แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว

ชุมชน ชุมชนบ้านหนองบัว ม.5 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

รหัสโครงการ 57-02564 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0130

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2557 ถึงเดือน เมษายน 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ ฯ

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 - 16.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ปฐมนิเทศ/เรียนรู้การทำรายงานผลทางเวปไซด์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้  

  • ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม  
  • บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม  
  • กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด  (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง)  
  • กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน  บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง (โครงการสร้างคลองสร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว บ้านหนองบัว หมู่ที่ 5 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา)    
  • ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม    
  • ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร  กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ  กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน    
  • ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน  **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน

2.รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้

3.รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์     - ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

4.สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ

5.การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ปฐมนิเทศโครงการฯ
  • เรียนรู้การทำรายงานผลทางเว็ปไซด์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง
  • กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล
  • การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
  • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

 

3 2

2. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 21 มกราคม 2558 เวลา 20.00-21.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ที่ขับเคลื่อนงานชุมชน 2. ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 3. สภาผู้นำชุมชนสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดสภาผู้นำชุมชนขึ้นมา และมีจัดตั้งคณะบุคคลผู้ติดตามสถานการณ์คลองในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และทุกคนต่างก็มีความยินดีเพื่อรับหน้าที่และรับผิดชอบติดตามโครงการอย่างต่อเนื่องร่วมกัน ซึ่งในที่ประชุมนั้นต่างคนต่างแสดงความคิดเห็นในเรื่องของกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ ว่า ให้มีแบบแผนและร่างให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น เช่น ในกิจกรรมต่างๆนั้นใครสามารถเป็นวิทยากรในกิจกรรมนั้นๆ และในกิจกรรมนั้นมีกระบวนดำเนินการอย่างไร เป็นต้น เพื่อที่จะสะดวกในการทำกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามการเฝ้าระวังสถานการณ์คลองในชุมชน
  2. ประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ วางแผนปฏิบัติงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ที่ปรึกษาโครงการ (นายสุรเชษ  บิลสัน) ได้จัดกระบวนการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน 20 คน ตามแบบแผน โดยมีหน้าที่คอยติดตามและประเมินผมโครงการและร่วมกันดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่อง

 

20 20

3. จัดทำป้ายปลอดบุหรี่

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำป้ายปลอดบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรีมาติดบริเวณที่ดำเนินกิจกรรมของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จักทำป้ายปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ เพื่อดำเนินการติดบริเวณพื้นที่ที่ดำเนินกิจกรรม

 

2 2

4. เวทีชี้แจงโครงการ

วันที่ 12 มีนาคม 2558 เวลา 20.00-21.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน จำนวน 1 กลุ่ม 2. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ที่ปรึกษาโครงการ (นายสุรเชษ บิลสัน) ได้ดำเนินการบอกความเป็นมาในการจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคลองในชุมชนและการจัดการปัญหาคลองโดยต้นเหตุมาจากมือของประชาชนไม่ว่าจะเป็นขยะจากครัวเรือน และการทิ้งขยะเพ่นพ่านข้างๆถนนของเด็กๆในชุมชนเมื่อฝนตกทำให้ฝนชะล้างขยะจากแหล่งจากต่างๆทำให้เกิดอุดตันหรือไปรวมที่คลองอันเป็นเหตุก่อให้เกิดน้ำในคลองเน่าเสีย ระบบนิเวศเสื่อม และรวมไปถึงไม่สามารถนำทรัพยากรมาใช้ได้ เช่น นำน้ำในช่วงฤดูแล้งมาทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการรดน้ำพืชผัก เป็นต้น
  • พี่เลี้ยง สจรส (นายอานัติ หวังกุหลำ) ได้ชี้แจงถึงเป็นมาของโครงการ สสส ให้ชาวบ้านได้รับทราบโดยทั่วกันในการเป็นหน่วยงานสนับสนุนโครงการสร้างคลองสร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชน ฅนหนองบัว
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ (นายศักดริน บินหรีม)ได้ชี้แจงกิจกรรมต่างๆ และการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ในโครงการเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมได้รับทราบและสามารถร่วมกันมองปัญหาและหาวิธีแก้ไขร่วมกัน
  • เมื่อดำเนินการชี้แจงโครงการเสร็จเป็นที่เรียบร้อยทางผู้รับผิดชอบโครงการได้ซักถามไปยังผู้เข้าร่วมทุกคนว่า ท่านใดมีข้อสงสัยและช่วยเสนอความคิดเห็นได้ ต่างคนต่างก็ไม่มีข้อสงสัยใดๆทุกคนเข้าใจและรับทราบกันอย่างทั่วถึงและในขณะเป็นที่ประทับใจของคนทุกคนเห็นรอยยยิ้มและทุกคนให้ความร่วมมือเป้นอย่างดี
  • ผู้เข้าร่วมได้รับทราบถึงโครงการ ลงความเห็นและเห็นชอบกับกิจกรรมเป็นอย่างมาก เป็นที่ประทับใจของทุกคน และช่วยกันติดตามดูแลอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียนร่วมกันต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดประชุมชาวบ้าน เยาวชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการ
  2. ให้ที่ประชุมช่วยกันเสนอชื่อคัดเลือก แต่งตั้งคณะกรรมการในการดูแล อนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ที่ปรึกษาโครงการ (นายสุรเชษ บิลสัน) ได้ดำเนินการบอกความเป็นมาในการจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคลองในชุมชนและการจัดการปัญหาคลอง
  • พี่เลี้ยง สจรส (นายอานัติ หวังกุหลำ) ได้ชี้แจงถึงเป็นมาของโครงการ สสส ให้ชาวบ้านได้รับทราบโดยทั่วกัน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ (นายศักดริน บินหรีม)ได้ชี้แจงกิจกรรมต่างๆ และการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ

 

100 105

5. เยาวชนนักสืบสายน้ำ

วันที่ 13 มีนาคม 2558 เวลา 08:00 - 13.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน จำนวน 1 กลุ่ม 2. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ทำให้ได้รับทราบถึงสภาพปัญหาของลำคลอง และกลุ่มอนุรักษ์ให้ความสำคัญของลำคลองกับชุมชนเป้นอย่างมาก เมื่อทราบปัญหาหรือได้บันทึกในสิ่งที่ค้นพบจากนั้นก็สามารถแก้ไขปัญหานั้นๆได้อย่างตรงจุด ซึ่งในการทำกจกรรมทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและเห็นรอยยิ้ม ความสุข ในขณะทำกิจกรรม และทำให้แกนนำรวมไปถึงเด็กและเยาวบนผู้เข้าร่วมได้รู้วิธีการกำจัดขยะในครัวเรือนด้วยตัวเอง และมีความรู้ในการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรทางบกและทางน้ำได้เป็นอย่างดีและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ช่วงเช้า

  • เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรทางบกและทางน้ำ

ช่วงบ่าย

  • นำแกนนำชุมชนและเยาวชนสำรวจระบบนิเวศที่อยู่รอบๆ ลำคลองสายต้นตะเคียน ทั้งการเดินสำรวจ และล่องเรือสำรวจ
  • บันทึกสิ่งที่พบเห็นในคลองสายต้นตะเคียน เช่น สัตว์ ต้นไม้ ด้วยกล้องถ่ายรูป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรทางบกและทางน้ำ  วิทยากร คือ นายสินธพ อินทรัตน์ นายก อบต.ท่าข้าม  โดยท่านให้ข้อมูลในการการจัดการขยะในครัวเรือนและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของขยะในการจัดการด้วยตนเอง
  • วิทยาการอีกท่านหนึ่งคือ นายโฉด ฤทธิโต  ได้ให้ข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรทางบกและทางน้ำโดยแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้มองถึงปัญหาและสิ่งที่พบในการเดินสำรวจคลองว่าในการสำรวจของเราพบปัญหาใดบ้างตามบริเวณคลอง และหลังจากนั้นเรามีวิธีการกำจัดปัญหานั้นได้อย่างไร
  • หลังจากนั้น วิทยากรทั้งสองคนและแกนนำนำเด็กและเยาวชนร่วมกันเดินสำรวจทรัพยากรทางบกและทางน้ำตามบริเวณคลอง ภายใต้ กิจกรรมเยาวชนนักสืบสายน้ำ โดยให้แต่ละคนบันทึกสิ่งที่พบเห้นในคลองสายต้นตะเคียน เช่น ขยะประเภทต่างๆ สัตว์ต่างๆ ต้นไม้ ด้วยเขียนลงในกระดาษที่เตรียมไว้ให้

 

60 65

6. เวทีแผนที่คลองสายต้นตะเคียน

วันที่ 13 มีนาคม 2558 เวลา 17.00 - 18.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน จำนวน 1 กลุ่ม 2. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน 3. ทรัพยากรในคลองเพิ่มขึ้น ได้แก่  ปลา อย่างน้อย 10,000 ตัว 4. เกิดกติกาชุมชนในการจัดการคลองสายต้นตะเคียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้แผนที่คลองสายต้นตะเคียน เพื่อใช้เป็นแผนที่ในการจัดการทรัพยากรที่อยู่ในคลองได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และสะดวกต่อการตดตามการเฝ้าระวังสถานการณ์คลองในชุมชนของคณะทำงานติดตามโครงการ
  • ในขณะทำกิจกรรมทุกคนให้ความร่วมมือและมีความสามัคคีขึ้นภายในกลุ่มในการทำงานและเพิ่มทักษะการวางแผนของตัวของแกนนำและผู้เข้าร่วมได้อย่างกระฉับกระเฉงมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญทำให้ทุกคนให้ความสำคัญของลำคลองกับชุมชนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมเพื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ
  2. ช่วยกันวาดแผนที่คลองสายต้นตะเคียน แผนที่ทรัพยากรที่พบในคลอง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • แกนนำโครงการ 2 คน (นายสุรเชษ บิลสัน และนายศักดริน บินหรีม) ได้ชี้แจงในการจัดทำแผนที่คลองสายต้นตะเคียน โดยแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน ให้ร่วมกันวาดแผนที่ที่บ่งบอกถึงสายน้ำลำคลองต้นตะเคียนและทรัพยากรที่อยู่ในคลอง แล้วให้แต่ละกลุ่มเสนอแผนที่คลองตามที่แต่ละกลุ่มวาดไว้

 

30 30

7. อบรมการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม

วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 20.00-22.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้สภาผู้นำชุมชนสามารถทำงานสามารถทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการอบรมการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม ทำให้ผู้เข้าร่วม เข้าใจ หรือรู้วิธีการ ขั้นตอน ในการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำหลักการที่ได้ไปประยุกต์นำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพต่อไป ซึ่งในการจัดกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากและวิทยากรให้ความรู้ แสดงพลังออกมาได้อย่างเต็มที่ โดยเล็งเห็นถึงตัวของสภาผู้นำและผู้รับผิดชอบโครงการเป็นสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการและที่ขาดไม่ไ้คือต้องมีแรงหนุนเสริมอยู่เบื้องหลังโดยเฉพาะองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถทำให้โครงการมีการขับเคลื่อนอย่างการเป็นระบบ และอีกทางปฏิบัติหนึ่งคือทุกคนต้องยอมเสียสละเวลา อดทน ฝ่าฝันไปด้วยกัน และต้องเป็นพื้นฐานการขับเคลื่อนอย่างเป็นทีมยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นแล้วมาเป็นข้อสรุปอย่างชัดเจน อันทำให้การทำงานของทุกคนทุกกระบวนสามารถสำเร็จไปได้ด้วยดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. เชิญวิทยากรมาจัดอบรมการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม
  2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน
  3. สรุปการเรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

  • วิทยากร (นายรชดี้ บินหวัง) นักพัฒนาชุมชน อบรมการการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมให้กับสภาผู้นำชุมชน และผู้เข้าร่วมทุกคน โดยเน้นเรื่องการลงมือปฎิบัติ เป็นขั้นเป็นตอนและ ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาชุมชนและอื่นๆอีกมากมาย หลังจากนั้นมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละคน เพื่อให้ได้ข้อสรุปและมีแนวทางในการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ และมีทักษะในการทำงานได้ดีอีกด้วย

 

20 30

8. คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 15 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 

กิจกรรมที่ทำจริง

คืนคืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 

 

2 2

9. จัดทำรายงานงดฃวดที่ 1

วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 - 12.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. จัดทำรายงานส่ง สสส. งวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ส่งรายงานงวดที่ 1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำรายงานโครงการ งวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำโครงการจัดทำรายงานโครงการ ในงวดที่ 1

 

2 2

10. ให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์คลอง

วันที่ 12 เมษายน 2558 เวลา 09:00 - 12.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน จำนวน 1 กลุ่ม2. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการที่วิทยากรให้ความรู้ถึงวิธีการอนุรักษ์คลอง ทำให้ผู้เข้าร่วม เข้าใจ หรือรู้วิธีการ ขั้นตอน ในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียนในชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำหลักการที่ได้ไปประยุกต์นำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพต่อไป ซึ่งในการจัดกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากและวิทยากรให้ความรู้ แสดงพลังออกมาได้อย่างเต็มที่ หลังจากนั้นที่ทุกคนได้ร่วมกันเสนอแนวทางการอนุรักษ์คลอง ทุกคนได้ลงมติความเห็นว่าให้แต่ละครัวเรือนร่วมกันนำแนวทางอนุรักษ์คลองที่ได้จากการอบรมนี้ไปดำเนินการในชีวิตประจำวัน เด็กและเยาวชนและคนในชุมชนมีทัศนคติต่อคลองมากยิ่งขึ้น โดยช่วยกันยับยั้งในเรื่องขยะในครัวเรือนกันมากขึ้นซึ่งมีการกำจัดขยะด้วยตัวเองไม่ทิ้งเพ่นพานอันเป็นต้นเหตุที่ทำให้คลองมีความเสื่อมโทรมไม่สามารถนำไปใช้ในทางการเกษตรได้ นับเป็นวิธีหนึ่งที่ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน และทุกคนได้เสนอให้มีการปลูกต้นไม้รอบๆคลอง ซึ่งจะมีการปฏิบัติการในกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. นำวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องปัญหา และผลกระทบของคลองต่อสุขภาวะชุมชน / การอนุรักษ์คลอง
  2. นำข้อมูลจากการสำรวจและแผนที่ทรัพยากรในคลองมาบอกเล่าสู่คนในชุมชน
  3. ระดมความคิดเห็นร่วมกันเพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์คลอง

กิจกรรมที่ทำจริง

เชิญวิทยากร (นางสาวปาลิกา วงศ์วาสนา) ให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์คลอง โดยวิทยากรเน้นหนักในเรื่องของการแก้ไขปัญหาต้นทาง คือ การกำจัดขยะจากครัวเรือนเป็นสำคัญ เพราะปัญหาหนึ่งที่ทำให้คลองเกิดการเน่าเสียหรือสกปรกนั่นมาจากครัวเรือน และวิทยากรได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาต่างๆในชุมชนที่มีผลกระทบของคลองต่อสุขภาวะคนในชุมชนอีกด้วย และผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันเสนอความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์คลองร่วมกันอย่างเต็มที่ 

 

