task_alt

หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

ชุมชน หมู่ท่ี 1 บ้านทุ่งมะปรัง ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล

รหัสโครงการ 57-02572 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0086

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2014 ถึง 15 พฤศจิกายน 2015

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2014 ถึงเดือน มิถุนายน 2015

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศน์ สสส สจรส

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อร่วมเวทีสร้างความเข้าใจจาก สจรส.และ สสส.ในการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก สสส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฏิบัติจริง •ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง •กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล •การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ •การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ •การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

1.ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้ ◦ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม

◦บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม ◦กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง) ◦กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง

◦ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ◦ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ กรณีเป็นปราชญ์ชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน ◦ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน

2.รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้ 3.รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ ◦ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

4.สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ 5.การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

•ปฐมนิเทศชี้แจงโครงการ •แนวทางการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมโครงการ •การจัดรายงานประจำงวด •การจัดทำรายงานการเงิน •การจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฏิบัติจริง •ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง •กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล •การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ •การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ •การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

1.ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้ ◦ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม

◦บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม ◦กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง) ◦กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง

◦ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ◦ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ กรณีเป็นปราชญ์ชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน ◦ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน

2.รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้ 3.รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ ◦ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

4.สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ 5.การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

 

2 2

2. - ประชุมทีมงานสร้างความเข้าใจพร้อมพี่เลี้ยงฯ

วันที่ 8 ธันวาคม 2014 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมโครงการในความรับผิดชอบ สสส.- เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขานุการ เหรัญญิกและคณะทำงานได้รับทราบไปในแนวทางเดียวกัน- เพื่อใให้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสสส.ได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รูรับทราบและรู้จักหน่วยงานท่ีสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการ สสส.และ สจรส.
  • บทบาทหลักของ สสส.มีหน้าที่ทำอะไร ในเรื่องการรณรงค์ เรื่องของสุราและบุหร
  • การสร้างเสริมสุขภาพชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่เป็นลักษณะอย่างไร เป้าหมายหลักเพื่อชุมชนได้รับอะไร ใครมีส่วนร่วม ใครได้รับประโยชน์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมทำความเข้ากับผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาร ผู้ใหญ่บ้าน โดยพี่เลี้ยงโครงการ
  • แนะนำตัวโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ท้ัง 4 ชุมชน
  • แนะนำและทำความรู้จัก กับ สสส.

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนผู้มาร่วมประชุม
  • พี่เลี้ยงโรงการแนะนหน่วยงานหลักที่สนับสนุนงบประมาณ
  • สสส.คืออะไร  ทำหน้าที่อะไร  มีบทบาทอย่างไร
  • สจรส.คือ ใคร ทำหน้าที่อะไร  มีบทบาทอย่างไร
  • แนะนำชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในพื้นที่อำเภอควนโดน ท้ัง 4 ชุมชน 4 โครงการ
  • แนะนำผู้รับผิดชอบโดครงการแต่ละโครงการ
  • งบประมาณและแผนงานการใช้จ่ายเงิน ตามงวดแต่ละงวด

 

6 4

3. - ทำป้ายรณรงค์สถานท่ีนี้ปลอดบุหร่ี สสส.

วันที่ 8 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ สสส. และ สจรส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการของ สสส.
  • มีป้ายรณรงค์สถานที่นี้ปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์สถานท่ีนี้ปลอดบุหร่ ตามแบบของ สสส.ปิดประชาสัมพันธ์ในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • โหลดแบบฟอร์มจกเว็บไซค์ สสส.
  • สั่งร้านดำเนินการจัดทำป้ายตามแบบฟอร์มของ สสส.

 

2 1

4. - ประชุมทีมงานและอาสาสมัครฯ

วันที่ 9 ธันวาคม 2014 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างความเข้าใจคณะทำงาน และอาสาสสมัครจัดเก็บข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ทีมงานและอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานในชุมชน
  • ได้รับทราบแนวทางการดำเนินโครงการของ สสส.ตามแผนกิจกรรมโครงการ
  • อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล,พื้นฐานชุมชน  ทีมงานและทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ มีความเข้าใจไปในในแนวทางเดียวกัน
  • แกนนำชุมชน  ตัวแทนคณะกรรมการหมู่บ้าน และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของโครงกาาร พร้อมท่ีจะเดินไปด้วยกัน  และขับเคลื่อนกิจกรรมไปด้วยกันให้บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายที่ได้วางไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมทีมงานและคณะทำงานจัดเก็บข้อมูลในชุมชน
  • ชี้แจงความเป็นมาโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • แนะนำทีมงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • ความเป็นมาของโครงการ  การพัฒนาโครงการตั้งแต่เริ่มโครงการ
  • แนะนำให้รู้จักกับหน่วยงายที่สนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรมโครงการในครั้งนี้

 

30 38

5. - เวทีเปิดโครงการฯ

วันที่ 16 ธันวาคม 2014 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อชี้แจงรายละเอียดตวามเป็นมาของโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วิถึพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ให้พี่น้องในชุมชนได้รับทราบทุกกลุ่มองค์กร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้กระบวนการมีส่วนร่วมของุมชนทุกภาคส่วน  แกนนำชุมชน  ผู้นำชุมชน  ผู้นำท้องถิ่น สมาชิก อบต. ผู้นำศาสนา แกนนำสตรี อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตัวแทนครัวเรือนในชุมชน และหน่วยส่วนราชการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน นอกจากมีปราชญ์ชาวบ้าน ผู้อาวุโสของชุนชน ได้รับทราบ รับรู้รายละเอียดกิจกรรมโครงการ ของ สสส.ท่ีได้สนับสนุนงบประมาณให้กับพื้นที่หมู่บ้าน ภายใต็โครงการ  หมู่บ้านจัดการสุขาภวะดี  วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมการดูแลสุขภาพของตัวเอง  สมาชิกในครอบครัว  ตลอดจนถึงระดับชุมชนในภาพรวม
  • ผู้เข้าร่วเวทีเปิดโครกงการ หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ทุกคน มีความภูิมิใจที่ทาง สสส.ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับชุมชน  นับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับชุมชน  ท่ีจะต้องเรียนรู้ด้วยกัน  ทำงานด้วยกัน  ประสานพลังแห่งความรักและความสามามัคคีกัน  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกิจกรรมโครงการ  ตามแผนกิจกรรมท่ีได้วางไว้ 3 'งวด ระยะเวลา 1 ปี
  • ชุมชนให้ความสนใจ รับทราบถึงปัญหาของชุมชนเอง  จึงได้เกิดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรภายนอกเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมไปด้วยกัน บนพื้นฐานความเป็นพี่น้อง  ข้อมูลชุมชน  วิถีชีวิต  วัฒนธรรมประเพณี และทุนทางสังคมท่ีมีอยู่อย่างหลากหลาย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ  ทีมงาน คณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบโครงการ  อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตลอดจนภาคีเครือข่ายในชุมชน ได้จุดประกาย เกิดพลังพร้อมท่ีเดินไปด้วยกัน ตามแผนกิจกรรมของโครงการดังกล่าว
  • ชุมชนทุกคนในวันนี่ได้รับทราบข้อมูลจากพี่เลี้ยงโครงการ ทำให้เกิดน้ำหนัก และพลัง อึอ ฮึด สู้ ต่อไป กับรายละเอียดกิจกรรมโครงการ  วัตถุประสงค์ของโครงการ  แนวทางการดำเนินกิจกรรมท่ีเป็นไปตามแผนกิจกรรม โดยท่ีมีปฏิทินกิจกรรมเป็นเครื่องมือยืยยันว่าโครงการนี้จะเกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเรื่องของระบบสุขภาพ ตลอดจนได้รับทราบถึงแนวทางการใช้จ่ายเงินท่ีแบ่งเป็นงวดๆ การทำรายงานการเงิน  การคีย์ข้อมูลท่ีต้องคีย์ข้อมูลผ่านเว็บไวต์ และการตืนข้อมูลให้กับชุมชนได้รับทราบเมื่อกิจกรรมโครงการได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย  และแนวทางการต่อยอดเพื่อขอรับการสนับสนุน จาก  สสส.ในปีต่อไป  หากชุมชนได้ดำเนิกิจกรรมโครงการเกิดประโยชน์ และมีความบริสุทธิ์ โปร่งใสและยุติธรรม
  • พี่เลี้ยงได้ชี้แจงเพิ่มเติม การทำรายงานประจำงวด  บทบาทหน้าท่ีของคณะกรรมการ และการนำปฏิทินแผนกิจกรรมทั้ง 50 กว่ากิจกรรมปิดประกาศที่สาธารระเพื่อให้ชุมชนได้รับทราบ แผนกิจกรรมใดท่ีชุมชนสนใจอย่างเข้าร่วมเป็นพิเศษ และอย่างมีส่วนร่วมกับโครงการดังกล่าว
  • นอกจากสิ่งท่ีชุมชนดังกล่าวข้างต้นแล้ส ชุมชนได้เกิดพลัง มีปัยหา มีข้อเสนอ ในเวทีดังกล่าว กิจกรรมคือะไร  เราจะเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างไร นับเว่าเป็นความสนใจอย่างแท้จริงท่ีมีประเด็นดังกล่าวในเวทีนี้
  • โดยสรุปในวันนี้ ชุมชนได้รู้จักโครงการในความรับผิดชอบ สสส.
  • ได้รับทรายรายละเอียดของแผนกิจกรรม และการเข้าร่วมกิจกรรมตลอดโครงการ
  • ชุมชนได้เป็นเจ้าของโครงการดังกล่าวท้ังชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เวทีเปิดตัวโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ของ สสส.
  • รายละเอียดกิจกรรมตามแผนงานโครงการ
  • ข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมเวทีเปิดดครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดทำปฏิทินแผนกิจกรรมการดำเนินกิจกรรมโครงการของ สสส.ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
  • ประชุมทีมงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ  อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์
  • ประชาสัมพันธ์โครงการในมัสยิดในวันศุกร์
  • แบ่งโซนรับผิดชอบใน อสม. 15 คน 15 เขต ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านเชิญชวนเข้าร่วมเวที
  • กำหนดวันเปิดโครงการของ สสส.ในวันท่ี 16 ธันวาคม 2557
  • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับ เปิดเวทีการประชุม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการแนะนำชื่อโครงการ รายละเอียดกิจกรรม งบประมาณ แนะนทีมงาน คณะกรรมการ และแนะนำพี่เลั้ยงโครงการ
  • พี่เลี้ยงโครงการฯ แนะนำเพิ่มเติมรายละเอียดของโครงการ ระเบียบ แนวทางการปฏิบ้ตื ของ สสส. และเติมเต็มกับโครงการดังกล่าว
  • ผู้อำนวยการ รพ.สต.วังประจัน เติมเต็มให้ข้อเสนอแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ตามบทบาทหลักของแตาละคน
  • ข้อเสนอจากเวทีท่ีประชุม ประเด็นข้อซักถาม และปิดเวทีโดยท่านอิหม่าม

 

120 66

6. ให้ความรู้เทคนิคการออกแบบสอบถามเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

วันที่ 28 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ความรู้กระบวนการจัดเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ เทคนิคการจัดเก็บข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้เทคนิคและกระบวนการ องค์ความรู้ การจัดการข้อมูล  การสอบถามข้อมูลจากเครื่องมือที่สามารถไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาของชุมชนได้  ตรงกับความต้องการของชุมชน  สอดคล้องกับปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง   จากการดำนินกิจกรรมโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วีถึพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้  ภายกิจกรรม เทคนิคการให้ความรู้การออกแบบสอบถาม แบบเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ในครั้งนี้ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกกลุ่ม ทุกองค์กรหลัก ได้แก่
      - กลุ่มอาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นแกนนำหลักในการดำเนนิกิจกรรม   - กลุ่มอาสาสสมัครจัดเก็บข้อมูล มาจากกลุ่มสตรี  กลุ่มเยาวชน  กลุ่มที่มีบทบาอีกกลุ่มหนึงในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนให้บรรลุเป้าหมาย   - ผู้รับผิดชอบโครงการ  คณะกรรมการ และคณะทำงานโครงการ  ในฐานะผู้รับผิดชอบหลักของโครงการ   - ผู้เชี่ยวชาญที่มาจากผู้ที่มีความรู้เฉพาะด้าน  ได้แก่ด้านการพัฒนาชุมชน วิทยากรจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอควนโดน และด้านสุขภาพ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน
  • โดยสรุปในภาพรวมของการจัดกิจกรรมตามแผนงานที่ได้วางไว้ในในวันนี้ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกกลุ่มองค์กร ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เทคนิคการอกกแบบสอบถามในสิ่งที่อยากรู้อยากทราบเก่ียวกับชุมชนของตนเอง  ความต้องการ  เป้าหมายการแก้ปัญหา แนวทางในการแก้ปัญหา ตลอดจนการกำหนดแผนกิจกรรมการฉบับปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
      1. ความรู้และเทคนิคการออกแบบสอบถามข้อมูลหรือเครื่องมือแบบสอบถามประเภทเชิงปริมาณ ผลลัพธ์ที่ได้ ผู้เข้าร่วมสามารถทราบผลข้อมูลเชิงประมาณที่เป็นตัวเลข จำนวนสถิติ  จำนวนร้อยละ  จำนวนเปอร์เซ็น ได้แก่ จำนวนประชากรทั้งหมด จำนวนเพศชาย/เพศหญิง จำนวนกลุ่มอายุ จำนวนระดับการศึกษา  จำนวนการประกอบอาชีพ  จำนวนประเภทการดำรงตำแหน่งทางสังคม  จำนวนรายได้ และข้อมูลอื่นๆ ที่อยากทราบเป็นตัวเลข โดยวิธีการแจงนับ หรือวิธีการประมวลผลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อประมวลผลออกมาเป็นจำนวนๆ ในแต่ละด้าน ในส่วนที่ 1  ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
      2. ลักษณะของข้อมูลเพื่อไปสอบถามระดับความคิดเห็น  ระดับความพึงพอใจ  ต่อปัญหา  ต่อการให้บริการของหน่วยงานทุกหน่วยงาน หรือระดับความรู้ในเรื่องของสุขภาพที่ต้องการสอบถามชุมชน  แบ่งออกเป็น 5 ระดับ หรือ 3 ระดับ อยู่ท่ีผู้ออกแบบสอบถามจะวัดกี่ระดับ โดยใช้วิธีการให้คะแนน จากมากไปหาน้อย หรือจากน้อยไปหามาก เช่น 5,4,3,2,1 หรือ 1,2,3,4,5 อยู่ที่ทางผู้ออกแบบสอบถามจะกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดอะไร   3. การออกแบบสอบลักษณะแบบเครื่องมือแบบสอบถามเชิงคุณภาพ  แบบสอบถามประเภามประเภทนี้ไม่ต้องใช้ตัวเลข ไม่ต้องการจำนวนด้านปริมาณ  แต่ต้องการด้านข้อมูลที่เป็นเชิงลึกเชิงคุณถาม ลักษณะเครื่องมือแบบนี้ต้องมีทีมงานที่มีความรู้และมีทักษะในการออกแบบสอบถาม ให้ตรงกับประเด็นที่ต้องการจะทราบ  ต้องการจะแก้ปัญหา 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-  ประชุมทีมงานสร้างเครื่องมือและแบบสอบถาม -  ให้ความรู้เทคนิคการออกแบบสอบถามเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ -  แบ่งกลุ่มออกแบบเครื่องมือ แบบสอบถาม ในการเก็บข้อมูลที่ตรงกับสภาพความเป็นชุมชน -  นำเสนอผลงานการออกแบบเครื่องมือแบบสอบจากกิจกรรม -  ตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ - คัดเลือกแบบสอบถามที่มีข้อมูลครอบคลุมทุกด้าน 1 ชุด

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ศึกษาข้อมูลย้อนหลังของชุมชน วิถึชีวิต  วัฒนธรรมประเพณี  อาชีพ การศึกษา
  • วิเคราะห์สถานการณ์ชุมชน และบริบทชุมชน

 

33 33

7. - กิจกรรมทดสอบเครื่องมือ

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อนำเครื่องมือแบบสอบถามนำมาทดลองใช้ในการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลจากการนำเครื่องมือแบบสอบถามไปทดลองใช้ในการจัดเก็บข้อมูลรายครัวเรือนและรายบุคคลในครั้งนี้  ทำให้ทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลได้รับถึงปัญหา  ข้อจำกัดของข้อมูลบางประเภทไม่สามารถสอบถามข้อมูลเชิงลึกได้ โดยเฉพาะข้อมูลเชิงคุณภาพต้องใช้ทักษะความสามารถในการจับประเด็น และประเด็นคำถาม  เสียเวลาต่อแบบสอบ 1 ชุด ต่อครัวเรือน ต่างกับข้อมูลเชิงปริมาณที่เอาแค่เพียงตัวเลขแล้วนำไปประมวลผลเท่านั้นเอง
  • ทีมงาน คณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)  พร้อมด้วยอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล และวิทยากรหรือผู้เชี่ยว เกิดกระบวนเรียนรู้การทดสอบเครื่องมือแบบสอบถาม ระหว่างเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามเชิงปริมาณ ทำให้ได้ข้อมูลเร็วเพราะเป็นตัวเลข ใช้วิธีการกรอกตัวเลขเท่านั้น ต่างกับข้อมูลที่เป็นเชิงคุณภาพที่ต้องใช้ทักษษะความรู้และความสามารถพร้อมกับเทคนิค ทีมงาน ที่เข้าใจกระบวนการ แต่ผลของการได้ของข้อมูลมีความชัดเจนและมีข้อมูลที่เป็นเชิงลึก ทำให้ง่ายต่อการนำไปจัดทำระบบฐานข้อมูลขอมูลของชุมชนในแต่ละด้านได้อย่างดี และเป็นประโยชน์ต่อการวเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหา อุปสรรค ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ในการเก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันในหมู่บ้าน โดยการสุ่มครัวเรือนจำนวนครัวเรือน ไม่ต่ำร้อยละ 60

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เตรียมคนทีงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล
  • เตรียมเเครื่องมือแบบสอบถาม
  • แบ่งเขตรับผิดชอบรายครัวเรือนในการจัดเก็บ ร้อยละ 60 ของครัวเรือนท้ังหมด
  • ดำเนินการจัดเก็บ

 

33 33

8. - ประชุมการทำข้อมูลและนำเสนอข้อมูลฯ

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อนำปัญหาการจัดเก็บข้อมูลในชุมชนมาประมวลและหาแนวทางแก้ปัญหา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการดำเนินงานการจัดเก็บข้อมูลทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคของเครื่องมือในการจัดเก็บ เครื่องมือแบบเชิงปริมาณต้องใช้เวลาในการลงตัวเลข การนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่ายังไม่สามารถได้ประเด็นที่ชัดเจนเนื่องจากอาสาสมัครยังขาดความรู้และความเข้าใจในการบันทึกข้อมูล ในการสัมภาษณ์และกระบวนการอื่นๆ ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลทั่วไปด้านอายุ เพศ   1.ได้รู้จักการจัดทำระบบข้อมูล ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการไปใช้ในการจัดแผนกิจกรรมที่สอดคล้องกับปัญหา   2.ได้เสริมสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างทีมงานและคณะทำงาน ตลอดจนอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ระหว่างสมาชิกในชุมชน   3. ได้รับทราบปัญหาขั้นพื้นฐานของชุมชนที่สารถไปแก้ปัญหาได้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเอง ขอความร่วมจากหน่วยงานให้เข้ามาแก้ไข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ชี้แจงรายละเอียดแก่ทีมงาน คณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล
  • แบ่งทีมงานอกกเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อแยกเขตรับผิดชอบในการทดลองใช้เครื่องมือ
  • นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ในการเก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันในหมู่บ้าน โดยการสุ่มครัวเรือนจำนวนครัวเรือน ไม่ต่ำร้อยละ 60

กิจกรรมที่ทำจริง

-นำเสนอข้อมูลที่ได้ลงเก็บในพื้นที่ -สรุปปัญหาการจัดเก็บข้อมูล

 

33 33

9. - ประชาสัมพัันธ์โครงการ สสส.

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชาสมพันธ์๋โครรงการ สสส.โดยใช้เสื้อเป็นศื่อและเป็นสัญลักษณ์ของโครงการดังกล่าว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีเสื้อสัญญลักษณ์ประชาสัมพันธ์กิกรรมโครงการของ สสส.ตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง  ทำให้ทีมงาน คณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบโครงการได้เกิดความรักความเข้าใจอันที่ถูกต้องและเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคณะกรรมการ ทีมงาน ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทุกถาคส่วนในการที่จะดำเนินงานร่วมกันต่อไปให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ได้วางไว้ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้เสื้อเป็นสัญลักษณ์ และเป็นการสร้างแจงงจูงใจให้กับคณะทำงานทุกภาคส่วน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คัดเลือแกนนำที่จะเข้าร่วมกิจกรรมโครงการตามสัดส่วน
  • ดำเนินการซื้อเสื้อและปักโล้โก้สัญลักษณ์ของ สสส.

 

60 60

10. - กิจกรรมทดลองเก็บข้อมูล

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อนำเครื่องมือแบบสอบถามที่ผ่านจากการตรวจสอบเก็บข้อมูลรอบที่สองของครัวเรือนเป้าหมาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการทำความเข้าใจทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลในครั้งนี้ ทำให้ทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ชุมชน ครัวเรือน ผู้รับผิดชอบโครงการ  คณะทำงาน  เลขานุการ  และเหรัญญิก ผลจากการจัดเก็บข้อมูลโยงเครื่องมือแบบสอบถามครั้งนี้ทำให้มีข้อมูลที่สามารถนำไปจัดทำแผนปฎิบัติการได้ โดยผ่านกระบวนการรวบรวบบรวมข้อมูล สรุปข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ให้ออกเป็นด้านๆ และเป็นประเด็น  จากข้อมูลเชิงปริมาณ  และข้อมูลเชิงคุณภาพ   - การดำเนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้ได้ดำเนินการมาถึงกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูลในชุมชน  โดยนำเครื่องมือแบบสอบที่ได้เรียนรู้และผ่านเวทีการอบรมให้ความรู้เทคนิคการออกแบบสอบถามเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพในครั้งนี้  โดยที่ทีงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลที่มาจากตัวแทนกลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน  ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมมูลในครั้งนี้เป็นการทดลองใช้เครื่องมือแบบสอบถามเพื่อต้องการทราบปัญาในการจัดเก็บระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณกับข้อมูลเชิงคุณคุณภาพ  มีความแตกต่างและความยากง่ายอย่างไร  การได้มาซึ่งข้อมูลจะตอบโจทย์กับปัญหาและความต้องการของชุมชนหรือไหม   -ทำให้ทีมงานได้รู้จักชุมชนมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.จัดทีมงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 15 คน 2. จัดทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บจ้อมูลที่มาจากแกนนำสตตรีและเยาวชน จำนสน 15 คน 3. จับคู่ ระหว่าง อสม.กับ อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลฯ เป็นคู่ๆ ได้ 15 คู่ 4. แบ่งเขตโซนรับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมู,ฯดังกล่าว 15 เขตๆละ ประมาณ 12-13 ครัวเรือน 5. จัดเก็บข้อมูลแบบสอบถามให้ได้จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนท้ังหมด

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ชี้แจงทำความเข้าใจกับทีมงานในการจัดเก็บข้อมูล วิธิเก็บ วิธีสัมภาษณ์
  • แจกจ่ายเครื่องมือแบบสอบถามตามจำนวนครัวเรือนเป้าหมายในการทดสอบเครื่องมือในครั้งนี้
  • แบ่งโซนเขตรับผิดชอบครัวเรือนการจัดเก็บข้อมูล
  • ลงพื้นที่ปฎิบัติการจัดเก็บข้อมูลตามภารกิจที่ได้มอบหมายให้
  • รวบรวมข้อมข้อมูล

 

33 33

11. - รายงานโครงการงวดท่ี 1

วันที่ 6 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ได้ดำเนินงาน และเพื่อรายสถานะทางการเงินการจัดทำบัญชีรายรับและรายจ่าย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

    การดำเนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุุ่งมะปรัง หมู่ที่ 1 ตำบลวังประจัน ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศิกายน  2557 ถึง วันนี้ เดือนมีนาคม 2558 ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ทำให้คณะทำงานและประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กรต่างๆ ทุกกลุ่มองค์กร ภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เก่ียวข้องทุกหน่วยงาน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้   1.ด้านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนส่วนของทุกภาคส่วนในการทำกิจกรรมร่วมกัน   2.ด้านข้อมูล การนำข้อมูลทีทมีอยู่แล้วมาศึกษาวิเคราะห์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • รายงานผลการดำเนินโครงการงวดที่ 1
  • รายงานสถานะทางการเงินและบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

  • รวมรวมรายละเอียดกิจกรรมทุกกิจกรรม
  • รวบรวมใบสำคัญการจ่าย ใบสำคัญรับเงิน และใบเสร็จรับเงิน
  • ตรวจสอบคาวมถูกต้องรายการจ่ายให้ตรงกับกับกิจกรรมแต่ละกิจกรรม
  • จัดทำบัญชีคุมยอดเงินให้ตรงกับบัญชีธนาคาร

 

2 2

12. - ค่าภาพถ่ายส่ง สสส.

วันที่ 7 มีนาคม 2015 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรวบรวมภาพกิจกรรมงวดที่ 1 ส่ง สสส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ทีงานคณะทำงานโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถึพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง พร้อมกับมีภาพกิจกรรมการดำเนินตามโครงการ ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการทำกิจกรรมร่วมกัน การศึกษาข้อมูลพื้นฐานชุมชน  สภาพปัญหา ความต้องการ แนวทางการแก้ปัญหา เพื่อนำไปดำเนินการจัดทำแผนฉบับบปฏิบัติในชุมชน  ในการแก้ปัญหาให้มีความสอดคล้องกับบริบทชุมชน วิถีชีวิต อาชีพ ต่อไป
  • ได้รวบรวมภาพกิจกรรมของการดำเนินงานประจำงวด ของงวดที่ 1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • รวบบรวมภาพกิจกรรมงวดที่ 1 ส่ง สสส.

