หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

ให้ความรู้เทคนิคการออกแบบสอบถามเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ28 มกราคม 2558
28
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย thungmaprag
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ความรู้กระบวนการจัดเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ เทคนิคการจัดเก็บข้อมูล
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ศึกษาข้อมูลย้อนหลังของชุมชน วิถึชีวิต  วัฒนธรรมประเพณี  อาชีพ การศึกษา
  • วิเคราะห์สถานการณ์ชุมชน และบริบทชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เทคนิคและกระบวนการ องค์ความรู้ การจัดการข้อมูล  การสอบถามข้อมูลจากเครื่องมือที่สามารถไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาของชุมชนได้  ตรงกับความต้องการของชุมชน  สอดคล้องกับปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง   จากการดำนินกิจกรรมโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วีถึพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้  ภายกิจกรรม เทคนิคการให้ความรู้การออกแบบสอบถาม แบบเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ในครั้งนี้ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกกลุ่ม ทุกองค์กรหลัก ได้แก่
      - กลุ่มอาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นแกนนำหลักในการดำเนนิกิจกรรม   - กลุ่มอาสาสสมัครจัดเก็บข้อมูล มาจากกลุ่มสตรี  กลุ่มเยาวชน  กลุ่มที่มีบทบาอีกกลุ่มหนึงในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนให้บรรลุเป้าหมาย   - ผู้รับผิดชอบโครงการ  คณะกรรมการ และคณะทำงานโครงการ  ในฐานะผู้รับผิดชอบหลักของโครงการ   - ผู้เชี่ยวชาญที่มาจากผู้ที่มีความรู้เฉพาะด้าน  ได้แก่ด้านการพัฒนาชุมชน วิทยากรจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอควนโดน และด้านสุขภาพ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน
  • โดยสรุปในภาพรวมของการจัดกิจกรรมตามแผนงานที่ได้วางไว้ในในวันนี้ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกกลุ่มองค์กร ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เทคนิคการอกกแบบสอบถามในสิ่งที่อยากรู้อยากทราบเก่ียวกับชุมชนของตนเอง  ความต้องการ  เป้าหมายการแก้ปัญหา แนวทางในการแก้ปัญหา ตลอดจนการกำหนดแผนกิจกรรมการฉบับปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
      1. ความรู้และเทคนิคการออกแบบสอบถามข้อมูลหรือเครื่องมือแบบสอบถามประเภทเชิงปริมาณ ผลลัพธ์ที่ได้ ผู้เข้าร่วมสามารถทราบผลข้อมูลเชิงประมาณที่เป็นตัวเลข จำนวนสถิติ  จำนวนร้อยละ  จำนวนเปอร์เซ็น ได้แก่ จำนวนประชากรทั้งหมด จำนวนเพศชาย/เพศหญิง จำนวนกลุ่มอายุ จำนวนระดับการศึกษา  จำนวนการประกอบอาชีพ  จำนวนประเภทการดำรงตำแหน่งทางสังคม  จำนวนรายได้ และข้อมูลอื่นๆ ที่อยากทราบเป็นตัวเลข โดยวิธีการแจงนับ หรือวิธีการประมวลผลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อประมวลผลออกมาเป็นจำนวนๆ ในแต่ละด้าน ในส่วนที่ 1  ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
      2. ลักษณะของข้อมูลเพื่อไปสอบถามระดับความคิดเห็น  ระดับความพึงพอใจ  ต่อปัญหา  ต่อการให้บริการของหน่วยงานทุกหน่วยงาน หรือระดับความรู้ในเรื่องของสุขภาพที่ต้องการสอบถามชุมชน  แบ่งออกเป็น 5 ระดับ หรือ 3 ระดับ อยู่ท่ีผู้ออกแบบสอบถามจะวัดกี่ระดับ โดยใช้วิธีการให้คะแนน จากมากไปหาน้อย หรือจากน้อยไปหามาก เช่น 5,4,3,2,1 หรือ 1,2,3,4,5 อยู่ที่ทางผู้ออกแบบสอบถามจะกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดอะไร   3. การออกแบบสอบลักษณะแบบเครื่องมือแบบสอบถามเชิงคุณภาพ  แบบสอบถามประเภามประเภทนี้ไม่ต้องใช้ตัวเลข ไม่ต้องการจำนวนด้านปริมาณ  แต่ต้องการด้านข้อมูลที่เป็นเชิงลึกเชิงคุณถาม ลักษณะเครื่องมือแบบนี้ต้องมีทีมงานที่มีความรู้และมีทักษะในการออกแบบสอบถาม ให้ตรงกับประเด็นที่ต้องการจะทราบ  ต้องการจะแก้ปัญหา 
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 33 คน
ประกอบด้วย
  1. ทีมงานคณะทำงานและอาสาสมัคร  15 คน
  2. ตัวแทนชุมชนฝ่ายท้องที่และท้องถิ่น ผู้นำศาสนา 4  คน
  3. ตัวแทนกลุ่มสตรีและเยาวชน  10  คน
  4. ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  2  คน
  5. ผู้เชี่ยวชาญและปราชญ์ชุมชน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา   1. ภารกิจกลุ่ม ทีมงานมีภารกิจซับซ้อนกับภารกิจหน่วยงานอื่นๆ   2. บุคคลกลุ่มเดิมๆ ท่ีทำงานด้านสังคม ก็กลุ่มน้ันแหละเป็นกลุ่มทำงาน แนวทางแก้ปัญหา   1.พยายามบูรณาการภารกิจที่อาจเหมือนกันกับหน่วยงานอื่นๆ   2.สร้างคนใหม่ ทายาททางสังคม สร้างแรงจูงใจ เปิดเวที ให้ความสำคัญกับรุ่นใหม่ในชุมชน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางธิดา เหมือนพะวงศ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • การบันทึกข้อมูลอยากให้ทางระบบได้ชะลอความล่าช้าด้วยเนื่องจากหมู่บ้านบางพื้นที่ไม่ระบบเชื่อมโยงต้องออกมาในเมือง
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • การจัดทำข้อมูลที่เป็นไปในทางเดียวกัน  การเตรียมความพร้อมการจัดทำรายงานงวดแต่ละงวด