คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สมุนไพรในชุมชน ครั้งที่ 310 กรกฎาคม 2558
10
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย nannza123
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ 2. เพื่อเพิ่มจำนวนสมุนไพรในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 เวลา 13.00 น. ศาลาประชุมประจำหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านพรุกระแชง

  • เวลา 13.00 น. - ลงทะเบียน
  • เวลา 13.30 น. - ให้ความรู็เรื่อง "การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร" โดย นายสมจิตร จันทร์แก้วประธาน อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุกระแชง
  • เวลา 15.00 น. - ให้ความรู้เรื่อง "การหมักดิน สำหรับปลูกสมุนไพร"
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนได้รับความรู้วิธีการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร เพื่อจะนำมาใช้ในการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นใช้กับพืชสวนครัว สมุนไพร เป็นต้นเป็นการลดต้นทุนทางการผลิต ช่วยลดขยะมูลฝอยในชุมชน ลดรายจ่าย นอกจากการทำไว้เพื่อใช้เองส่วนที่เหลืออาจจะเอาไปขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ด้วยหลักการแบบง่ายๆ คือ อาศัยการย่อยสลายเศษอาหารที่เกิดจากจุลินทรีย์ องค์ประกอบในการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
  1. เศษอาหาร เป็นเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือน เศษอาหารที่เหลือหรือเสียจากร้านอาหาร โรงอาหาร โรงครัว เช่น เศษข้าว เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ กระดาษชำระ ก้างปลา เศษหมู ขนมปัง ฯลฯ หากเศษอาหารที่มีขนาดใหญ่ควรสับให้มีขนาดเล็กลงเสียก่อน เศษอาหารที่ใช้เฉพาะในส่วนที่เป็นกาก ควรแยกน้ำที่อยู่ในเศษอาหารออกก่อน
  2. จุลินทรีย์ ต้องเป็นจุลินทรีย์ประเภทที่ใช้ออกซิเจน เนื่องจากจุลินทรีย์ประเภทนี้จะไม่ส่งกลิ่นเหม็น ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสีย แหล่ง จุลินทรีย์ที่หาได้ง่ายและมีความเหมาะสมคือมีอยู่ในมูลสัตว์ทุกชนิด เช่น มูลโค มูลไก่ มูลม้า มีจำนวนจุลินทรีย์มาก หลายประเภท เช่น รา แบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส ช่วยให้กระบวนการย่อยสลายของเศษอาหารกลายเป็นปุ๋ยหมักเร็วขึ้น มีธาตุไนโตรเจนที่มีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์ด้วย
  3. ใบไม้ เศษของใบไม้จะช่วยให้เศษอาหารมีความโปร่งพรุน ไม่อัดแน่นเกินไป มีธาตุคาร์บอนที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์ จากการวิจัยทั้ง 3 ส่วนนี้พบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 1:1:1 โดยปริมาตร
  • อุปกรณ์และต้นทุนทำปุ๋ยหมักแบบครัวเรือน
  1. ถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร พร้อมฝาปิด จำนวน 2 ถัง ราคา 120 บาท
  2. ถุงมือ 2 คู่ ราคา 20 บาท
  3. ตาข่ายกันแมลงและเทปพันสายไฟ ราคา 50 บาท
  4. มูลโค 12 กระสอบ (สำหรับใช้ 1 ปี) ราคา 240 บาท
  • ขั้นตอนการหมัก
  1. ทำการเจาะถังพลาสติกด้วยการใช้เหล็กร้อนๆ ให้เป็นรูรอบ ๆ ถัง เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ ใช้ตาข่ายพันโดยรอบ เพื่อป้องกันแมลงวันวางไข่และสร้างความรำคาญรบกวน
  2. นำเศษอาหารในส่วนที่แห้ง คือไม่เอาน้ำแกง จำนวน 1 ส่วน มูลโค 1 ส่วน และเศษใบไม้ 1 ส่วน ใส่ลงในถัง ใช้ถุงมือผสมคลุกเคล้าให้ทั่วแล้วปิดฝา ระยะแรกไม่ต้องเติมน้ำ เนื่องจากเศษอาหารมีความชื้นอยู่สูง (ในวันถัดไปหากมีเศษอาหารอีก ให้นำมาผสมอัตราส่วนเดิมคือ 1:1:1 ใส่ลงในถังแล้วคลุกเคล้าให้ทั่ว ปิดฝา)
  3. จากนั้นทำการพลิกกลับทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง หากไม่สะดวกหากใช้วิธีเทออกนอกถังเพื่อคลุกเคล้าในกะละมัง แล้วเทกลับลงถังพลาสติกภายหลัง ในระยะ 3-10 วัน แรกอาจมีความร้อนเกิดขึ้นภายในถัง เนื่องจากจุลินทรีย์คายความร้อนออกมาเพื่อทำปฏิกิริยาการย่อยสลาย หากความลดลงเกือบแห้งควรพรมน้ำเพิ่มความชื้น ใช้เวลาทั้งสิ้น 30 วัน จะได้ปุ๋ยหมักที่ได้จากเศษอาหารในปริมาตรที่ลดลงร้อยละ 40 หากมีความชื้นอยู่ควรทำให้แห้งสนิท เพื่อให้จุลินทรีย์เหล่านี้สงบตัว หรือไม่ทำปฏิกิริยาต่อไป ปุ๋ยหมักจะมีสีดำคล้ำ มีขนาดเล็กลง ยุ่ยและเปื่อย มีน้ำหนักเบา และที่สำคัญคือไม่มีกลิ่นเหม็น
  • วิธีที่ 2 วิธีทำขวดหมักปุ๋ยจากเศษอาหารในครัวเรือน
  1. นำขวดน้ำมาผ่าครึ่งตามขวาง ก็จะได้ขวดน้ำส่วนบนที่ฝา กับส่วนล่างซึ่งเป็นก้นขวด
  2. เจาะรูที่ฝาขวดด้วยเข็มกลัดหรือตะปู โดยให้เจาะหลายๆรูให้มีช่องไฟห่างกันพอสมควร เพื่อให้น้ำสามารถผ่านได้
  3. พลิกขวดคว่ำด้านฝาลงในขวดครึ่งล่างกลายเป็นขวดหมักปุ๋ยเรียบร้อย
  4. จากนั้น นำเศษอาหารมาคลุกเคล้ากับน้ำตาล เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องกลิ่น เเนะนำว่าควรผสมเศษอาหารกับน้ำตาลในอัตราส่วนเท่าๆกัน ใครมีหัวเชื้อจุลินทรีย์ก็ผสมลงไปด้วยเล็กน้อย บรรจุใส่ขวดที่เตรียมไว้ ปิดฝาให้สนิท โดยอาจจะใช้กระดาษมาปิดเเล้วใช้เขือกมัดให้เเน่น ทิ้งไว้ ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพซึ่งไหลลงมาจากเศษอาหารชั้นบนเป็นที่เรียบร้อย
  5. เวลาใช้เเนะนำว่าควรผสมน้ำให้อัตราส่วนประมาณ 1 ต่อ 500 เพราะน้ำหมักที่ได้ค่อนข้างเข้มข้น
  6. ส่วนเศษอาหารด้านบน ก็สามารถนำไปผสมดินเป็นปุ๋ยหมักได้อีกทาง
  • การหมักดิน สำหรับปลูกสมุนไพร

การหมักดินก็เพื่อย่นระยะเวลาที่ใช้ทำปุ๋ยหมักให้สั้นลงและสามารถใช้ได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่า ซึี่งจำเป็นมากเนื่องจากดินที่ซื้อตามร้านทั่วไปนั้น จำนวนไม่น้อยที่เป็นดินเปล่าไม่มีสารอาหารสำหรับพืช หลายคนจึงเกิดปัญหาว่าเมื่อซื้อดินถุงไปปลูกต้นไม้แล้วต้นไม้ไม่โต การหมักดินจะเป็นการเพิ่มธาตุอาหารที่พืชต้องการลงไปในดิน

  • ส่วนผสม :
  1. ดินถุง
  2. มูลสัตว์
  3. ใบไม้แห้ง
  4. เศษอาหารสด ผัก ผลไม้
  5. หัวเชื้อจุลินทรีย์
  6. น้ำตาล

วิธีทำ : นำดินที่ซื้อมาคลุกเค้ากับมูลสัตว์ เศษใบไม้แห้ง เศษอาหาร และหัวเชื้อจุลินทรีย์ จากนั้นเติมน้ำตาล คลุกเคล้าให้เข้ากัน เติมน้ำพอชุ่ม โดยให้กะปริมาณตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องมีอัตราส่วนที่เเน่นอน เเต่มีหลักสำคัญที่ควรทราบก็คือ

  1. มูลสัตว์ที่นำมาใช้ควรเป็นมูลสัตว์เเห้ง
  2. เศษใบไม้ควรเลือกใบเล็ก เเละหากเป็นพืชตระกูลถั่วก็ย่อยง่ายขึ้น
  3. เศษอาหาร ควรใส่ให้หลากหลายชนิด เพื่อให้ได้สารอาหารพืชหลายชนิด
  4. น้ำตาลทราย เป็นน้ำตาลอะไรก็ได้ ที่เราเติมลงไปเพื่อกระตุ้นให้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เรานำมาผสมทำงานย่อยสลายได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
  5. น้ำที่ใส่ ควรกะความชื้นให้เหมาะสม โดยสังเกตได้ด้วยการทดลองกำดินที่ผสมเเล้วขึ้นมาหากจับกันเป็นก้อนไม่แตกและบีบไม่มีน้ำไหลเป็นใช้ได้

เมื่อผสมทุกอย่างเข้ากันเเล้ว ให้นำดินที่ผสมเเล้วใส่ถุงโดยถุงที่ใช้หมักดิน ควรเป็นถุงที่มีรูพรุนเล็กน้อยเพื่อให้สามารถระบายอากาศได้ ดังนั้นไม่ควรใช้ถุงพลาสติก และเพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานได้เร็วขึ้นโดยที่ไม่ต้องกลับกอง แนะนำว่าควรเลือกใช้ถุงขนาดเล็กในการหมักดิน สำหรับระยะเวลาในการหมักนั้น เเนะนำให้หมักจนกว่าดินจะหายร้อน เเสดงว่ากระบวนการหมักสมบูรณ์เเล้ว

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  1. อสม. 10 คน
  2. เยาวชน 10 คน
  3. คนในชุมชน 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา : เดิมกิจกรรมกำหนดไว้วันที่ 5 กรกฏาคม 2558 แต่มีผลกระทบจากฝนตกหนัก จึงจำเป็นต้องเลืื่อน เป็นวันที่ 10 กรกฎาคม 2558 แต่ก็ยังไม่สามารถรณรงค์ให้ปลูกสมุนไพรได้เนื่องจากเป็นช่วงฤดู

แนวทางแก้ไขปัญหา : ได้เชิญครูภูมิปัญญาให้ความรู้ เรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการเตรียมสำหรับการปลูกสมุนไพร ก็ถือได้ว่าตรงตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง / นางสาวรัตนา ชูแสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี