล้วล่ะ รีบลดด่วนๆ

เวลา 11.00 น. - กิจกรรมให้คววามรู้ "การป้องกันโรคไข้เลือดออก" โดย นายสมจิตร  จันทร์แก้ว ได้ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ในทุกกลุ่มอายุ พบมากในเด็กวัยเรียน

  1. สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส มี 4 ชนิด ดังนั้นถ้ามีการติดเชื้อชนิดใดแล้วจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้นไปตลอดชีวิต  และจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกี อีก 3 ชนิดในช่วงสั้นๆ ไม่ถาวร ประมาณ 6-12 เดือน หลังจากระยะนี้แล้ว คนที่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดหนึ่งอาจติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดอื่นที่ต่างไปจากครั้งแรกได้ เป็นการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก
  2. การติดต่อ โรคไข้เลือดออกติดต่อถึงกันได้โดยมียุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ โดยยุงตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยในระยะไข้สูง และฟักตัวในยุงประมาณ 8-12 วัน จากนั้นเมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนปกติ ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคน และผ่านระยะฟักตัวประมาณ 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน - นานที่สุด 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้  สำหรับเชื้อเดงกีนี้จะอยู่ในตัวยุงนั้นตลอดชีวิตของยุง คือ ประมาณ 45 วัน
  3. อาการ หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ ดังนี้
  • ไข้สูงเฉียบพลัน (38.5 – 40 องศาเซลเซียส) ประมาณ 2-7 วัน หน้าแดง ปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร อาเจียน ส่วนใหญ่จะไม่มีน้ำมูกไม่ไอ
  • มีอาการเลือดออก เส้นเลือดเปราะ แตกง่าย มีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ มีเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน อาจมีอาเจียนและอุจจาระสีดำ
  • มีปวดท้อง  ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย
  • มีภาวะช็อก ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง เนื่องจากมีการรั่วของเลือด ออกไปยังช่องปอดและช่อง ท้อง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการ กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว  ส่วนใหญ่ จะรู้สติ พูดรู้เรื่อง กระหายน้ำ อาจมีอาการปวดท้องกะทันหันก่อนเข้าสู่ภาวะช็อก ถ้ารักษาไม่ทัน จะมีอาการ ปากเขียว ผิวสีม่วง ๆ ตัวเย็นชืด จับชีพจรและวัดความดันไม่ได้ ความรู้สติเปลี่ยนไป และจะเสียชีวิตภายใน 12 - 24 ชั่วโมง ในรายที่ไม่รุนแรง เมื่อให้การรักษาในช่วงระยะสั้นๆ ก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

4.การรักษา ไม่มีการรักษาที่เฉพาะและไม่มีวัคซีนป้องกัน ให้การรักษาแบบประคับประคอง ตามอาการ โดยให้ยาลดไข้ แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล ให้น้ำให้เพียงพอ และพักผ่อน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์  เมื่อผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีไข้สูง 4-5 วัน (พบร้อยละ 70)  ซึ่งวันที่เป็นระยะวิกฤต/ช็อกจะตรงกับวันที่ไข้ลง หรือไข้ต่ำกว่าเดิม จึงพึงระลึกเสมอว่าวันที่ 3 ของโรค เป็นวันที่เร็วที่สุดที่ผู้ป่วยไข้เลือดออกมีโอกาสช็อกได้  และระหว่างที่ผู้ป่วยมีอาการช็อก จะมีสติดีสามารถพูดจาโต้ตอบได้ จะดูเหมือนผู้ป่วยที่มีแต่ความอ่อนเพลียเท่านั้น ให้รีบนำผู้ป่วยส่งต่อโรงพยาบาลระดับสูงทันที

5.การป้องกัน โรคไข้เลือดออก สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว การป้องกันควบคุมโรคที่สำคัญ จึงต้องไม่ให้ยุงกัด โดยเฉพาะในผู้ป่วย โดยการลดจำนวนยุงตัวเต็มวัย และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ซึ่งจะต้องทำให้ครอบคลุม  ทุกครัวเรือน ต่อเนื่องและสม่ำเสมอตลอดทั้งปี  มีวิธีปฏิบัติ  ดังนี้

  • วิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย คือ สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อลดจำนวนยุงตัวเต็มวัยและแหล่งเพาะพันธุ์ให้ได้มากที่สุด ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานศึกษา ทุก 7 วัน
  • ให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักเรียนเกี่ยวกับ วงจรชีวิตของยุง การแพร่เชื้อและวิธีป้องกัน

เวลา 12.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง

เวลา 13.00 น. กิจกรรม "เสริมทักษะ การตรวจสุขภาพ ด้วยการลองปฏิบัติจริง" กิจกรรมเข้าฐานเพื่อลงมือปฏิบัติจริง โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • ฐานที่ 1 การวัดความดันโลหิตสูง / การชั่งน้ำหนัก /
  • ฐานที่ 2 การคำนวณค่า BMI
  • ฐานที่ 3 การคิดค่า HI และ CI

เวลา 15.00 น. เมื่อจบกิจกรรม ได้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังอบรม และสุดท้ายผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพรุกระแชงกล่าวปิดการอบรม ด้วยการกล่าวขอบคุณ คณะทำงานโครงการฯ อสม. และเจ้าหน้าที่ทุกคน ในการร่วมกิจกรรมในวันนี้ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับนักเรียนมาก รวมถึงต้องกล่าวขอบคุณ สสส. ที่ให้งบสนับสนุนให้ชุมชนมีกิจกรรมที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพคนในชุมชน และทางโรงเรียนจะให้ความร่วมมือ ในทุกเรื่องทุกกิจกรรม ขอบคุณครับ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • นักเรียนโรงเรียนบ้านพรุกระแชง ป.5 และ ป.6 จำนวน 50 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง/นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี