ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง โดยทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ที่ขับเคลื่อนงานชุมชน 2. ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เชิงคุณภาพ 1. สภาผู้นำชุมชนสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง 2. สภาผู้นำชุมชนสามารถทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม

ทำให้เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คนเพื่อเป็นการขับเคลื่อนและติดตามดูแล ประเมินผลของคลองอยู่เสมอ และได้ข้อสรุปในแต่ละเดือนละครั้ง บางทีอาจสองเดือนครั้งแล้วแต่สถานการณ์ อีกทั้งสภาผู้นำชุมชนทำงานได้อย่างต่อเนื่องและร่วมกันทำงานให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

2 เพื่อให้เยาวชนและคนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1 เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน จำนวน 1 กลุ่ม 2 ร้อยละ 60 ของคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน 3 ทรัพยากรในคลองเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปลา อย่างน้อย 10,000 ตัว 4 เกิดกติกาชุมชนในการจัดการคลองสายต้นตะเคียน เชิงคุณภาพ 1 เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการช่วยกันดูแลรักษา อนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียนให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 2 ทรัพยากรธรรมชาติในคลองเพิ่มขึ้น พันธุ์ปลาเพิ่มขึ้น

เกิดกลุ่มอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน 1 กลุ่มซึ่งมีหน้าที่ในการติดตามดูสภาพแวดล้อมของคลอง และประสานคนในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลอง อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดระบบทรัพยากรนิเวศให้ดีขึ้น
ปลามีจำนวนมากขึ้น และมีกฎกตกาชุมชนในการจัดการคลองสายต้นตะเคียนโดยทำเป็นไวนิลและติดตามในชุมชน

3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเยาวชนและคนในชุมชนในการจัดการปัญหาขยะ
ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1 เกิดธนาคารความดี (ธนาคารขยะ) 1 แห่ง 2 ครัวเรือนสามารถจัดการปัญหาขยะ ทำให้ขยะในครัวเรือนลดลง อย่างน้อย 20 ครัวเรือน 3 สามารถลดปริมาณขยะ โดยการแปลงขยะเป็นปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกผักบริโภคในครัวเรือนได้ (*เพิ่มเติม) อย่างน้อยร้อยละ 50 ของครัวเรือนที่มีอยู่ในชุมชน เชิงคุณภาพ 1 สามารถจัดการปัญหาขยะในชุมชน โดยการทำให้มีการแปลงขยะเป็นทุน 2 ปัญหาขยะลดน้อยลง 3 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านการจัดการขยะของ อบต. ลดลง

เกิดธนาคารขึ้นในชุมชนซึ่งเป็นสถานที่ในการรับแลกขยะเป็นพันธุ์พืชหรือสิ่งของ และคนในชุมชนรู้จักการคักแยกขยะได้อย่างถูกวิธีในการคัดแยกขยะในครัวเรือนได้มากขึ้น รวมถึงมีความรู้ในการจัดการขยะในแต่ละประเภทได้อย่างถูกวิธี เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนฯที่ศูนย์ดังกล่าว ทำให้สร้างรายรับให้ตนเองได้อีกด้วย


ขยะในชุมชนเริ่มน้อยลง คนในชุมชนสนใจและตระหนักในเรื่องขยะกันมากขึ้น

4 เพื่อติดตามและสนับสนุนโครงการ
ตัวชี้วัด : 1.รายงานผลการดำเนินงานโครงการ 2.รายงานการเงิน

ตัวรายงายผลการดำเนินงานโครงการ และเอกสารการเงิน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง โดยทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง (2) เพื่อให้เยาวชนและคนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์คลองสายต้นตะเคียน (3) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเยาวชนและคนในชุมชนในการจัดการปัญหาขยะ (4) เพื่อติดตามและสนับสนุนโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh