แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว

ชุมชน ชุมชนบ้านหนองบัว ม.5 ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

รหัสโครงการ 57-02564 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0130

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน เมษายน 2558 ถึงเดือน พฤษภาคม 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ที่ขับเคลื่อนงานชุมชน

  2. ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

  3. สภาผู้นำชุมชนสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ประจำเดือนพฤษภาคม 2558 ทางกรรรมการไม่ได้จัดประชุม เนื่องทีมงานแกนนำโครงการเป็นนักศึกษาเรียนมหาวิทยาลัยคนละสถาบันกัน มีภารกิจและบางส่วนต้องไปเรียน และเหตุผลอื่นๆที่เป็นจริงในพื้นที่เราจึงไม่ได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามการเฝ้าระวังสถานการณ์คลองในชุมชน
  2. ประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ วางแผนปฏิบัติงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ไม่มี

 

20 0

2. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 12 มิถุนายน 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ที่ขับเคลื่อนงานชุมชน

  2. ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

  3. สภาผู้นำชุมชนสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมการประชุมกรรมการสภาผู้นำชุมชน ประจำเดือน มิถุนายน 2558 ทางกรรมการโครงการไม่ได้จัดประชุม เนื่องจากทีมงานคณะกรรมการมีภารกิจและบางส่วนต้องไปเรียนและอยู่ในช่วงสอบปลายภาคของมหาวิทยาลัย หรือมีเหตุผลอื่นๆที่เป็นจริงในพื้นที่เรา และทางแกนนำโครงการได้พูดคุยกันจะมีการประชุมในเดือนถัดไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามการเฝ้าระวังสถานการณ์คลองในชุมชน
  2. ประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ วางแผนปฏิบัติงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ไม่มี

 

20 0

3. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 26 กรกฎาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ที่ขับเคลื่อนงานชุมชน

  2. ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

  3. สภาผู้นำชุมชนสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ประจำเดือนกรกฎาคม 2558 ทางกรรรมการไม่ได้จัดประชุม เนื่องทีมงานแกนนำโครงการเป็นนักศึกษาเรียนมหาวิทยาลัยคนละสถาบันกัน มีภารกิจและบางส่วนต้องไปเรียน และเหตุผลอื่นๆที่เป็นจริงในพื้นที่เราจึงไม่ได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามการเฝ้าระวังสถานการณ์คลองในชุมชน
  2. ประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ วางแผนปฏิบัติงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ไม่มี

 

20 0

4. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 14 สิงหาคม 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ที่ขับเคลื่อนงานชุมชน

  2. ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

  3. สภาผู้นำชุมชนสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ประจำเดือนสิงหาคม 2558 ทางกรรรมการไม่ได้จัดประชุม เนื่องด้วยทางผู้ดำเนินโครงการเห็นว่าการดำเนินโครงการเป็นไปอย่างเรียบร้อยและทางหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมทางศาสนาของผู้นำชุมชนตลอดทั้งเดือน เลยทางผู้ดำเนินการโครงการจึงของดการประชุมในครั้งนี้แล้วจะมีวาระประชุมในลำดับเดือนถัดไป และเหตุผลอื่นๆที่เป็นจริงในพื้นที่เราจึงไม่ได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามการเฝ้าระวังสถานการณ์คลองในชุมชน
  2. ประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ วางแผนปฏิบัติงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ไม่มี

 

20 0

5. ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 21 กันยายน 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ที่ขับเคลื่อนงานชุมชน

  2. ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

  3. สภาผู้นำชุมชนสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ประจำเดือนกันยายน 2558 ทางกรรรมการไม่ได้จัดประชุม เนื่องทีมงานแกนนำโครงการเป็นนักศึกษาเรียนมหาวิทยาลัยคนละสถาบันกัน มีภารกิจและบางส่วนต้องไปเรียน และเหตุผลอื่นๆที่เป็นจริงในพื้นที่เราจึงไม่ได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามการเฝ้าระวังสถานการณ์คลองในชุมชน
  2. ประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ วางแผนปฏิบัติงานโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ไม่มี

 

20 0

6. จัดทำกติกาชุมชนในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

วันที่ 23 กันยายน 2558 เวลา 19:00 - 22:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

  2. เกิดกติกาชุมชนในการจัดการคลองสายต้นตะเคียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่เด็กๆและชาวบ้านได้ลงความคิดเห็นโดยยึดหลักประชาธิปไตย โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากเกินตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ซึ้งผู้เข้าร่วมมาทั้งหมด 82 คน มีทั้งเด็กๆ เยาวชนและชาวบ้านผู้หลักผู้ใหญ่ มาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในครั้งนี้

โดยสรุปความรวมในข้อความในการจัดตั้งกฎกติการชุมชนส่วนใหญ่ทุกคนจะเล็งถึงในเรื่องของขยะในชุมชนดดยให้มีการจัดการขยะในชุมชนอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามสุขลักษณะ เรื่องการร่วมมือการดูแลคลองโดยทุกคนมีส่วนร่วม เรื่องให้ชาวบ้านทุกคนร่วมกันติดตามและที่สำคัญในแต่ละข้อจะมีบทลงโทษ เช่น ห้ามทิ้งลงคู-คลอง หากพบเห็นจะมีบทลงโทษ ดังนี้

  1. ตักเตือน ครั้งที่ 1

  2. ตักเตือนครั้งที่ 2

  3. แจ้งทางคณะกรรมการหมู่บ้านมีบทลงโทษด้วยวิธีต่างๆ เป้นต้น

ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กๆเยาวชนและชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและได้เสนอแนวคิดที่มีผลดีต่อการดูและรรมชาติในชุมชนบ้านหนองบัวเป็นที่สนใจ เช่น ในแต่ละให้ทางคณะกรรมการหมู่บ้านและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมาเสริมสภาพรอบๆข้างคลองให้เป็นจุดสถานที่พักผ่อน และออกกำลังกาย (นายสันติชัยสะระยะ กล่าว) ให้ทางองค์การปกคลองส่วนท้องถิ่นมาร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาดูแลอย่างใกล้ชิดในทุกๆปี อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง (นางตีฉ๊ะ เปลี่ยนพงศ์ กล่าว) การทำกิจกรรมนี้สำเร็จตามวัตุประสงค์และได้รับการชื่นชมจากชาวบ้านที่มาเข้าร่วมเป็นที่พอใจมากๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมชนแกนนำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันยกร่างกติกาชุมชนในการอนุรักษ์คลอง

