หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

-ประชุูมเชิงปฏิบัติการทีมงาน จัดทำฐานข้อมูลระบบชุมชน28 พฤษภาคม 2558
28
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย thungmaprag
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้คณะทำงาน ทีงานพร้อมกับผู้รับผิดชอบโครงการฯ อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล แกนำชุมชน แกนนำสุขภาพ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา เยาวชน กลุ่มสตรี ปราชญ์ชาวบ้านภูิปัญญาท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง  ได้นำแผนฉบ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนและรายละเอียดในการดำเนินกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการจัดทำแผนเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ประกอบด้วย ดังนี้ 1. ประชุมทีมงานเพื่อกำหนดวัน เวลา และสถานที่ การดำเนนิกจกรรมดังกล่าว กำหนดกิจกรรม และกลุ่มเป้าหมาย 2. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบภารกิจงานแต่ละฝ่าย 3. ประสานงานผู้นำชุมชน  ผู้นำศานา ผู้นำท้องถิ่น  และทีมงานวิทยากรภายนอกและภายใน 4. ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมให้ครอบคลุมตามกลุ่มเป้าหมาที่ได้กำหนดไว้ 5. วันดำเนินการ รับลงทะเบียน/รายงานตัว 6. ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของกิจกรรม พร้อมกับแนะนำทีมงาน คณะทำงาน และพี่เลี้ยงโครงการ 7. แนะนำวิทยากรกระบวนการ วิทยากรภายนอกและภายใน 8. ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ 9. แบ่งกลุ่มระดมความคิดและฝึกปฏบิติการจัดแผนเชิงปฏิบัติการ 10.นำเสนอแผนฉบับปฏิบัติการ และคัดเลือกแผนสุขภาพฉบับบปฏิบัติ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ  การทำข้อมู,และฐานระบบข้อมูลของชุมชน ในครั้งนี้ สิ่งที่ได้       1. ผลการที่ได้รับจากกิจกรรมทำให้ผู้เข้าร่วมกิกรรมหลักการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตามกิจกรรมการจัดทำระบบฐานข้อมูลของชุมชน ของกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้นำชุมชน  ผู้นำท้องภิ่น  ผู้นำศาสนา ปราชญ์ชาวบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น  และภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบได้รับมีองค์ความรู้ในเรื่องของข้อมูล ข้อมูลคืออะไร  ข้อมูลนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง และประเภทของข้อมูล  แหล่งของข้อมูล และการได้ซึ่งของข้อมูล มีแนวทางและวิธีการหรือเทคนิคอย่างไร       2. เกืดกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมในการของทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้  ในการให้ความสำคัญของข้อมูลชุมชน ข้อมูลหมู่บ้านที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญชาของชุมชนได้ตรงจุดและตรงกับความต้องการ     3. ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนเกิดกระบวนเรียนรู้ต่อการรับปัญหาของชุมชนโดยผ่านข้อมูลเดิมที่มีอยู่ในชุมชน ข้อมูลแผนชุมชน ข้อมูล กชช.2 ค ข้อมูล จปฐ.ข้อมูลสุขภาพ และข้อมูลอื่น     4. ได้ระบบฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน  จำนวนประชากร แยกเพศ ชาย/หญิง กลุ่มอายุ ด้านการประกอบอาชีพ รายได้ สถานะทางสังคม ดำรงตำแหน่ง สังกัดกลุ่มองค์กร และการศึกษา นี้เป็นระบบฐานข้อมูลที่กลุ่มเป้าหมายต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่ในการนำระบบฐานข้อมูลดังกล่าวไปวางแผนกิจกรรมเพื่อการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง     5. ได้รับถึงระบบฐานข้อมูลด้านทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน ทุนทางธรรมชาติ  วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต แกนนำธรรมชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน หมอสมุนไพร และแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนในการดำเนินกิจกรรม  หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง     6. ได้รับรู้ถึงขัอมูลแหล่งทุน  กองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน  การสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานใด้บ้าง เกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายในชุมครอบคลุมมากน้อยเพียงใด     7. มีระบบฐานข้อมูลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม  กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ป่วยเรื้องรัง ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ด้อยโอกาสทางสังด้านอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ     8. มีระบบฐานข้อมูลปัญหาต่างๆ ในชุมชน ปัญหาด้านสุขภาพและสาธารณสุข  ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาด้านสังคม ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในชุมชน     9.มีแผนกิจกรรม/โครงการระยะสั้น  ระยะยาว งบประมาณและแหล่งงบประมาณที่รับการสนับสนุย  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ที่เกิดจากการระดมความคิดของกลุมเป้าหมายในวันนี้ เพื่อนำไปแก้ปัญหาของชุมชน   10. เกิดกลุ่มอาสาสมัครจิตอาสาที่อาสาเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรังเพิ่มเติม นอกเหนือจากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีเยาวชน สตตรี และกรรมการหมู่บ้าน พร้อมที่จะเดินหน้าไปด้วยกันเพื่อให้ประสบณ์ความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้       โดยสรุปในวันนี้  จากการดำเนินกิจกรรมประชุมการจัดแผนเชิงปฏิบัติการ ในการจัดฐานระบบข้อมูล  สิ่งที่ได้คือ   1. มีระบบฐานข้อมูลพื้นฐานของชุมชน บริบทของชุมชน
  2. มีแผนกิจกรรม/โครงการ ของชุมชน   3. มีอาสาสมัครจิตอาสาเพิ่มเติมในการทำงาน   4. รู้แหล่งงงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ  รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง   5. ได้ความรักความสามัคคี ที่เกิดจากการมีกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำครัวเรือน
  • ผู้นำชุมชน
  • ผู้นำศาสนา
  • ผู้นำท้องถิ่น
  • อาสาสมัครสาธารณสุข
  • กลุ่มสตรี
  • ปราชญ์ชาวบบ้าน
  • จนท.สาธารณสุข
  • จนท.อบต.วังประจัน
  • ครูโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง
  • จนท.พัฒนาชุมชน ประจำตำบลวังประจัน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา   1.การเรียนรู้และประสบการณ์ที่ต่างกันทำให้กระบวนการเรียนรู้ค่อนข้างจะใช้เวลา   2.เวลาของกลุ่ม ของเป้าหมายที่เข้าร่วมมีเวลาที่ไม่เหมือนกันด้านอาชีพจึงทำให้การนัดความพร้อมมีปัญหา   3. วัยวุฒิ เพศ วัย ในการทำกิจกรรมมีความเขินอาย แนวทางการการแก้ปัญา   1. ปรับเวลาให้เหมาะสม หลังจากภารกิจหน้าที่การงาน เวลาหลังเที่ยง เป็นต้นไป หรือช่วงเย็นๆ   2. ปรับกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มอายุ เพศ ให้มีความสอดคล้อง และมีความเหมาะสม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางธิดา เหมือนพะวงศ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • อยากให้ทาง สสส.ได้มีเวลาในการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพื้นที่โครงการน้องใหม่เพื่อทางชุมชนได้รู้จัก สสส.มากยิ่งขึ้น
  • อยากให้ทาง สสส. ได้ขยายเวลาการดำเนินงานให้จาก 1 ปี เป็น 1 ปี 6 เดือน
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-มีความต้องด้านสื่อต่างๆ เช่น วีซีดี ด้านองค์รู้การจัดการความรู้ -ด้านการจ้ดการองค์ความรู้ด้านการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพ