หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

กิจกรรมถอดบทเรียน19 ตุลาคม 2558
19
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย thungmaprag
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลได้ฝึกปฏิบัติการนำเครื่องมือแบบสอบถามไปจัดเก็บข้อมูลของครัวเรือน และพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือแบบสอบถามเพื่อนำไปจัดเก็บข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นำเสนอกิจกรรมท้ังตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ การพัฒนาโครงการ 2.แยกรายละเอียดกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ กิจกรรมหลักกิจกรรมย่อย 3.นำเสนอปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัด จุดดี จุดเด่น ของการดำเนินโครงการ 4.ปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินโครงการ ทีมงาน พี่เลี้ยง งบประมาณ ทุนทางสังคม 5.ระดมความคิด สรุปสภาพปัญหาเกิดจากกอะไร อะไรคือปัจจัยของปัญหา
6.นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหา วิธีการ และหาข้อสรุปเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากกิจการดำเนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้ ได้ดำเนินกิจกรรมการถอดบทเรียน เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลถีงปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการดังกล่าวราย กิจกรรมท้ังหมด ทำให้ได้รับทราบว่าปัญหาในการดำนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง สามารถที่จะสรุปประเด็นได้ดังนี้

  1. ด้านผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้นำท้องถิ่น (สมาชิก อบต.) ผู้นำศาสนา (บิลาล) คณะทีมงาน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข และกลุ่มเยาวชน เป็นแรงขับเคลื่อนกิจกรรมทุกกิจกรรมด้วย รวมไปยังชุมชน ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
  2. ด้านการดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์หลักให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด รวมไปถึงกิจกรรมย่อยท้ังหมด ทางโครงการอาจจะมีความบกพร่องในการบริหารการจัดโครงการให้เป็นไปตามเงือนไขของระยะเวลาได้ ด้วยปัจจัยของผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ทีมงาน ด้วยภารกิจงานของชุมชน ของหน่วยงานภาคีเครือข่ายอื่น ๆอีกมากมาย จึงทำให้กิจกรรมบางกิจกรรมมีความล่าช้าและสะดุดไปบ้าง
  3. ด้านงบประมาณ และการจัดทำบัญชี มีความบกพร่องบ้างเล็กน้อย เนื่องทีมงานฝ่ายเลขานุการ และเหรัญญิกอาจเป็นเรื่องใหม่

บทสรุปการสนทนากลุ่มและบุคคลต้นแบบ กิจกรรมถอดบทเรียน ผู้เข้าร่วมประชุม30คน เริ่มแรกประธานโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมในครั้งนี้หลังจากนั้นประธานโครงการเชิญพี่เลี้ยงร่วมพูดคุยและให้กำลังใจการทำงาน พี่เลี้ยงได้พูดคุยและให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุมและทีมงาน ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนสนใจและตั้งใจฟังหลังจากนั้นประธานโครงการเชิญผู้ใหญ่บ้านร่วมพูดคุยและมอบรางวัลแก่บุคคลต้นแบบและครอบครัวต้นแบบ ที่เป็นต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียงและด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งครัวเรือนและบุคคลต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกในครั้งนี้มีทั้งหมด 15ครัวเรือนและบุคคลต้นแบบ…15….คนทุกคนร่วมแสดงยินดีกับบุคคลที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้หลังจากนั้นร่วมถอดบทเรียนโดนสอบถามวิถีชีวิตในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของแต่ละคนเพื่อหาแนวทางและสาเหตุในการป้องการการเกิดโรคต่างๆและได้รู้การดำเนินชีวิตของแต่ละคนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ว่าแต่ละวันทำอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นและพูดคุยกันอย่างเต็มที่หลังจากนั้นก็สามารถสรุปวิถีชีวิต(นาฬิกาชีวิต)ของคนในชุมชนหมู่ที่1 บ้านทุ่งมะปรังได้ดังนี้

นาฬิกาชีวิตนี้สามารถสะท้อนการดำเนินชีวิตได้ดีว่าสิ่งต่างๆที่เราดำเนินไปในแต่ละวันเป็นอย่างไรซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ เช่นการตัดยาง จะเป็นการออกแรงปานกลางซึ่งหลายคนสงสัยว่าทำไมน้ำหนักไม่ลด การตัดยางเป็นการออกแรงไม่ใช่เป็นการออกกำลังกาย ถ้าเดินต้องเดินอย่างต่อเนื่องประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงทำให้ทุกคนเข้าใจมากยิ่งขึ้นหลังจากนั้นจะให้ทุกคนช่วยกันสรุปความภาคภูมิใจตลอดการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งสมามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ความไม่เป็นโรค 2. เลือกรับประทานอาหาร 3. ไม่กินแกงกะทิ 4. มีความสุขในการดำเนินชีวิต 5. เข้ากับคนอื่นได้ดี 6. ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ 7. ครอบครัวอบอุ่น

และให้ทุกคนร่วมกันวาดความฝันในอนาคตทุกคนร่วมเสนอดังนี้ 1. ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. สุขภาพร่างกายแข็งแรง 3. เป็นที่รักของผู้คน 4. คนในชุมชนมีสุขภาพสมส่วน

ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม • การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ดีแล้วทำให้ชุมชนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง • อยากให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  1. ทีมงานและคณะทำงาน
  2. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
  3. อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล
  4. กลุ่มเยาวชน
  5. กลุ่มสตรี
  6. ผู้นำชุมชน,ผู้นำท้องถิ่น,ผู้นำศาสนา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา 1.เงื่อนไขของเวลาในการดำเนินโครงการไม่สามารถกำหนดให้ไปตามเงื่อนไขของเวลาที่ได้วางไว้ 2.เงื่อนไขของผู้รับผิดชอบโครงการ และทีมงาน คณะทำงาน ความพร้อมของเวลาไม่สอดคล้องกัน ด้วยปัจจัยของภารกิจงาน และอาชีพ 3.เงื่อนไขของการบริหารการจัดการ ความรับผิดชอบ แนวทางแก้ปัญหา 1.กำหนดกิจกรรมที่มีความสะดวกต่อการดำเนินการให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน 2.จัดปฏทินการทำงาน มีการวางแผน จัดลำดับความสำคัญของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย 3.จัดหาตัวแทน สร้างคนใหม่ในการเรียนรู้ สร้างทายาทแกนนนำในชุมชน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางธิดา เหมือนพะวงศ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

1.อยากให้ทาง สสส.ได้เสนอแนวทางในการบริหารการจัดการโครงการที่มีประสิทธิภาพ ผ่อนผันในเงื่อนไขของเวลา ที่บางช่วงอาจจะมีการสะดุดไปบ้าง 2.อยากให้ทาง สสส.ได้ส่งบทความองค์ความรู้แนวงทางการบริหารการจัดการชุมชนที่ประสบความสำเร็จ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

1.ความต้องการจาก สจรส.ในการดูแลให้กำลังให้คำชี้แนะในการแก้ปัญหาหากมีการจัดการโครงการที่ล่าช้าไม่ทันต่อห้วงเวลาที่ได้ทำสัญญาใว้กับ สสส. 2.อยากให้พี่เลี้ยงได้ทำหน้าเหมือนเคยที่ปฏิบัติมา ให้คำชี้แนะ ช่วยแก้ปัญหา ด้วยดีตลอดมา