กิจกรรมที่ทำจริง

  • รวบรวมภาพกิจกรรมแต่ลละกิจกรรม
  • คัดเลือกภาพกิจกรรม

 

5 5

13. - ประชุมชี้แจง สรุปงานงวดท่ี 1 โดย สจรส.และ สสส.

วันที่ 25 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามรายงานผลการดำเนินงานประจำงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลจากการประชุมชัีแจงนครั้งนี้  โดย สจรส.และ สสส.ในครั้งนี้ ทำโครงการหมู่บ้านจัดการสุขาวะดีวิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง ในครังนี้ ที่ศูนย์คุ้มครองครองผู้บริโภค อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  ได้ทราบถึงปัญหาและข้อจำกัดของคณะกรรมการและทีมงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ  รวมถึงพี่เลี้ยงโครงการ  และโครงการอื่น ๆ ที่มาร่วมประชุมรายงานผลการดำเนินงานประจำงวดที่ 1 นั้น   1.รับทราบปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการดังกล่าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สรุปผลการดำเนินงานงวดที่ 1
  • ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานงวดที่ 1
  • แนวทางการดำเนิงานตามแผนกิจกรรมงวดที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

1.สรุปรายรับ-รายจ่ายประจำงวดที่ 1 2.จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำงวดที่ 1 3.ตรวจสอบความถูกต้องการจัดทำบัญชีรายรั-รายจ่าย 4.ตรวจสอบเอกสารและหลักฐานการเงิน 5.สรุปปัญหาและอุปสรรคพร้อมกับแนวทางการแก้ไข

 

5 5

14. -ประชุมงวด สสส.ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานพร้อมพี่เลี้ยงโครงการ

วันที่ 28 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมประงวดที่ 1 ปัญหา อุปสรรค  แนวทางการแก้ปัญหา และการเตรียมความพร้อมงวดที่ 2

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

    การดำเนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง  นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของชุมชนที่ได้ดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อต้องการให้ชุมชนมีระบบฐานข้อมูลท่ีเชิงประจักษ์ ในการนำข้อมูลไปสรุปรวบรวม และวิเคราะห์ปัยหาของชุมชน จัดทำเวทีประชาคม เพื่อจัดทำแผนชุมชน หาแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและจำลำดับความสำคัญของปัยหาต่อไป
    วันนี้พี่เลี้ยงโครงการ  โดยคุณธิดา  เหมือนพะวงศ์  พี่เลัียงโครงการ ได้มาเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินตามแผนกิจกรรมของโครงการที่ได้วางไว้  จากการติดตามในครั้งนี พบว่า โครการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง มีการดำเนินกิจกรรมตามแผนกิจกรรมโครงการที่ได้วางไว้มีความล่าช้า  เนื่องจากว่าโครงการอาน้เป็นโครงการใหม่ โดยสรุปประเด็นได้ดังนี้     1.การดำเนินงานมีความล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนกิจกรรมที่ได้วางไว้     2.ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการ มีภารกิจในชุมชนค่อนข้างมาก     3. ลขานุการและเหรัญญิกยังขาดความรู้ในการจัดบัญชีรายรับ-รายจ่าย และการลงช่องรายจ่ายตามประเภท     4.ปรับแผนกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับบริบทของชุมชน     5.บูรณาการกิจกรรมกับกิจกรรมของชุมชที่มีความสอดคล้องกันในบางกิจกรรม     6.ให้ความรู้เทคนิคการจัดทำบัญชีอย่างง่ายให้กับเลขานุการและเหรัญญิก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมรับฟังผลการดำเนินกิจกรรมโครงการงวดที่ 1
  • รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ จาก สจรส. สสส.และพี่เลี้ยงโครงการ
  • แนวทางการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมงวดที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เตรียมเอกสารข้อมูล เอกสารบัญชี
  2. ตรวสอบความถูกต้อง

 