  2. ประกาศกติกาชุมชนให้คนในชุมชนทราบ ด้วยการจัดทำไวนิลติดประกาศในชุมชนอย่างทั่วถึง และแจ้งกติกาในที่ประชุมหมู่บ้าน หรือช่องทางการประชาสัมพันธ์อื่นๆ ที่มีในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ก่อนวันทำกิจกรรมมีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของหมู่บ้าน โดยให้เด็กๆและชาวบ้านมาร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมตั้งกติกาในชุมชนในวันที่ 23 กันยายน 2558 ในเวลา 19.00 เป้นต้นไป ที่มัสยิดบ้านหนองบัว และในคืนทำกิจกรรมมีการชี้แจงรายละเอียดโครงการและกิจกรรมจัดตั้งกติกาอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน โดย นายศักดรินบินหรีม (หัวหน้ากลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัวและผู้ดำเนินโครงการนี้) โดยได้ให้คำชี้แจงในการจัดตั้งกฎกติกาในการอนุรักษ์คลองโดยให้เด็กๆและชาวบ้านลงแสดงความคิดเห็นในกระดาษที่ทางโครงการได้ให้เขียนในลักษณะเป็นข้อบังคับหรือข้อห้ามและมีบทลงโทษในรูปแบบต่างๆที่ชาวบ้านแต่ละคนต้องการที่สมควรจะมีเป็นตัวบังคับใช้ หลังจากนั้นทางกลุ่มแกนนำโครงการเก็บรวบรวมเอกสารกระดาษจากที่เด็กๆและชาวบ้านได้เขียนแล้ว มาสรุปและใช้ข้อความที่ชาวบ้านลงความคิดเห็นเป็นส่วนใหญ่มติและบันทึกไว้เป็นข้อกติกาชุมชนในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน และจะมีการเป็นกิจกรรมเปิดกฎกติกาบังคับใช้ในวันต่อไป

และหลังจากนั้นจะมีการแสดงละครสะท้องถึงคลองต่อชีวิตของมนุษย์ 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 จะเป็นการแสดงละครของเด็กๆ ละครปัญหาคลอง คือ ปัญหาชีวิต ชุดที่ 2 เป็นการแสดงของเด็กๆและเยาวชน คือ แสดงละครสุขภาวะดี ต้องรู้รักษาสิ่งแวดล้อม และมีการแสดงโชร์ลิเกฮูลูของเด็กๆในชุมชน

 

60 82

7. 1. ติดป้ายคำขวัญรณรงค์ และป้ายทรัพยากรริมคลอง

วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 08:30 - 12.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน จำนวน 1 กลุ่ม

  2. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำโครงการและที่ปรึกษาโครงการเดินสังเกตพื้นที่ติดป้ายคำขวัญรณรงค์ และป้ายทรัพยากรริมคลอง หลังจากนั้นพาเด็กและเยาวชนและประชาชนร่วมกันเดินในชุมชนบ้านหนองบัวเพื่อติดป้ายตามบริเวณจุดต่างๆเพื่อให้คนในชุมชนเห็นด้ง่ายและสามารถอ่านได้สะดวกเพื่อสร้างจิตสำนึกและให้มีความรักต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกำหนดเป็นคำขวัญ คำคม เขียนหรือแกะสลักในแผ่นป้ายจำนวน 35 แผ่น ซึ่งทางแกนนำได้แจกให้ผู้เข้าร่วมโครงการ 1 แผ่นต่อสามถึงสี่คนตามความเหมาะสมที่สามารถช่วยกันผูกตามบริเวณนั้นจุดๆโดยมีการติดป้ายทั่วในชุมชนและคลองสายต้นตะเคียน และหลังจากที่เดินติดป้ายให้ทั่วในชุมชนแล้วนั้นมีการพูดคุยหรือร่วมแสดงความคิดเห็นหรือข้อคิดในการทำกิจกรรมติดป้ายคำขวัญรณรงค์ และป้ายทรัพยากรริมคลองลงในแผ่นกระดาษ แล้วร่วมกันแชร์ความคิดเห็นกัน อย่างสนุกสนานและทุกข้อคิดทุกท่านได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างถือว่าเป็นข้อคิดที่ดีมากๆ และได้รับการกล่าวขานจากผู้คนในชุมชนในขณะทำกิจกกรมว่า เป็นกิจกรรมที่ดีมาก กิจกรรมนี้สามารถสร้างแรงกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดการลดขยะในชุมชนโดยการมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนมากขึ้นรวมทั้งช่วยสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนจากการอ่านป้ายต่างๆที่ติดตามบริเวณต่างๆ (นายสุรินทร์ บิลสัน อดีตผู้ใหญ่บ้านกล่าว)
จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ทุกท่านให้ความร่วมมือกันเป้นอย่างดีและสร้างสิ่งสร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานทุกคนมีรอยยิ้มและมีความสุขในการทำกิจกรรมเพื่อได้มีส่วนร่วมในการทำความดีตอบแทนแผ่นดิน ตอบแทนชุมชน และถือเป็นการสร้างจิตอาสาของเด็กและเยาวชนได้เป็นอย่างดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ช่วงเช้า

  1. จัดทำป้ายคำขวัญรณรงค์อนุรักษ์คลองที่ชนะเลิศการประกวดติดในชุมชน โดยซื้ออุปกรณ์สำหรับการเขียน และให้คนในชุมชนที่ลายมือสวยช่วยกันเขียน หลายแผ่น

  2. จัดทำป้ายบอกชนิดทรัพยากรไปติดริมคลองเพื่อการเรียนรู้ให้กับเยาวชน แล้วให้เยาวชนและคนในชุมชนช่วยกันนำไปติด

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำโครงการและที่ปรึกษาโครงการเดินสังเกตพื้นที่ติดป้ายคำขวัญรณรงค์ และป้ายทรัพยากรริมคลอง หลังจากนั้นพาเด็กและเยาวชนและประชาชนร่วมกันเดินในชุมชนบ้านหนองบัวเพื่อติดป้ายตามบริเวณจุดต่างๆเพื่อให้คนในชุมชนเห็นด้ง่ายและสามารถอ่านได้สะดวกเพื่อสร้างจิตสำนึกและให้มีความรักต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกำหนดเป็นคำขวัญ คำคม เขียนหรือแกะสลักในแผ่นป้ายจำนวน 35 แผ่น ซึ่งทางแกนนำได้แจกให้ผู้เข้าร่วมโครงการ 1 แผ่นต่อสามถึงสี่คนตามความเหมาะสมที่สามารถช่วยกันผูกตามบริเวณนั้นจุดๆโดยมีการติดป้ายทั่วในชุมชนและคลองสายต้นตะเคียน และหลังจากที่เดินติดป้ายให้ทั่วในชุมชนแล้วนั้นมีการพูดคุยหรือร่วมแสดงความคิดเห็นหรือข้อคิดในการทำกิจกรรมติดป้ายคำขวัญรณรงค์ และป้ายทรัพยากรริมคลองลงในแผ่นกระดาษ แล้วร่วมกันแชร์ความคิดเห็นกัน

 

60 62

8. 2. คืนต้นไม้สู่ป่า ปลูกต้นไม้ ครั้งที่ 1

วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 15:00 - 17.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน จำนวน 1 กลุ่ม

  2. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในการทำกิจกรรมคืนต้นไม้สู่ป่า ครั้งที่ 1 เด็กและคนในชุมชนให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และอย่างดี ในขณะทำกิจกรรมทำให้ทุกคนเกิดจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด และมีขวัญกำลังใจในการอนุรักษ์คลองที่ได้ปลูกต้นไม้ และเป็นการช่วยแก้ปัญหาคลองได้อย่างดี ช่วยให้คลองมีความอุดมสมบูรณ์ คลองมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ อีกทั้งเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้เป้นผลผลิตจากการผลิ ดอก ออกผล ของต้นไม้นั้นคนในชุมชนสามารถเก็บเกี่ยวผลนำมารับประทานได้ และสิ่งที่น่าประทับใจ คือ เด็กๆมีความสนุกสนานมากอยากทำกิจกรรมดีๆอย่างดีต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ช่วงบ่าย
1. จัดกิจกรรมให้คนในชุมชนร่วมกันปลูกต้นไม้บริเวณคลอง โดยการไปขออนุเคราะห์พันธุ์กล้าไม้จากป่าไม้เพื่อนำมาปลูก

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางแกนนำโครงการได้จัดกิจกรรมคืนต้นไม้สู่ป่า ปลูกต้นไม้ ครั้งที่ 1 ขึ้นโดยเปิดงานกิจกรรมโดยประธานกลุ่มเยาวชนรักษ์หนองบัว (นายศักดริน บินหรีม) ได้กล่าวถึงสิ่งสำคัญของชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยได้เน้นย้ำให้เด็กและเยาวชนรวมถึงชาวบ้านผู้ใหญ่ช่วยกันฟื้นฟูสภาพคลองโดยวิธีการทุกคนสามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกันดูแลคลองติดตามสภาพคลองเป้นระยะๆ ช่วยกันแก้ปัญหาต้นทาง ร่วมกันสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพราะฑรรมชาติคือชีวิต และอื่นๆอีกมากมาย หลังจากนั้นแกนนำโครงการได้แจกพันธุ์พืชให้ผู้เข้าร่วมโครงการคนละต้น จำนวน 60 ต้น โดยให้ปลูกตามบริเวณขอบๆคลองเป็นระยะที่พอเหมาะสมควรโดยมีหลักเกณฑ์ว่า
-ให้ทุกคนร่วมกันดูแลต้นไม้ของตนเองที่ปลูกไว้อย่างใกล้ชิด รดน้ำ หรืออื่นๆ

-แกนนำโครงการจะติดตามดูแล เดือนละครั้ง
ซึ่งที่ว่าให้ผู้เข้าร่วมดูแลต้นไม้เป็นของตนเองที่ปลูกไว้นั้นอันเป็นการฝึกความรับผิดชอบ และการรู้จักหน้าที่ ของตนเองอีกด้วย รวมถึงเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้เด็กและเยาวชนมีความจงรัก ภักดีต่อธรรมชาติ ไม่ทำลายธรรมชาติ เป็นต้น

 

60 60

9. คืนปลาสู่คลอง ครั้งที่ 1

วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 08:00 - 11.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

  2. ทรัพยากรในคลองเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปลาอย่างน้อย 10,000 ตัว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้โดยสรุปประเด็นได้ต่อไปนี้

  1. ทำให้เด็กและเยาวชนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์คลองมากยิ่งขึ้น เพราะคลองถือเป็นแหล่งสำคัญของคนในชุมชนที่มีการใช้เป็นแหล่งทำมาหากินหรือใช้เป็นแหล่งเพื่อทำการเกษตร

  2. ทำให้เกิดแรงกระตุ้นไม่ให้คนในชุมชนมีความมมักง่ายในการทิ้งขยะเพิ่มมากขึ้น

  3. สร้างทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติ เพราะ ธรรมชาติ คือ ชีวิต ถ้าธรรมชาติหรือบริเวณคลองนั้นๆไม่มีความบริสุทธิ์ ไม่อุดมสมบูรณ์ก็ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของคน

  4. ทุกคนภูมิใจและมีรอยยิ้มในการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป้นอย่างมาก

และผู้เข้าร่วมได้ตกลงกันในการดูแลอนุรักษ์พันธุ์ปลา ดังนี้ 1. ติดป้ายหรือทำเป็นสัญลักษณ์ในการห้ามจับปลาทุกชนิดในบริเวณคลองในช่วงเวลาที่ปลากำลังเป้นตัวอ่อนหรืออยู่ในช่วงแพร่พันธ์ุ

  1. ให้คณะกรรมการหมู่บ้านควบคุนพฤติกรรมของคนในชุมชนอย่างใกล้ชิด

  2. ให้ทุกคนร่วมกันดูแลติดตามอยู่ตลอดเวลา

  3. ให้หน่วยงานทุกฝ่ายให้การสนับสนุนในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่

ในการทำกิจกรรมคืนปลาสู่คลอง ครั้งที่ 1 ในครั้งนี้ทุกคนให้ความร่วมมือกันเป้นอย่างดีและเต็มที่ และช่วยกันทำกิจกรรมให้มีความสร้างสรรค์เกิดความสนุกสนานร่าเริงในการทำกิจรรม และได้รับการตอบรับจากสังคมรอบข้างในการทำกิจกรรมแบบนี้ถือเป็นกิจกรรมสำคัญในการอนุรักษ์พันธ์ปลาที่มีคุณภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดกิจกรรมให้คนในชุมชนช่วยกันปล่อยพันธุ์ปลาลงในคลองสายต้นตะเคียนโดยการขออนุเคราะห์พันธุ์ปลาจากกรมประมง และจัดซื้อพันธุ์ปลาด้วยงบประมาณโครงการบางส่วน

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางแกนนำโครงการได้จักกิจกรรมคืนปลาสู่คลอง ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 1 ขึ้นโดยเปิดงานกิจกรรมโดยนผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5  (นายสุรเชษ บิลสัน) ได้กล่าวถึง การดูแลคลองที่มีคุณภาพ การทำให้คลองมีความอุดมสมบูรณ์ในระยะยาว แลพให้มีธรรมชาติบริสุทธิ์ปราศจากมลพิษต่างๆตามบริเวณคลอง ให้ได้ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์พันธู์พืชและสัตว์ ช่วยกันดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งนี้เหมือนดูแลเอาใจใส่ตัวเอง และอื่นๆ ซึ่งทางแกนนำได้จัดกิจกรรมนี้โดยให้เด็กและเยาวชนตลอดจนถึงชาวบ้านมาร่วมกันปล่อยปลาในคลองสายต้นตะเคียน โดยปล่อยปลาครั้งที่ 1 คือปลานิล ซึ่งเป้นปลาที่สามารถแพร่พันธ์ุได้อย่างรวดเร้วและมีความเหมาะกับการอยู่อาศัยในคลองสายต้นตะเคียน หลังจากที่ได้ปล่อยปลาเสร็จก็ได้ให้ผู้เข้าร่วมมาสรุปสิ่งที่ได้ในการทำกิจกรรมในวันนี้และมีการตกลงกันในการดูแลอนุรักษ์พันธุ์ปลาให้อยู่รอดและไม่ให้สูญพันธ์ุไปโดยแบ่งกลุ่มให้แต่กลุ่มร่วมกันดูแลบริเวณตามคลองเป็นโซนๆ เพื่อสะดวกในการดูแลพันธุ์ปลาอย่างทั่วถึงและมีการติดตามอยู่เรื่อยๆ

 

60 60

10. 2. คืนต้นไม้สู่ป่า ครั้งที่ 2

วันที่ 23 ตุลาคม 2558 เวลา 15:00 - 17.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน จำนวน 1 กลุ่ม

  2. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในการทำกิจกรรมคืนต้นไม้สู่ป่า ครั้งที่ 2 เด็กและคนในชุมชนให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และอย่างดี ในขณะทำกิจกรรมทำให้ทุกคนเกิดจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด และมีขวัญกำลังใจในการอนุรักษ์คลองที่ได้ปลูกต้นไม้ และเป็นการช่วยแก้ปัญหาคลองได้อย่างดี ช่วยให้คลองมีความอุดมสมบูรณ์ คลองมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ อีกทั้งเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้เป้นผลผลิตจากการผลิ ดอก ออกผล ของต้นไม้นั้นคนในชุมชนสามารถเก็บเกี่ยวผลนำมารับประทานได้ และสิ่งที่น่าประทับใจ คือ เด็กๆมีความสนุกสนานมากอยากทำกิจกรรมดีๆอย่างดีต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดกิจกรรมให้คนในชุมชนร่วมกันปลูกต้นไม้บริเวณคลอง โดยการไปขออนุเคราะห์พันธุ์กล้าไม้จากป่าไม้เพื่อนำมาปลูก

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางแกนนำโครงการได้จัดกิจกรรมคืนต้นไม้สู่ป่า ปลูกต้นไม้ ครั้งที่ 2 ซึ่งแกนนำโครงการได้แจกพันธุ์พืชให้ผู้เข้าร่วมโครงการคนละต้น จำนวน 60 ต้น โดยให้ปลูกตามบริเวณขอบๆคลองเป็นระยะที่พอเหมาะสมควรโดยมีหลักเกณฑ์ว่า

-ให้ทุกคนร่วมกันดูแลต้นไม้ของตนเองที่ปลูกไว้อย่างใกล้ชิด รดน้ำ หรืออื่นๆ

-แกนนำโครงการจะติดตามดูแล เดือนละครั้ง

ซึ่งที่ว่าให้ผู้เข้าร่วมดูแลต้นไม้เป็นของตนเองที่ปลูกไว้นั้นอันเป็นการฝึกความรับผิดชอบ และการรู้จักหน้าที่ ของตนเองอีกด้วย รวมถึงเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้เด็กและเยาวชนมีความจงรัก ภักดีต่อธรรมชาติ ไม่ทำลายธรรมชาติ เป็นต้น

 

60 60

11. 1. คืนปลาสู่คลอง ครั้งที่ 2

วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 15:30 - 18.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

  2. ทรัพยากรในคลองเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปลาอย่างน้อย 10,000 ตัว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้โดยสรุปประเด็นได้ต่อไปนี้

  1. ทำให้เด็กและเยาวชนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์คลองมากยิ่งขึ้น เพราะคลองถือเป็นแหล่งสำคัญของคนในชุมชนที่มีการใช้เป็นแหล่งทำมาหากินหรือใช้เป็นแหล่งเพื่อทำการเกษตร

  2. ทำให้เกิดแรงกระตุ้นไม่ให้คนในชุมชนมีความมมักง่ายในการทิ้งขยะเพิ่มมากขึ้น

  3. สร้างทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติ เพราะ ธรรมชาติ คือ ชีวิต ถ้าธรรมชาติหรือบริเวณคลองนั้นๆไม่มีความบริสุทธิ์ ไม่อุดมสมบูรณ์ก็ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของคน

  4. ทุกคนภูมิใจและมีรอยยิ้มในการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป้นอย่างมาก

และผู้เข้าร่วมได้ตกลงกันในการดูแลอนุรักษ์พันธุ์ปลา ดังนี้ 1. ติดป้ายหรือทำเป็นสัญลักษณ์ในการห้ามจับปลาทุกชนิดในบริเวณคลองในช่วงเวลาที่ปลากำลังเป้นตัวอ่อนหรืออยู่ในช่วงแพร่พันธ์ุ

  1. ให้คณะกรรมการหมู่บ้านควบคุนพฤติกรรมของคนในชุมชนอย่างใกล้ชิด

  2. ให้ทุกคนร่วมกันดูแลติดตามอยู่ตลอดเวลา

  3. ให้หน่วยงานทุกฝ่ายให้การสนับสนุนในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่

ในการทำกิจกรรมคืนปลาสู่คลอง ครั้งที่ 1 ในครั้งนี้ทุกคนให้ความร่วมมือกันเป้นอย่างดีและเต็มที่ และช่วยกันทำกิจกรรมให้มีความสร้างสรรค์เกิดความสนุกสนานร่าเริงในการทำกิจรรม และได้รับการตอบรับจากสังคมรอบข้างในการทำกิจกรรมแบบนี้ถือเป็นกิจกรรมสำคัญในการอนุรักษ์พันธ์ปลาที่มีคุณภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดกิจกรรมให้คนในชุมชนช่วยกันปล่อยพันธุ์ปลาลงในคลองสายต้นตะเคียนโดยการขออนุเคราะห์พันธุ์ปลาจากกรมประมง และจัดซื้อพันธุ์ปลาด้วยงบประมาณโครงการบางส่วน

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางแกนนำโครงการได้จักกิจกรรมคืนปลาสู่คลองครั้งที่ 2 ขึ้นโดยเปิดงานกิจกรรมโดยนผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5(นายสุรเชษ บิลสัน) ได้กล่าวถึง การดูแลคลองที่มีคุณภาพ การทำให้คลองมีความอุดมสมบูรณ์ในระยะยาว แลพให้มีธรรมชาติบริสุทธิ์ปราศจากมลพิษต่างๆตามบริเวณคลอง ให้ได้ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์พันธู์พืชและสัตว์ ช่วยกันดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งนี้เหมือนดูแลเอาใจใส่ตัวเอง และอื่นๆ ซึ่งทางแกนนำได้จัดกิจกรรมนี้โดยให้เด็กและเยาวชนตลอดจนถึงชาวบ้านมาร่วมกันปล่อยปลาในคลองสายต้นตะเคียน โดยปล่อยปลาครั้งที่ 2 คือปลานิล ซึ่งเป้นปลาที่สามารถแพร่พันธ์ุได้อย่างรวดเร้วและมีความเหมาะกับการอยู่อาศัยในคลองสายต้นตะเคียน หลังจากที่ได้ปล่อยปลาเสร็จก็ได้ให้ผู้เข้าร่วมมาสรุปสิ่งที่ได้ในการทำกิจกรรมในวันนี้และมีการตกลงกันในการดูแลอนุรักษ์พันธุ์ปลาให้อยู่รอดและไม่ให้สูญพันธ์ุไปโดยแบ่งกลุ่มให้แต่กลุ่มร่วมกันดูแลบริเวณตามคลองเป็นโซนๆ เพื่อสะดวกในการดูแลพันธุ์ปลาอย่างทั่วถึงและมีการติดตามอยู่เรื่อยๆ

 

60 60

12. ติดตามการอนุรักษ์คลอง

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เวลา 16:00 - 17:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน จำนวน 1 กลุ่ม

  2. ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน

  3. เกิดกติกาชุมชนในการจัดการคลองสายต้นตะเคียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทรัพยากรในคลองมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวัชพืช หรือสิ่งที่อยู่รอบๆคลองมีสีเขียวขจีและยังเห็นว่าปลาในคลองมีการเติบโตเร็วมาก อันส่งผลให้เห็นถึงความสมบูรณ์และสะอาดของน้ำในคลอง และต้นไม้ที่ปลูกแล้วที่ไม่รอดก็มีไม่กี่ต้น ทางแกนนำโครงการได้ซ่อมแซมปลูกทดแทนเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการติดตามการอนุรักษ์คลองในครั้งนี้ได้เป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสรุปในการตรวจสอบคลองได้ชัดเจนมาก และจะมีการติดตามผลในวันเวลาถัดไปเป็นระยะๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. กลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียนติดตาม เฝ้าระวังการอนุรักษ์คลองอย่างสม่ำเสมอ โดยการลงพื้นที่สำรวจคลองทุก 2 เดือน รวม 5 ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

สำรวจทรัพยากรรอบๆคลอง ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศในคลอง รอบๆคลอง และสภาพน้ำ และ ตรวจซ่อมแซมต้นไม้ที่ปลูก ตลอดแนวของคลองสายต้นตะเคียนในชุมชนบ้านหนองบัว

 

60 7

13. ทำแผนที่เส้นทางขยะ

วันที่ 14 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 - 16:00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) 1 แห่ง

  2. ครัวเรือนสามารถจัดการปัญหาขยะทำให้ขยะในครัวเรือนลดลง อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

  3. สามารถลดปริมาณขยะโดยการแปลงขยะเป้นปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกบริโภคในครัวเรือนได้ อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการเดินทางสำรวจมาก่อนหน้านี้ พบว่าเส้นทางขยะของขยะในชุมชนมีทั้งหมด 4 จุด ซึ่งแต่ละจุดนั้นเป็นต้นเหตุที่ทำให้คลองเกิดปัญหา และทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้ถึงเส้นทางการมาของขยะได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นและผู้เข้าร่วมทุกคนสามารถนความรู้หรือสิ่งต่างๆที่ได้จากกิจกรรมนี้ไปแก้ปัญหาขยะในชุมชนได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น และผู้เข้าร่วมทุกกลุ่มได้เสนอจากการที่ได้ช่วยกันทำแผนที่ขยะได้อย่างชัดเจนและเห็นภาพชัดมากยิ่งขึ้นโดยการชี้ถึงจุดสำคัญๆของขยะที่ลงสู่คลอง  และสิ่งที่น่าประทับใจทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และได้สะท้อนสิ่งที่ได้รับจากเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้อย่างชัดเจนและมีผลต่อการพัฒนาคลองในชุมชนในเวลาต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมเก็บรวบรวมข้อมูลที่ให้คนในชุมชนบันทึก นำกลับมาทำข้อมูล ชนิด ปริมาณ และแผนที่เส้นทางการเกิดขยะในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางแกนนำโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับขั้นตอนการทำแผนที่ขยะในชุมชน (นายศักดริน บินหรีม ผู้ดำเนินโครงการ)จากการที่ได้เดินสำรวจมาก่อนหน้านี้และได้สรุปการมาขยะหรือจุดเริ่มต้นของขยะจากแหล่งต่างๆ เช่น มาจากคูหน้าบ้าน มาจากพฤติกรรมของเด็ก และมาจากธรรมชาติที่พัดพาขยะลงในคู ซึ่งทางแกนนำได้เล็งเห็นถึงจุดหลักๆขยะในชุมชน นั่นคือ จากคูหน้าบ้านของชาวบ้านในชุมชน โดยมีการแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน โดยให้แต่ละคนร่วมกันวาดแผนที่ขยะในรูปลักษณะเป็นเส้นทางการเดินมาของขยะจากคูหน้าบ้าน และหลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มได้เสนอผลงานของแต่ละกลุ่มเพื่อที่จะนำเป็นข้อสรุปแผนที่อีกต่อไป และได้แผนที่ที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

60 60

14. ธนาคารความดี (ธนาคารขยะ)

วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 09:00 - 16.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) 1 แห่ง

  2. ครัวเรือนสามารถจัดการปัญหาขยะทำให้ขยะในครัวเรือนลดลง อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

  3. สามารถลดปริมาณขยะโดยการแปลงขยะเป้นปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกบริโภคในครัวเรือนได้ อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดศูนย์ธนาคารความดี(ธนาคารขยะ)ทุกคนให้ความร่วมมือและมีรอยยิ้มในการทำกิจกรรม สนุกสนาน ทำด้วยความเต็มที่เต็มใจ ทำให้ภูมิทัศน์ของศูนย์ธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) สวยงาม เกิดเป็นที่ทำการรับซื้อขยะภายในชุมชน ซึ่งได้รับการกล่าวขานจากชาวบ้านว่าเป็นกิจกรรมที่ดี สร้างคุณค่า สร้างสิ่งที่ดีให้กับชุมชน ถือเป็นตัวผลักดันให้คนในชุมชนมองเห็นคุณค่าของขยะมากขึ้นโดยทางผู้จัดทำโครงการได้จัดตั้งศูนย์ฯนี้เป็นศูนย์ที่รับซื้อขยะในชุมชน สามารถสร้างรายได้อีกทางหนึ่งโดยเริ่มจากสิ่งเล็กกลายเป็นสิ่งใหญ่ของตนเองเห็นคุณค่าของเงินตรา อีกทั้งเป็นการช่วยลดขยะในชุมชนได้อีกด้วย ลดมลพิษในชุมชน ลดพฤติกรรมที่ไม่เห็นค่าของขยะ เนื่องด้วยคนในชุมชนมีแรงผลักดันหรือตัวกระตุ้นในการแยกขยะในครัวเรือนเพื่อที่นำไปแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ หรือเมล็ดพันธ์ุพืช ที่ศูนย์ดังกล่าว
กิจกรรมนี้ขอการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามซึ่งขอสนับสนุนอุปกรณ์ทาสีบ้าน(ศูนย์ฯ) และได้รับสนับสนุนเรื่องอาหารการกิน และอื่นๆจากคณะกรรมการหมู่บ้านหนองบัวรวมถึงผู้หลักผู้ใหญ่ใจดีในหลายๆท่าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมแกนนำชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องกำหนดกติกาในการบริหารจัดการศูนย์ธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) ในชุมชน
  2. กิจกรรมรับแลกขยะเป็นสิ่งของ

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางผู้ดำเนินโครงการได้จัดกิจกรรมจัดตั้งธนาคารความดี(ธนาคารขยะ) ซึ่งมีการจัดขึ้นในวันที่ 23 มกราคม เวลา 09.00-16.30 น. โดยมีน้องๆเด็กและเยาวชน แกนนำโครงการรวมถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ได้ร่วมกันพัฒนาจัดภูมิทัศน์ศูนย์ทำการรับซื้อขยะแลกเป็นสิ่งของภายในชุมชนบ้านหนองบัว โดยแบ่ง 2 ช่วง คือภาคเช้าและภาคบ่าย ดังนี้

-ภาคเช้า เวลา 09.00-11.00 น. จะเป็นการทำความสะอาดรอบๆศูนย์ธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) หรือดัดแปลงสถานที่ให้อยู่เป็นที่เป็นทางให้เรียบร้อย โดยให้เด็กๆและเยาวชนในชุมชนทำร่วมกัน คือ ร่วมกันถางหญ้า ตัดกิ่งไม้ที่พาดพิงหรือไต่ตามผนัง ปลูกต้นไม้ประดับริเวณด้านหน้าและด้านข้าง กวาดขยะ เก็บขยะแล้วจัดเป็นประเภทขยะต่างๆ

-ภาคบ่าย เวลา 13.30-16.30 น. จะเป็นการทาสีฝาผนังตกแต่งภายในและภายนอกศูนย์ธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) โดยให้เยาวชน แกนนำโครงการ และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาร่วมทาสีศูนย์ดังกล่าวร่วมกัน เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการรับซื้อขยะภายในชุมชนและทำกิจกรรมต่างๆของเด็กๆ

 

60 62

15. กิจกรรมขยะแลกพันธุ์ผัก

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 - 16:00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) 1 แห่ง