100 100

11. ประกวดคำขวัญการอนุรักษืคลอง/รณรงค์การจัดการขยะในชุมชน

วันที่ 18 เมษายน 2558 เวลา 09.00 - 12.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน จำนวน 1 กลุ่ม  2. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในการทำกิจกรรมประกวดคำขวัญการอนุรักษ์คลอง/รณรงค์การจัดการขยะในชุมชน ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และมีความสุขสนุกสนานในการทำกิจกรรม และเกิดทัศนคติต่อผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมาก และผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ได้เสนอให้มีการกิจกรรมแบบนี้ต่อไปเพื่อสร้างฝันกำลังใจให้เด็กๆและคนในชุมชนในการจัดการขยะในครัวเรือนของตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดประกวดคำขวัญเพื่อใช้ในการรณรงค์ให้ร่วมกันอนุรักษ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับเยาวชน ในโรงเรียน (รางวัลคำขวัญอนุรักษ์คลอง 3 รางวัล / รางวัลคำขวัญรณรงค์เรื่องขยะ 3 รางวัล) ) และระดับชุมชน (รางวัลคำขวัญอนุรักษ์คลอง 3 รางวัล / รางวัลคำขวัญรณรงค์เรื่องขยะ 3 รางวัล) ) โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม และครูในโรงเรียนเป็นคณะกรรมการตัดสิน
  2. จัดเวทีประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัลให้กับผู้ชนะการประกวด
  3. ให้ผู้ชนะการประกวด อ่านคำขวัญในการรณรงค์ให้ผู้เข้าร่วมประชุมฟัง

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางแกนนำโครงการได้แบ่งกลุ่มให้ผู้เข้าร่วมทุกคน โดยทั้งหมดแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน โดยให้แต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิดคำขวัญ คำคม หรือประโยคที่สะท้อนถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการขยะในชุมชน จากนั้นทางแกนนำโครงการให้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอต่อผู้เข้าร่วมทุกคน โดยมีคณะกรรมการ 2  ท่าน คือ นายหวังหมัด ฤทธิ์โต (คณะกรรมการมัสยิดบ้านหนองบัว) และมานิตย์ บิลสัน (คณะกรรมการโรงเรียนสอนภาคฟัรฎูอีนบ้านหนองบัว) เป็นคณะกรรมการตัดสินของแต่ละกลุ่ม หลังจากนั้นมอบรางวัลรางวัลให้แก่กลุ่มที่ชนะในการประกวดคำขวัญการอนุรักษ์คลอง ซึ่งการประกวดคำขวัญนี้จะใช้ในการติดป้ายตามบริเวณหมู่บ้านและริมคลองสายต้นตะเคียนในกิจกรรมต่อไป

 