5 6

15. -ประชุูมเชิงปฏิบัติการทีมงาน จัดทำฐานข้อมูลระบบชุมชน

วันที่ 28 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้คณะทำงาน ทีงานพร้อมกับผู้รับผิดชอบโครงการฯ อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล แกนำชุมชน แกนนำสุขภาพ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา เยาวชน กลุ่มสตรี ปราชญ์ชาวบ้านภูิปัญญาท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวช้อง  ได้นำแผนฉบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการดำเนินกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ  การทำข้อมู,และฐานระบบข้อมูลของชุมชน ในครั้งนี้ สิ่งที่ได้       1. ผลการที่ได้รับจากกิจกรรมทำให้ผู้เข้าร่วมกิกรรมหลักการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตามกิจกรรมการจัดทำระบบฐานข้อมูลของชุมชน ของกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้นำชุมชน  ผู้นำท้องภิ่น  ผู้นำศาสนา ปราชญ์ชาวบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น  และภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบได้รับมีองค์ความรู้ในเรื่องของข้อมูล ข้อมูลคืออะไร  ข้อมูลนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง และประเภทของข้อมูล  แหล่งของข้อมูล และการได้ซึ่งของข้อมูล มีแนวทางและวิธีการหรือเทคนิคอย่างไร       2. เกืดกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมในการของทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้  ในการให้ความสำคัญของข้อมูลชุมชน ข้อมูลหมู่บ้านที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญชาของชุมชนได้ตรงจุดและตรงกับความต้องการ     3. ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนเกิดกระบวนเรียนรู้ต่อการรับปัญหาของชุมชนโดยผ่านข้อมูลเดิมที่มีอยู่ในชุมชน ข้อมูลแผนชุมชน ข้อมูล กชช.2 ค ข้อมูล จปฐ.ข้อมูลสุขภาพ และข้อมูลอื่น     4. ได้ระบบฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน  จำนวนประชากร แยกเพศ ชาย/หญิง กลุ่มอายุ ด้านการประกอบอาชีพ รายได้ สถานะทางสังคม ดำรงตำแหน่ง สังกัดกลุ่มองค์กร และการศึกษา นี้เป็นระบบฐานข้อมูลที่กลุ่มเป้าหมายต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่ในการนำระบบฐานข้อมูลดังกล่าวไปวางแผนกิจกรรมเพื่อการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง     5. ได้รับถึงระบบฐานข้อมูลด้านทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน ทุนทางธรรมชาติ  วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต แกนนำธรรมชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน หมอสมุนไพร และแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนในการดำเนินกิจกรรม  หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง     6. ได้รับรู้ถึงขัอมูลแหล่งทุน  กองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน  การสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานใด้บ้าง เกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายในชุมครอบคลุมมากน้อยเพียงใด     7. มีระบบฐานข้อมูลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม  กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ป่วยเรื้องรัง ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ด้อยโอกาสทางสังด้านอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ     8. มีระบบฐานข้อมูลปัญหาต่างๆ ในชุมชน ปัญหาด้านสุขภาพและสาธารณสุข  ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาด้านสังคม ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในชุมชน     9.มีแผนกิจกรรม/โครงการระยะสั้น  ระยะยาว งบประมาณและแหล่งงบประมาณที่รับการสนับสนุย  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ที่เกิดจากการระดมความคิดของกลุมเป้าหมายในวันนี้ เพื่อนำไปแก้ปัญหาของชุมชน   10. เกิดกลุ่มอาสาสมัครจิตอาสาที่อาสาเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรังเพิ่มเติม นอกเหนือจากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีเยาวชน สตตรี และกรรมการหมู่บ้าน พร้อมที่จะเดินหน้าไปด้วยกันเพื่อให้ประสบณ์ความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้       โดยสรุปในวันนี้  จากการดำเนินกิจกรรมประชุมการจัดแผนเชิงปฏิบัติการ ในการจัดฐานระบบข้อมูล  สิ่งที่ได้คือ   1. มีระบบฐานข้อมูลพื้นฐานของชุมชน บริบทของชุมชน
  2. มีแผนกิจกรรม/โครงการ ของชุมชน   3. มีอาสาสมัครจิตอาสาเพิ่มเติมในการทำงาน   4. รู้แหล่งงงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ  รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง   5. ได้ความรักความสามัคคี ที่เกิดจากการมีกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • แนะนำความเป็นมาของโครงการ หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง อีกครั้งเพื่อทบทวนความจำกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกครั้งโดย ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • แนะนำพี่เลี้ยงโครงการ ที่คอยดูแล ชี้แนะ ประสานงานโครงการ และให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับกิจกรรมทุกกิจกรรมของโดครงการดังกล่าว
  • แนะนำวิทยากร หรือผู้นำกระบวนการกิจกรรมกลุ่ม และแนะนำวัตถุประสงค์เป้าหมายของกิจกรรใครั้งนี้
  • ให้ความรู้เรื่องของข้อมูล  ความหมายของข้อมูล ข้อมูลคืออะไร ประเภทของข้อมูล แหล่งของข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
  • กิจกรรมกรรมกลุ่ม แผนงานโครงการ นำเสนอแผนปฏิบัติที่ผ่านกระบวนการกลุ่ม
  • พิจารณาคัดเลือกแผนปฏิบัติการ จำนวน 1 เรื่อง * เรื่อง การจัดการสุขภาพชุมชน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางหารดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ขั้นตอนและรายละเอียดในการดำเนินกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการจัดทำแผนเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ประกอบด้วย ดังนี้ 1. ประชุมทีมงานเพื่อกำหนดวัน เวลา และสถานที่ การดำเนนิกจกรรมดังกล่าว กำหนดกิจกรรม และกลุ่มเป้าหมาย 2. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบภารกิจงานแต่ละฝ่าย 3. ประสานงานผู้นำชุมชน  ผู้นำศานา ผู้นำท้องถิ่น  และทีมงานวิทยากรภายนอกและภายใน 4. ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมให้ครอบคลุมตามกลุ่มเป้าหมาที่ได้กำหนดไว้ 5. วันดำเนินการ รับลงทะเบียน/รายงานตัว 6. ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของกิจกรรม พร้อมกับแนะนำทีมงาน คณะทำงาน และพี่เลี้ยงโครงการ 7. แนะนำวิทยากรกระบวนการ วิทยากรภายนอกและภายใน 8. ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ 9. แบ่งกลุ่มระดมความคิดและฝึกปฏบิติการจัดแผนเชิงปฏิบัติการ 10.นำเสนอแผนฉบับปฏิบัติการ และคัดเลือกแผนสุขภาพฉบับบปฏิบัติ