  2. ครัวเรือนสามารถจัดการปัญหาขยะทำให้ขยะในครัวเรือนลดลง อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

  3. สามารถลดปริมาณขยะโดยการแปลงขยะเป้นปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกบริโภคในครัวเรือนได้ อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการทำกิจกรรมนี้ส่งผลเห็นได้ว่าคนในชุมชนเห็นความสำคัญของขยะมากยิ่งขึ้นและให้ความสำคัญตระหนักถึงการคัดแยกขยะในครัวเรือนทำให้พฤติกรรมของคนในชุมชนรวมทั้งเด็กๆเปลี่ยนไปจากเดิมที่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับขยะ และในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้คนในชุมชนให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดีนำขยะที่สามารถขายได้ไม่ว่าจะเป็นพวกกระดาษ พลาสติก อลูมิเนียม เหล็ก/โลหะ รวมทั้งถุงพลาสติก มากันอย่างล้มหลาม จึงปรากฎว่าได้ขยะเป็นจำนวนมาก อันทำให้เกิดจิตสำนึกและสนุกสนานในการทำกิจกรรม และทางผู้ดำเนินโครงการได้เห็นแนวทางหรือกลวิธีที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในการสร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนลดขยะในครัวเรือน สร้างรายได้ให้กับตนเอง/ครอบครัวเป็นส่วนหนึ่ง อีกทั้งยังช่วยให้แกนนำได้เรียนรู้กระบวนการทำงาน ทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นทีมและกิจกรรมนี้สามารถสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งคนในชุมชนและแกนนำ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งจะมีการรับซื้อขยะแลกเป็นสิ่งของในทุกๆสองเดือน จะมีการสรุปผลเมื่อครบรอบ 1 ปี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ให้คนในชุมชนนำขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ ขายได้มาแลกพันธุ์ผักไปปลูกในครัวเรือน เพื่อลดปริมาณขยะ และส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาปลูกผักบริโภคเองในครัวเรือน
2. ธนาคารนำขยะรีไซเคิลไปขาย เพื่อนำมาเป็นทุนในการซื้อพันธุ์ผัก และสิ่งของไว้ใช้สำหรับการนำขยะมาแลก

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำโครงการและทีมงานเยาวชนในชุมชนได้ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองบัวนำขยะที่คัดเลือกในครัวเรือนแล้ว โดยนำมาแลกเป็นสิ่งของ ที่ศูนย์ธนาคารขยะ (ธนาคารความดี) ที่ทางแกนนำการจัดตั้งขึ้นเมื่อกิจกรรมที่ผ่านมา  โดยจะมีการรับซื้อในวันเสาร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.00 - 16.00 น. ซึ่งสิ่งของที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนนั้นคือ อุปกรณ์ใช้ในบ้าน เช่น จาน แก้วน้ำ และน้ำยาล้างจาน โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนเป็นไปตามการกำหนดของทางผู้ดำเนินโครงการซึ่งจะให้มีความเหมาะสมกับขยะที่นำมาแลก  โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยน ดังนี้

  1. ขวดพลาสติดใส จำนวน 2 กิโลกรัมต่อจาน/แก้วน้ำหนึ่งลูก และขวดพลาสติกขุ่น จำนวน 3 กิโลกรัมต่อจาน/แก้วน้ำหนึ่งลูก

2.ถุงพลาสติก จำนวน 200 ถุงต่อน้ำยาล้างจาน 1 ขวด

3.โลหะ จำนวน 1 กิโลกรัมต่อจาน/แก้วน้ำหนึ่งลูก

4.อลูมิเนียม จำนวน 0.5 กิโลกรัมต่อจานหนึ่งลูกหรือแก้วน้ำสองลูก

5.กระดาษธรรมดา จำนวน 7 กิโลกรัมต่อจาน/แก้วน้ำหนึ่งลูก  และกระดาษลัง จำนวน 5 กิโลกรัมต่อจาน/แก้วน้ำหนึ่งลูก

ซึ่งทางผู้ดำเนินการโครงการจากที่ได้ตกลงกันซึ่งจะมีการรับซื้อขยะแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของสองเดือนละครั้ง โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ก่อนวันรับซื้อขยะ 2 วัน และมีการรับซื้ออย่างนี้ต่อไป ซึ่งจะมีการจดบันทึกทุกครั้งในการรับซื้อขยะในทุกๆสองเดือน และจะมีการสรุปผลเมื่อครบรอบ 1 ปี 

 

60 60

16. กิจกรรมหนองบัวปลอดถังขยะ

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 - 11.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) 1 แห่ง

  2. ครัวเรือนสามารถจัดการปัญหาขยะทำให้ขยะในครัวเรือนลดลง อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

