task_alt

หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

ชุมชน หมู่ท่ี 1 บ้านทุ่งมะปรัง ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล

รหัสโครงการ 57-02572 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0086

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2014 ถึง 15 พฤศจิกายน 2015

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มิถุนายน 2015 ถึงเดือน ธันวาคม 2015

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน

วันที่ 17 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อให้ชุมชนมีศีกยภาพในการจัดระบบฐานข้อมูลของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. จำนวนผู้จัดเก็บข้อมูล 30 คน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขและ อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล กลุ่มเยาวชน 15 คน รวม 30 คน
  2. จำนวนครัวเรือน 175 ครัวเรือน ในเขตรับผิดชอบ 15 เขต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดเก็บในครัวเรือนจำนวน 175 ครัว โดยมีเขต 15 เขต มี อาสามัครสาธารณสุข และ อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล กลุ่มเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประชุมเตรียมความพร้อม 2. คัดเลือกเยาวชนนักจัดเก็บข้อมูล 3. แบ่งโซนในการจัดเก็บข้อมูล 4. ทำแผนในการออกเก็บข้อมูล

 

30 30

2. รวบรวมข้อมูล สรุปข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

วันที่ 21 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.ได้พัฒนาศักยภาพทีมงาน คณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  ผลการดำเนินกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมการรวบรมข้อมูลพื้นฐานของชุมชนที่ผ่านการจัดเก็บโดย ทีมงาน คณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และ อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ที่มาจากกลุ่มเยาวชน และแกนนำสตรี ในครั้ง โดยมีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมกิจจกรมด้วย เพื่อความถูกต้อง เทคนิคการรวบรวมข้อมูล การจำแนกข้อมูล การแยกข้อมูลเป็นประเภทๆ ตามประเด็นของแบบสอบถาม 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. รวบรวมข้อมูลแบบสอบถามที่ได้
  2. วิเคราะห์ข้อมูล
  3. นำชุดข้อมูลมาสังเคราะห์

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. รวบรวมข้อมูลแบบสอบทั้งหมดที่จัดเก็บได้ จาก 15 เขต รับผิดชอบ จำนวน 175 ชุด
  2. จำแนกแบบสอบถามเป็น 15 ชุด ของเขตรับผิดชอบ
  3. แจงนับรายละเอียดแต่ละประเด็น

 

33 33

3. : ร่วมจัดนิทรรศผลงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ผลการดำเนินงานและรับฟังการบรรยายสรุป

วันที่ 4 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ติดตามสรุป สนับสนุน จาก สสส. สจรส. และพี่เลี้ยง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  - ประชุมรับฟังคำบรรยายจากสสส. พร้อมชมบู๊ทนิทรรศการเด่นๆของแต่ละจังหวัดเพื่อนำจุดเด่นของแต่ละจังหวัดมาปรับใช้กับการดำเนินงานกิจกรรมโครงการของพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ร่วมจัดบู๊ทนิทรรศการผลงานการดำเนินงานโครงการชุมชนหมู่ที่9 บ้านนาปริก และร่วมประชุมรับฟังคำบรรยายจากสสส. พร้อมชมบู๊ทนิทรรศการเด่นๆของแต่ละจังหวัดเพื่อนำจุดเด่นของแต่ละจังหวัดมาปรับใช้กับการดำเนินงานกิจกรรมโครงการของพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

  - ประชุมรับฟังคำบรรยายจากสสส. พร้อมชมบู๊ทนิทรรศการเด่นๆของแต่ละจังหวัดเพื่อนำจุดเด่นของแต่ละจังหวัดมาปรับใช้กับการดำเนินงานกิจกรรมโครงการของพื้นที่

 

2 2

4. ปฏิบัติตามแผนชุมชรและแผนสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม

วันที่ 25 กันยายน 2015 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรังทำให้เกิดความร่วมมือ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ปฏิบัติตามแผน
  2. สร้างกระแส 3..ให้ความรู้แบ่งเขต

กิจกรรมที่ทำจริง

แบ่งฝ่ายการดำเนินงานแต่ละฝ่าย

 

30 30

5. คืนข้อมูลชุมชน

วันที่ 29 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลพื้นฐานของชุมชน และชุมชนมีส่วนร่วนในการดำเนินกิจกรรมหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง - เพื่อให้ภาคีเครือข่ายทุกกลุ่มองค์กร และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานกิมกรรมโรงการดังกล่าว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

    ผลการดำเนินงานกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชนในครั้งนี้  ตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้ โโยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แกนนำสุขภาพประจำครัวเรือน  ตัวแทนครัวเรือนในชุมชนท้ังชุมชนได้มีส่วยนร่วมในการรับฟังชี้แจง  การคืนข้อมูลสู่ชุมชน ข้อมูลพื้นฐานชุมชน ข้อมูลระบบสุขภาพของชุมชน ปัญหาสุขภาพ  ตลอดจนเพื่อเน้นให้หน่วยงานทุกภาคส่วนในชุมชน/ตำบล ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชน เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวของชุมชนที่ผ่านการเก็บข้อมูล  ผ่านการรวบรวม และผ่านเวทีวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาสาสมัครสาธารศุข (อสม.) ทีมงานคณะทำงาน ตลอดจนอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลที่เป็นเยาวชนในชุมชน  ได้เข้ามามีส่วนร่วม เข้ามามีบทบาทในการรับรู้ รับทราบข้อมูลพื้นฐานของชุมชน เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดทำแผนชุมชน แก้ปัญหาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และบริบทวิถีชีวติตของชุมชน  ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนกิจกรรรมต่อไป   โดยเนื้อหาและกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนในวันนี้ทำให้ชุมได้ ดังนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.จัดเวทีชุมชน 2.นำเสนอข้อมูล 3.จัดนิทรรศการ 4.บริการตรวจสุขภาพ 5.ให้สุขศึกษา  ฐานการเรียนรู้ 6.เวทีเสวนา

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมทีมงานคณทำงาน กำยดวัน เวลา และสถานที่
  2. กำหนดกิจกรรมในวันที่จะดำเนินงาน มีกิจกรรมอะไรบ้าง ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ใครประสานงาน
  3. แบ่งงาน และฝ่ายหน้าที่รับผิดชอบในวันดำเนินกิจกรร ได้แก่ รับลงทะเบียน แจกของที่ระลึก พิธีกรงาน ฝ่ายนิทรรศการ ฝ่ายเวที และจัดหาวิทยากร 4.ประสานงานครัวเรือนเป้าหมาย ,ประชาสัมพันธ์ครัวเรือนเป้าหมาย
  4. ประสานงานภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
  5. ประสานทีีมงานวิทยากร กำหนดหัวข้อเรื่องราวที่จะจะกิจกรรมในวันดังกล่าว หัวข้อให้ความรู้ กิจกรรมการคืนข้อมูล 6.ดำเนินตามกิจกรรมตามแผนงาน
  6. สรุปประเมินผล ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

 

160 170

6. - รวบรวมภาพถ่ายกิจกรรมท้ังหมดงวดงานท่ี 2

วันที่ 30 กันยายน 2015 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดรายงานการเงินและรายงานประจำงวดท่ี 2 พร้อมกับส่งภาพให้กับ สสส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

    ผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรังในครั้งนี้ จนมาถึงงวด 2 ของการทำรายงาน รวบรวมข้อมูล การทำรายงานการเงิน ผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการและกิจกรรมดังกล่าว ประโยชน์สูงสุดที่เกิดกับชุมชน  ทำให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดและจัดการระบบสุขภาพของชุมชนด้วยชุมชนเอง และท้ังนี้สิ่งได้รับอีกอย่าง ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการ ตลอดจนคณะทำงาน ทีงานผู้รับผิดชอบโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง เกิดความรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม รู้จักการบริหารองค์กร และได้รับความรู้จากการแนะนำจากพี่เลี้ยงที่คอยดูแล และให้กำลังใจกับคณะทำงานทุกๆ คนด้วยดีมาตลอด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • รวบรวมภาพภ่ายกิจกรรมงวดงานท่ี 2 ส่ง สสส.

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. แบ่งงานรับผิดชอบแต่ละละฝ่าย
  2. จัดรายงานการเงินให้ครบถูกต้องและชัดเจน
  3. ตรวจสอบหลักฐานควาถูกต้องของกิจกรรมทุกกิจกรรม
  4. คีย์ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ และส่งภาพกิจกรรมผ่านเว็บไซต์

 

5 5

7. ประชุุมสรุุปผลการดำเนินงาน

วันที่ 30 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  จากการประชุมสรุปปัญหาของการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมของโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้  โดยคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ ตลอดจน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล กลุ่มเยาวชน ตลอดจนผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้้นำท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายกลุ่มองค์กรกลุ่ม  และหน่วยงานที่เก่ียวข้อง  ได้รับทราบถึงปัญหาข้อจำกัด และกรอบของโครงการ  เงื่อนไขการทำงานตามกรอบของ สสส.ท่ีจะต้องมีความถูกต้องและชัดเจน  การปฏิบัติงานกิจกรรรการดำเนินงานต้องเป็นไปตามแผนกิจกรรม  การใช้จ่ายเงินต้องมีควมรอบคอบ และชัดเจน มีความโปร่งใส ท้ังนี้รวมถึงคณะทำงานของโครงการ ที่เป็นผู้มีจิตอาสาที่เข้ามาทำงานเพื่อชุมชน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสรุปสรุปผลการดำเนินงานของกิจกรรมแต่ละกิจกรรม เพื่อหาข้อสรุปข้อบกพร่อง  สภาพปัญญหา ข้อจำกัดของการดำเนินงาน พร้อกับหารแนวทางแก้ไข เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้วางใว้

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. นำเสนอแผนงานกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาทุกกิจกรรม
  2. หาปัญหา ข้อบกพร่อง ข้อจำกัดของการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม
  3. หามาตรการ แนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน พร้อมกับการกำหนดแผนกิจกรรม ปรับกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับเวลา และบริบลของชุมชน

 

36 36

8. มอบของที่ระลึกและเกียตริบัตรให้กับบุคคลต้นแบบฯและครอบครอบครัวต้นแบบฯ

วันที่ 5 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประกาศเกียตริคุนยกย่องครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบด้านความพอเพียง เป็นแนนวทางในการดำเนินชีวิตที่เป็นอย่าง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปการดำเนินงานกิจกรรมประกวดครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบด้านความพอเพียงอันเป็นกิจกรรมหลักที่เป็นไปตามแผนกิจกรรมที่ได้มาจากการประชุมจัดทำแผนฉบับปฏิบัติการ จนทำให้คณะทำงาน ทีมงาน กรรมการผู้ลงประมิน ที่มาจากทุกภาคส่วน จนทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ผู้นำศาสนาให้ความสำคัญต่อดำเนินงานของโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้ง ผลลัพทธ์ที่เกิดขึ้น 1.ความร่วมมือของชุมชนที่ส่งเข้าประกวดครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบ จำนวน 152 ครัวเรือน ในเขตรับผิดชอบ จำนวน 15 เขตรับผิดชอบ โดยมีทีมงาน อสม.เป็นกลไกหลัก ทีมงานหมอประจำครัวเรือน เจ้าหน้าที่ รพ.สต.วังประจัน พัฒนาชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ใหญ่บ้าน ได้ลงพื้นที่เพื่อทำการประเมินครัวเรือนต้นแบบ และบุคคล ต้นแบบ โดยเกณฑ์ท่ีกำหนดแบบชาวบ้าน
2.เกิดกระบวนเรียนรู้ระหว่างกัน ทีมงานคณะทำงาน ผู้นำชุมชน จนท.รพ.สต. อสม.ในการไปเยี่ยม ชี้แจง การรณรงค์ให้ครัวเรือนได้เข้ามามีกิจกรรมในการ ปรับสภาพล้อมรอบบริเวณบ้าน การปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ บ้านเรือนสะอาดน่าอยู่ ท้ังภายนอกและภายใน การจัดทำบัญชีครัวเรือน การลดรายจ่าย มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมกับชุมชน การบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ ครัวเรือนปลอดลูกน้ำยุงลาย ดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักศานา มีคุณธรรมและจริญธรรมเป็นแบบอย่างที่แก่เพื่อนบ้าน และยึดหลักปัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน
3.สิ่งที่ได้รับ และผลลัพธ์ จากการดำเนินกิจกรรมนี้ มีครัวเรือนต้นที่ได้ดำเนินการตามเกณฑ์ที่ทีมงาน ลงประเมิน จำนวน 15 ครัวเรือน 15 เขต ๆ ละ 1 ครัวเรือน 4.สิ่งที่ได้รับ และผลลัพธ์ จากการดำเนินกิจกรรมนี้ มีบุคคลต้นที่ได้ดำเนินการตามเกณฑ์ที่ทีมงาน ลงประเมิน จำนวน 15 คน 15 เขต ๆ ละ 1 คน 5.เกิดกระบวนการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างกัน เพื่อประกาศให้บุคคลอื่นได้รับทราบ ได้เรียนรู้และเป็นแบบอย่างต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • มอบของที่ระลึกและเกียตริบัตรให้กับบุคคลต้นแบบฯและครอบครอบครัวต้นแบบฯในวันประชุมประชุมประจำเดือนกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน โดย นายอำเภอควนโดน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมและแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้อนแบบ จำนวน 6 คน
  2. กำหนดเกณฑ์  ตัวชี้วัด และรายละเอียดครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบ ในชุมชน
  3. กำหนดวันเวลา การสมัคร ปิดป้ายประชาสัมพันธ์
  4. ลงพื้นที่ประมิน ในเขตรับรับผิดชอบ ท้ัง 15 เขต
  5. ประชุมสรุปผลการประเมินครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบ ตาเกณฑ์ที่ลงประเมิน
  6. ประกาศครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้น มอบเกียตริบัตร และของที่ระลึกให้กับครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบด้านพอเพียง
  7. ปิดป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน ให้ชุมชนได้รับทราบโดยทั่วกัน

 

36 175

9. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผน

วันที่ 7 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.) เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการนำข้อมูลมาจัดทำแผนปฏิบัติการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  ผลการประชุมการทำแผนปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนสุขภาพของชุมชน  ในการแก้ป้ญหาระบบสุขภาพของชุมชน  ที่ได้ผ่านจากเวทีหลายเวที และกิจกรรม การจัดทำระบบฐานข้อมู,  การนำข้อมู,ไปทดลองใช้ และกลับมาสร้างข้อมูลแบบสอบถามให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน  โดยผ่านการตรวจสอบ  การแนะนำจากวิทยากร ที่เก่ียวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พัฒนาชุมชน เกษตร ครู และปราชญ์ชาวบ้าน  จนได้การจัดเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์  และนำข้อมูลมาจัดทำเป็นแผนฉบับปฏิบัติการในการในครั้งนี้ ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกภาคส่วน ทุกกลุ่ม ทุกกองค์กร  จึงแผนสุขภาพของชุมชน จำนวน 1 ฉบับ เพื่อนำไปเป็นนโยบายสาธารณะในการแก้ปัญหาของชุมชนต่อไป  โดยกระบวนการกิจกรรมเวทีในวันนี้สารมารถสรุปได้ดังนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมเชิงปฏบัติการการจัดทำแผน
  2. เวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  3. นำเสนอแผน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนฉบับปฏิบัติการ
  • เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างคณะทำงาน แกนนำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • จัดกิจกรรมกลุ่มย่อยระดมความคิด จำนวน 4 กลุ่ม
  • นำเสนอแผนกิจกรรม แผนสุขภาพฉบับปฏิบัติในการนำไปใช้ 1 แผนกิจกรรม
  • บรรจุแผนกิจกรรมเป็นวาระหรือนโยบายสาธารณณะของชุมชน
  • นำแผนไปปฏิบัติในชุมชน

 

60 60

10. - ประกาศผล และทำป้ายประชาสัมพันธ์ บุคคลต้นแบบฯ และครอบครัวต้นแบบ

วันที่ 12 ตุลาคม 2015 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อประกาศประชาสัมพันธ์โครงการประกวดบุคคลต้นแบบฯและครอบครัวต้นแบบฯ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  ผลการดำเนินงานตามแผนฉบับปฏิบัติการเพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ ภายใต้คำว่า สุขภาวะดีวิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง  โดยเน้นให้ประชาชนได้ดำเนินกิจกรรมครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง การปรับสภาพแวดล้อมรอบบริเวณบ้าน การปลูกผักกินเอง  ตลอดจนการดูแลระบบสุขภาพของตนเอง  สมาชิกในครัวเรือน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ด้านอาหาร  การออกกำลังกาย  ด้านอารมณ์ ตลอดจน การงดสูบบุหรี่ และไม่ดิ่มสุรา ผลการดำเนินตามกิจกรรมนี้ กิจกรรมการประกวดบุคคลต้นแบบ และครัวเรือนต้นแบบ ทำให้กิจกรรม กระบวนการร่วมกัน ของทุกภาคส่วน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น  กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี ตลอจนภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โรงเรียน/สถานศึกษา รพ.สต.และ อบต.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำป้ายไวนิลประกาศผล และทำป้ายประชาสัมพันธ์ บุคคลต้นแบบฯ และครอบครัวต้นแบบฯ จำนวน 2 ผืน ติดหน้ามัสยิด และหน้าร้านน้ำชาในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. กำหนดเกณฑ์การประกวด
  2. ลงพื้นที่ประเมิน
  3. รวบรวมข้อมูล
  4. สรุปข้อมูล
  5. ประกาศผลครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบ
  6. มอบเกียตริบัตร และของที่ระลึก

 

6 6

11. กิจกรรมถอดบทเรียน

วันที่ 19 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลได้ฝึกปฏิบัติการนำเครื่องมือแบบสอบถามไปจัดเก็บข้อมูลของครัวเรือน และพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือแบบสอบถามเพื่อนำไปจัดเก็บข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากกิจการดำเนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้ ได้ดำเนินกิจกรรมการถอดบทเรียน เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลถีงปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการดังกล่าวราย กิจกรรมท้ังหมด ทำให้ได้รับทราบว่าปัญหาในการดำนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง สามารถที่จะสรุปประเด็นได้ดังนี้

  1. ด้านผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้นำท้องถิ่น (สมาชิก อบต.) ผู้นำศาสนา (บิลาล) คณะทีมงาน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข และกลุ่มเยาวชน เป็นแรงขับเคลื่อนกิจกรรมทุกกิจกรรมด้วย รวมไปยังชุมชน ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
  2. ด้านการดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์หลักให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด รวมไปถึงกิจกรรมย่อยท้ังหมด ทางโครงการอาจจะมีความบกพร่องในการบริหารการจัดโครงการให้เป็นไปตามเงือนไขของระยะเวลาได้ ด้วยปัจจัยของผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ทีมงาน ด้วยภารกิจงานของชุมชน ของหน่วยงานภาคีเครือข่ายอื่น ๆอีกมากมาย จึงทำให้กิจกรรมบางกิจกรรมมีความล่าช้าและสะดุดไปบ้าง
  3. ด้านงบประมาณ และการจัดทำบัญชี มีความบกพร่องบ้างเล็กน้อย เนื่องทีมงานฝ่ายเลขานุการ และเหรัญญิกอาจเป็นเรื่องใหม่

บทสรุปการสนทนากลุ่มและบุคคลต้นแบบ กิจกรรมถอดบทเรียน ผู้เข้าร่วมประชุม30คน เริ่มแรกประธานโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมในครั้งนี้หลังจากนั้นประธานโครงการเชิญพี่เลี้ยงร่วมพูดคุยและให้กำลังใจการทำงาน พี่เลี้ยงได้พูดคุยและให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุมและทีมงาน ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนสนใจและตั้งใจฟังหลังจากนั้นประธานโครงการเชิญผู้ใหญ่บ้านร่วมพูดคุยและมอบรางวัลแก่บุคคลต้นแบบและครอบครัวต้นแบบ ที่เป็นต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียงและด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งครัวเรือนและบุคคลต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกในครั้งนี้มีทั้งหมด 15ครัวเรือนและบุคคลต้นแบบ…15….คนทุกคนร่วมแสดงยินดีกับบุคคลที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้หลังจากนั้นร่วมถอดบทเรียนโดนสอบถามวิถีชีวิตในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของแต่ละคนเพื่อหาแนวทางและสาเหตุในการป้องการการเกิดโรคต่างๆและได้รู้การดำเนินชีวิตของแต่ละคนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ว่าแต่ละวันทำอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นและพูดคุยกันอย่างเต็มที่หลังจากนั้นก็สามารถสรุปวิถีชีวิต(นาฬิกาชีวิต)ของคนในชุมชนหมู่ที่1 บ้านทุ่งมะปรังได้ดังนี้

นาฬิกาชีวิตนี้สามารถสะท้อนการดำเนินชีวิตได้ดีว่าสิ่งต่างๆที่เราดำเนินไปในแต่ละวันเป็นอย่างไรซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ เช่นการตัดยาง จะเป็นการออกแรงปานกลางซึ่งหลายคนสงสัยว่าทำไมน้ำหนักไม่ลด การตัดยางเป็นการออกแรงไม่ใช่เป็นการออกกำลังกาย ถ้าเดินต้องเดินอย่างต่อเนื่องประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงทำให้ทุกคนเข้าใจมากยิ่งขึ้นหลังจากนั้นจะให้ทุกคนช่วยกันสรุปความภาคภูมิใจตลอดการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งสมามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ความไม่เป็นโรค 2. เลือกรับประทานอาหาร 3. ไม่กินแกงกะทิ 4. มีความสุขในการดำเนินชีวิต 5. เข้ากับคนอื่นได้ดี 6. ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ 7. ครอบครัวอบอุ่น

และให้ทุกคนร่วมกันวาดความฝันในอนาคตทุกคนร่วมเสนอดังนี้ 1. ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. สุขภาพร่างกายแข็งแรง 3. เป็นที่รักของผู้คน 4. คนในชุมชนมีสุขภาพสมส่วน

ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม • การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ดีแล้วทำให้ชุมชนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง • อยากให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. กิจกรรมการสรุปบทเรียนผลการดำเนินงานทั้งหมด ประชุมสรุปกิจกรรม และถอดบทเรียน เพื่อหาปัญหา อุปสรรคการดำเนินกิจกรรมโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

1.นำเสนอกิจกรรมท้ังตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ การพัฒนาโครงการ 2.แยกรายละเอียดกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ กิจกรรมหลักกิจกรรมย่อย 3.นำเสนอปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัด จุดดี จุดเด่น ของการดำเนินโครงการ 4.ปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินโครงการ ทีมงาน พี่เลี้ยง งบประมาณ ทุนทางสังคม 5.ระดมความคิด สรุปสภาพปัญหาเกิดจากกอะไร อะไรคือปัจจัยของปัญหา
6.นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหา วิธีการ และหาข้อสรุปเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

 

30 30

12. - จัดรายงานผลการดำเนินโครงการ ส่ง สสส.

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานการดำเนินงานตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพีบงบ้านทุ่งมะปรัง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลจากการดำเนินงานตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมในการในชุมชนทุกภาคส่วน ที่เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาของชุมชน โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพภาคประชาชน ที่พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ชมชนยังขาดองค์ความรู้ในการจัดการดูแลระบบสุขของตนเอง ครอบครัว และเชื่อมโดยงไปยังชุมชนอย่างแท้จริง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ฯ ทีมงานคณะทำงาน ผู้นำชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายผู้นำท้องถิ่น ได้แก่ สมาชิก อบต. สำหรับฝ่ายผู้นำศานา ได้แก่ อิหม่าม,คอติบ และบิลาล.ฝ่ายองค์กรกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาสาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี ปราชญ์ชาวบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายงานที่เก่ียวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารสุข (รพ.สต.วังประจัน) เจ้าหน้าท่ี อบต.วังประจัน ,ครูอนามัยโรงเรียน,พัฒนากรประจำตำบล จากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอควนดดน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานส่ง สสส.

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สรุปจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทั้งหมด
  2. ตรวจสอบความถูกต้องหลักฐาน การใช้จ่ายเงิน ได้แก่ ใบสำคัญรับเงินค่าตอบแทนวิทยากร ,ค่าใช้สอย,ค่าตอบแทน,และใบเสร็จรับรับเงิน
  3. จัดทำบัญชีลงในสมุดเล่มสีส้มให้เป็นปัจจุบัน
  4. ตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครการ
  5. สรุปผลการดำเนินงานทุกกิจกรรม ได้อะไร ปัญหาอุปสรรคเป็นอย่าง ตลอดจนแนวทางการดำเนินการแก้ปัญหา

 

6 6

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 28 28                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 207,862.00 204,509.00                  
คุณภาพกิจกรรม 112 88                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  • การดำเนินงานทีงานมีภารกิจงานชุมชนมาก และหลายหน่วยงานอื่นๆ ที่เข้ามาในชุมชน พร้อมกับอาชีพของกลุ่มที่ต้องดำเนินกิจกรรมของกลุ่มหลังจากเสร็จภารกิจอาชีพเดิม
  • เป็นกิจกรรมโครการใหม่ที่มีระบบค่อนข้างจะละเอียดมีขั้นตอนทำให้ทีมงานยังขาดความรู้และความเข้าใจที่ดีและชัดเจน

ขาดการบริหารเวลาของทีมงาน

มีการปรับและจัดทำแผน

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายนันทวัฒน์ เต๊ะสมัน
ผู้รับผิดชอบโครงการ