 

60 60

16. ฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูล

วันที่ 3 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลได้ฝึกปฏิบัติการนำเครื่องมือแบบสอบถามไปจัดเก็บข้อมูลของครัวเรือน และพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือแบบสอบถามเพื่อนำไปจัดเก็บข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการดำเนินตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนกิจกรรมการฝึกปฏบัติจัดเก็บข้อมูลรายครัวเรือนโดยมีกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล วิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญ และทีมงานคณะทำงานโครงการดังกล่าว พร้อมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปผลการดำเนินกิจกรรม     1. จำนวนครัวเรือนที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  162 ครัวเรือน สามารถฝีกปฏิบัติการจัดเก็บข้อมูลได้ร้อยละ 60  ของจำนวนครัวเรือนท้ังหมด ได้จำนวน  92 ครัวเรือน   2. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล คณะทำงาน ทีมงาน พร้อมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน มีการวางแผนการทำงาน มีการแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน   3. ชุมชนได้มีโอกาสในการสะท้อนปัญหาความต้องการ  แก่ทีมงาน คณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำปัญหาความต้องการในเรื่องของการจัดการสุขภาพดี วิถีพอเพียง ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   4. เกิดกระบวนการการทำงานร่วมกันเป็นทีมของคณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล   5. เกิดความสัมพันธ์ที่ดีรระหว่างคณะทำงาน ทีมงาน อาสาสมัครสาธะารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ระหว่างชาวบ้านในชุมชนเป็นการลดช่องว่างระหว่างกัน   6. ผลที่เกิดอีกประการทำให้คณะทำงาน  อาสสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลได้ฝีกปฏิบัติการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การตั้งประเด็นคำถาม การสังเกตุ การมีปฏิภาณไหวพริบในการฝึกปฏิบัติการจัดเก็บเพื่อให้เกิดความชำนาญ     สรุปผลจากการดำเนินกิจกรรมนี้ การฝึกปฏิบัติการจัดก็บข้อมูลและทำข้อมูล   1. ได้อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ทีมงานและคณะทำงานที่มีจิตอาสาในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ ตามแผนกิจกรรมที่ได้วางไว้   2. ทีมงานและคณะทำงาน พร้อมด้วยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บเข้าใความหมายของระบบฐาน๘้อมูล   3. ทีมงานและคณะทำงาน พร้อมด้วยอาสาสมัครสาธารรสุข อาสาสมัครจัเก็บข้อมูล ได้เกิดความรู้และความชำนาญในการจัดเก็บข้อมูลแต่ละประเภท   4. ทีมงานและคณะทำงาน  พร้อมด้วยอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล มีกิจกรรมสานพันธ์กันระหว่่างชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1.นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ในการเก็บข้อมูล 2.สรุป ตรวจสอบความถูกต้อง 3.ฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูล 4.ปรับและททวนเครื่องมือ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1.แบ่งกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลออกเป็นชุดๆ จำนวน 6 ชุด พร้อมด้วยคณะทำงาน 2.แบ่งจำนวนเขตรับผิดชอบครัวเรือนโดยการสุ่มครัวเรือนร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3.ดำเนินการฝีกปฏิบัติจัดเก็บข้อมูลตามครัวเรือนเป้าหมายตามเขตรับผิดชอบ

 

33 33

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 28 16                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 207,862.00 63,014.00                  
คุณภาพกิจกรรม 64 52                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.ถารกิจชองทีมงานจึงทำให้แผนการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนงานที่ได้วางไว้ 2.ชุมชนมีงานของชุมเข้ามาอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆจากหลายๆหน่วยงาน 3.ทีมงานยังขาดความเข้าใจในตัวกิจกรรมของโครงการและรายละเอียดอื่นๆเนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ 4.ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารการจัดการ 5.ระบบอินเตอร์ในชุมชนไม่ได้มาตรฐานขาดเสถียรภาพ

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. - ประชุมการทำข้อมูลและนำเสนอข้อมูลฯ ( 16 มี.ค. 2015 )
  2. - ประชุมชี้แจง สรุปงานงวดท่ี 1 โดย สจรส.และ สสส. ( 25 มี.ค. 2015 )
  3. -ประชุมงวด สสส.ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานพร้อมพี่เลี้ยงโครงการ ( 28 มี.ค. 2015 )
  4. ให้ความรู้เทคนิคการออกแบบสอบถามเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ( 15 พ.ค. 2015 )
  5. -ประชุูมเชิงปฏิบัติการทีมงาน จัดทำฐานข้อมูลระบบชุมชน ( 28 พ.ค. 2015 - 29 พ.ค. 2015 )
  6. ฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูล ( 3 มิ.ย. 2015 - 5 มิ.ย. 2015 )
  7. กิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน ( 17 ส.ค. 2015 - 19 ส.ค. 2015 )
  8. รวบรวมข้อมูล สรุปข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ( 21 ส.ค. 2015 - 22 ส.ค. 2015 )
  9. : ร่วมจัดนิทรรศผลงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ผลการดำเนินงานและรับฟังการบรรยายสรุป ( 4 ก.ย. 2015 )

(................................)
นายนันทวัฒน์ เต๊ะสมัน
ผู้รับผิดชอบโครงการ