  3. สามารถลดปริมาณขยะโดยการแปลงขยะเป้นปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกบริโภคในครัวเรือนได้ อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมได้รู้ถึงสถานการณ์ขยะปัจจุบันและแหล่งที่มาของขยะที่ได้อย่างถูกต้อง และได้แนวคิดที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งได้ร่วมมือกันเห็นด้วยที่ให้ชุมชนบ้านหนองบัวปลอดถังขยะจากการเล็งเห็นความสำคัญของการกำจัดขยะด้วยตนเองในครัวเรือนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและคลองสายต้นตะเคียนและผู้เข้าร่วมโครงการได้นำความรู้ต่างๆจากการจัดกิจกรรมอื่นๆก่อนหน้านี้มาใช้ในกิจกรรมย่อยในกิจกรรมครั้งนี้ได้ซึ่งยือว่าได้ใช้ความรู้ได้อย่างต่อเนื่องและให้ความสำคัญในการจัดการขยะมากยิ่งขึ้น และช่วยผู้ดำเนินโครงการได้มีทักษาะการทำงานได้ดี ทักษะการวางแผนงานได้มีความกระชับมากยิ่งขึ้น ได้ประสบการณ์และความรู้มากมาย 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดเวทีชาวบ้านเพื่อรายงานผลการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์ขยะในชุมชน บอกเล่าแผนที่ขยะ
  2. ระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะในครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้ใหญ่บ้าน (นายสุรเชษ บิลสัน) กล่าวเปิดกิจกรรมหนองบัวปลอดถังขยะ โดยได้เชิญนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้ความรู้เรื่องการจัดการตนเองในด้านสิ่งแวดล้อม โดยทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้เล็งเห็นการจัดการขยะด้วยตัวเองเป็นสำคัญซึ่งถือว่าเป็นเรื่องไม่ยากยิ่งนักที่ให้คนในชุมชนรู้จักการกำจัดขยะในครัวเรือนซึ่งได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 - 11:00 น.  ณ มัสยิดบ้านหนองบัว ซึ่งทางคณะกรรมการหมู่บ้านและทางผู้ดำเนินโครงการให้ชี้แจงเส้นทางขยะขยะนั้นมาจากที่ใดบ้าง ที่สำคัญอะไรที่เป็นสิ่งทำให้เกิดขยะในชุมชน และเกี่ยวกับเรื่องชุมชนปลอดถังขยะนั้นเป็นอย่างไร โดยได้นำแนวคิดจากโครงการของตำบลท่าข้าม ในโครงการ "มิติใหม่ ท่าข้ามไร้ถังขยะ" หลังจากนั้นให้นักศึกษาพยาบาลทำกิจกรรมให้กับผู้เข้าร่วมในครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นให้ความรู้เรื่องขยะ การรู้จักขยะอย่างแท้จริงที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อีก และอื่นๆ และช่วงท้ายมีการระดมความคิดให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนที่ทำให้ชุมชนของเราไม่มีขยะหรือไม่มีถังขยะหน้าบ้านโดยให้จัดการขยะด้วยตนเองในครัวเรือนต่อไปอย่างถูกต้องและยั่งยืน

 

100 105

17. เวทีถอดบทเรียนการทำงาน

วันที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 19.00 - 20.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) 1 แห่ง

  2. ครัวเรือนสามารถจัดการปัญหาขยะทำให้ขยะในครัวเรือนลดลง อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

  3. สามารถลดปริมาณขยะโดยการแปลงขยะเป้นปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกบริโภคในครัวเรือนได้ อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมได้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงออกเป็นสองหัวข้อใหญ่คือ การเปลี่ยนแปลงก่อน-หลังทำโครงการในระดับชุมชน และในระดับตัวเอง โดยภาพรวมในระดับชุมชน คือ ชุมชนมีความสะอาดมากยิ่งขึ้น ระบบนิเวศคลอเกิดความสมบูรณ์และทรัพยากรในคลองเริ่มมีเยอะขึ้น อีกทั้งคนในชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะในครัวเรือน ให้ความสำคัญกับเรื่องขยะมากและเห็นมาปลูกผักกินเองในการช่วยให้สุขภาพดีขึ้น
โดยภาพรวมในระดับตัวเอง คือ ทำให้ตนเองมีความรับผิดชอบ มีจิตใรักสิ่งแวดล้อมในชุมชน รักษ์บ้านเกิด ช่วยใจกันรักษาคลองสายต้นตะเคียนพร้อมทั้งได้สร้างพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและการทำกิจกรรมต่างๆได้ฝึกหรือพัฒนาตัวเองให้มีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น
ซึ่งในการกิจกรรมในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและผู้นำองค์กร ผู้นำชุมชนที่ร่วมกันแนะนำสิ่งดีๆของโครงการนี้และเป็นที่น่าชื่นชนของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมดีๆที่พัฒนาให้คนในชุมชนหันมาเห็นความสำคัญของขยะและอนุรักษ์คลองในชุมชนของตัวเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดประชุมชาวบ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. สรุปบทเรียนการทำงานที่ผ่านมาเพื่อปรับใช้
  3. รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนะแนะจากคนในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. จัดนิทรรศการแสดงผลงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้ใหญ่บ้าน (นายสุรเชษ บิลสัน) พบปะผู้เข้าร่วมและพูดคุยประเด็นในเรื่องการทำโครงการในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของโครงการนี้ ถือเป็นกิจกรรมที่ดีในการปลูกฝังจิตใต้สำนึกเด็กให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งสร้างจิตใจให้รักษ์บ้านเกิดมากยิ่งขึ้นอีกด้วยและอื่นๆ หลังจากนั้นแกนนำเยาวชนได้แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ โดยให้เด็กๆร่วมกับประชาชนช่วยกันสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงก่อนทำโครงการและเทียบกับหลังทำโครงการ และรับข้อเสนอแนะจากประชาชนในหลายๆประเด็นที่เห็นควรให้มีกิจกรรมดีๆอย่างนี้ต่อไปและเห็นควรบางประเด็นหรือบางกิจกรรมที่ต้องมีการปรับปรุงกันต่อไป

 

100 98

18. จัดงานนิทรรศการเสนอผลงานของโครงการต่อ อบต.ท่าข้าม

วันที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 21.00 - 22.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) 1 แห่ง

  2. ครัวเรือนสามารถจัดการปัญหาขยะทำให้ขยะในครัวเรือนลดลง อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

  3. สามารถลดปริมาณขยะโดยการแปลงขยะเป้นปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกบริโภคในครัวเรือนได้ อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กและเยาวชนปละประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมในกิจกรรมในครั้งนี้ซึ่งเป็นผลประโยชน์และส่งนำความรู้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ได้ข้อเสนอแนะจากผู้หลักผู้ใหญ่ในหลายๆประเด็นและได้คำชื่นชมของการทำงานของทีมงานในการทำงานในสิ่งดีๆเพื่อชุมชน และสังคม และกิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดีตาม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. แกนนำเสนอผลงาน
  2. รับฟังความคิดเห็นจากคนทั้งตำบลท่าข้าม เพื่อพัฒนาโครงการต่อไปอย่างยั่งยืน

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำโครงการได้เสนอผลงานการจัดกิจกรรมโครงการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ให้ผู้เข้าร่วมได้รับฟังและรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการต่อไปอย่างยั่งยืน

 

200 186

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 30 30                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 211,450.00 192,975.00                  
คุณภาพกิจกรรม 120 79                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายอับดนหร้อซักฮ์ จันทการักษ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