หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

- กิจกรรมทดลองเก็บข้อมูล23 กุมภาพันธ์ 2558
23
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย thungmaprag
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อนำเครื่องมือแบบสอบถามที่ผ่านจากการตรวจสอบเก็บข้อมูลรอบที่สองของครัวเรือนเป้าหมาย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ชี้แจงทำความเข้าใจกับทีมงานในการจัดเก็บข้อมูล วิธิเก็บ วิธีสัมภาษณ์
  • แจกจ่ายเครื่องมือแบบสอบถามตามจำนวนครัวเรือนเป้าหมายในการทดสอบเครื่องมือในครั้งนี้
  • แบ่งโซนเขตรับผิดชอบครัวเรือนการจัดเก็บข้อมูล
  • ลงพื้นที่ปฎิบัติการจัดเก็บข้อมูลตามภารกิจที่ได้มอบหมายให้
  • รวบรวมข้อมข้อมูล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการทำความเข้าใจทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลในครั้งนี้ ทำให้ทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ชุมชน ครัวเรือน ผู้รับผิดชอบโครงการ  คณะทำงาน  เลขานุการ  และเหรัญญิก ผลจากการจัดเก็บข้อมูลโยงเครื่องมือแบบสอบถามครั้งนี้ทำให้มีข้อมูลที่สามารถนำไปจัดทำแผนปฎิบัติการได้ โดยผ่านกระบวนการรวบรวบบรวมข้อมูล สรุปข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ให้ออกเป็นด้านๆ และเป็นประเด็น  จากข้อมูลเชิงปริมาณ  และข้อมูลเชิงคุณภาพ   - การดำเนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้ได้ดำเนินการมาถึงกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูลในชุมชน  โดยนำเครื่องมือแบบสอบที่ได้เรียนรู้และผ่านเวทีการอบรมให้ความรู้เทคนิคการออกแบบสอบถามเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพในครั้งนี้  โดยที่ทีงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลที่มาจากตัวแทนกลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน  ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมมูลในครั้งนี้เป็นการทดลองใช้เครื่องมือแบบสอบถามเพื่อต้องการทราบปัญาในการจัดเก็บระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณกับข้อมูลเชิงคุณคุณภาพ  มีความแตกต่างและความยากง่ายอย่างไร  การได้มาซึ่งข้อมูลจะตอบโจทย์กับปัญหาและความต้องการของชุมชนหรือไหม   -ทำให้ทีมงานได้รู้จักชุมชนมากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 33 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมงานอาสาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล จำนวน  15 คน
  • ทีมงานอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน  10 คน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ  คณะทำงาน เลขานุการ และเหรัญญิก จำนวน 7 คน
  • ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา 1. การดำเนินอาจมีความล่าช้าบางกิจกรรมเนื่องจากภารกิจในชุมชนกับกิจกรรมของหลายๆหน่วยงานที่มีมาก 2. ทีมงานยังขาดความั่นใจกับกิจกรรมบางกิจกรรมเนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และมีรายละเอียดมากในการรายงานผลทางแว็บไซค์ 3. การรายงานกิจกรรมมีความล่าช้าเนื่องจากระบบอินเตอร์เน็ตในชุมชนไม่เสถียรภาพ แนวทางการแก้ปัญหา 1. ลดกิจกรรมที่ไม่ใช้งบประมาณและควรจะบูรณาการกิจกรรมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆที่มีความสอดคล้องกัน 2. สร้างทีมงาน สร้างคนในชุมชนให้มีความหลากหลาย 3. แบ่งหน้าที่และบทบาทให้ชัดเจนกับทีมงานทุกคน และให้กำลังใจกับทีมงาน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางธิดา เหมือนพะวงศ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  1. อยากจะให้ชะลอการรายงานผลโครงการแต่ละกิจกรรมที่ผ่านแว็บไซค์กรณีมีความล่าช้าเพราะระบบ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  1. ความรู้และความเข้าใจต่อการบริหารการจัดการโครงการ