หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

ฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูล3 มิถุนายน 2558
3
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย thungmaprag
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลได้ฝึกปฏิบัติการนำเครื่องมือแบบสอบถามไปจัดเก็บข้อมูลของครัวเรือน และพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือแบบสอบถามเพื่อนำไปจัดเก็บข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

  1.แบ่งกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลออกเป็นชุดๆ จำนวน 6 ชุด พร้อมด้วยคณะทำงาน 2.แบ่งจำนวนเขตรับผิดชอบครัวเรือนโดยการสุ่มครัวเรือนร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3.ดำเนินการฝีกปฏิบัติจัดเก็บข้อมูลตามครัวเรือนเป้าหมายตามเขตรับผิดชอบ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการดำเนินตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนกิจกรรมการฝึกปฏบัติจัดเก็บข้อมูลรายครัวเรือนโดยมีกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล วิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญ และทีมงานคณะทำงานโครงการดังกล่าว พร้อมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปผลการดำเนินกิจกรรม     1. จำนวนครัวเรือนที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  162 ครัวเรือน สามารถฝีกปฏิบัติการจัดเก็บข้อมูลได้ร้อยละ 60  ของจำนวนครัวเรือนท้ังหมด ได้จำนวน  92 ครัวเรือน   2. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล คณะทำงาน ทีมงาน พร้อมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน มีการวางแผนการทำงาน มีการแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน   3. ชุมชนได้มีโอกาสในการสะท้อนปัญหาความต้องการ  แก่ทีมงาน คณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำปัญหาความต้องการในเรื่องของการจัดการสุขภาพดี วิถีพอเพียง ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   4. เกิดกระบวนการการทำงานร่วมกันเป็นทีมของคณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล   5. เกิดความสัมพันธ์ที่ดีรระหว่างคณะทำงาน ทีมงาน อาสาสมัครสาธะารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ระหว่างชาวบ้านในชุมชนเป็นการลดช่องว่างระหว่างกัน   6. ผลที่เกิดอีกประการทำให้คณะทำงาน  อาสสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลได้ฝีกปฏิบัติการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การตั้งประเด็นคำถาม การสังเกตุ การมีปฏิภาณไหวพริบในการฝึกปฏิบัติการจัดเก็บเพื่อให้เกิดความชำนาญ     สรุปผลจากการดำเนินกิจกรรมนี้ การฝึกปฏิบัติการจัดก็บข้อมูลและทำข้อมูล   1. ได้อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ทีมงานและคณะทำงานที่มีจิตอาสาในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ ตามแผนกิจกรรมที่ได้วางไว้   2. ทีมงานและคณะทำงาน พร้อมด้วยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บเข้าใความหมายของระบบฐาน๘้อมูล   3. ทีมงานและคณะทำงาน พร้อมด้วยอาสาสมัครสาธารรสุข อาสาสมัครจัเก็บข้อมูล ได้เกิดความรู้และความชำนาญในการจัดเก็บข้อมูลแต่ละประเภท   4. ทีมงานและคณะทำงาน  พร้อมด้วยอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล มีกิจกรรมสานพันธ์กันระหว่่างชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 33 คน
ประกอบด้วย

1.อาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล 2.ทีมงานและคณะทำงานพร้อมด้วยผู้รับผิดชอบโดครงการ 3.ทีวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา 1.เวลาของชุมชนมีความพร้อมที่ไม่สอดกันกับกิจกรรมที่ดำเนินงานเกี่ยวกับอาชีพที่มีความต่างกัน 2.ทีงาน คณะทำงาน และอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ยังขาดทักษะในการบันทึกข้อมูลแบบสอบถาม แนวทางแก้ไข 1. ปรับเวลาให้มีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของบริบบทวิถีชีวิตของชน เอาเวลาว่างของชุมชนลงพื้นที่ 2..ให้ความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง มีกิจกรรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อเกิดความชำนาญ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางธิดา เหมือนพะวงศ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

  1. การขยายเวลาให้โอกาสกับพื้นที่เปิดโครงงการใหม่หรือน้องใหม่   2. การชายเวลาการดำเนินงานให้มีระยะยาวกว่านี้

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

  1. ด้านการจัดการองค์ความรู้การจัดการและการบริหารโครงการอย่างประสิทธิ์ภาพ   2. ด้านสื่อข้อมูลโครงการที่ประสบณ์ความสำเร็จพื้นที่ตัวอย่าง