ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู

จัดเวทีทำความเข้าใจขั้นตอนการเตรียมปลูกต้นลำพู ต้นจาก ต้นลำภู รวมทั้งการซ่อมแซมซั้งบ้านปลา17 มีนาคม 2558
17
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย orathainusong
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจให้กับสมาชิกกลุ่มฟื้นฟูวิถีเล เพื่อให้กลุ่มเห็นความสำคัญของไม้ชายเลน และการซ่อมแซมซั้งบ้านปลา  เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำวัยอ่อนในเขตชุมชนหมู่ที่ 1 บ้านป่าขาด จำนวน  375 ไร่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เวลา 09.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน  ,กลุ่มอนุรักษ์ และประชาชน ได้ร่วมกันทำซั้งบ้านปลา จำนวน 30 ลูก
ขั้นตอนในการทำ ซั้งบ้านปลา
1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำซั้ง เช่น ไม้โครงในการทำเขต , เชือกไนเอ็น
2. ตัดไม้ตามที่รกร้าง และกิ่งกาฝากตามต้นตาลโตนด เพื่อนำมาปักรวมๆ กันในโครงซั้งบ้านปลาที่เตรียมไว้ในเขตอนุรักษ์ 3. ขนไม้ที่ตัดมาไว้ที่จุดรวม (ที่ท่าวัดป่าขาด)
4. ขนไม้ลงเรือ ลำเลียงออกจากท่า เพื่อนำมาปักรวมๆ กันในโครงซั้งบ้านปลาที่เตรียมไว้ในเขตอนุรักษ์ ในเขต 3,000 เมตร

-ในระหว่างพักเที่ยง ถึงบ่ายโมง ทางกลุ่มได้ชวนคุยการเตรียมพันธุ์ไม้ที่จะปลูกในพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลา
-บ่ายสองโมง หลังจากที่สมาชิกเตรียมอุปกรณ์เพื่อทำซั้ง เสร็จแล้ว ก็ได้ ชวนกันไปปักซั้งในเขตอนุรักษ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ชาวบ้านต่างให้ความสำคัญกับการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำของชุมชน ในกิจกรรมซ่อมแซมซั้งบ้านปลา กอปกับอยู่ในช่วงปิดเทอมของนักเรียน เยาวชนในหมู่บ้าน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม มากขึ้น ชุมชนมีปฎิสัมพันธ์ที่ดี ลงช่องว่างระหว่างวัย ทั้งนี้กิจกรรมมีความมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนได้เห็นความสำคัญ ของภูมิปัญญาของชุมชน และสามารถสืบทอดให้รุ่นต่อไปได้

-ปักซั้งในเขตอนุรักษ์ ได้จำนวน 30 ลูก เพื่อใช้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในพื้นที่ หมู่ 1 บ้านป่าขาด

-คนในชุมชนเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากร

-คนในชุมชนเกิดความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 94 คน
ประกอบด้วย

-สภาผู้นำชุมชน จำนวน =  2  คน

-สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง (ฟาร์มทะเล)  จำนวน =    10 คน

-เด็ก เยาวชนในระบบโรงเรียน จำนวน =    8    คน

-ประชาชนทั่วไป  จำนวน =  5  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา

-ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมของชุมชน ไม่ตรงกัน เนื่องจาก สมาชิกในชุมชนประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน คือ วิถีโหนด วิถีนา วิถีเล จึงทำให้มีข้อกำจัดในการทำกิจกรรมในพื้นที่

แนวทางแก้ไข
- พยายามหาเวลาที่ตรงกันของสมาชิกในชุมชน เพื่อทำกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-