แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธีในทุกกลุ่มวัย และสร้างกลไกสภาผู้นำชุมชน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 40 ของประชาชนบ้านควนสินชัยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพที่ถูกวิธี 2. ร้อยละ 50 ของกลุ่มเสียงโรคเรื้อรัง (จำนวน 107 คน) สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ 3. ประชาชนกลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนสามารถเป็นบุคลต้นแบบได้ จำนวน 5 คน 4. ได้สภาผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน กลุ่มคนที่จะร่วมเป็นพลังในการขับเคลื่อนและดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่สมาชิกในชุมชน จำนวน 50 คน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. ประชาชนมีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันได้ อย่างถูกวิธี 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกวิธี 3. เกิดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน 4. เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชน

 

 

เชิงปริมาณ

  1. ประชาชนบ้านควนสินชัยที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพคิด
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 84.11
  3. มีผู้ที่สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 60 เป็นบุคคลต้นแบบ ทางด้านสุขภาพต่อไป
  4. มีผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่ายในการดำเนินโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 50 คนเป็นร้อยละ 100

เชิงคุณภาพ

  1. ประชาชนมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น และสามารถนำไปปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันได้ อย่างถูกวิธี
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกวิธี โดยมี อสม. ติดตามดูแล ให้คำปรึกษา
  3. เกิดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชนที่สามารถเป็นแบบอย่าง และเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้
  4. เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชนที่หนุนเสริมการทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ
2 เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจให้คนทุกวัยในชุมชน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. เกิดสวนสมุนไพรของหมู่บ้านจำนวน 1 สวน เพื่อเป็นแหล่งเพราะพันธุ์พืชและแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน 2. เพื่อสร้างพื้นที่ต้นแบบให้เอื้อต่อสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม โดยการเปลี่ยนลานวัดลานกีฬา จำนวน 1 แห่ง 3. ประชาชนร้อยละ 60 มีการปลูกผักกินเองในครัวเรือนและนำไปแลกเปลี่ยนหรือขายกับเพื่อนบ้านในหมู่บ้าน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. เกิดพื้นที่การเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพ สวนสมุนไพร 2. ประชาชนทั่วไป ร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน สงเสริมการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส โดยใช้เยาวชนอาสา ในการดูแลลานวัดลานกีฬา 3. ประชาชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการพบปะพูดคุยกัน 4. ประชาชนมีสุขภาพดี รับประทานอาหารที่ปลดสารพิษ มีรายได้เสริมในครอบครัว

 

 

เชิงปริมาณ

  1. จากการดำเนินกิจกรรมในโครงการอยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัย สุขภาพดี เกิดสวนสมุนไพร จำนวน 1 สวน เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์พืชและแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงทีศูนย์ ศสมช.
  2. มีลานกีฬาหรือลานกิจกรรมจำนวน 1 แห่ง ที่โรงเรียนบ้านควนสินชัย ใช้ในการรวมตัวของคนในหมู่บ้านทางด้านการออกกำลังกาย การทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้สูงอายุ ส่งเสริมทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ
  3. ประชาชนจำนวน 517 หลังคาเรือน มีการปลูกผักกินเอง จาก 635 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 81.41 โดยมีการนำมาขาย แลกเปลี่ยนกันในชุมชนในกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น

เชิงคุณภาพ

  1. เกิดพื้นที่การเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพ สวนสมุนไพร ที่ศูนย์ ศสมช.ควนสินชัย
  2. ประชาชนทั่วไป ร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส โดยใช้เยาวชนอาสา ในการดูแลลานวัดลานกีฬา
  3. ประชาชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการพบปะพูดคุยกันมากขึ้นผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น
  4. ประชาชนมีสุขภาพดี รับประทานอาหารที่ปลดสารพิษ มีรายได้เสริมในครอบครัวจากการปลูกผักปลอดสารพิษนำมาขาย นำมากิน
3 เพื่อติดตามและสนับสนุนโครงการ
ตัวชี้วัด : 1.รายงานผลการดำเนินงานโครงการ 2.รายงานการเงิน

 

 

  1. มีการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการอย่างต่อเนื่องในระบบออนไลน์
  2. มีการทำรายงานการเงินอย่างถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์และกิจกรรม และมีการเก็บหลักฐานทางการเงิน สามารถตรวจสอบได้