60 60

12. ศึกษาเส้นทางขยะนชุมชน

วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09.00 - 11.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดธนาคารความดี (ธนาคารขยะ 1 แห่ง) 2. ครัวเรือนสามารถจัดการปัญหาขยะ ทำให้ขยะในครัวเรือนลดลงอย่างน้อย 20 ครัวเรือน  3. สามารถลดปริมาณขยะโดยการแปลงขยะเป็นปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกผักบริโภคในครัวเรือนได้อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในการทพกิจกรรมศึกษาเส้นทางขยะในชุมชนบ้านหนองบัว เด็กและคนในชุมชนให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และอย่างดี ในขณะทำกิจกรรมทำให้ทุกคนได้รู้ถึงต้นเหตุของเส้นทางขยะจากการที่ได้ลงพื้นที่ศึกษา และรู้ถึงที่มาเป็นอย่างดี แล้วมาร่วมกันเสนองานร่วมกัน มีดังนี้ เส้นทางขยะในชุมชนบ้านหนองบัว มีทั้งหมด 4 สาย ประกอบด้วย ดังนี้ เส้นทางที่ 1 อยู่ตรงกันข้ามกับบ้านตาวิน ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านหนองบัว เส้นทางที่ 2 อยู่ตรงกันข้ามกับมัสยิดบ้านหนองบัว เส้นทางที่ 3 อยู่ทางด้านทิศเหนือของบ้านหนองบัว เส้นทางที่ 4 อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านหนองบัว
ซึ่งเส้นทางทั้งหมดนี้จะเป็นรอยต่อระหว่างคูหน้าบ้านของชุมชนกับคลองสายต้นตะเคียน ซึ่งเป็นต้นเหตุที่สำคัญของขยะที่สามารถไปรวมตัวหรือลงสู่คลองสายต้นตะเคียน แต่สิ่งที่น่าประทับใจมากที่สุด คือ ในขณะเดินทางกลับจากศึกษาเส้นทางขยะในชุมชนเด็กๆ เห็นขยะข้างถนนโดยช่วยกันเก็บขยะไว้ที่ตัวเองแล้วนำมาทิ้งที่ถังขยะมัสยิด นี่ถือเป้นเด็กๆมีจิตสาธารณะ มีจิตสำนึกมากยิ่งขึ้น 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดประชุมชี้แจงการทำแบบบันทึกเส้นทางขยะให้แก่คนในชุมชน
    1. จัดทำแบบบันทึกเส้นทางขยะเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมกลับไปบันทึกปริมาณ ชนิด และที่มาของขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางแกนนำโครงการและทีมงานกลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัว ได้ร่วมกันดำเนินการทำกิจกรรมโดยมี นายศักดริน  บินหรีม (ประธานกลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัว) ได้ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ทราบถึงการรูปแบบการลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางขยะในชุมชน โดยจะบันทึกจากการลงพื้นที่ไปดูต้นเหตุของเส้นทางขยะว่ามีกี่แห่ง แห่งใดบ้าง และสิ่งที่ค้นพบ และที่มาที่เกิดขึ้นมาจากแห่งใดบ้าง หลังจากนั้นทางแกนนำโครงการและทีมงานกลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัว ได้แบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คนโดยเฉลี่ย และให้แต่ละกลุ่มเดินทั่วทั้งหมู่บ้านแล้วร่วมกันบันทึกจากสิ่งได้จากการลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางขยะในชุมชนบ้านหนองบัว โดยมีให้ 2 กลุ่ม ร่วมกันศึกษาเส้นทางขยะทางด้านบ้านหนองบัวออก และอีก 3 กลุ่มร่วมกันศึกษาเส้นทางขยะทางด้านบ้านหนองบัวตก หลังจากนั้นทุกคนก็เก็บข้อมูลเพื่อนำมาทำแผนที่เส้นทางขยะในกิจกรรมต่อไป

 

100 100

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 30 12                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 211,450.00 81,875.00                  
คุณภาพกิจกรรม 48 39                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  1. แกนนำโครงการมีเวลาว่างไม่ค่อยตรงกัน

  2. ในช่วงจัดกิจกรรมซึ่งอยู่ในช่วงอากาศร้อนมาก ซึ่งมีปัญหาในการจัดกิจกรรมในเรื่องของระยะเวในการจัดกิจกรรม

  3. อาจกิจกรรมบางกิจกรรมล่าช้าไปนิดนึง เพราะแกนนำโครงการมีเวลาเรียนไม่ตรงกัน เลยมีเวลาจัดิจกรรมต้องผลัดเปลี่ยนเวลาไปเรื่อยๆตามความเหมาะสม

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์คลอง ( 27 มี.ค. 2558 )
  2. ประกวดคำขวัญการอนุรักษืคลอง/รณรงค์การจัดการขยะในชุมชน ( 18 เม.ย. 2558 )
  3. ศึกษาเส้นทางขยะนชุมชน ( 25 เม.ย. 2558 )
  4. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง ( 30 พ.ค. 2558 )
  5. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง ( 12 มิ.ย. 2558 )
  6. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง ( 26 ก.ค. 2558 )
  7. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง ( 14 ส.ค. 2558 )

(................................)
นายอับดนหร้อซักฮ์ จันทการักษ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